ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... Shopping KM (16) KM Spy ตอนที่ 2


เวลาไปคุยนั้นเพื่อขโมยความรู้นั้น ก็ต้องรักษาใจตัวเองไว้ก่อนว่า ครั้งแรกอาจไม่ได้อะไร ครั้งที่ 2 3 ก็อาจไม่ได้อะไร บางทีก็อาจได้ขึ้นมา ตัวเองก็เสนอตัวเองหลายครั้ง และได้ไปร่วมงานหลายครั้ง แต่ครั้งที่ได้ทำ KM ก็คือครั้งที่ 6 ที่ 7

 

KM Spy ยังไม่จบค่ะ ตอนต่อมา

ตอนที่ 2 ความคิดของทีมงาน ทั้งน้องเอ๊าะ น้องไม่เอ๊าะ และพี่ใหญ่จ้ะ

ความคิดของคุณเสิด

"ผมโชคดี เพราะผมเป็นเจ้าหน้าที่โสต ก็มักจะไปมีส่วนร่วมในการทำงานหลายๆ เรื่อง"

ในตอนที่ไปอบรมครูพี่เลี้ยงเด็ก ผมถือโอกาสที่ว่า เมื่อมีคนที่มีอาชีพเดียวกัน มีอะไรๆ เหมือนๆ กัน ก็จะมีโอกาสทำ KM ของเราเอง และเราก็คอยเก็บเกี่ยวผลงานนั้น มีโอกาส 4 รุ่น (เวลาอบรมก็จะเป็น 8 โมงเช้า ถึง 3 ทุ่ม ครูพี่เลี้ยงเด็กเขาก็จะหาเวลาคุยกันได้) จะได้เจอกัน 4 ครั้ง ในรุ่นแรกเขาก็จะสงสัยว่า แล้วเขาจะพูดอะไรดี เมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนกัน เขาก็จะได้คุยกัน มีการแลกกัน แลกเทคนิคที่ทำให้เด็กหยุดร้อง เขามีวิธีที่เราไม่ได้สอนในเรื่องนี้ไว้ พอวันสุดท้ายเราก็บอกว่า ที่เราทำไปทั้งหมดมันก็เป็นเรื่อง KM เขาก็เลย อ๋อ มันง่ายอย่างนี้หรือ

บางครั้งที่ทำ KM ไป เราก็คิดว่ามันไม่ได้ผลอะไร แต่ก็มีจดหมายขอบคุณกลับเข้ามา ก็กลับมานั่งคิดว่า ไอ้ที่เราบอกว่าไม่ได้น่ะ มันได้หรือ ก็ดีใจ และก็ไม่น่าเชื่อว่า การที่ให้เวลาเขาคุยกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว เขาก็ได้ความเป็นเพื่อนกันขึ้นมา

ตอนนี้สำหรับผมแล้ว KM ไม่ได้เป็นวิธีที่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วเรามีเป้าหมายไปให้ถึงเท่านั้นเอง แบบนี้ คิดว่า ลองดู คงไม่ยาก เป็นสิ่งที่น่าลองดู การที่เราไปเสนอเป็นตัวช่วย ก็ได้รับการตอบรับที่ดี บางครั้งก็รู้ละว่า เขาไม่ร่วมด้วย เพราะว่าบางครั้งเขาเครียด เราก็พลอยได้รู้ว่าเป็นเพราะความเครียด

ตอนที่มีการจัดเวทีการ ลปรร. ในผู้สูงอายุ ก็เข้าไปช่วยแบบกระทันหัน ตรงนั้นใช้ความรู้ เรื่อง KM สกัดเอาความรู้ของผู้ของผู้สูงอายุในเรื่องสุขภาพ และสุขภาพช่องปากมานำเสนอได้

ช่วงที่ทำหน้าที่พิธีกร (เสมอๆ) ก็พยายามแทรกคำพูดที่เหมาะสม ในเวลาของการเป็นพิธีกร ซึ่งเรื่องคำพูด เราก็ไปเรียนรู้จากพี่ที่มีประสบการณ์ นำมาปรับใช้ และคอยสังเกตว่า สิ่งที่เราทำไปนั้น เหมาะสมหรือเปล่า

ส่วนของตัวผม เกือบๆ ทุกกิจกรรมก็มีโอกาสเป็นพิธีกร อาศัยช่วงเวลา 2-3 นาที ก็ใช้เวลาบอกให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ นำไปปฏิบัติได้ต่อ ที่ผมนำข้อมูลไปลงใน GotoKnow ก็คือประสบการณ์ที่เรียนรู้กับครู แล้วผมก็จะไม่พูดเรื่อง KM แต่ผมจะให้เขาเห็นความสำคัญของการที่มีโอกาส มีคนที่มีอาชีพเดียวกัน ทำงานร่วมกัน เข้ามามีโอกาสเจอกัน และแลกเทคนิค และนำไปปฏิบัติงานจริง ที่ผมเล่ามาทั้งหมด ก็เป็นการแทรกซึมเข้าไป จนมีส่วนร่วม เกือบจะเป็นแกน ก็เพราะผมมีความรู้ตรงนี้ และได้เป็นพิธีกร และมีส่วนพูดได้ ก็เอาเรื่อง KM เข้าไปใช้ด้วย ผมใช้วิธีไปเตรียมคำพูด ไปรู้ทฤษฎีให้แม่น จับบทเรื่องการจัดการความรู้ไปพูดในช่วงจังหวะที่คิดว่าพูดได้ จับใจความให้ได้ และใช้ความรู้ที่ทำให้เขาได้รับเข้าไป โดยไม่คิดว่าเป็นการเพิ่มภาระ

ตอนนี้ในตัวผมนั้น ผมประเมินไม่ได้ว่า 100% หรือเปล่า แต่มีพี่หลายๆ ท่าน มาขอให้ไปช่วย โดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเรื่องช่วยยังไง เพียงแต่บอกว่า ให้ไปทำอะไรก็ได้ ทำเรื่องนั้นๆ ก็ได้ นี่ก็แสดงได้ว่า มันเริ่มในเรื่องการจัดการความรู้มากขึ้น เหมือนกับว่า เขา Care เรื่องนี้มากขึ้น

เวลาไปคุยนั้นเพื่อขโมยความรู้นั้น ก็ต้องรักษาใจตัวเองไว้ก่อนว่า ครั้งแรกอาจไม่ได้อะไร ครั้งที่ 2 3 ก็อาจไม่ได้อะไร บางทีก็อาจได้ขึ้นมา ตัวเองก็เสนอตัวเองหลายครั้ง และได้ไปร่วมงานหลายครั้ง แต่ครั้งที่ได้ทำ KM ก็คือครั้งที่ 6 ที่ 7

วิธีการขอเข้าไปร่วมก็คือ คุยกับคนที่เขาฟังเรา ... GotoKnow ก็ช่วยผมได้เยอะ คุณหมอสุเทพ (ผอ.ศูนย์ฯ) ก็เข้ามาอ่านด้วย เราก็ได้ทำตามที่เราถนัด ไปเล่าเรื่องใน blog

KM Spy ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา

เรื่องที่พี่โจ้ภาคภูมิใจ

KM ทำให้พี่โจ้ภาคภูมิใจอันหนึ่ง คือ ได้เข้าไปร่วมการนิเทศในเรื่องของ Thalassemia แสดงว่าเขาเริ่มที่จะคิดให้ เรื่องของการจัดการความรู้เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วย ในที่นี้เราก็เท่ากับว่าได้มีการร่วมงานไปกับเขา และได้ไปเรียนรู้งานด้วย

และตอนนี้ ผลพวงจากที่เราได้ไปฝึกสุนทรียสนทนา ก็คือ เราไปฝึกการฟัง การพูด และความคิดในเชิงบวก ทำให้เวลาเราไปฟังเขาพูด เราก็จับประเด็นในสิ่งดีดี และนำมาเขียน ตอนนี้ทุกคนค่อนข้างจะยินดีเข้าร่วมกับเรา 100% นี่ก็เป็นสิ่งที่เราภาคภูมิใจมาก

กิจกรรมกลุ่มที่ทำมา ก็มี 3 โครงการแล้ว เช่น โรคเอดส์ จะจัดเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเล่าเรื่องความสำเร็จ และเขาขอให้เราช่วย ยังปรึกษากันอยู่ว่า แล้วเราน่าจะทำกลยุทธ์อะไร นี่ก็คือผลตามมา จากที่เราลองทำมาพอสมควร เราก็อยากให้คนอื่นเห็นความสำคัญว่า KM คืองานของเขา

อย่างเมื่อวานนี้ ในเรื่องการจัดบอร์ด น้องเขาบอกว่า การใช้กระดาษกาว 2 หน้า ทำให้บอร์ดของเขาเสีย เราก็เออ ไม่รู้เลย เขาก็ใช้วิธี เอากระดาษกาวย่นมาแปะรองได้ มันทำได้โดยที่บอร์ดเขาไม่เสีย มันจึงเป็นเทคนิคอะไรที่เราไม่เคยสัมผัสมา ก็เป็นการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ … สิ่งนี้ก็คือ เราสามารถที่จะเรียนรู้ไปเรื่อยๆ น้องอีกคนก็บอกว่า เอาน้ำมันมะกอกมาด้วยนะวันหลัง

อย่างเมื่อวานเรามาจัดบอร์ด พี่ศรีวิภามาดูก็บอกว่า เอ๊ะ ไอ้แว่นขยายมันหมุนได้มั๊ย เราก็เอ๊ เออ เราจะทำให้มันหมุนได้มั๊ย วิธีนี้มันก็เป็นการเปิดช่อง เปิดประสาทให้ตัวเองให้ยอมรับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มันทำให้เรามีการปรับปรุงขึ้นมา

บอร์ดนิทรรศการ KM Spy

แว่นขยายอันนี้ไงคะ ที่คุณศรีเธอแอบไปหมุนของเขามา
และแอบ comment ไปว่า "แหม นึกว่าหมุนดูได้"

ความคิดของพี่โจ้

นี่เป็นสิ่งที่เป็นความรู้ที่เรารู้สึกว่า มันท้าทายกับพวกเราได้ และเราอยากจะเรียนรู้ การไปทำงาน KM ถ้าเรายังไม่สัมผัสเลย ก็เท่ากับเรายังไม่รู้ เราต้องเปิดประตูใจของเขาให้ได้ ก็คือ เราต้องพยายามให้เขามีส่วนร่วม ให้เขามีความรู้สึกว่า เราเป็นเพื่อน ถ้า เราไปช่วยเขาทำงาน ทุกคนก็ต้องชอบ ทีนี้ผล เราก็ยังไม่ทราบ

ความรู้สึกของน้องๆ ที่เป็นคณะกรรมการ

น้องมีความมุ่งมั่น เคยถามว่า คิดยังไงกับเรื่องงาน KM เขาก็บอกว่า "เขารู้สึกว่า เขาเป็นเจ้าของงาน เจ้าของกระบวนการ เพราะฉะนั้น เขาจะต้องผลักดันงานนั้นให้ได้ ไม่ว่าเขาจะขึ้นเวร เช้า – บ่าย – ดึก ยังไงก็ตาม เรียกประชุมเขาก็ต้องมา" บางทีเราก็บอกว่า นัดทานข้าวตอนเที่ยงถึงบ่ายโมงได้มั๊ย เพราะว่าตอนนั้นก็จะมาเจอกัน และการเจอกันนั้น เราก็ได้มีการปรับปรุงกระบวนการของเราไปด้วย

“เราคิดว่า KM มันเป็นเรื่องของเราที่จะทำ เป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน เหมือนกับการกินข้าว เป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้”

“โชคดีที่ว่า พี่โจ้เป็นผู้นำที่ไม่ได้บังคับ เขาไปคุยอย่างโน้น อย่างนี้นะ ตอนหนูเข้ามาแรกๆ นี่ น้องอีกคนหนึ่งชวน ก็ไป”

พี่โจ้ กับบทบาท CKO

น้องเสิดเป็นนักโสตทัศนูปกรณ์ และมีความรู้หลากหลาย มีทัศนคติเชิงบวก มีความสามารถทางด้านวิทยากรกระบวนการ เขาก็จะถ่ายทอดความรู้มาให้ทีม เรากำลังจะทำ webpage ของเรากันเอง และเรากำลังเรียนรู้เรื่องการเขียน blog ด้วย ทุกคนกำลังเริ่มเรียนรู้ และในทีมงาน 11 คน ถ้าเรามีดีๆ อะไร เราก็จะมาถ่ายทอดความรู้ ให้รู้ไปด้วยกัน และเราพยายามทำให้เขาเกิดความรักในองค์กร เหมือนว่ากับเขาเป็นเจ้าของ เพราะว่าบางอย่าง เช่น งานแลป เจ้าของก็คืองานแลป งานผู้ป่วยใน เจ้าของก็คือผู้ป่วยใน คือ เราได้มีการ share ความรู้สึกเหล่านี้ และมาคิดว่า เรามาถ่ายทอดไปในงานอื่นได้มั๊ย เกิดความเป็นเจ้าของในงานอื่นได้มั๊ย นี่ก็คือ จุดเริ่มของศูนย์ 5 ว่า ทำไมระยะเวลาของปี 2549 ที่ผ่านมาเราสามารถที่จะเริ่มกระบวนการที่บางครั้งมันอาจจะไม่ใช่ความสำเร็จของเราก็ได้ เพราะมันเป็นการไปฟังคนอื่นเขาเล่า และเราก็นำมาเผยแพร่ต่อ

การที่เราเริ่มต้นว่า เราจะทำยังไงที่จะเริ่มกระบวนการ KM และบุคคลของเรากำลังฝึกเรื่องการเรียนรู้อยู่ จึงไปฟัง เริ่มที่อะไรก็ได้ และเก็บประเด็นเรื่องอะไรก็ได้ แต่ตอนนี้

เรายกระดับการเรียนรู้ของเรา ตรงที่เราจะไปเจาะกลุ่มเรื่องการเรียนรู้เรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ และเราก็จะดึงความรู้เรื่องของการส่งเสริมสุขภาพออกมา เช่น งานส่งเสริมสุขภาพของนักวิชาการ งานคุณภาพ งาน PMQA โดยวิธีเข้าไปดูกระบวนการ มีส่วนร่วม นำสิ่งที่เขาทำมาเขียน เหมือนกับคนที่เข้าไปร่วมจะต้องสรุปประเด็นในสิ่งที่เข้าไปร่วมออกมา และนำมาเขียนองค์ความรู้ขึ้น สุดท้ายก็คือ เราอยากได้หมวดหมู่องค์ความรู้ที่อยู่ในองค์กรของเรา บางเรื่องเราก็ไปเป็นคุณกิจนะคะ เช่น PMQA บางเรื่องก็ไปเป็น Fa บางเรื่องก็เป็น Note taker บทบาทของเรามันจะสามารถหมุนไปตามที่เราไปอยู่ตรงนั้น

พี่โจ้กับบทบาทคุณกิจ

ในเรื่องห้องแลป เรื่องของ Thalassemia เราก็เป็นคุณกิจเต็มตัว เพราะว่าเราก็ทำไปแล้วในเรื่อง KM โจ้ไปทำเรื่อง การเชิญ รพ.ชุมชนทั้งหมดมาประชุมกัน เพื่อจะเอาเทคนิคการตรวจผู้ป่วย และเราสามารถสกัดเอาความรู้นี้มา และประเมินผลของเขา

ตอนนี้โจ้นำเรื่องเล่าไปลง block GotoKnow กัน ที่โจ้เขียนก็คือ จดหมายจากซางคำถึงหมาน้อย หมาน้อยเป็นเพื่อนที่รักมาก มีอะไรก็จะเขียนไปเล่าให้หมาน้อยฟังค่ะ แต่ก็ถ้ามีคน comment เรา เราก็จะมีกำลังใจ ก็ขอให้มีคน comment ให้กับเราด้วยนะคะ เพราะว่ามีการกระตุ้น และจาก Spy นี้ก็เหมือนกัน ถ้ามีการกระตุ้นก็จะได้รับความสนใจ และความภาคภูมิใจในผลงานของเขา และตอนนี้เขาก็จะเริ่มมาเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เขามีเทคนิคอะไรดีๆ แล้วนะ เราก็ให้ความคิดในเชิงบวก

... พี่เม่ยอ่านรึเปล่าตรงนี้ น้องโจ้ยังน่าสนใจอยู่มั๊ยคะ ยังไง๊ ยังไง น้องโจ้ก็ยังไม่ทิ้งห้องแลปค่ะ มีผลงานห้องแลปมาฝากด้วยละ ...

 

หมายเลขบันทึก: 41339เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท