ข้อสังเกตจากการสอนหัวข้อทฤษฎีการพัฒนา ครั้งที่ 2


โลกาภิวัตน์ และระบบโลก
ข้อสังเกตจากการสอนหัวข้อทฤษฎีการพัฒนา ครั้งที่ 2                                                                                                                      โดย ผศ. ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ วันที่ 21 กรกฎาคม 2549 หัวข้อ โลกาภิวัตน์ และระบบโลก1. รูปแบบการเรียนการสอน: ผู้สอนได้ปรับแนวทางการเรียนการสอนให้แตกต่างไปจากครั้งที่หนึ่งคือเดิมที่ผู้สอนตั้งคำถามทางทฤษฎีให้ผู้เรียนตอบ ถกเถียงและตั้งข้อสังเกตนั้น เปลี่ยนมาเป็นให้นักศึกษาได้แบ่งกลุ่มโดยให้นักศึกษาดำเนินการดังนี้                              1. สรุปเนื้อหาทฤษฎี วิจารณ์ และยกตัวอย่างประกอบการวิจารณ์                               2. นำเสนอในชั้นเรียนให้ผู้เข้าเรียนท่านอื่นๆแสดงความเห็น ตั้งข้อสังเกต                     และถกเถียงกันในแต่ละทฤษฎี                เหตุผลที่ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนเป็นเช่นนี้เนื่องจากผู้สอนประเมินว่าการทำเช่นเดิมนั้นทำให้ผู้เรียนขาดการถกเถียงจากเนื้อหาของทฤษฎี แต่เน้นการใช้ความรู้สึก และสามัญสำนึกในการอภิปรายมากกว่า                2. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนเป็นผู้เรียนนำเสนอสาระสำคัญของแนวคิด รวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาของแนวคิด ทำให้นักศึกษาที่ร่วมฟังได้หยิบยกเนื้อหาทฤษฎีมานำเสนอบางส่วนมาถกเถียงกันพอควร                จากการประเมินของผู้สอน พบว่านักศึกษายังไม่สามารถถกเถียงเชิงแนวคิดได้ชัดเจนและเป็นระบบโดยเฉพาะการวิพากษ์แนวคิดเมื่อนำแนวคิดไปปรับใช้หรืออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมหรือการพัฒนา และภาษาที่นักศึกษาใช้ในการอภิปรายมักจะเป็นภาษาการสนทนาทั่วๆไป ไม่มีคำศัพท์ทางทฤษฎีมาใช้มากนัก ทั้งนี้เพราะประสบการณ์พื้นฐานของนักศึกษาหลายคนไม่มีประสบการณ์ด้านแนวคิดทางสังคมศาสตร์มาก่อน                อย่างไรก็ตามพบว่า นักศึกษาเริ่มคุ้นเคยกับการถกเถียงทางแนวคิดและการประยุกต์แนวคิดกับปรากฏการณ์ต่างๆในสังคม ส่วนการทำความเข้าใจเนื้อหาทางทฤษฎีนั้นคาดว่านักศึกษาจะสามารถทำความเข้าได้มากขึ้นเนื่องจากเอกสารทางทฤษฎีที่ให้นักศึกษาอ่านจะมีบทความที่เป็นตัวอย่างให้อ่านประกอบกัน คาดว่าหากนักศึกษามีเวลาได้เรียนด้านแนวคิดมากกว่านี้จะช่วยให้นักศึกษาสามารถสร้างโจทย์การทำวิทยานิพนธ์เชิงลึกที่มีรากเหง้ามาจากทฤษฎีได้ (โจทย์การทำวิจัย-วิทยานิพนธ์- โดยเฉพาะระดับปริญญาเอก น่าจะมาจากแนวคิดประกอบด้วย)                
หมายเลขบันทึก: 40671เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"จากการประเมินของผู้สอน พบว่านักศึกษายังไม่สามารถถกเถียงเชิงแนวคิดได้ชัดเจนและเป็นระบบโดยเฉพาะการวิพากษ์แนวคิดเมื่อนำแนวคิดไปปรับใช้หรืออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมหรือการพัฒนา"

เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ

ประเด็นนี้เป็นจุดอ่อนในระบบการศึกษาของเรามานานครับ ผู้เรียนตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่จะมีลักษณะอ่อนด้อยในด้านการคิดเชิงระบบ คิดสร้างสรรค์ และคิดเชื่อมโยง ทำให้เกิดปัญหาต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และกระทบถึงสังคมด้วย อยากให้ครู อาจารย์ นักการศึกษา และนักวิชาการได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาวิธีแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาต่อไปครับ

ขอบพระคุณมากครับ

 

        ผมเห็นด้วยกับ คุณบวรมากครับ มันเป็นความจริงของความพิการของโครงสร้างการจัดการศึกษาของประเทศไทยมานานแล้ว ปัญหามันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ระดับเด็กประถมที่ไม่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่ให้เด็กได้คิดได้พูด ได้วิพากษ์ วิจารณ์ จากความคิด ความเห็นของตัวเขาเอง ง่าย ๆ คือ เราต้องให้เขามีพื้นที่ใช้สอยทางปัญญา ทางความคิด เราต้องฟังเขาให้มาก  ถ้าคนไทยถูกฝึกอย่างนี้มาต่อเนื่องทุกระดับ คงจะมีเวทีการเรียนรู้ที่งดงาม ในเมื่อนั้นการศึกษาก็จะเป็นศิริมงคลกับคนเรียนและคนสอนครับ

                                                          ครูดง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท