ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“การปลูกข้าวต้นเดียว ให้ผลผลิตสูงจริงหรือ ?”


“ข้าว” (rice) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L.ต้นเดียว

การปลูกข้าวต้นเดียว ให้ผลผลิตสูงจริงหรือ ?           

               

             “ข้าว(rice)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L.  เป็นอาหารประเภทคาโบไฮเดรทที่หล่อเลี้ยงพี่น้องชาวไทยมาช้านาน  ข้าวนั้นจัด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีลำต้นเป็นปล้อง ซึ่งมีทั้งพันธุ์ชวาที่ปล้องกลวงและตัน ใบมีลักษณะยาวรี ปลายแหลม ดอกมีสีน้ำตาลและออกเป็นช่อ ดอกเป็นประเภทสมบูรณ์เพศ เพราะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่ จึงเป็นการผสมกันในตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยแมลง รากต้นข้าวเป็นรากฝอย และต้นข้าวแต่ละต้นอาจมีหน่อได้ตั้งแต่ 5-15 หน่อ ซึ่งหน่อแต่ละหน่อจะให้รวงข้าวหนึ่งรวงโดยในแต่ละรวงจะมีเมล็ดตั้งแต่ 100-200 เมล็ด ข้าวที่โตเต็มที่จะสูงตั้งแต่ 1-2 เมตร

            ฝนฟ้าช่างเป็นใจ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในสมรภูมิที่ดีเหมาะแก่การทำนาปลูกข้าว พอถึงฤดูกาลทำนา (พ.ค.-ก.ค.) พี่น้องเกษตรกรต่างก็ขะมักเขม้นในการเตรียมแปลงเพื่อหว่านไถ ปักดำ ในการทำนาปลูกข้าวของพี่น้องเกษตรกร บ้างก็ทำนาดำ บ้างก็ทำนาหว่าน แล้วแต่ความพร้อมด้านแรงของแต่ละครอบครัว ซึ่งปีนี้ฝนฟ้ารู้สึกจะเป็นใจอย่างมากซึ่งค่อยๆ ตกมาอย่างเรื่อยๆ ดูสีหน้าของพี่น้องเกษตรกรแล้วล้วนแต่ยิ้มแย้มแจ่มใส หน้าตาเบิกบานเพราะพยากรณ์แล้วว่าหากเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ คงจะมีผลผลิตข้าวที่ดีเป็นแน่แท้ทีเดียว   

             “ปลูกข้าวต้นเดียว นวัตกรรมการผลิตแบบใหม่  เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผมมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับการปลูกข้าวต้นเดียว กับพี่พันธ์ คำพันธ์ ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ซึ่งพี่พันธ์เล่าให้ฟังว่า

            การปลูกข้าวต้นเดียวหรือการปลูกข้าวแบบเข้มข้น (System of Rice Intensification :SRI) เป็นนวัตรกรรมใหม่ที่เพื่อนเคยไปดูงานที่ประเทศเขมร มาเล่าให้ฟังว่าการทำนาในประเทศเขมรนั้นเขาเริ่มปรับเปลี่ยนละพัฒนามากแล้ว เขาเริ่มทดลองปลูกข้าวนาดำโดยวิธีใช้ต้นข้าวต้นเดียวไปปักดำ ปรากฏว่าข้าวแตกกอดี ข้าวสวยงาม ไม่มีโรคแมลง อีกทั้งให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการเดิมที่เราทำอยู่  ดังนั้นเมื่อปีที่แล้วพี่พันธ์จึงได้ทดลองทำในคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในพื้นที่ 1 ไร่ ปรากฏว่าผลที่ได้มากกว่าการทำนาแบบเดิมถึง 2 เท่าตัว แล้วผมจึงถามพี่พันธ์ต่อว่าแล้วในขั้นตอนการทำนั้นทำอย่างไรบ้าง พี่พันธ์ก็กล่าวต่อว่า ในปีที่แล้วพี่เขาใช้ข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิพื้นเมือง ที่ได้มาจากพี่บุญมี   สุริวงศ์ จังหวัดยโสธร จากนั้นก็นำมาตกกล้า เมื่อกล้าอายุได้ 25 วัน ก็ทำการถอนไปปักดำโดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น 50 x50 ซม. อย่างอื่นๆ ก็ทำเหมือนกันกับนาดำทุกประการ หลังจากที่พี่พันธ์ปลูกข้าวโดยวิธีนี้แล้วพบว่าข้าวแตกกอดีมาก เฉลี่ย 17 ต้น(รวง)ต่อกอ และได้ผลผลิตสูงถึง 800 กิโลกรัมโดยไม่ใช้สารและปุ๋ยเคมีเลย

            ปลูกข้าวต้นเดียว ประหยัดเมล็ดพันธุ์ และต้นทุน   พี่พันธ์กล่าวต่อว่าการปลูกข้าวต้นเดียวนั้น เป็นการปลูกข้าวที่มีต้นทุนต่ำ และได้ผลผลิตสูง กล่าวคือ ใช้เมล็ดพันธุ์ น้อย เพียง 3-5 กิโลกรัม ในขณะที่นาดำทั่วไปใช้ประมาณ 710 กิโลกรัม และนาหว่านใช้เมล็ดพันธ์ถึง 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ปุ๋ยคอกประมาณ 1 ตัน แล้วก่อนหน้านั้นได้ ได้มีการปลูกพริก และข้าวโพดแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดหลังเก็บผลผลิตหมดแล้ว ส่วนสาร หรือยากำจัดศัตรูพืชต่างๆ รวมทั้งปุ๋ยเคมีไม่ได้ใช้เลย 

             ครับจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นก็เป็นอีกนวัตรกรรมหนึ่งที่พี่น้องเกษตรกรจะต้องปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับสังคมโลก คงเป็นเรื่องยากครับที่พี่น้องเกษตรกรเราจะเพิ่มพื้นที่การผลิตให้มากขึ้นเนื่องจากที่ดินก็มีจำกัด และราคาก็สูง แต่สิ่งที่ผมมีความเชื่อและจะเป็นจริงในอนาคตอันใกล้นี้คือการเพิ่มขีดความสามารถในการเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ และการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง เพราะ อาชีพการทำนาเป็นอาชีพที่ส่งผ่านมาทางสายเลือด ของพี่น้องเกษตรกรไทยอยู่แล้ว

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

27 ก.ค. 49

หมายเลขบันทึก: 41162เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
ปีหน้าจะทดลองปลูกข้าวต้นเดียว (1 ไร่)  จะได้ช่วยอาจารย์อุทัยวิจัยอีกทอดหนึ่ง  เพราะทุกวันนี้ทำนาหว่านต้นทุนด้านเม็ดพันธูนั้นสูงมาก แต่จะเป็นปัญหาในเรื่องค่าแรงที่สูงถ้าทำนาดำ จะทดลองเปรียบเทียบทำนาดำแบบปลูกข้าวต้นเดียวกับทำนาหว่าน ว่าวิธีไหนคุ้มทุนที่สุด โดยไม่หวังผลกำไร
        ดีใจด้วยครับอาจารย์  ดีใจกับชาวบ้านที่มีคนดีๆมาช่วยคิด ช่วยทำคิด  ให้ชาวบ้านหูตาสว่าง  ผมอีกคนหนึ่ง ที่มีที่ดิน( นา) เพียงเล็กน้อยก็จะช่วยทดลองช่วยอาจารย์ อีกแรงครับ ...
เรือง ข้าวต้นเดียวนี้ต้องระวังดี ๆ ผมได้หารือกับต้นตำรับที่เป็นชาวอเมริกันหลายรอบแล้ว ก็ยังไม่เห็นประเด็นว่าจะทำอย่างไรให้ข้าวต้นเดียวเกิดผลอย่างจริงจังในประเทศไทย  ผมคุยกับอาจารย์พฤกษ์ ที่เชียงใหม่ ท่านก็ไม่มั่นใจเช่นกัน เพราะมีเงื่อนไขมากมาย เกษตรกรที่สุพรรณบุรี และที่ยโสธร ลองทำมาแล้ว บอกว่า ทำมากไม่ได้ เหมาะสำหรับคนที่มีนาน้อย แรงงานมาก และมีน้ำมาได้จังหวะพอดีๆ จึงจะเกิดประโยชน์ได้อย่างที่เห็นโฆษณากันในวีดีโอ สถานการณ์ตอนนี้ ชาวนาส่วนใหญ่มีแรงงานที่แท้จริงน้อย แต่ที่ทำกินมาก จึงไม่ค่อยจะเหมาะที่จะใช้การจัดการข้าวต้นเดียว  ลองไปคิดดูก็แล้วกัน ผมไม่อยากชี้นำมากเกินไป เดี๋ยวคุณจะไม่มีโอก่าสได้คิด แต่บอกไว้เลยว่าผมคิดเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว และยังไม่เห็นทางออก ผมมีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ (SRI) อยู่ค่อนข้างจะครบถ้วน ถ้าคุณต้องการ ก็เอาไปดูได้

นึกว่าต้นตำหรับเป็นชาวฝรั่งเศสร่วมกับชาวมาดากัสการ์เสียอีกครับ ที่แท้ก็พี่กันอีกแล้ว

การปลูกข้าวต้นเดียว

เหมาะกับเกษตรกรที่มีเนื้อที่น้อย และต้องลงมือทำเอง เพราะค่าจ้างแรงงานดำนาวันละ 250 บาท แต่ไม่เคยคำนวณว่า 1 ไร่

จะต้องจ่ายค่าแรงปักดำเท่าใด

แต่การทำนาที่ไถแล้วหว่าน ไม่ต้องจ่ายค่าแรงในการปักดำค่ะ

ปีนี้จะลองปลูกดูโดยเพาะกล้าในถาดแล้วปักดำ

น่าสนใจนะครับ ขอกลับไปคิดเปงการบ้านก่อนนะครับ แล้วจะช่วยเปิดประเด๋นครับ

รักข้าวมากที่สุดในโลก

ขอบคุณมากครับ "ข้าวคืออาหารของผู้ด้อยโอกาส"

รบกวนถามอาจารย์อุทัย การปลูกข้าวต้นเดียวใช้วิธีการเพาะในกระบะแบบโยนกล้าแล้วเอาไปปักดำตามช่วงอายุที่กำหนดโดยไม่ทำให้ดินแตกออก กับวิธีเพาะกล้าที่แปลงแล้วถอนมาปักดำ อันใหนดีกว่ากัน

นายวินัย วรรณสัมผัส

คุณ polo ผมลองดูแล้ว ข้าวฟื้นตัวเร็วดี ความคิดเห็นท่านอาจารย์ ดร. แสวง มีประโยชน์มากครับ นาแบบนี้ทำมากไม่ได้ ต้องใช้เวลาดูแลมาก เอาใจใส่สูง (ขัดกับอีสานบ้านเฮาปัจจุบันทำนา 2 วัน/ปี) ค่าแรงงานแพงมาก และแรงงานไม่คุ้นเคย ทั้งบ่น และหัวเราะเยาะ การควบคุมน้ำไม่ได้ น้ำน้อยวัชพืชเยอะมาก การใช้เครื่องพรวนหญาในร่องนาดำ เหนื่อยมาก ไม่มีคนงาน น้ำมากหอยเชอรี่กัดกินอีก ปีนี้เดือนแปดสองหน แล้งจัด เพลี้ยระบาดหนักข้าวไม่แตกกอ มีนาเยอะคงทำไม่ได้ ถ้ามีเวลาทำสัก 1 ไร่ ดูแลดี ข้าวงาม พอส่งเสริมกำลังใจในยุคที่ทำนามีแต่ยาฆ่าหญ้าเต็มทุ่ง ข้าวนาปี นาอีสานเราเราปู่ย่าตายายเคยทำได้เท่าไรก็ได้เท่านั้นแหละ งามมากเมล็ดลีบ งามน้อยรวงเล็ก ฝนมากก็ไม่ได้ ฝนน้อยก็ไม่ดี รีบฟ้าฟ้าวนำฝน การทำนาดินอุดมสมบูรณ์น้อยลงมาก ปู๋ยคอกขี้หมูถุงหัวอาหาร 30 บ./สอบ ขี้วัว 800 บ./อีแต๊ก แกลบรถละ 2000 บาท คายข้าวรถละ 1500 ปุ๋ยเคมีแพงอยู่แล้ว รถไถแดง คูโบต้า ยันมาร์ ทำลายหน้าดินสูงมาก ข้าวหอมมะลิเก่าเบาๆ 1 ตันได้ 15000 (ถ้าขายโรงสีอาจไม่ถึงข้อแม้เยอะ ขนาดเขาขายแกลบ แกลบดำ คายข้าว รำข้าว ปลายข้าว ฯลฯ ) มีส่วนแบ่งเยอะมาก ตั้งแต่เริ่มต้นทำนาถึงได้บิลพร้อมเงิน เกือบ 1 ปี มองไม่เห็นกำไรเลย จึงเกิดประกันราคา จำนำข้าว ให้ได้เถียงกัน (ยืม ธกส. 20000 บ. หักหนี้เดิม 12000 ค่าลาบ 2000)

คนอีสานช่วยกันทดลองหน่อยครับ  ผมเป็นคนหนึ่งที่จะช่วยอีกคน  ปีที่แล้วโยนกล้าเล้าแตก  หอมนิล  และสิบแปดอรหันต์(สิบแปดสายพันธ์ุ)ทั้งเหนียวและเจ้าในแปลงเดียวกันอร่อยมากลดค่าอาหารเสริม2คนเดือนละ1หมื่นบาทที่อำเภอเมืองอุดรธานี  สังเกตุดูข้าวที่เพาะโยนบางหลุม3ต้น  บางหลุม1ต้น  คนหัวเราะเยาะแต่เมื่อผ่านไปเพียง15วันไม่รู้ข้าวมาจากใหนแตกกอแน่นเลยแทบไม่แตกต่างทั้ง3และ1ต้นในหลุมเดียว  ปีนี้2556จะลองเพาะต้นเดี่ยวโยนเป็นแถวสักแปลงโดยใช้หอมนิลระยะห่างอาจขยับเป็น30*30  กำจัดหญ้าด้วยโรตารีวีดเดอร์  อีกแปลงจะปลูกแบบโรยข้าวงอกซื้อเครื่องโรยแบบเวียตนามมาแล้วน่าจะเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว  ไม่ต้องตกกล้า  ถอนกล้า  ปักดำ  และไถหลายรอบค่าแรงคนกินหมด  ผลประการใดจะต่อยอดนาปรังอีกที  นาผมเพิ่งขุดสระนำ้ไว้1ไร่ น่าจะพอเพียงสำหรับแปลงทดลอง3ไร่  พี่น้องอีสานเราปลูกมาหลายชั่วอายุคนก็ยิ่งแย่ลงลงเปลี่ยนวีธีคิดและวิธีทำดูไม่ต้องมากดีค่อยขยาย  ถ้าไม่ไหวก็เลิกเปลี่ยนวิธีใหม่  อย่าหวังเพียงว่ารัฐจะเข้ามาช่วยสูู้พวกเราช่วยตัวเองดีกว่ายั่งยืนอย่างมีศักดิ์ศรี  

ผมทดลองปลูกข้าวเหนียวธัญสิริน  พันธ์ุพระราชทานหนึ่งเดียวในพระเทพฯตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งพัฒนามาจาก กข.6 ต้านทานโรคใบไหม้ เตี้ยกว่านิดหน่อย การแตกกอดีและจับถี่กว่า กข.6ที่ปลูกติดกันปีที่แล้วลงเต็มแปลง30ไร่ ผลผลิตมากกว่ากข.6ประมาณ20%  ตอนนี้ขยายไปในหลายอำเภอแล้วครับโดยเฉพาะลงพื้นที่โครงการปิดทองหลังพระอำเภอหนองวัวซอ  อุดรธานี 24 ไร่ติดใจมากเลยสองชั่วอายุคนไม่เคยพบไม่เคยเห็น  เสียดายบางส่วนเอาเข้าโครงการจำนำข้าวจึงเหลือนิดหน่อย  บางคนยังลังเลทั้งที่ครัวเรือนติดกันไม่อยากแนะนำมากเพราะคนอีสานไม่เชื่อคนในชุมชนตัวเองนักแต่มักเชื่อพ่อค้าขายตรงหลอก(ผมคนอีสานเชื่ออย่างนั้น)  มีบางรายมาแอบดูแล้วเชื่อผลผลิตออกมาออกปากเองเลยว่าเพิ่ม20%  นำไปขายที่โรงสีราคาเท่ากับกข.6  ที่สำคัญไม่ล้มแม้แต่ต้นเดียว  ปีนี้จำนำไปปลูกที่เมืองพลบ้านเกิด  กำลังหารถขุดสระนำ้ในไร่นาแต่เพื่อนเป็น สจ.ที่ขอนแก่นเขาบอกว่ามีโครงการช่วยเหลือ  พี่น้องลองประสานดูนะครับอย่าเสียดายพื้นดินกันมากเลยไม่ได้สูญหายไปไหน  เลี้ยงปลาปลูกผัก ต้นไม้ ฝนทิ้งช่วงสูบเข้าช่วยได้  ผิดพลาดแล้วแก้ไขอย่าให้มันผิดซำ้ซากพี่น้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท