อากาศร้อนๆ กับแตงโมเย็นๆ


อากาศร้อนๆ กับแตงโมเย็นๆ คงจะเป็นคู่รักคู่รสที่เราๆ ท่านๆ ชื่นชอบ ยิ่งถ้าเป็นวันหยุดตอนบ่ายๆ แล้ว... ดูเหมือนแตงโมจะเข้าท่าเป็นที่สุด

อากาศร้อนๆ กับแตงโมเย็นๆ คงจะเป็นคู่รักคู่รสที่เราๆ ท่านๆ ชื่นชอบมากทีเดียว

วันนี้มีข่าวดีครับ... นักวิทยาศาสตร์จากกระทรวงเกษตร สหรัฐฯ พบว่า แตงโมเป็นเพียงผลไม้แก้ร้อนเท่านั้น ทว่า... แฝงไว้ด้วยคุณค่ามากมาย

  

อาจารย์พีนีโลพ พาร์คินส์-วีจี และจูลี คอลลินส์กล่าวว่า แตงโมมีสารคุณค่าพืชผัก หรือพฤกษเคมี (phytochemical) มากถึง 2 สีได้แก่ สีแดงและสีเหลือง

สารสีแดง (ไลโคพีน) ในผลไม้ เช่น แตงโม มะเขือเทศ ฯลฯ มีส่วนช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก ฯลฯ

สารสีเหลือง (แคโรทีนอยด์) ในผลไม้ เช่น แตงโม ฟักทอง ข้าวโพด ฯลฯ มีส่วนช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ เช่น เมื่อผิวหนังถูกแสงแดด สารเคมีหลายชนิด กระบวนการทางเคมีในร่างกาย ฯลฯ 

อาจารย์ท่านทดลองเก็บแตงโมไว้ที่อุณหภูมิ 5, 13, 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสเทียบเท่าอุณหภูมิในตู้เย็น(อเมริกา... ไม่ใช่ไทย) อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียสเทียบเท่าอุณหภูมิห้อง(อเมริกา... ไม่ใช่ไทย) ทิ้งไว้อย่างนี้ 14 วัน

ผลปรากฏว่า การเก็บแตงโมไว้ที่อุณหภูมิห้อง (21 องศาเซลเซียส) รักษาคุณค่าทางอาหารได้ดีกว่าการเก็บแช่เย็น (5 องศาเซลเซียส)

การเก็บแตงโมที่อุณหภูมิห้องรักษาคุณค่าทางอาหารได้มากกว่า มีส่วนทำให้แตงโมมีสารสีแดง(ไลโคพีน)มากกว่าเก็บแช่ เย็นถึง 40 % ส่วนสารสีเหลือง(เบต้า-แคโรทีน)มีมากกว่าการเก็บแช่เย็น 50-139 %

  

อาจารย์ท่านจึงแนะนำว่า ถ้าจะเก็บแตงโมไว้นานๆ เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง(ไม่แช่เย็น)ดีกว่า

ส่วนตอนจะกินนั้นจะร้อนจะเย็นให้เลือกตามชอบใจ(ตรงนี้ผู้เขียนเพิ่มเข้ามาเอง)

เรื่องผักผลไม้นี้... ใครจะชอบอะไรก็แล้วแต่ ถ้ากินให้หลากหลายไว้ก่อนนาจะดี ถ้าได้วันละ 5 สี 5 ทัพพีละก็... ดีกับสุขภาพมากเลย

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขกับแตงโมเย็นๆ ครับ

    แหล่งที่มา:                                      

  •   ขอขอบคุณ > [ Click ] > July 28, 2006. // source: Journal of Agricultural and Food Chemistry.
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙
หมายเลขบันทึก: 41291เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

          ขอเรียนถามคุณหมอ ด้วยความเคารพครับ เท่าที่ผมได้ฟังมา การปลูกแตงโมในบ้านเราขณะนี้มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช อย่างมาก กว่าจะได้นำผลผลิตออกจำหน่าย ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบหรือไม่ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ครับ

          ขอบพระคุณมากครับ

ขอขอบคุณอาจารย์บวร และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • เรื่องการใช้สารเคมีนี่... ถ้าเลือกได้ เรียนเสนอให้เลือกพืชผักชนิดไม่ใช้สารเคมี
  • ผลของสารเคมีปริมาณน้อยๆ นานๆ ไม่แน่ชัดในผู้ชาย
  • ส่วนผู้หญิง...อาจมีส่วนทำให้เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

ถ้าชอบพืชผักที่ใช้สารเคมีน้อยหน่อย... เรียนเสนอให้เลือกพืชผักต่อไปนี้...

  • ข้าวโพด ฟักทอง มะละกอ มะเขือเทศ ตำลึง ชะอม กล้วย
  • มะเขือเทศดีเป็นพิเศษ...
    (1). มีสารสีแดง(ไลโคพีน)ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
    (2). มีเส้นใยชนิดละลายน้ำ ช่วยดูดซับโคเลสเตอรอลไว้ ทำให้การดูดซึมลดลง
    (3). ร่างกายดูดซึมไลโคพีนจากซอสมะเขือเทศ หรือมะเขือเทศสุกได้ดีกว่าดิบ

ถ้าจะให้ปลอดภัยจริงๆ... เรียนเสนอให้ปลูกกล้วย มะละกอ มะเขือเทศ พริกไว้ที่บ้าน

  • การกินพืชผักหลายชนิด หมุนเวียน ผัดเปลี่ยนกันช่วยลดความเสี่ยงจากสารเคมีซ้ำซากได้
  • ขอให้อาจารย์และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขกับวันหยุด+แตงโมเย็นๆ ครับ

ได้อ่านหัวข้อของอาจารย์ก็ใครจะมาถาม เพราะเมื่อเช้าได้ฟังข่าวเรื่องแตงโมแช่เย็นจะมีคุณค่าอาหารลดลงว่าจริงหรือไม่อย่างไร แต่พอเปิดอ่านก็พบความกระจ่างนะครับ  อาจารย์เร็วกว่าความสงสัยของผมเสียอีก  ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณอาจารย์ออต...                                     

  • การศึกษานี้...
    (1). แตงโมแช่เย็น(แช่แล้วกิน)ไม่ได้ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง
    (2). ส่วนการเก็บแตงโมแช่เย็นไว้นานๆ เช่น การศึกษานี้ทดลอง 2 สัปดาห์ ฯลฯ พบว่า สู้เก็บไว้นอกตู้เย็นไม่ได้

ข่าวรอบเช้าคงจะมาจากหนังสือพิมพ์ และมาจากข่าวรอยเตอร์อีกต่อหนึ่ง... ข่าวอาจจะแปลผิดก็ได้ครับ

  • คุณหมอคะ ชอบแตงโมมาก ทานทุกวัน
  • ได้ทานแล้วชื่นใจ จริงๆ ค่ะ
  • ขอบคุณความรู้ที่ได้รับจากคุณหมอนะคะ

ขอขอบคุณอาจารย์สุวรรณา และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ดูคนอเมริกัน+ญี่ปุ่นจะชอบแตงโมคล้ายอาจารย์ครับ
  • เดิมผมเองก็คิดว่า แตงโมคงจะไม่มีคุณค่าอะไร สักแต่หวานชื่นใจเท่านั้นเอง

พออ่านพบเข้าถึงได้รู้ว่า มีดีหลายอย่างเหมือนกัน

        คุณหมอค่ะ หนูก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบกินแตงโม แต่กินไม่ได้มากนะค่ะ เพราะหนูจะเป็นคนที่ปัสสาวะบ่อยมากๆๆ วันไหนที่หนูเรียนอยู่ห้องแอร์ หนูจะปัสสาวะวันละประมาณ 4-5 ครั้ง เวลาแค่ 09.00 -12.00 น.บางวันเดินจนเมื่อย...หนูผิดปกติหรือเปล่าค่ะ อาจารย์บอกหนูว่า "ไตเธอทำงานดีเหลือเกินนะ" บางทีหนูคิดว่าถ้าหนูเป็นอย่างนี้หนูคงเรียนไม่รู้เรื่องแน่ คุณหมอช่วยวิเคราะห์อาการของหนูด้วยนะค่ะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

พิไล

อาจารย์คะ ไหนว่าแตงโมมีสารเคมีเยอะหนูเป็นคนนึงที่ชอบทานแตงโมมาก แต่เคยทานแล้วท้องเสียอย่างรุนแรง ไปหาหมอคุณหมอบอกว่าอาหารเป็นพิษเนื่องจากแตงโม และอีกอย่างพอทานแตงโมเมื่อไหร่(ถ้าพี่ๆเห็น)จะโดนดุทุกครั้ง บอกว่าสารเคมีเยอะแล้วยังจะทานอีก แล้วยังทำให้ปัสสาวะบ่อยอีกด้วย ขอความกระจ่างจากอาจารย์อีกครั้งนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

ผลไม้โปรดของผมอีกรายการครับ

ตอนเด็กๆ กินคนเดียวครึ่งลูกเลย

แต่ตอนนี้กินไม่ไหวครับ ขอเสี้ยวเดียวพอ

มาช่วยเพิ่มเติมคุณหมอนะครับ

แตงโม 100 กรัม จะให้พลังงาน+สารอาหารตามตารางครับ

Energy 30 kcal
Carbohydrates     7.6 g
- Dietary fiber  0.4 g  
Fat 0.2 g
Protein 0.6 g
Water 91 g
Vitamin C  8 mg 13%

Source: USDA Nutrient database

(สำหรับคนอยากดูอย่างละเอียดนะครับ ให้หาคำว่า watermelon)

เหมาะสำหรับคนลดความอ้วนมาก

เพราะน้ำเยอะถึง 91%

พลังงานก็ต่ำมากครับ แถมเป็นพลังงานจากน้ำตาลเกือบหมด มีวิตามิน A,C เยอะ 

และมีVitamin B1,B6 potassium, magnesium เล็กน้อย

รวมทั้งยังมี ไลโคพีน, แคโรทีนอยด์อีก

ซึ่งผมเพิ่งทราบจากอาจารย์เองว่าป้องกันเส้นเลือดตีบได้ด้วย

ถึงคุณบวร เรื่องยาฆ่าแมลงเป็นจริงหรือครับ

ผมเห็นแตงโมเปลือกหนาพอควรนะครับ แมลงยังเจาะกินได้หรือ...

ยังไงก็น่าระวังไว้นะครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

ขอขอบคุณอาจารย์พิไล และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • เรื่องผลไม้นี่... หลากหลาย+น้อยไว้ดี
  • นี่หมายถึงว่า น่าจะกินผลไม้หลายอย่าง อย่างละน้อยๆ
  • ผลไม้... เลือกที่หวานน้อยไว้ก่อนน่าจะดี

การกินผลไม้มากเกินอาจทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกิน จึงควรกินผลไม้ในสัดส่วนที่น้อยกว่าผัก + กินข้าวกล้อง เพื่อให้ได้รับคุณค่าจากพืชผักดีที่สุด

  • ส่วนใหญ่คนที่ปัสสาวะมากเกิน (ไม่ใช่ทั้งหมด) มาจากการกินน้ำมากเกิน + กินเค็ม(เกลือ)มาก + ร่างกายไวต่อชา กาแฟ หรือกาเฟอีนในน้ำอัดลม/ช็อคโกแล็ต...
  • เสนอให้ดื่มน้ำให้มากตอนเช้าหลังตื่นนอน 3-5 แก้ว > ช่วงเรียนหรือทำงานดื่มน้อยหน่อย > เลิกเรียนหรือทำงานแล้วค่อยดื่มเพิ่มครับ
  • ลองลดชา กาแฟดูน่าจะดีเหมือนกัน

ขอให้อาจารย์พิไล และท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีครับ

ขอขอบคุณอาจารย์อนงนาฏ และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • กินผลไม้ เช่น แตงโม ฯลฯ แล้วท้องเสีย... น่าจะเป็นผลจากเชื้อบิดที่พบได้ตามเปลือกผลไม้ + ไข่...

(1). แนะนำให้ฟอกสบู่ หรือใช้น้ำยาล้างจาน + ฟองน้ำล้างจานฟอกเปลือกผลไม้ก่อนล้าง + ล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินผลไม้...

(2). ท้องเสียอาจเกิดจากไวรัส ทำให้ลำไส้อักเสบ > โรคนี้ติดจากการไอ จาม(ทางลมหายใจ) + เสมหะปนเปื้อนติดมากับมือ > ควรจะล้างมือด้วยสบู่(ไปไหนควรพกสบู่ไปด้วย) หรือใช้เจลทำความสะอาดมือบ่อยๆ

  • การกินผัก ผลไม้หลายชนิดสลับกัน(ไม่กินซ้ำชนิดเดิม) + ครั้งละไม่มากนัก + ล้างเปลือกให้สะอาดน่าจะปลอดภัยพอสมควรครับ...

ขอให้อาจารย์อนงนาฏ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี มีความสุขกับแตงโมเย็นๆ

ขอขอบคุณอาจารย์จันทร์เมามาย และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณมากสำหรับตารางคุณค่าทางอาหารแตงโม...
  • น้ำ 91% เหมาะมากกับอากาศร้อนๆ แน่

เรื่องยาฆ่าแมลงในแตงโมได้ยินมาว่า เขาผสมกับเมล็ดตั้งแต่เริ่มปลูกเลย น่าจะมีการใช้จริงครับ...

  • ถ้าปลูกเอง หรือมีชนิดไม่ใช้ยาฆ่าแมลงขายได้น่าจะดีมาก
  • ถ้ากินนานๆ ครั้ง + ล้างเปลือกด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างจาน(ถูด้วยฟองน้ำล้างจาน)น่าจะปลอดภัย
  • ปริมาณยาฆ่าแมลงในแตงโมน่าจะไม่สูงอย่างที่อาจารย์ว่า เพราะเราปอกเปลือกหนาๆ ทิ้งไป(ไม่ได้กินเปลือก)

ขอให้อาจารย์จันทร์เมามาย และท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี + มีความสุขเล็กๆ กับแตงโมเสี้ยวหนึ่งครับ

อาจารย์คะแตงโมที่ว่านี้เป็นแตงโมทั้งผลใช่ไหมคะไม่ใช่  fresh-cutใช่ไหมคะ  พอดีทำงานวิจัยเกี่ยวกับแตงโมอยู่คะอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับแตงโมสามารถหาได้ที่ไหนคะช่วยรบกวนแนะนำให้หน่อยคะ

ขอบพระคุณอย่างยิ่ง

น้ำฝน

ขอขอบคุณ... คุณน้ำฝนและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ผมไม่เชี่ยวชาญในการสืบค้นข้อมูลครับ...
  • เรียนเสนอให้ปรึกษาห้องสมุด หรือจะใช้ search engine เช่น Google ฯลฯ ก็ได้
  • พิมพ์คำว่า "แตงโม" หรือ "watermelon" เข้าไปคงจะใช้ได้เหมือนกัน
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท