KMCafe ครั้งที่ 2


KMCafe2-การจัดการเพื่อความอยู่รอด

สรุป KM Café ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

เวลา 13.00 -14.30 น. ห้อง 1114            

       KM Café ครั้งที่ 2 หัวข้อ การจัดการเพื่อความอยู่รอด (Survival  Management) มีผู้เข้าร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวม  7 คน ประกอบด้วย 

รายชื่อ

หน่วยงาน เบอร์โทรศัพท์

1. รศ.ดร.ธำรงค์      อุดมไพจิตรกุล

2. ผศ.อุทิศ   เชาวลิต

3. ดร.สุริยะ  

    เจียมประชานรากร

4. . ศัชชญาส์ ดวงจันทร์

5. คุณชิสา

6. คุณมนัสวีร์

7.คุณกุญช์ชญา  

   กฤษดาเดชากุล

โครงการการจัดการความรู้

คณะมนุษย์ศาสตร์ 

โครงการการจัดการความรู้

โครงการการจัดการความรู้  

โครงการการจัดการความรู้

01-988-9931

06-997-9123

02-244-586902-244-5869  

02-244-5869

 สาระความรู้ที่สกัดได้จาก KM Café ครั้งที่ 2 มีดังนี้

     สิ่งที่ได้จากการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดประเด็นความคิดที่ผู้ร่วมเสวนาเชื่อว่า จะนำปรับไปใช้จัดการให้เกิดความอยู่รอดทั้งในเรื่องของส่วนตัว / องค์กร (Individual  Survival) และส่วนรวม (Global Survival) ดังนี้

1.      ใช้ความเสียเปรียบที่เป็นอยู่ให้เป็นโอกาส เช่น คนที่รูปร่างหน้าตาไม่สวย ทำให้มีเวลาทุ่มเทศึกษาค้นคว้าในเรื่องเรียนและทำงานได้มาก

2.      พฤติกรรมดีๆ เช่น ยิ้มเก๋ๆ พูดดีๆเป็นการผูกมิตรทำให้การประสานงานราบรื่น สำเร็จและอยู่รอดได้ทั้งคนและองค์กร

3.      ความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิหรือแบบไม่เป็นทางการ (informal) ช่วยให้การทำงานใดๆ ก็ตามมีโอกาสอยู่รอดได้มากกว่าความสัมพันธ์ทุติยภูมิหรือแบบเป็นทางการ (formal)

4.      การอยู่แบบพึ่งพาตนเอง จะช่วยให้คนและสังคมมีโอกาสอยู่รอดได้ดีกว่าและมากกว่าการพึ่งพาผู้อื่นอยู่ร่ำไป แต่การเชื่อมโยงผูกสัมพันธ์กับคน / องค์กรอื่นๆ ก็มีส่วนช่วยเสริมให้คน / องค์กร / สังคม อยู่รอดปลอดภัยได้ดีกว่าอยู่โดดเดี่ยว เช่น มหาวิทยาลัยไทยต้องมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ

5.      การฝ่าฝืนระเบียบกฎเกณฑ์บ่อยๆ หรือทำอะไรแบบหยวนๆ บ่ายๆ มีแต่จะทำให้บุคคลนั้นเอาตัวและชีวิตไม่รอด และส่งผลเดือดร้อนถึงคนอื่นๆด้วย เช่น มอเตอร์ไซด์รับจ้างขับรถย้อนศรเป็นประจำ สุดท้ายชนกับรถมินิบัส เสียชีวิตทั้งคนขับและผู้โดยสาร คนขับรถมินิบัสถูกจับฐานขับรถโดยประมาท

6.      ความอดทน เข้มแข็งในอารมณ์ ไม่หวั่นไหวมากจนเกินพอดี (แต่ก็ต้องไม่ดื้อรั้นจนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น) ช่วยทำให้อยู่รอดได้ทั้งในเรื่องส่วนตัวและส่วนรวม

7.      สังคม / ประเทศ จะสงบสุข หากคนในสังคมพูด / คิด / ทำ  เพื่อให้เกิดความสมดุลไปพร้อมๆกันระหว่างความยู่รอดของบุคคล องค์กร สังคม ประเทศชาติ และประชาคมโลก ซึ่งเป็นเรื่องยากและท้าทายปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอๆ คือ บุคคลเน้นการอยู่รอดของบุคคล

8.      ความเห็นแก่ได้ ( โลภ )  มักทำให้อยู่รอดได้ในระยะสั้นๆ  ในทางตรงกันข้าม ( อโลภ )  หรือมองไกล  เน้นประหยัด  มีคุณภาพจะทำให้อยู่รอดในระยะยาวและยั่งยืนตลอดไป  แม้ว่าในระยะส้นอาจจะ เจียนอยู่เจียนไป  ดังเช่นการทำธุรกิจของคนจีน  จะยึดถือเอา กำไรน้อย  แต่ไม่น้อย  จึงจะอยู่รอด  และถ้ายึดถือ กำไรมาก  แต่ไม่มาก จะอยู่ไม่รอดและล่มสลายในเร็ววัน  นอกจากนี้การทำธุรกิจต้องให้ความสำคัญ  มีความเอื้ออาทรผู้เกี่ยวข้องดุจลูกหลาน  ญาติพี่น้อง  ดังที่เราใช้คำว่า พ่อค้า  แม่ค้า  และ ลูกค้า  หากคิดทำเช่นนี้ได้จริง  จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในระยะยาว  ดังสุภาษิตที่ว่า ซื่อกินไม่หมด  คดกินไม่นาน  และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายใหม่ของธุรกิจที่เน้น “Maximize  Total  Sale”  9.      ความอยู่รอดของคนที่เป็นผู้บริหารองค์กร  นอกจากจะต้องทำให้อยู่รอดได้แล้ว  จะต้องทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีด้วย  จึงจะอยู่รอดได้ตลอดไป

10.  การได้สัมผัสและเรียนรู้  คน / องค์กร  หลากหลายระดับ  ทั้งเพื่อนร่วมงาน  หัวหน้า  ลูกน้อง  องค์กรเล็ก  องค์กรใหญ่  ทำให้เรามีความคิดที่หลากหลาย  เข้าใจคนอื่นได้ดีขึ้นถึงความแตกต่างในกระบวนการคิด  ซึ่งนำมาปรับใช้กับความคิดเห็นของตนเองเพื่อช่วยให้อยู่รอดได้ 

 สรุป สิ่งที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อความอยู่รอดของบุคคล  องค์กร ( individual  survival ) และของส่วนรวม  ( global  survival )  คือการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ในการจัดการความรู้  สำหรับคนทั่วไปให้ใช้ฆราวาสธรรม  ส่วนการปกครองใช้ทศพิธราชธรรมดังที่ในหลวงของเราได้ใช้ในการปกครองประเทศ  เพื่อให้เกิดความผาสุกแด่ปวงชนชาวไทย  ตลอด 60  ปีของการครองสิริราชสมบัติ  ดังพระราชดำรัสเมื่อ วันที่    9 มิถุนายน  2549  ดังนี้

ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน  

ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และกับประเทศชาติ

ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน

ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิด ความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล หากความคิด จิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดี ที่เจริญนี้ยังมีพร้อมมูลในกาย ในใจของคนไทย ก็มั่นใจได้ว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไปได้  

 

คำสำคัญ (Tags): #kmcafe
หมายเลขบันทึก: 41284เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท