ชุดตรวจโรคใบขาวในอ้อย ต้องขอบอกว่า...อย่างนี้ก็มีด้วยคร๊าบ


โรคใบขาวในอ้อยเป็นโรคที่มีอาการแอบแฝง ไม่แสดงออกภายนอก จึงระบาดอย่างรวดเร็ว หากสามารถคัดกรองต้นพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคก่อนนำไปปลูก ก็จะป้องกันความสูญเสียที่ตามมาได้
มีโอกาสได้เข้าไปศึกษาดูงานที่ บริษัทมิตรผลวิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาลจำกัด  ซึ่งไปดูที่โรงงานที่อ.ภูเขียว  จ.ชัยภูมิค่ะ  ในห้องบรรยายก็ได้พบกับสิ่งประดิษฐ์ฝีมืคนไทย น่าทึ่งมากเลยค่ะ นั่นก็คือ  ชุดตรวจโรคใบขาวในอ้อยค่ะ  เป็นผลงานของทีมวิจัยของบริษัทมิตรผลเขาค่ะ 
  

 

 
หน้าตาของชุดตรวจคล้ายกับที่ตรวจตั้งครรภ์เลยล่ะค่ะ  55
  
ก่อนอื่นมารู้จักโรคใบขาวกันก่อนค่ะ
  
โรคใบขาวทำให้ต้นอ้อยแตกหน่อเร็ว หน่อใหม่มักมีสีขาว แตกกอคล้ายตะไคร้ที่มีหน่อสีขาวในอ้อยตอ
ต้นอ้อยแคระแกรน น้ำหนักน้อย มีค่าความหวานต่ำลง และหากเป็นมากอ้อยจะตายได้ภายใน 2-4 เดือน ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก หากขุดทิ้งก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

เกษตรกรมักมีความเชื่อว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากๆ จะช่วยให้ใบขาวกลับมาเขียวได้ ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น แต่ว่าอ้อยไม่ได้หายจากการเป็นโรค กลับมีอาการแฝง และเมื่อนำอ้อยดังกล่าวไปขยายพันธุ์ ก็จะส่งผลเสียอย่างรุนแรง ทำให้อ้อยรุ่นใหม่เป็นโรคใบขาวเช่นเดียวกับต้น และยังเป็นการแพร่กระจายโรคไปมากยิ่งขึ้นด้วย
  
 โรคใบขาวในอ้อยนี้เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา (Phytoplasma) โดยมีเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาลเป็นพาหะ หากเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาลที่มีเชื้อดังกล่าวแฝงอยู่ไปเจาะลำต้นอ้อยเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยง อ้อยต้นดังกล่าวก็จะติดเชื้อได้ทันที จึงทำให้โรคแพร่ระบาดในแปลงอ้อยได้อย่างรวดเร็ว 

 
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน คือการเลือกใช้ต้นอ้อยที่แข็งแรงและปลอดโรคไปเพาะขยายพันธุ์ ร่วมกับการจัดการแปลงปลูกอ้อยเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งชุดตรวจโรคจะช่วยให้เกษตรกรทราบได้ว่าต้นอ้อยที่เห็นใบเขียวนั้น จริง ๆ มีอาการแฝงของโรคใบขาวอยู่หรือไม่
  
การใช้ชุดตรวจก็ไม่ยากเลยค่ะ  เพียงหยดน้ำอ้อยที่เจาะจากต้นอ้อยลงในหลุมบนชุดตรวจ ภายใน 10 นาที จะปรากฏเป็นแถบสี
หากมี 1 แถบสีแสดงว่าอ้อยนั้นปลอดโรคใบขาว แต่หากปรากฏ 2 แถบ แสดงว่าเป็นโรค ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้ตรวจและอ่านผลได้เองในไร่อ้อยและใช้เวลาไม่นาน
ง่ายไหมคะ ตรวจโรคอ้อย เพื่อลดการสูญเสีย

 

  
นักวิจัยไทยเก่งจริงๆเลยค่ะ  อย่างนี้ต้องขอบอกว่า...อย่างนี้ก็มีด้วยคร๊าบ  (ขอยืมทิดเป้มาใช้หน่อยค่ะ)
 
ขอขอบคุณ  บริษัทมิตรผลวิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาลจำกัด 
http://www.mitrphol.com
 
  
 
MoTtAnOi  11/11/53
หมายเลขบันทึก: 407832เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

คนไทยรู้อะไรมาก เพียงแต่เมื่อจะพัฒนาไปสู่ความทันสมัย มักจะหมดงบ สุดท้ายต้องขายลิขสิทธิ์ให้ต่างชาติไป เสียดายหลายเรื่องหลายสิ่งประดิษฐ์ที่ผ่านมา

สวัสดีค่ะ ครุหยุย อ.ขจิต

ขอบคุณค่ะที่มาชมนวัตกรรมทางการเกษตร เดี๋ยวจะตามไปดูผักนะคะ อ.ขจิต

-สวัสดีครับ....

-แวะมาเรียนรู้เรื่อง "โรคอ้อย"..

-อ้อยหวาน ๆ

-จากน้อง ๆ

 

  • ตามมาดูคุณเพชรขายอ้อยหวานๆๆ
  • ฮ่าๆๆ
  • ชาวบ้านพบโรคในอ้อยหลายชนิด
  • แต่ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรครับ

สมัยก่อนบ้านพี่ดาที่สุพรรณก็ปลูกอ้อยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาเยี่ยมเยียนกันค่ะ  สบายดีนะค่ะ
  • มีความสุขกับวันทำงานดี ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                

-สวัสดีครับคุณมดตะนอย.....

-ไปร่วมเกี่ยวข้าวชุมชนบ้านลานมา.....

-เก็บภาพ...."ดอกไม้ป่า" งาม ๆ มาฝาก.....ครับ...

อินเดียมีพัฒนาการด้านการปลูกอ้อย ส่งต่อถึงเมืองไทยแล้ว

ติดตามต่อได้ใน..

http://gotoknow.org/blog/supersup300/404326

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท