๖๔.ระเบียงภาพ ๔ : การ์ตูนและภาพ CGA สำหรับทำการ์ด พัฒนาสื่อเล่านิทาน และพัฒนาทักษะภาษา


ภาพที่ ๑  การมีอารมณ์ขัน ขบขัน คาดไม่ถึง สนุกสนาน

ภาพที่ ๒ ครุ่นคิด ลึกซึ้ง ให้ความคิด ชวนคิด ช่างคิด ลุ่มลึก

ภาพที่ ๓ มีพัฒนาการ ก้าวหน้า ล้ำยุค ปราดเปรื่อง ฉลาดคิด หลักแหลม น่าอัศจรรย์ใจ น่าประทับใจ น่าชื่นชม

ภาพที่ ๔ ดีงาม น่าชื่นชมยกย่อง น่านับถือ งดงาม เสียสละ

ภาพที่ ๕ แสดงความชื่นชมยินดี ประสบความสำเร็จ ปลอดภัย

ภาพที่ ๕ ห่วงใย เยี่ยม เยือน เอาใจใส่ดูแล แบ่งปันความห่วงใย

ภาพที่ ๕ ประหลาดใจ ประทับใจ เก่ง น่าตื่นเต้น อัศจรรย์ใจ

........................................................................................................................................................................

 Online Gallerry   ศิลปะและภาพศิลป์ออนไลน์

รูป CGA : Computer Graphic ออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สนใจ ทั้งเพื่อเยี่ยมชมหาความสุขจากงานศิลปะ และนำเอาไปดัดแปลงทำสื่อการเรียนรู้ หรือนำเอาไปใช้งานต่างๆตามความสนใจ

หมายเลขบันทึก: 414711เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2010 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะพี่ชายอ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

เป็นภาพสะท้อนถึงชีวิตเด็กๆในชนบทเลยค่ะ

ดึงกางเกงไว้มือหนึ่งกลัวจะหลุด

บางคนก็ใช้ยางรัดหรือไม่ก็เชือกผูกขอบกางเกงไว้ด้วยอิอิ

 

ชอบภาพนี้ค่ะ  ดูแล้วมีความสุข

ภาพน่ารักค่ะ เป็นศิลปะยุคใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยความสามารถจากควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก ไม่ต้องระมัดระวังมากเพราะแก้ไขได้ ขณะเดียวกันก็สามารถคัดลอกได้มากมาย แต่ในการสร้างภาพต้องใช้ความมีศิลปะในหัวใจ ขอบคุณครูมากค่ะ งานชิ้นนนี้นำไปสอนเรื่องสีโปสเตอร์ได้ดีนะค่ะ

อ่านการอธิบายของหนูนก คุณครูจุฑารัตน์แล้ว ก็ต้องหัวเราะและยิ้มเลยละครับ
นี่แหละครับบ้านนอกตัวจริงถึงจะรู้ว่ากางเกงจะหลุดอยู่ตลอดเวลาของเด็กๆนั้น มีความหมายต่อวิถีชีวิตและสะท้อนความเป็นเด็กชนบทอยู่อย่างไร

มีน้องๆเขาถามเหมือนกันว่าทำไมต้องหิ้วกางเกงด้วย ผมก็ไม่ทันได้สังเกต
มันเป็นการวาดไปตามประสบการณ์และข้อมูลที่เคยเห็น อันที่จริงต้องมีขี้มูกไหลด้วย
แต่พอได้เล่าให้ฟังก็ยากที่จะทำให้คนที่อีกรุ่นหนึ่งและในสภาพแวดล้อมอื่น เห็นภาพไปด้วยได้ คนรุ่นใหม่ไม่เคยต้องนุ่งกางเกงต่อๆกันอย่างเป็นมรดกสืบทอดกันในหมู่พี่ๆน้องๆ อีกทั้งเกิดมาก็ต้องนุ่งเสื้อผ้ามิดชิดและใส่แพมเพิร์ช

แต่เด็กๆเมื่อก่อนนั้น มีกางเกงนุ่งนี่ก็นับว่าเป็นเรื่องทันสมัยมาก และกางเกงที่ได้นุ่งนั้น ยากมากเลยที่จะนุ่งแล้วพอดี ถึงแม้จะเป็นมือหนึ่งก็ตาม ต้องนุ่งขนาดเผื่อโต เพราะฉนั้นก็จะตัวโค่งๆ มิหนำซ้ำก็จะเป็นกางเกงราคาถูก นุ่งปีเดียวก็จะยางยืด แต่ตราบใดที่ยังขาดยุ่ยไปหมด ก็จะถือสืบทอดนุ่งต่อๆกัน เวลาวิ่งเล่น ก็มักต้องหิ้วกุงเกงหรือผ้าถุงไม่ให้หลุดอยู่ตลอดเวลา

ภาพมือข้างหนึ่งยึดขอบกางเกงไว้ กับอีกแขนข้างหนึ่งป้ายขี้มูกนั้น ผมว่าเป็นความน่ารักและเป็นความใสบริสุทธิ์ของเด็กๆชนบทในอดีต เดี่ยวนี้คงไม่ค่อยได้เห็นแล้วนะครับ

สวัสดีครับพี่คิมครับ
ดูเหมือนว่าภาพนี้คนดลใจจะมาจากกลุ่มบล๊อกเกอร์ในแนวที่มีบางด้านอย่างพี่คิมนี่แหละครับ เช่น พี่นงนาท หนานเกียรติ อาจารย์ขจิต ครูหยุย อาจารย์หมอ JJ อาจารย์ ดร.ประพนธ์ อาจารย์หมอวิจารณ์ ดร.ชิว ดร.แสวง ครูบาสุทธินันท์ ลุงวอญ่า พระอาจารย์มหาแล ฯลฯ

สวัสดีครับครูเอครับ

  • ดูเพลินดีเหมือนกันนะครับ
  • ภาพที่วาดโดยวิธีนี้คงจะใช้ฝึกกับเด็กอย่างทั่วไปยากครับ ถึงแม้จะแก้ไขได้ง่าย แต่ควบคุมมือ สายตา และการเรียนรู้การสนองตอบของเทคโนโลยี จนรู้ใจกันได้ยากมากเลยครับ วาดยากกว่าใช้ดินสอและเครื่องมือทั่วไปครับ แต่ดีในแง่การเลือกสีและลดความสิ้นเปลืองวัสดุจิปาถะไปได้อย่างสิ้นเชิง
  • หากสอนเด็กแนวนี้ต้องไม่สอนบนวิธีคัดลอกครับ แต่ต้องให้มีตัวแบบในความคิด และภาพ Template สัดส่วนของการ์ตูน เหมือนกับคนศิลปะมีสัดส่วนของขนาดศีรษะกับส่วนสูง สำหรับคำนวณการวาดผู้หญิงผู้ชายบนกระดาษให้ลงตัวนั่นแหละครับ แต่สัดส่วนการ์ตูนก็จะมีสัดส่วนที่ผิดไปจากความเป็นจริงของธรรมชาติไปเสีย
  • โดยทั่วไปก็ต้องฝึกให้มีภาพรูปทรงพื้นฐานในหัวก่อน โดยเฉพาะรูปทรงเรขาคณิต จากนั้นจึงจะสามารถสร้างสรรค์ภาพต่างๆให้พลิกแพลงออกไปอย่างที่ต้องการ
  • อย่างภาพที่เห็นนี้จะเห็นว่ามีเพียงเค้าโครงรอบนอกเท่านั้นที่จะสามารรถใช้ร่วมกันได้ แต่อารมณ์ภาพและรายละเอียดต่างๆที่ต้องการแต่ละภาพ ก็ต้องเขียนใหม่หมด หากไม่มีพื้นการคิดเป็นภาพในหัวก่อน แต่ให้ลอกภาพอย่างเดียวก็จะพัฒนาทักษะด้านนี้ไม่ได้ครับ
  • เทคนิคนี้จะให้ผลแสดงออกมาเหมือนภาพสีโปสเตอร์เหมือนกันครับ แต่ภาพที่สร้างขึ้นด้วย CGA นั้นจะใช้หลักแบบสีโปสเตอร์ไม่ได้เลย เพราะทฤษฎีสีโปสเตอร์มีพื้นฐานการผสมกันทางเนื้อสีและมวลสาร ยิ่งบวกกันก็ยิ่งเป็นสีทึบและมีเนื้อสี เมื่อต้องการให้จางก็ผสมสีขาว อยากให้ทึบก็ผสมดำและสีตรงกันข้าม
  • แต่การสังเคราะห์และสร้างสีในคอมพิวเตอร์ เป็นหลักการสีของแสง ซึ่งหากต้องการสีแบบเดียวกัน ก็จะต้องปฏิบัติเกือบในทางตรงกันข้ามกับสีโปสเตอร์เลยนะครับ คือ สีของแสงนั้น ยิ่งบวกกันก็กลับจะยิ่งสว่าง ไม่ยักกะทึบและเข้มมากขึ้นเหมือนเทคนิคสีโปสเตอร์ และบางสีที่เป็นสีตรงกันข้ามนั้น หากเป็นสีโปสเตอร์ก็จะได้สีเข้มข้น แต่ใน CGA กลับจะกลายเป็นสีอ่อนและเบาบางลง 
  • ฝึกทำภาพแบบ CGA นี่น่าจะทำให้ได้พื้นฐานการทำงาน Screen Play และการทำงาน Ligthing ได้อย่างดีครับ

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆเลยค่ะ ชัดเจนในรายละเอียด ยอดจริงๆค่ะ

ในรายละเอียดของสีโปสเตอร์แล้ว มิน่าว่าเวลาผสมสีใน com จึงได้สีที่แตกต่างไปจากการผสมด้วยของจริง งานกราฟิคจะออกมาโดดเด่นกว่าชิ้นงานศิลปะ

ต้องขอโทษด้วย ครูเอรู้แค่ผิวเผิน แต่ชอบถามค่ะ งบประมาณในการปฏิบัติยังน้อยต้องสะสมความรู้ให้มากๆ ขอบคุณค่ะ

                         

ผมเลยทดทดลองทำภาพเชิงซ้อน หรือภาพ Overlay จำลองการผสมสีจากการเปล่งแสงอันเกิดจากพลังงานในระดับที่แตกต่างกันกับผลที่ได้ มาฝากเป็นรูปสวยๆไปในตัวด้วยครับ ผลมันเป็นอย่างที่ผมกล่าวถึงน่ะครับ ไม่เหมือนกับการผสมสีโปสเตอร์ซึ่งเป็นการผสมกันของเนื้อสารที่เป็นเม็ดสี ไม่ใช่สีจากการเปล่งแสงอันเกิดจากพลังงาน เช่น สีเทาเข้ม ผสมกับเทาอ่อน น่าจะทำให้สีบางเบาเป็นเทาเจือจางลง แต่ก็กลับได้สีที่เข้มมากกว่าเดิม ลักษณะเหมือนกับการที่เราจัด Black Ligth บนเวที แล้วใส่เสื้อผ้าสีเกือบตรงข้าม คือ สีขาว ( Black Ligth เป็นสีม่วงเข้ม สีตรงข้ามเป็น Lemon Yellow ซึ่งเกือบขาว) ก็จะกลายเป็นเหมือนกับสว่างขึ้น

ส่วนสีส้มแดงกับสีเขียว และสีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นสีคู่ปฏิปักษ์นั้น ทางทฤษฎีสีแบบมันเซนหรือการผสมแบบใช้เนื้อสีและมวลสารที่เป็นเม็ดสี ก็จะต้องออกมาเป็นสีน้ำตาลเข้มและเกือบเป็นสีดำ แต่นี่กลับกลายเป็นให้ผลเป็นสีเหลืองที่สว่างสดใสขึ้นมากกว่าเดิม

ผมเคยคุยกับเพื่อนๆที่เป็นครูอาจารย์สอนศิลปะ และสอนคอมพิวเตอร์กราฟิคว่า การสอนเด็กๆและนักศึกษาให้ทำงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์โดยขาดการฝึกฝนพื้นฐานทางศิลปะนั้น ในระยะยาวแล้วจะมีความสามารถทำงานสร้างสรรค์ได้จำกัดมาก หากออกไปทำงานในสถานการณ์จริง ก็จะไม่สามารถผสมสีในหัวเป็น สร้างโมเดลเพื่อตรวจสอบการทำงานในหัว แล้วทำออกมาได้อย่างที่ใจต้องการไม่ได้ ต้องลองเลือกแบบเดาสุ่มไปเรื่อยๆ จากสีสำเร็จรูปที่มีในคอมพิวเตอร์อย่างไม่มีหลักเณฑ์ เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากเหมือนกันนะครับ

ผมเคยจัดอาร์ตเวิร์คและทำภาพประกอบด้วยโปรแกรมไมโครซอล์ฟเวิร์ด คนเห็นก็ชอบใจมากและอยากได้โปรแกรมจัดอาร์ตเวิร์ค ซึ่งในมหิดลศาลายายุคแรกๆนั้น ผมเป็นคนแนะนำให้ทุกคนรู้จักใช้โปรแกรม Page Maker สำหรับคนทำงานหนังสือ คนก็เลยเข้าใจว่าผมมีโปรแกรมดีๆ แต่ผมบอกว่าผมใช้โปแกรมไมโครซอล์ฟเวิร์ด ทำงานในคอมพิวเตอร์ที่เก่าและราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ พื้นฐานทางศิลปะสำหรับทำงานในความคิด จึงจำเป็นมากเลยครับต่อการฝึกผู้เรียนให้รู้จักใช้เครื่องมือต่างๆได้อย่างเต็มที่

สวัสดีครับ อ.วิรัตน์

บันทึกทางศิลปะของอาจารย์ ทำให้คนที่เข้ามาอ่านแล้ว ลุ่มหลงความArts ของอาจารย์มากขึ้น นะคับ

Art ที่จะคิด Artที่จะเรียนรู้ Art ที่จะทำ

(ขออนุญาตนำภาพของอาจารย์ไปใช้บ้าง นะครับ

กราบขอบพระคุณ อาจารย์ มา ณ ที่นี้)

สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดีครับ
ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับผม เป็นการแบ่งปันและเสริมความสร้างสรรค์ให้กันได้อย่างหนึ่งน่ะครับ เรื่องศิลปะนี่อาจจะเป็นองค์ประกอบของการคิด การเรียนรู้ และการได้ทำ อย่างที่คุณแสงแห่งความดีว่ามาเหมือนกันนะครับ ผมเคยได้อ่านงานวิจัยและซื้อหนังสือของนักศิลปศึกษาต่างประเทศมาอ่านเมื่อปีที่แล้วนี้เอง ก็มีรายงาน บันทึก และนำเอาองค์ความรู้มาทบทวนให้ดู ก็แสดงให้เห็นได้เยอะครับว่าเป็นวิธีพัฒนาที่ดีมากในหลายเรื่อง ภายในปัจเจกก็พัฒนาสุขภาพที่เชื่อมโยงกับมิติจิตใจและมิติสุนทรียภาพของชีวิต และกระบวนการเรียนรู้ ส่วนในระดับชุมชนและกว้างออกไปในความเป็นสังคมนั้น ศิลปะก็เป็นเครื่องมือและวิธีการสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมได้หลายมิติ ลงลึกไปถึงความเป็นเอกลักษณ์และตัวตนของสังคมนั้นๆเลยทีเดียว การกลับเข้าสู่ศิลปะของตนเอง จึงทำเล่นๆก็มีความสุข และทำจริงๆจังๆก็เป็นเนื้อหาของชีวิตที่เจืออยู่กับมิติอื่นๆที่ลึกซึ้งดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท