การประชุมทีมงานนักวิจัย PAR อาหารปลอดภัย ครั้งที่ 5 (วันที่ 25 กรกฎาคม 2549)


เป็นเครื่องยืนยันได้ว่านักส่งเสริมการเกษตรไม่ได้มองการทำงาน/การพัฒนาอาชีพการเกษตรเพียงยึดตามโครงการ-กิจกรรมที่ถูกสั่งให้ปฏิบัติเท่านั้น

          การประชุมทีมงานนักวิจัย PAR อาหารปลอดภัย ครั้งที่ 5 

          ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 มีการจัดประชุมทีมงานนักวิจัย PAR ในโครงการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน (อาหารปลอดภัย) ของจังหวัดกำแพงเพชร ประจำเดือนกรกฎาคม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 มีทีมนักวิจัยทั้งจากส่วนกลาง และจากจังหวัด-อำเภอ ตลอดจนนักวิจัยที่เป็นเกษตรกร ประมาณ 20 ท่าน ที่มีจำนวนน้อยก็เพราะช่วงนี้เป็นช่วงของปลายปีงบประมาณ มีกิจกรรมการที่จะต้องดำเนินการในพื้นที่หลายกิจกรรม ทำให้หลายท่านติดภารกิจไม่สามารถมาร่วมประชุมในวันนี้ได้

เริ่มกระบวนการ

          โดยคุณสายัณห์ ปิกวงศ์ เกริ่นนำด้วยการทบทวนสิ่งที่ได้ปฏิบัติงานมาทั้งหมด เพื่อปรับภาพความเข้าใจร่วมกันว่า ขณะนี้ได้มีการนำงานวิจัยมาดำเนินการในงานปกติ ซึ่งโดยปกติเราก็ทำกิจกรรมเหล่านี้อยู่แล้ว แต่เมื่อได้นำการวิจัยเข้ามาปฏิบัติก็เพื่อพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรให้มีขีดความสามารถในการทำการวิจัยในงาน และยังส่งผลต่อการเสริมหนุนการทำงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ เพราะงานวิจัยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร อีกทั้งเกษตรกรยังได้เรียนรู้กระบวนการสร้างองค์ความรู้ในอาชีพการเกษตรอีกทางหนึ่งด้วย

  <div style="text-align: center"></div><p>          จากนั้นก็มีการนำเสนอความคิดเห็น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งจากนักวิจัยที่มาจากส่วนกลาง และนักวิจัยที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่อยู่ในพื้นที่ และเกษตรกรที่เป็นทีมนักวิจัยในพื้นที่ พอสรุปได้ดังนี้ </p><ul>

  •  การปฏิบัติตามแผนวิจัย
  •  จัดเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนที่ปฏิบัติตามบริบท
  •  วิจัย PARเป็นเพียงวงรอบการทำงานวงหนึ่งเท่านั้น แต่ยังจะต้องทำต่อไป หรือขยายวงการทำการทำงานในลักษณะของการวิจัยต่อไปไม่มีสิ้นสุด
  • </ul><p>การนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัย </p><p>          จากนั้นก็เป็นการนำเสนอความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ โดยเริ่มจากตำบลนาบ่อคำ วันนี้ได้มีทีมนักวิจัยของชาวบ้านมาร่วมนำเสนอความก้าวหน้าในวันนี้ด้วย จากนั้นก็เป็นการเล่าความก้าวหน้าจากทุกตำบล ซึ่งก็มีความก้าวหน้าและวิธีการดำเนินการวิจัยที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป </p><div style="text-align: center"></div>
    การร่วมมานำเสนอความก้าวหน้าโดยทีมนักวิจัยชาวบ้าน(ตำบลนาบ่อคำ) <p> </p><p>          เมื่อดำเนินการนำเสนอความก้าวหน้าจนครบแล้ว ก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในภาพรวมเพื่อการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติซึ่งกันและกัน สรุปผลการปฏิบัติ คุณศิริวรรณ หวังดี จากส่วนกลางได้ดำเนินการสรุปภาพรวมของการดำเนินการวิจัยทั้งหมดจากการ ลปรร.ของวันนี้ ซึ่งก็มีความก้าวหน้าและได้เรียนรู้ในกระบวนการทำงานนี้เป็นอย่างมาก และคุณสายัณห์ ได้นำการนัดหมายกิจกรรมที่จะต้องกลับไปดำเนินการในพื้นที่ สรุปได้ดังนี้ </p><div style="text-align: center"></div><p>          1. นำข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน มายกร่างและลงมือเขียนรายงานการวิจัย 
              2. ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้
              3. ดำเนินการค้นหาคำตอบจากคำถามวิจัย/ข้อสงสัย (ตามบริบทชุมชน-เทคโนโลยี-การประเมินความเสี่ยง) </p><p>          จากนั้นก็เป็นการนัดหมายการประชุมเพื่อนำเสนอความก้าวหน้าครั้งต่อไปในวันที่ 18 17 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร </p><p>สรุปบทเรียน</p><p>          ในวันนี้กระบวนการก็ดำเนินไปเช่นครั้งที่แล้ว แต่สิ่งที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่คิดว่าน่าจะเป็นการพัฒนาไปในทิศทางที่น่าพอใจก็คือ</p><ul>

  • การนำเสนอของเกษตรกรที่เป็นทีมนักวิจัย พบว่าเกษตรกรมีการวางแผนการเรียนรู้ของกลุ่มได้เอง ตามความต้องการการเรียนรู้ของกลุ่ม สังเกตได้จากการนำเสนอกิจกรรมในการปฏิบัติที่ได้ต่อยอดความรู้จากเกษตรกรที่จังหวัดพิจิตร
  • วันนี้ในช่วงนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  นักส่งเสริมการเกษตรได้สะท้อนให้เห็นว่า  การนำPAR มาปรับในงานส่งเสริมการเกษตรนั้น คงจะต้องดำเนินต่อไปตามปัญหาและการเรียนรู้ของเกษตรกร  ซึ่งก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่านักส่งเสริมการเกษตรไม่ได้มองการทำงาน/การพัฒนาอาชีพการเกษตรเพียงยึดตามโครงการ-กิจกรรมที่ถูกสั่งให้ปฏิบัติเท่านั้น
  • วันนี้คุณณรงค์ศักดิ์  ขัติทะเสมา นวส.จากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ได้นำอุปกรณ์การถ่ายทำวีดีโอ(ทุนส่วนตัว) มาช่วยเก็บข้อมูล-การประชุมในวันนี้  ทำให้มองเห็นประโยชน์ของเครื่องมือการเก็บข้อมูล เพิ่มเติมนอกจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลและการบันทึกด้วยมือเท่าที่ปฏิบัติกันมา
  • </ul><p>บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ</p><p>วีรยุทธ  สมป่าสัก</p>

    หมายเลขบันทึก: 41030เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (5)

     Flower เรียนท่านสิงห์ป่าสัก

     อย่างนี้เขาเรียกว่าจาก R2R คือ Routine to Research พัฒนาจากงานประจำสู่งานวิจัยครับ





    เรียน อาจารย์หมอ JJ

              "งานประจำสู่งานวิจัย"  ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์หมอ JJ

    ได้ความรู้ครับ ได้ความรู้ แต่....เอ R2R ระหว่างพัฒนาจากงานประจำสู่งานวิจัย ตามความเห็นของหมอ JJ กับ การนำงานวิจัยมาดำเนินการในงานปกติ ที่กำแพงเพชร กล่าวไว้ มันไม่เหมือนกันหรือครับ หรือจะต่างกันอย่างไร และถามอีกอย่างว่าภาพที่ใส่ไว้ขนาดเท่าไห่ครับ พอเหมาะดีจัง ขอบคุณครับ

    เรียน ครูนงเมืองคอน

    • ผมเห็นด้วยทั้ง 2 ชื่อครับ R2R ก็ทำให้การทำความเข้าใจได้ง่ายดีเหมือนกัน คือเป็นการทำจากงานประจำ ยกระดับ/พัฒนาให้เกิด-ให้เป็นงานวิจัย สื่อได้ตรงกับการปฏิบัติจริงๆ ของเราเลยครับ
    • ส่วนการวิจัยในงานประจำ เป็นชื่อที่สื่อได้ไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่เราปฏิบัติ(ผมคิดเองครับ) เหมือนกับการวิจัยในสิ่งที่ทำเพื่อเรียนรู้กระบวนการ หรือถอดบทเรียน ไม่รู้ว่าผมคิดและตอบตรงคำถามของครูนงเมืองคอนหรือเปล่า
    • ภาพที่ใช้มี 2 ขนาดครับ ภาพใหญ่ ยาว 300 พิกเซลครับ ส่วนภาพเล็กหน่อย ยาว 250 พิกเซลครับ ความกว้างอัตโนมัต
    • ภาพขนาดประมาณ ยาว250 พิกเซล เมื่อนำมาเรียงกันจะได้ 2 ภาพได้พอดี เลือกตามใจชอบนะครับ
    ขอบคุณสิงห์ป่าสัก หายงง งงมานานแล้วครับกับคำ 2 คำนี้ แต่จะอย่างไรก็ตามก็เป้าหมายเดียวกัน คือว่างานนั้นดีขึ้นหรือสำเร็จขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ผมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า หากจะเป็นฟากนักวิชาการ หรือนักวิจัย ที่สั่งสมองค์ความรู้นี้ไว้อย่างดีแล้ว เมื่อเอาองค์ความรู้นี้มาใช้ในการทำงานก็จะเรียกว่าวิจัยในงานประจำ วิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ ส่วนผู้ปฏิบัติก็มักจะมองที่การยกระดับการทำงานให้สู่จุดหมาย ตอบโจทย์ หรือมุ่งสู่คำตอบใดบางอย่าง...มันก็เป้าหมายเดียวกัน เรื่องข้อมูลภาพที่เพิ่มเติมให้ ขอขอบคุณมากครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท