ทำอย่างไรให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์ ( ภาค 1 )


 

                           

 

                       ทำอย่างไรให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์

 

          นี่คงเป็นปัญหาของลูกเรา และบรรดาเด็ก ๆ หลายคน แต่หากเขาเก่งด้านนี้ก็ดีสินะ แล้วเราจะส่งเสริมเขาตั้งแต่ตอนไหน เมื่อไร อย่างไรดี คำถามนี้ตามมายืดยาวทีเดียวค่ะ

          คำถามนี้ได้แลกเปลี่ยนจากเหล่าบรรดาคุณแม่จากหลายเวป หลายบล็อกได้คำตอบ และการเรียนรู้มาเยอะทีเดียว คุณแม่น้องโบวี่ได้หาตำรามาดูหลายเล่ม ยิ่งอ่านก็ปวดหัวทีเดียวค่ะ

                    

                               

 

             เริ่มเมื่อไหร่ (when)

 

                 พ่อแม่หลายคนเชื่อว่า ไม่ควรเร่งลูกเรียนเร็วเกินไป มีข้อมูลทางการแพทย์พูดไว้ว่า “ เซลล์สมองถ้าไม่ได้รับการกระตุ้นแต่วัยเด็ก จะไม่แตกกิ่งก้านสาขา ทำให้เรียนช้า เฉื่อยชา ไร้เหตุผล ตรงกันข้ามกันถ้าได้รับการกระตุ้นตั้งแต่แรกเกิด จะทำให้ใยประสาทแตกกิ่งก้านสาขา ฉลาด เรียนรู้ง่าย ว่องไว เข้าใจเหตุผลได้มากกว่า”

                ทีนี้เราก็เห็นความสำคัญแล้วว่า เราควรเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ตอนนี้น้องโบวี่เลยวัยนี้ไปแล้วแต่ไม่เป็นไรค่ะ ไม่สาย เพราะความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ของมนุษย์สูงสุดในวัยทารก และลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเด็กโตขึ้น จุดคงที่ในความสามารถการเรียนรู้ คือ วัย 12-14 ปี

               แต่ใช่ว่าเราจะหยุดการเรียนรู้ไปเลย เพียงแต่ผู้ใหญ่ หรือวัยอื่น ๆ จะใช้ความพยายามอย่างมาก ในการสนใจในสิ่งนั้น เท่านั้นเอง ( เหมือนเช่นคุณแม่เพชรกว่าจะอ่านหนังสือสักเล่ม หลับแล้วหลับอีก หยิบแล้ว หยิบอีก พยายามอย่างมาก ๆ )

 

                             

 

               ที่ไหน (where)

 

             เดิมมีแนวความคิดเป็นของตนเองว่า ต้องเริ่มที่บ้าน ซึ่งก็ถูกค่ะ แต่ทำไม่ได้ สุดท้ายโยนความคิดนี้ไปให้โรงเรียน เพราะเราทำงานส่วนใหญ่ เวลาตั้งแต่ 8.00- 16.30 น. ลูกเราอยู่กับครูที่โรงเรียน กลับถึงบ้านก็ 6 โมงเย็นแล้ว ทำการบ้าน ธุระส่วนตัวก็ดึกเตรียมเข้านอนเสียแล้ว

        ตอนนี้ต้องมาปรับตัวเป็นการใหญ่ ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นตัวเรานี่เองค่ะ

“เด็กเก่งทุกคนมักได้รับการสนับสนุนจากทางบ้าน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมตั้งแต่อายุน้อย ๆ ”

        

         ตามที่ได้แลกเปลี่ยนระหว่างพ่อแม่ทั้งที่ทำงานและในเวปไซด์ เด็กถูกสอน ให้ทำแบบฝึกหัด เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ไม่ทั่วถึงบ้าง ปัญหาคือ เด็กเยอะสอนไม่ทั่วถึงบ้าง ปัญหาจิปาถะ เคยตระเวนรอบ ๆ เมืองโคราชวันเสาร์ เด็ก ๆ มักจะไปเรียนเสริมนอกห้อง รถติดผู้ปกครองไปคอยรับหน้าที่เรียนกันเป็นแถว ๆ เห็นจนชินตา ทำไมเป็นอย่างนี้หนอ ?

 

                               

 

บ้านและครอบครัวมีความสำคัญอย่างมาก ปัจจัยพื้นฐานที่แตกต่างกันเช่น

  • คนในครอบครัวเอาใจใส่เกี่ยวกับการเรียนของเด็กตั้งแต่เขายังเล็กหรือไม่

  • มีสื่อการเรียนรู้และหนังสือที่มีประโยชน์และน่าสนใจอยู่ในบ้านหรือไม่

  • พ่อแม่สนับสนุนให้ลูกเรียนเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่โรงเรียนหรือไม่

  • พ่อแม่ใช้เวลาเรียนรู้กับลูกหรือไม่

 

         บางคนโชคดีครอบครัวหาสื่อการเรียนให้ตั้งแต่ก่อนเข้าอนุบาล แต่นั้นหมายถึงตัวเงิน หากบ้านไหนมีปัญหาเรื่องนี้คงลำบากทีเดียวค่ะ ขนาดว่าที่บ้านทำงานรับราชการยังต้องแบ่งเงินซื้อ เพราะสื่อนั้นราคาแพงเสียจริงค่ะ อยากให้รัฐบาลหรือองค์กร อะไรสักอย่างช่วยผลิตสื่อดี ราคาเบากระเป๋าก็คงดีค่ะ

 

          แต่สิ่งเรานี้เราสามารถทดแทนได้ด้วยการสอนเขาทางอ้อมได้ เช่นการใช้ชีวิตประจำวัน เราสามารถฝึกให้เขาเล่นขายของหรือ ซื้อของช่วยคิดเงิน หาเกมสร้างปัญญามาให้เล่นแทนเล่นเกมส์ต่อสู้กัน

 

 

                              

หมายเลขบันทึก: 417607เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2011 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ คุณ อ.นุ (ความเห็นล่าสุด)

         

เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า เริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลดีกับลูก และครอบครัวสำคัญมากในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก

สวัสดีค่ะคุณเพียงหทัย

- การเริ่มต้นเร็วยิ่งได้ผล เห็นด้วยค่ะ

- เพราะหากช้าไปเรากลับไปแก้ไขไม่ทัน เสียดายโอกาส และเวลาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท