บันทึกด้วยภาพเคลื่อนไหว


เมื่อครั้นได้รับคำแนะนำจากอาจารย์พี่ภีม ว่าน่าจะใช้ความเป็นเด็กเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เลยได้เดินทางทำการบันทึกถ่ายทำ vdo ของ ๑๓กองทุน โดยจะถามเกี่ยวกับการบริหารงานที่ผ่านมา ปัญหา และความช่วยเหลือที่ต้องการจากเครือข่ายและหน่วยงานพี่เลี้ยงทั้งพช. กศน. ฯลฯ

จากการถ่ายทำทั้ง ๑๓หมู่บ้านตั้งแต่ เช้ากระทั่งดึกดื่น ๒ วัน ก็ได้ข้อสรุปพอสังเขปว่า

  1. กองทุนหมู่บ้านหนึ่งล้านบาทที่ลงมาอยู่ในหมู่บ้าน ชาวบ้านต้องรับมาด้วยความไม่พร้อม  ในช่วงแรกก็มีหน่วยงานพี่เลี้ยงเข้ามาจากคอยดูๆอยู่บ้าง จากนั้นก็ค่อยๆห่างออกไป
  2. หากกองทุนไหนหรือหมู่บ้านใดมีกลุ่ม กองทุน เดิมเป็นพื้นฐานก็จะทำงานได้รวดเร็วขึ้น
  3. ปัญหาที่เกิดขึ้นที่สำคัญที่สุดของแต่ละกองทุนคือสมาชิกไม่ชำระหนี้ มี ๒ เหตุผลคือ ๑) ไม่มีให้คือจนจริง นำเงินไปทำธุรกิจแล้วขาดทุนจริง ๒) เห็นว่าเป็นเงินที่รัฐส่งมาให้ ไม่ต้องใช้คืนก็ได้เพราะนายกให้มา รวมทั้งคณะกรรมการกองทุนฟ้องร้องไม่ได้
  4. การติดตามหนี้มีทุกกองทุน ใช้หลายวิธี ทั้งการบอกต่อกัน การส่งจดหมาย ส่งจดหมายลงทะเบียน การติดป้ายประกาศ หรือแม้กระทั่งการฟ้องร้อง
  5. สิ่งที่กองทุนทั้ง ๑๓ ต้องการคือ ต้องการให้เครือข่ายเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือ จัดการในเรื่องของหนี้ที่ไม่ยอมมาชำระกันในแต่ละกองทุน
  6. นอกจากทางเครือข่าย ยังต้องการให้พี่เลี้ยงทั้ง พช. และ กศน. เข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือทั้งการออกเอกสารราชการในการติดต่อมาให้พบสำหรับคนที่เป็นหนี้กองทุน และให้ช่วยอบรมในเรื่องการทำบัญชี ฯลฯ

สำหรับ VDO ชุดนี้ทางผู้จัดทำหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้มาก ถ้ามีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันระหว่างกองทุน โดยจะมีการเผยแพร่ให้กับกองทุนที่เข้าร่วมโครงการวิจัยเพื่อนำไปศึกษาเทคนิควิธีการของแต่ละกองทุน เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างตามลักษณะของผู้นำ คณะกรรมการและสมาชิก

หมายเลขบันทึก: 4095เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2005 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท