ทำไมผมจึงติด(ใจ)เกมปลูกผัก FarmVille


“เราจะต้องช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือเรา”

ทำไมผมจึงติด(ใจ)เกมปลูกผัก FarmVille

ตั้งแต่ผมได้เรียนรู้เชิงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มเติม ในเชิงทดสอบ และเชิงปฏิบัติจากเกมปลูกผัก

ทำให้ผมได้ก้าวลึกลงไปลองทดสอบระบบสังคมของผู้เล่นเกม ที่ได้ปรับตัวตามเงื่อนไขและกติกาของเกม โดยยึดหลักว่า

“เราจะต้องช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือเรา”

ทุกครั้งที่เราความต้องการความช่วยเหลือในเรื่องอะไร เราจะต้องแสดงน้ำใจก่อน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเยี่ยมเยือน การช่วยงาน การให้ของรางวัล

คนที่ทำเป็นประจำจะได้รับการนับถือ และยกย่อง ทำการใดๆ ก็สำเร็จได้โดยง่าย

เพราะมักจะมี “คนเกรงใจ” เห็นใจ เข้ามาช่วย

งานใดๆที่ทำร่วมกันก็จะรับผิดชอบดี ไม่ขาดตกบกพร่อง ทำให้งานทุกงาน ลงทุนน้อย มีคนช่วยมาก มั่นคงและก้าวหน้าเร็ว

 

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากเกมที่สำคัญ ก็คือ

ทุกอย่างที่เราต้องการ อาจหาได้รอบๆตัวเรา แค่ถาม แค่หารือ หลายๆอย่างก็จะเมาเอง ไม่ต้องซื้อ (ก็ได้) หรือใครไม่มีเวลาอาจต้องซื้อ

สภาพเช่นนี้ เป็นสังคมที่น่าอยู่ สังคมแห่งการพัฒนาความรู้ การจัดการความรู้

และการให้ การรับ แสดงให้เห็นความเป็นเอกภพ และเอกภาพของทรัพยากร

ทรัพยากรทุกอย่างเชื่อมโยงกัน เงิน ทุน บุญคุณ และทรัพยากร เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้หมด ที่ผมไม่เคยคิดมาก่อน

ดังนั้น ในระบบของเกม และสังคมของคนเล่นเกมนั้น ใครพยายามแยกตัวออกจากสังคมจะลำบาก ทำอะไรก็ยาก ทั้งในกติกาของเกม และในสังคมของการเล่นเกม

ที่ทุกคน จะต้องทำตัวทั้งเป็นผู้ให้และผู้รับ แบบไม่เห็นแก่ตัว

ไม่เน้นการแข่งขัน แต่เน้นการช่วยเหลือและร่วมมือกันทำงาน

เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันและพึ่งพา

ที่ผมพบว่า การมีเพื่อนที่ดี และเพื่อนทุกคนต้องรู้จักแบ่งปัน

มากน้อยก็แบ่งได้ ไม่ต้องรอให้มีครบหรือเพียงพอแบบสมบูรณ์ที่นักทุนนิยมชอบคิดกัน

แต่ จุดแตกหักของประโยชน์ของเกม อยู่ที่ต้องนำหลักการมาใช้กับความจริง เพราะความฝันนั้นง่ายและเร็ว ต่างจากความจริงที่ยากและช้า

ประเด็นสำคัญที่ผมพบก็คือ

การมีเพื่อนดี หลากหลายประเภท และหลายระดับ ทำให้ก้าวหน้าได้เร็ว

ทำอะไรก็ง่ายไปหมด ที่แสดงโดยข้อกำหนดของเกมว่า ใครมีเพื่อนมากยิ่งดี ยิ่งหลากหลายยิ่งดี จะได้พึ่งกันได้ทุกเรื่อง

ดังนั้น ความเหมาะสมก็คือ การจัดเวลาให้เหมาะสมกับตัวเอง สังคม และกติกาของเกม

บทเรียนสรุปของเกมคือ การสร้างความร่ำรวยทรัพยากร ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระดับสูงของสังคม หรือ บางคนดิ้นไปให้สูงแต่ยากจน ที่พบว่ามีมากในสังคมปัจจุบัน

นี่คือบทเรียนขั้นกลาง ที่ผมได้รับจากการเล่นเกมปลูกผักครับ

ผมยอมรับว่า

วันนี้ผมติด(ใจ)กับเกมนี้อยู่ครับ

ผมลองหลายรูปแบบ

  • ตั้งแต่แบบเดินช้า ไต่ระดับช้า ที่สบายๆ ร่ำรวย (ดูจนจากภายนอก)
  • และ ที่เดินเร็ว ไต่ระดับเร็ว ที่เหนื่อย และยากจน (แต่ดูดีจากภายนอก)
  • และแบบกลางๆ ไปเรื่อยๆ

ผมคิดว่าผลที่ได้ ผมเลือกอย่างแรกครับ

ผมกำลังสนุกกับการเรียนครับ

วันหลังจะนำมาเล่าใหม่ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 406780เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2010 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับอาจารย์

ผมจำได้คำหนึ่ง สั้นๆ แต่ได้ความหมาย เป็นข้อคิด สติเตือนใจครับ

No pain,No gain

ขอบคุณอาจารย์ครับ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • เคยเขียนบทเรียนเรื่องการเล่นเกมส์นี้ไว้เหมือนกันค่ะ
  • บางครั้งก็ดูเหมือนการแข่งขัน บางครั้งก็เหมือนกับการช่วยเหลือ การให้
  • เพื่อนมีหลายประเภท แต่ก็ดีกว่าไม่มีค่ะ
  • หลังๆ มีคนแอดกัน เพียงเพื่อเล่นเกมมากมายเลยค่ะ
  • --
  • ป้าแดง กำลังติด(ใจ) เล่น frontier ville  ค่ะ เพราะจะมีการกำหนดgoal มาให้ด้วย ว่าต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน คงเป็นเพราะชอบการมีกฎเกณฑ์ รึป่าวก็ไม่รู้ค่ะ อิอิอิ
  • ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

ครับ

ทุกอย่างมองดีๆ มีแต่ได้ครับ

Sim 3 will give you similarly.

But most of linux games are much better.

The choice is yours,

zxc555

Quote "ครับ

ทุกอย่างมองดีๆ มีแต่ได้ครับ"

Reply:

Yes. The problems are most person cannot look at good side.

Most of them simply adopt bad side of every things.

That is reason WHY TH WAS WON :(

Regards,

zxc555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท