rakkanna
นางสาว พรไพรริน แอน เปลี่ยนสีบัว

ย้อนเวลาการเรียนผึ้ง


ถอยหลังไปเมื่อ วันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2549

     ในวันนี้อาจารย์ได้สอนความรู้เกี่ยวกับผึ้งไปหลายอย่างเลย ก็อย่างเช่นอาจารยืได้ให้พวกเราสึกาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผึ้งพันธุ์ทั้ง 3 วรรณะ ที่อยู่ในภาพ คือ ผึ้งนางพญา ผึ้งงาน และผึ้งตัวผู้ ว่ามีหน้าที่และระยะการเจริญเติบดตแตกต่างกันอย่างไร โดยได้รู้ว่าผึ้งงานในแต่ละระยะการเจริญเติบโตนั้นมีหน้าที่การทำงานไม่เหมือนกัน รู้สึกว่าผึ้งงานจัดระบบการทำงานของตัวเองได้ดีมาก ไม่เหมือนกับคนบางคนที่ชอบเกี่ยงกันทำงาน ส่วนผึ้งนางพญาก็จะมีหน้าที่ผสมพันธุ์โดยจะต้องบินไปผสมพันธุ์ที่อื่นแล้วก็กลับมาวางไข่ในรัง แต่ถ้าสมมุติผึ้งนางพญากลับมาวางไข่ไม่ตรงตามเวลาหรือว่าผสมพันธุ์ไม่ได้ ก็จะมีผึ้งงานที่คอยจัดการกับผึ้งนางพญาโดยวิธีการรุมต่อย มาถึงตอนนี้แล้วก็รู้สึกว่าเหมือนกับชีวิตคนเดี๋ยวนี้จัง คือ คนที่มีอำนาจก็จะจ้องรังแกแต่คนที่อ่อนแอกว่า แต่ที่ผึ้งเหล่านี้ทำนั้นก็ทำเพื่อความอยู่รอด แต่คนเรานั้นทำเพื่อความสนุก สะใจ โดยไม่คิดถึงความรู้สึกของคนอื่นเลย ส่วนผึ้งตัวผู้นั้นก็ต้องมีอายุ 16 วันขึ้นไปถึงจะผสมพันธุได้ ซึ่งเป็นการกำหนดระยะเวลาที่พอเหมาะต่อการผสมพันธุ์ ต่างจากคนสมัยนี้ที่ชอบมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แล้วพวกเราก็ยังได้ดูภาพของผึ้งทั้ง 3 วรรณะว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร เช่น ผึ้งนางพญาจะมีขนาดตัวใหญ่ที่สุดในรัง และจะมีก้นที่แหลมมาก ส่วนผึ้งงานจะเป็นผึ้งที่มีขนาดตัวเล็กที่สุดในรัง ก้นแหลมเพียงเล็กน้อย ส่วนผึ้งตัวผู้นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าผึ้งงานแต่จะมีขนาดเล็กกว่าผึ้งนางพญา จะมีตาขนาดใหญ่ มีขนขึ้นตามตัว และก้นจะมน โดยอาจารย์บอกว่าผึ้งพันธุ์ เป็นผึ้งที่ไม่ใช่สายพันธุ์ของไทย คือไม่ได้กำเนิดที่เมืองไทยนั่นเอง แล้วอาจารย์ก็ได้เปิด web ให้ดูผึ้งสกุลเอพีส ทั้ง 4 ชนิด คือ ผึ้งหลวง ผึ้งโพรง ผึ้งมิ้ม และผึ้งมิ้มเล็ก และอาจารย์ก็ได้พูดถึงผึ้งโพรงว่าเป็นผึ้งที่กำเนิดในประเทศไทย มีนิสัยชอบความอิสระ หนีรังเก่ง และไม่ค่อยสะสมน้ำหวาน จึงทำให้คนไทยไม่นิยมเลี้ยงผึ้งโพรงไทยเป็นอุตสาหกรรม โดยใน web อาจารย์ยังได้เปรียบเทียบพฤติกรรมของผึ้งโพรงไทยกับอุปนิสัยคนไทยว่ามีนิสัยค่อนข้างเหมือนกัน คือ ชอบความเป็นอิสระนั่นเอง อาจารย์ยังบอกอีกว่าเขามีการซื้อขายผึ้งนางพญาถึงตัวละ 300 บาท โดยอาจารญืบอกว่าจะต้องเป็นผึ้งนางพญาแบบ Laying Queen (ผึ้งนางพญาที่วางไข่แล้ว)ด้วย แล้วไข่ที่จะกลายเป็นผึ้งนางพญาหรือผึ้งงานนั้นให้สังเกตตรงที่ตำแหน่งที่อยู่ของรัง ขนาดของเซลล์ และอาหารที่ให้ในการเลี้ยงดูนั่นเอง โดยที่งหมดที่กล่าวมานี้จะเป็นกิจกรรมที่พวกเราได้มีส่วนร่วมเป็นส่วนใหญ่ เพราะอาจารย์จะถามพวกเราแล้วให้พวกเราตอบ บางคนก็ตอบได้บ้าง บางคนก็ไม่ตอบ แต่ก็ทำให้ตื่นตัวในการเรียนดี วันนี้เรียนสนุกมากค่ะ

     ถึงจะนำเรื่องการเรียนในวันนี้มาเล่าช้าไปหน่อยก็ต้องขออภัยด้วยนะค่ะ ชาว gotoknow ทุกๆ คน วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #นิสิตเรียนผึ้ง
หมายเลขบันทึก: 40816เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท