กระบวนการสงเคราะห์องค์ความรู้....เหมือนสังเคราะห์แสงหรือเปล่า...?


งานสังเคราะห์ บ่อยครั้งที่มีคนถาม ผมตอบให้เขาเข้าใจไม่ได้ ...ตอบยังไงดี???

ผมประชุมทีมงานวิจัย ว่าด้วยการสังเคราะห์กระบวนท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน  ที่ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน เพื่อวางแผนการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน ในกลุ่มนักวิจัย

หลังจากนั้นผมและทีมงานวิจัยได้ไป เปิดบัญชี ธนาคารเพื่อรองรับงบประมาณที่จะโอนมาเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการวิจัย

เตรียมหลักฐานให้พร้อมแล้ว ติดต่อเกี่ยวกับการเปิดบัญชีใหม่

พนักงานสาวสวย ช้อนตามองเอกสาร ที่ผมวาง และอ่านอย่างตั้งใจ เธออ่านเอกสารและ แซวผมเป็นระยะๆ ...ผมคิดว่า เธอสวย..น่ารักดี นี่คือมาตรฐานบริการของธนาคารที่มีความเป็นกันเอง...ผมก็รู้สึกดี คนอะไรนอกจากจะสวยแล้ว ยังช่างเจรจาอีกต่างหาก

เฮ้อ....บรรยากาศดีจังครับ...!!!  

สาวสวยเธอทวนชื่อบัญชี "กระบวนการสังเคราะห์ การท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน" และถามผมว่า "มันเหมือน การสังเคราะห์แสง หรือเปล่าค่ะ" ผมชะงัก นั่งคิด อยู่พักหนึ่ง ว่าจะตอบยังไงดี...???(ตั้งหลักไม่ทัน)

เอ่อ.....(เกิดตะกุกตะกัก อาการประหม่า อย่างที่ไม่เคยเป็น) ตอนอยู่ต่อหน้าชาวบ้านเยอะๆ ผมไม่เคยประหม่าแบบนี้

ตั้งสติได้ ผมตอบว่า "เหมือนกันหล่ะครับ การสังเคราะห์แสงของพืช หมายถึง  การที่พืชสังเคราะห์อาหารไว้ใช้ประโยชน์โดยอาศัยแสงแดด หรือแสงทั่วไป เป็นกระบวนการที่พืชใช้ประโยชน์จากแสง ส่วนการสังเคราะห์งานท่องเที่ยวที่ผมทำก็เป็นการรวบรวมเอาความรู้ ประสบการณ์การท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน นำมาเรียบเรียงประมวลผล ให้เกิดเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย"

อธิบายเสร็จพร้อมกับความโล่งอกของผม แต่ไม่รู้ว่า เธอเข้าใจหรือเปล่า เห็นแต่เธอยิ้มๆ ...คาดว่าน่าจะเข้าใจบ้างละครับ

หลายครั้งที่ เราตอบคำถามเรื่อง "การสังเคราะห์"  ไม่ชัดเจน ว่าคืออะไร?

ผมเข้าใจว่าอย่างนี้ครับ.... 

การสังเคราะห์ เป็นหนึ่งในกระบวนการ KM เป็นขั้นตอนที่เริ่มมาจาก การรวบรวมองค์ความรู้(จากทุกแหล่ง) แล้วนำมาจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูล จนกระทั่ง มาถึงกระบวนการสังเคราะห์ข้อมูล ในที่สุด

งานสังเคราะห์ เองก็ต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ชัดเจน เสร็จแล้วเรามาคิด ประเด็นที่จะทำการสังเคราะห์ให้สอดคล้องและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ที่จะใช้ประโยชน์จากงานสังเคราะห์นั้น ตรงนี้สำคัญเพราะจะทำให้งานสังเคราะห์ที่ได้มา คม ชัด ลึก และเอื้อต่อการ พัฒนาพื้นที่และสนองตอบกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

ช่วงแรกของงานวิจัยชิ้นใหม่ ผมได้นั่งอ่านเอกสาร งานวิจัย งานพัฒนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอนมากมาย ก่อนที่จะนำมาประมวลให้เห็นภาพรวม ตามกรอบประเด็น

ถือว่าเป็นงานหนักเอาการ สำหรับผมเหมือนกัน แต่สิ่งที่ได้ก็คือ ได้เรียนรู้กระบวนการ ที่เป็นนวัตกรรมเด่นๆที่ซ่อนใน งานพัฒนา งานวิจัย เหล่านั้น ทำให้ผมมองเห็นภาพของกระบวนการทำงานที่หลากหลายและหลากลีลา แม้กระทั่ง...ผมลัพธ์ที่แตกต่างกัน ...น่าสนใจมาก

ช่วงต่อไปกระบวนการนอกจากการอ่านเอกสารที่รวบรวม เรายังมีงาน Action ที่จะต้องลงไปถอดบทเรียน จัดเวที สัมภาษณ์เชิงลึกบุคคล ให้ครอบคลุมในพื้นที่จริงด้วย.... เป็นงานสังเคราะห์ที่เราให้ ชุมชนมีส่วนร่วม และสกัด-เก็บ-วิเคราะห์-สังเคราะห์ ความรู้จากชุมชนพื้นที่เป้าหมาย

นับจากนี้อีกประมาณ ๑ ปี กระบวนการสังเคราะห์งานท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จ 

ในช่วง ๑ ปี น่าจะมี กระบวนการที่ได้เรียนรู้ ระหว่างผมกับทีมวิจัย ผมกับชุมชน และมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย ที่ผมและทีมงานวิจัยได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย...

ผมพยายามจะนำมาเขียนบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

 

หมายเลขบันทึก: 40997เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เห็นคนสวยแซวหน่อยเดียวอึ้งไปเลยนะครับ
  • รอฟังข่าวว่าจะดำเนินการเมื่อไร เดี๋ยวคนที่จะช่วยจะหนีไปต่างประเทศนะครับ
  • ต้องการเอกสารแบบไหนแจ้งด้วย เพื่อช่วยได้
  • ลองเข้าไปที่
  • www.onec.go.th
  • www.thaiedresearch.org
  • ลองเข้าไปดูนะครับ

อาจารย์ขจิตครับ

ช่วงนี้เป็็นช่วงฝน และ จะเป็นช่วงที่เก็บข้อมูลจากเอกสาร(งานสังเคราะห์) เสร็จแล้วเดือนหน้าจะมีประชุม เครือข่ายการท่องเที่ยวระดับจังหวัดและนักวิจัย

คิดว่าคงได้ข้อสรุปเร็วๆนี้ หากอาจารย์เดินทางไปต่างประเทศ ก่อน ...ก็จะรอจนกลับมาครับผม

  • ยังไม่ได้ไปครับ...แต่คาดว่าไม่เกินเดือนธันวาคมหรือต้นปี 50 ครับ
อ่านบันทึกนี้แบบ   อ่านไปยิ้มไป
พนักงานธนาคารสาวสวยคนนั้น   ฟังคำตอบแล้วคงจะอึ้งและทึ่งๆ.....แหม๊....ถามเล่นๆ  ตอบซะยาว

อ่านเรื่องนี้แล้วเห็นแววว่า คุณจตุพร   คงจะมีแววเป็นพระเอกในนิยายเรื่องใหม่ได้   ฝากไปอ่านในนี้ค่ะ

คุณ Nidnoi

ผมว่าเขาไม่ค่อยสนใจ คำตอบของผมหรอก นอกจากอมยิ้มอย่างเดียว...แต่ผมก็โล่งอกนะ เพราะ คิดเร็วๆว่าผมจะตอบยังไงดี...(ติดมาดนักวิชาการเกินไปหน่อย)

ว่าแล้ว.. ผมจะตามไป... บันทึกที่เอามาฝาก แล้วเจอกันครับ..

พี่ชายคนหนึ่งที่ลงพื้นที่จริง  มาเกือบ  40  ปีใคร่แนะนำให้คุณรู้จัก

  ผู้อำนวยการ อรุณ  โชติกะ  นะคะ  น่ารักมากลองติดต่อดู

 คนจริง

          หัวใจสู้

                  ไม่สร้างภาพ

                          ไม่โรยผักชี

           ตอนนี้เป็นผู้อำนวยการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปาย

           ลองค้นหาคนคนนี้  นะคะ

    

 

สวัสดีครับ ท่านผู้อำนวยการ วาสนา คชไกร ครับ

ยินดีมากครับ อำเภอปายมีคนเก่ง คนดี มาอยู่ นั่นก็หมายถึงการพัฒนาที่อาศัยพลังความรู้ ความสมารถของท่านเหล่านั้น

บ้านเกิดของผมยังต้องการคนเก่งๆมาช่วยกันครับ(คนดีด้วย)

ขอบคุณมากครับ

ขอรบกวนครับ กระบวนการจัดเวทีสังเคราะห์องค์ความรู้การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้องทำอย่างไรบ้างครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท