คำสัมผัสคล้องจอง


การแต่งบทร้อยกรองทุกประเภทจะต้องมีคำสัมผัส หรือคำที่มีเสียงคล้องจอง

การแต่งบทร้อยกรองทุกประเภทจะต้องมีคำสัมผัส  หรือคำที่มีเสียงคล้องจอง

จึงจะทำให้บทร้อยกรองนั้นมีความไพเราะ  คำสัมผัสแบ่งออกได้เป็น    ๒   ประเภท    คือ  สัมผัสสระ   และสัมผัสพยัญชนะ

            ๑.  สัมผัสสระ   เป็นการใช้คำที่ประสมด้วยสระที่มีเสียงเดียวกันส่งสัมผัสกัน

ถ้ามีตัวสะกด  ต้องเป็นตัวสะกดมาตราเดียวกัน    เช่น

                                    ป้า                    -                       หน้า

                                    แพง                 -                       แต่ง

                                    ป่วย                 -                       สวย

                                    ใจ                    -                       ให้

            ๒.  สัมผัสพยัญชนะ   เป็นการใช้คำที่มีเสียงในพยัญชนะต้นเดียวกันส่งสัมผัสกัน   บางครั้งเรียกว่าสัมผัสอักษร    เช่น

                                    แกล้ง               -                       กล่าว

                                    ห้าม                 -                       หวง

                                    จับ                   -                       จอง

                                    รอย                  -                       รัก

 

คำสัมผัสคล้องจอง ที่ใช้ในการแต่งบทร้อยกรองมักจะอยู่ในรูปของกลุ่มคำ  ซึ่งมีตั้งแต่  ๒  กลุ่มขึ้นไป  มีจังหวะการสัมผัส  และตำแหน่งคำสัมผัสแตกต่างกัน    ดังนี้

            ๑.    กลุ่มคำ  ๒  คำ  คำสุดท้ายของกลุ่มหน้า  สัมผัสกับคำแรกของกลุ่มหลัง   เช่น    

๒.   กลุ่มคำ  ๓  คำ     คำสุดท้ายของกลุ่มหน้า  สัมผัสกับคำที่ ๑ 

หรือคำที่ ๒   ของกลุ่มหลัง   เช่น

๓.   กลุ่มคำ  ๔  คำ    คำสุดท้ายของกลุ่มหน้า  สัมผัสกับคำที่ ๑  คำที่ ๒  หรือคำที่ ๓  ของกลุ่มหลัง   เช่น

 

การรู้จักจัดคำคล้องจองตามจังหวะสัมผัส  และตำแหน่งคำสัมผัสที่แตกต่างกันจะเป็นพื้นฐานของการเขียนบทร้อยกรองได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #คำคล้องจอง
หมายเลขบันทึก: 407774เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีจังเลยครับ เอาไปทำค่ายภาษาไทยเรื่องการสัมผัสได้เลย สนุกมากๆๆ เช่นกล้วยตานี ปลายหวีเหี่ยว...

ยี่สิบเจ็ดพฤศจิกายน ขอให้สุขล้น

ประสบโชคดีมากมาย

พบแต่ความสุขสมหมาย สุขภาพร่างกาย

แข็งแรงประดุจไอยรา

ช่วยแต่งบทร้อยกรองหน่อยสิคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท