๖๕๗.อ่านกันหรือยัง : ลูกอิสาน


บทที่ ๒ หาอาหารหน้าแล้ง

หมาสองตัวนี้พ่อของคุณรักมันมาก นอกจากจะไล่กัดพังพอนเก่งแล้ว กลางคืนเดือนหงายมันยังไปไล่อีเห็นบ่อย ๆ อย่างน้อยได้ ๑ ตัวกลับมาทุกที แม่แล่เนื้อแบ่งกันกับชาวบ้านที่ไปด้วยกัน พอแกงอ่อมได้หม้อใหญ่

คูนเคยขอหมาสีดำและหมาสีดำปนขาวมาให้พ่อดูแต่พ่อไม่เอา พ่อบอกว่า หมาดำกับหมาด่างใจไม่สู้  แพ้หมาสีน้ำตาลกับสีหม่น  เวลาหมาสีดำและหมาสีขาวดำไปล่าอีเห็นกลางคืน จะทำให้อีเห็นมองเห็นแต่ไกล

พ่อสอนเอาใบกระโดนอ่อน ๆ ห่อจักจั่นแล้วจิ้มกับแจ่วส่งเข้าปาก ... หัวจักจั่นมีรสมัน ใบกระโดนมีรสฝาด และแจ่วทั้งเผ็ดทั้งเค็มเข้ากันพอเหมาะ

ไอ้แดงหลอกล่องูเห่าอยู่ข้างหน้า ส่วนไอ้มอมรี่เข้าคาบหางงูฟาดกับสะโกของมันซ้ายขวาเสียงปั๊วะ ๆ พ่อบอกว่า ไปหายิงนกดีกว่างูตัวนี้กินไม่ได้ หากเป็นงูสิงก็จะเอาไปต้มส้ม

แทนที่พ่อจะยิงนก กลับไปยิงบ่างตัวขนาดกำปั้น เวลาบินเหมือนนกพิราบ หน้าตาคล้ายนกเค้าแมว แต่หัวเล้ก ปากและจมูกสั้น มีปากเหมือนค้างคาว มีขนปุกปุยสีน้ำตาล  พ่อชี้ให้ดูบนยอดยาง

เมื่อถึงทุ่งนาพ่อบอกว่า งูสิงชอบลงมาจากเฟือยไม้ต้นข่อยข้างจอมปลวก  มาตากแดดตอนเช้าตรู่และตอนเย็นแสงแดดอ่อน ๆ ... เห็นท้องงูเป็นแสงสีขาวปนแดงเปล่งรัศมีออกมา.... ถ้าเป็นงูเห่าหมาจะไม่กระโจนเข้าคาบหางงูทันที

นกขุ้มมันอยู่นาเฉพาะตอนข้าวออกรวง แต่หน้าแล้งมันขึ้นไปอยู่ป่าละเมาะ.. เวลาลาบนกขุ้มต้องใส่ก้านกล้วยเข้าไปด้วย เพื่อให้อร่อยและมีลาบมาก ๆ

การล่าพังพอนจะต้องใช้หมาหลายตัวรวมกับของคนอื่น บางทีจะมีงูเห่าหรืองูจงอางวิ่งเพ่นพ่าน...บางทีมันจะคาบหางพังพอนแล้วลากออกมาให้อีกตัวขบหัวอีกทีหนึ่ง

โตขึ้นคูนได้ไปกับพ่อแน่ ๆ แต่ต้องเรียนหนังสือเก่ง ๆ

บทที่ ๓ ลาบปลาร้า

ให้พ่อมีเกวียนเทียมวัวเสียก่อน ผมอยากขี่เกวียนของพ่อ

กล้วยดิบน่ะพ่อผู้ใหญ่ให้ไปทำไม....มันจะสุกตามทางไปเรื่อย ๆ

ลุงคนนี้แหละที่เคยเป่าโรคตาแดงให้ลูกตอนเล็ก ๆ

แม่เอื้อมมือไปจับฝาเปิดปากไหปลาร้าที่ทำด้วยเศษผ้าห่อขี้เถ้า ... แมลงวันมันเกลียดและกลัวขี้เถ้า

พอปลาร้าละเอียดแม่จึงหยิบตะไคร้กับหัวข่าอ่อนที่ฝานไว้ใส่ลงไปให้คูนสับต่อ หยิบหัวหอมและพริกสดโรยลงไป...แล้วตักข้าวคั่วโรยลงไปอีก...พ่อของลูกชอบเอามดแดงมาจิ้มลาบปลาร้าเวลากิน...แจ่วบ้องก็ทำแบบนี้แหละแต่ใส่พริกแห้งปิ้งและหัวหอมเผาไฟ...เขาใส่ในบ้องไม้ไผ่เวลาเดินทางไกล จึงเรียกแจ่วบ้อง

บทที่ ๔ ญวนเข้ามาบุกจีนในถิ่นเรา

ผู้หญิงญวนหรืออิสานเขาต้องกินหมากให้ฟันดำหมดจึงจะสวย

หญิงญวนส่งธนบัตรใบละ ๑ บาทให้แม่..."ฉันไม่มีทอน" แม่หดมือ

นั่นมันบ่วงอะไรนะแม่..."บ่วงสังกะสี" นั่นแหละ

ทำไมแม่ไม่ซื้อไปใช้บ้างที่เรือนเราใช้แต่เปลือกหอยกาบทำบ่วง..."เออมีสะตางค์แล้วจะซื้อไปใช้"

ทิดฮาดอุ้มนางแมวเดินโซเซว่ากลอนเซิ้งนางแมวขอฝนมาคนเดียว  พอมาถึงบันไดเรือนก็มาขอเหล้าพ่อกินเสียอีก

ญวนพวกนี้เก่งมากนะพ่อ มันจะปลูกผักหลังบ้าน... เมียลุงญวนบอกว่าอยากกินงูสิงและพังพอน ...ในร้านของมันมีของหลายอย่างและกางเกงไหมสีดำเป็นมันเยิบ ๆ

      ทั้งสองบทแทบจะไม่น่าตัดตอนแม้แต่ตัวอักษรเดียวหรือคำเดียว  แต่ได้เลือกเฉพาะส่วนที่มีถ้อยคำที่คาดว่าจะสูญหาย เด็กรุ่นหลังอาจไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ และไม่เคยเห็น แม้แต่ยายคิมจะอ่านมาหลายเที่ยว ยังมีสิ่งที่ไม่ทราบและไม่เคยเห็นก็มีมาก  และสำหรับความสำคัญของตัวสีแดง

       ทำให้นึกถึง  ครอบครัวหนึ่งที่รู้จักคุ้นเคย  ที่สอนและฝึกให้ลูกพูดภาษากลางกับพ่อแม่และคนรอบข้าง  ทำให้ลูกไม่เข้าใจภาษาอิสานพื้นถิ่น  และไม่ทานอาหารอิสาน

 

หมายเลขบันทึก: 406198เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (43)

เคยอ่านแล้วครับ..ผมจะกลับไปอ่านอีกรอบครับ..

ขอบคุณมากครับที่ช่วยเตือนความทรงจำ

ผมคนโคราช ลูกอิสานครับ...

สวัสดีค่ะอาจารย์ดร.ภิญโญ

ยายคิมอ่านเป็นครั้งที่ ๔ แล้วนะคะ  แต่ละครั้งก็พบว่า "ต้องขอบคุณหนังสือและโอกาสที่ให้ได้อ่าน เพราะรู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อีกมากเลยค่ะ"

ครั้งนี้อ่านแบบช้า ๆ ค่อย ๆคิดตาม ปกติเป็นอ่านเร็ว ฉบับเล็ก ๆ แค่นี้อ่านประมาณ ๓ ชั่วโมงค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

สวัสดีครับพี่คิม...

อ่านบันทึกพี่คิมแล้วอยากย้อนกลับไปอ่านอีกคร้ัง...

สวัสดีค่ะหนานเกียรติ

ไม่ต้องซื้อนะคะ  ยังเหลืออีก ๓ เล่ม จะเก็บไว้ ๑ เล่ม  เพราะซื้อไปแจกลูกศิษย์ที่รักการอ่าน

อยากให้เด็กยุคใหม่ เป็นเด็กรักการอ่าน ใฝ่รู้ แบบยายคิมจังเลย

อยากถามว่าทำไมครูคิมถึงจำเรื่องลูกอีสานได้จ๊ะ

พูดถึงเปลือกหอยกาบแล้วขำค่ะ  เพราะนึกถึงพี่คนหนึ่งที่โคราช พาลูกไปหาหมอที่ปวดท้องท้องเสีย   หมอก็ถามว่าไปกินอะไรมา...แม่ก็ตอบว่าไปกินหอยกาบมา...หมอซึ่งไม่ใช่คนพื้นที่ก็งงงงงงงงงงว่า...ไอ้หอยกาบนี่มันสิเป็นแมงอิหยังน้อ???

แฟนพี่เขาก็สะกิดๆแล้วกระซิบว่า...คุณๆไอ้หอยกาบน่ะภาษาบ้านเรา  เขาเรียกหอยแครงต่างหาก   พี่เขาเลยรีบบอกหมอว่า...อ๋อ...คุณหมอค่ะไปกินหอยแครงลวกมาค่ะ

คุณหมอถึงได้หายงองูสองตัวแล้วถึงบางอ้อ..จ่ายยาถูกโรคค่ะ

hahahahaha  นึกถึงแล้วยังขำไม่หายตอนพี่เขาเล่าให้ฟัง

เป็นซำใดน่อ คนอิซ่าน กิ๋นได้ทุ้กอย่างเลย

                               *** ทานอาหารอิสานได้ไม่กี่อย่างเองค่ะ...  พี่คิม  *** 

                                                     Plate of cookies                             

สวัสดีครับพี่ครู

ชีวิตตอนเด็ก ๆ คล้าย ๆ อยู่ในหนังสือแหละครับ..^^

สวัสดีครับเกลอ

การสื่อสารขาดหายไปตั้งแต่ขึ้นบันทึกสุดท้ายครับ

ไฟฟ้ามาติดสักชั่วโมงที่ผ่านมา

จะไปส่งข่าวที่รพ. อินเตอร์เน็ตอัมพาตหมดเลยครับ

สวัสดีค่ะคุณนาง ละเอียด ศรีวรนันท์

ยินดีที่ได้รู้จัก และขอต้อนรับสู่บล็อกของยายคิมค่ะ  หนังสือเรื่องลูกอิสานนี้ ยายคิมอ่านเป็นครั้งที่ ๔ แล้วค่ะ

ปกติหนังสือเล่มหนาขนาดนี้ อ่านเพียง ๓ ชั่วโมงก็จบแล้วนะคะ  แต่ครั้งนี้ใช้เวลาอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าในหน้าเดิม  เพราะได้อรรถรสเพิ่มขึ้นค่ะ

การอ่านหนังสือโดยมีความรัก  เป็นวัฒนธรรมที่ฝึกมาจากครอบครัวค่ะ เนื่องจากครอบครัวของยายคิมทุกคนมีหนังสือประจำตัวกันค่ะ

ขอขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนนะคะ

คนเขียนเป็ชาวยโสธรนะพี่

แต่ได้ดูหนังอยู่ครับ

กะปอมเคยกินก้อยบ่พี่

สวัสดีค่ะน้องkrugui Chutima

หอยกาบที่ว่านี้ยายคิมเคยเห็นค่ะ ไม่ใช่หอยแครงนะคะ  แต่เขาอาจเรียกหอยแครงว่าหอยกาบใช่ไหมคะ กรณีที่น้องเล่า

อ่าน ๆ ไปก็มีเรื่องที่ไม่รู้อีกเยอะอีกเยอะเลย  บางตอนก็ซาบซึ้ง บางตอนก็เศร้า บางตอนก็สนุก

ยังคิดว่าตอนต่อไปจะมีปัญญาย่อมาแบบนี้ไหมหนอ  ต้องหาวิธีใหม่ก่อน  จะได้บันทึกละหลาย ๆตอน

ใครอยากรู้เพิ่มไปอ่านเองเนอะ  ดีไหมคะ

สวัสดีค่ะท่านโสภณ เปียสนิท

ยิ่งอ่านยิ่งมันค่ะ ปกติเป็นคนอ่านเร็ว แต่ครั้งนี้อ่านซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหละ ทุกถ้อยคำสำนวนดูกลืนกันไปหมดเลยค่ะ

แบบนี้คนอิสานต้องบังคับให้ลูกหลานและเด็กน้อย ๆ อ่านแล้วนะคะ

สวัสดีค่ะน้องK.Pually

ยายคิมทานได้หลายอย่าง ยกเว้นเป็นบางอย่าง และเผ็ด และเนื้อสัตว์ค่ะ

นอกนั้นส่วนใหญ่เคยลองค่ะ

สวัสดีค่ะน้องเกษตร(อยู่)จังหวัด

เด็กน้อยสองคนนั้น  เป็นเด็กสร้างสรรค์ มีความคิดเหมือนเด็กยุคใหม่เลยนะคะ  ควรซื้อให้ลูกอ่านนะคะ

สวัสดีค่ะเกลอวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

โทรหาแทบทุกคน แต่ติดที่น้องมะปรางเพียงคนเดียวค่ะ  ตอนนี้ที่พัทลุงกำลังท่วมอยู่ใช่ไหม

แถวนั้นดูค่อนข้างเป็นที่สูง และอยู่ใกล้ทะเลสาป ไม่น่าท่วมถึงนะคะ

สวัสดีค่ะ ผอ.พรชัย

หนังสร้างได้เศษหนึ่งส่วนร้อยของหนังสือค่ะ ถ้ายายคิมมีเงินร้อยล้าน จะไปสร้างหนังเรื่องนี้ใหม่ สัก ๓ ภาค

เกณฑ์ให้เด็กและเยาวชนอิสานมาดูฟรีด้วย...ฮา ๆ ๆ ๆ

หวนคืน คิดฮอดบ้างจังเด้อครับ..

ดูแลสุขภาพนะครับพี่

สวัสดีค่ะน้องราชิต สุพร

ยิ่งอ่านก็ยิ่ง...คิดฮอดอิสานหลายเด้อค่ะ  มือใด๋ว่าง ๆ จะไปเยี่ยมค่ะ  อย่าลืมเด้อค่ะ ฝึกให้เด็กน้อยอ่านกันคัก ๆ เด้อค่ะ

เพิ่นเขียนดีอิหลี

  • เคยอ่านตอนเรียนชั้้นมัธยมโน่นครับ จึงชักลืมๆแล้ว ทึ่งจำนวนรอบที่พี่ครูคิมอ่านเลย..
  • นอกจากภาพยนตร์เรื่องครูบ้านนอกแล้ว หนังสือลูกอิสานของคำพูน บุญทวีนี้ ทำให้ผมหลงเสน่ห์ถึงกับไปสอบบรรจุเป็นครูอยู่ที่อุดรธานีเลยล่ะครับ
  • แม้ในปัจจุบัน เสียงแคน เสียงพิณ อาหาร ภาษา ฯลฯ เป็นหลายๆสิ่งที่ตัวเองยังชอบอย่างไม่จืดจาง
  • ขอบคุณพี่ครูคิมที่ทำให้นึกถึงเรื่องที่ตัวเองชอบเหล่านี้ครับ
  • สวัสดีตอนเช้าครับพี่คิม
  • ตอนนี้บรรยากาศแบบลูกอิสานกำลังจะค่อยๆ หายไปที่ละน้อยตามความเจริญที่เข้ามาครับ เด็กสมัยนี้เริ่มเข้าร้านเกมส์ 7-11 หรือเรียนพิเศษในวันเสาร์ อาทิตย์ตั้งแต่เล็กๆ แทน ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ก็น่าเสียดายครับ ถ้าเรื่องราวดังกล่าวจะเหลือแค่เพียงในหนังสือ
  • ชิวิตแบบพึ่งตนเองได้ อยู่ได้แบบพอเพียง โดยเฉพาะหมู่บ้านในชนบท เป็นชีวิตที่มีความสุขสงบครับ อ่านแล้วยังรู้สึกถึงความสุข ความอบอุ่นของการดำเนินชีวิตที่ไม่ต้องแข่งกับเวลา
  • ดีครับ การมีเวลาได้อ่านหนังสือที่เราชอบ เรารักแล้วมีความสุข เหมือนได้ท่องไปในโลกกว้าง และเป็นการลับสมอง ความคิดให้คมไปด้วยในตัว
  • โปรดรักษาสุขภาพในหน้าหนาวครับ
  • สวัสดีครับ
  • เข้ามาทักติดๆกันเพราะคอมเม้นข้างบน ไม่ได้เข้ารหัส กลัวพี่คิมอ่านแล้วงงใครเข้ามาทักทาย ตอนนี้ทางอิสานหนาวแล้วครับ

อรุณสวัสดิ์พี่คิม...

•ลูกอิสาน(คนเล่าเรื่องน่ะ)... ทานสะตอเป็นด้วยหรือค่ะ ชาวปักษ์ใต้ปลื้มจริงๆ(ขอออกนอกเรื่องอิอิ..)

ขอบคุณค่ะ

พี่คิมค่ะ โห บันทึกทุกบทเลยนะคะเนี่ย .. ไปเจอหนังสือเก่า ในบันทึกนี้ http://gotoknow.org/blog/thaimedical/406387 ตั้งแต่ปี ๑๖ แน่ะคะ เลยนึกถึงพี่คิมอีก .. กำลังคิดว่า หนังสือที่มีอยู่ เล่มเก่าๆสุด นี่ปีไหน ของปู เป็นเล่ม เตลมา แต่จำปีแน่นอนไมได้

วันนี้ฝนไม่ตกค่ะ แต่ฟ้ายังครึ้มๆ .. ขอให้ฝนซา ฟ้าใส มาไวๆ ค่ะ

  • คุณครูเคยแนะนำและหามาให้อ่านสมัยเด็กๆค่ะ
  • เป็นหนังสื่ออ่านนอกเวลาที่สุดยอดไม่แพ้ อยู่กับก๋ง น้ำพุ ฯลฯ
  • ตอนทำเป็นภาพยนต์คุณครูก็จัดให้ไปดูกันถ้วนทั่ว
  • ได้ความรู้ความบันเทิงครบครันค่ะ รักบ้านเราคนอีสานมากมายเลย
  • ตอนนี้ยังเก็บหนังสือเหล่านี้ไว้เป็นอย่างดี แลได้แนะนำเด็กๆให้ไปหามาอ่าน
  • ซึ่งยังพอมีเหลือให้อ่านบ้าง ตามหอสมุดและร้านหนังสือต่างๆ
  • บางทีต้องจัดเป็นกิจกรรมเสริมในการเรียนเพื่อเป็นอุบายให้นักเรียนรักการอ่านค่ะ.

สวัสดีค่ะน้องธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ยายคิมได้อ่านลูกอิสานครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ระดับชั้นมัธยมต้น  อ่านจากนิตยสาร "ฟ้าเมืองไทย" รายสัปดาห์  เพราะหนังสือตระกูลฟ้าเป็นหนังสือประจำครอบครัว ได้แก่ฟ้าเมืองไทย ฟ้าเมืองทอง และฟ้าเมืองเด็ก  ซึ่งฟ้าเมืองทองและฟ้าเมืองเด็กออกทีหลังฟ้าเมืองไทยตามลำดับ

อีกเรื่องที่ชอบเป็นรองคือ "ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด" และการ์ตูน "หนูหิ่น" ทุกภาค ของเอ๊าะ ค่ะ

ยายคิมยกให้เป็นหัวใจทองคำของคนอิสานเลยนะคะ  อ่านแล้วอยากเป็นคนมีกะตังค์จะได้สร้างหนังให้ชาวอิสานดูฟรี ๆ รับรองกู้ชาติบ้านเมืองได้ไปภาคหนึ่ง  แล้วภาคอื่น ๆ จะได้เอาอย่างไงคะ

สวัสดีค่ะน้องชำนาญ เขื่อนแก้ว

ยายคิมอ่านมาถึงเม้นท์แรก  ก็ทราบว่าเป็นน้องชำนาญนะคะ  เดาเก่งเหมือนทำข้อสอบเลย  ฮา ๆ ๆ ๆ

ยายคิมเคยมาอยู่ขอนแก่นจนเว้าอิสาน กินอาหารอิสานแนวแซบ ๆ ได้หลายอย่าง

ภาษาอิสานในหนังสือนี้  จะหลงเหลือให้เด็กน้อยและเยาวชนคนอิสานได้รักษาไว้ได้นานแค่ไหน หากไม่ฟื้นฟูด้วยหนังสือนี้

แม้ว่าสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมโหมกระหน่ำมา  นับว่าโชคดีที่มีคนทำนวัตกรรมไว้ให้แล้ว ...ลูกอิสาน  ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด และหนูหิ่นอินเตอร์  ไงคะ

โปรดหาการ์ตูนหนูหิ่น...ทุกตอนมาให้บักหำน้อยที่บ้านอ่านด้วยนะคะ  สร้างสรรค์มาก ๆ รับรองต่อไปร้องแต่จะอ่านหนังสือ

สวัสดีค่ะน้องหนูรี

ที่พิษณุโลกก็มีการปลูกสะตอค่ะ  ราคาก็แพงเหมือนกัน  แต่ยายคิมทานสะตอของใต้ ราคาย่อมแพงกว่า เพราะรสชาติต่างกันค่ะ

ไม่ชอบเผ็ดแต่ก็ทานแกงไตปลาได้ ตักน้อย ๆ ทานผักเคียงเยอะ ๆ ไงคะ และน้ำพริกกุ้งเสียบ ต้องสั่งน้องที่อยู่พังงาซื้อส่งไปทางไปรษณีย์ค่ะ

ผักเหลียง ขนมจีนซาวน้ำ ต้มส้มปลากระบอก โปรดมากค่ะ  ยกเว้นอาหารทะเลทานได้เป็นบางอย่างเท่านั้นค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ครูคิม

เรื่องนี้เคยอ่านค่ะ อ่านเพลินน่าติดตามมาก ซื้อไว้เล่มหนึ่งค่ะ เห็นบันทึกพี่คิมแล้วอุ้มไปไปค้นมุมหนังสือดูไม่เจอแล้วค่ะเรื่องนี้ให้พี่ชายไปแล้วค่ะ เหลือแต่นิทานเวตาล ขุนช้างขุนแผน อ่านไม่เบื่อมีคุณค่าเสมอค่ะ

เคยดูหนังเรื่องนี้ด้วยค่ะฟังเสียงดนตรีอีสานไปด้วย สนุกดีค่ะ

สบายดีนะค่ะพี่คิม คิดถึงเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะน้องpoo

ถึงแม้เราจะไม่ได้เกิดในภาคอิสาน แต่เราก็เป็นคนไทยคนหนึ่ง  ยายคิมอ่านหนังสือ ๓ เล่มคือ  ลูกอิสาน  ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด และหนูหิ่นอินเตอร์ 

มีความภาคภูมิใจมากเพราะหนังสือทั้งามเล่มเป็นสุดยอดของทุกอย่างเหมือนเป็นหัวใจทองคำของชาวอิสานเลยทีเดียว

ส่วนหนังสือทางภาคใต้ ยายคิมสนใจเกี่ยวกับความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ และหนังสือแนวใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะน้องครูแป๋ม

ยายคิมได้อ่านลูกอิสานครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ระดับชั้นมัธยมต้น  อ่านจากนิตยสาร "ฟ้าเมืองไทย" รายสัปดาห์  เพราะหนังสือตระกูลฟ้าเป็นหนังสือประจำครอบครัว ได้แก่ฟ้าเมืองไทย ฟ้าเมืองทอง และฟ้าเมืองเด็ก  ซึ่งฟ้าเมืองทองและฟ้าเมืองเด็กออกทีหลังฟ้าเมืองไทยตามลำดับ

อีกเรื่องที่ชอบเป็นรองคือ "ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด" และการ์ตูน "หนูหิ่น" ทุกภาค ของเอ๊าะ ค่ะ  เพราะมองเห็นหัวใจทองคำของอิสานค่ะ

ถ้ามีลูกมีหลานจะอ่านให้ฟังตั้งแต่พอรู้ความ และจะบังคับให้ลูกอ่านด้วยค่ะ  หนังสร้างได้ไม่ถึงใจทุกเรื่องค่ะ

สวัสดีค่ะน้องถาวร

ตอนนี้พิมพ์ใหม่เป็น "ฉบับนักเรียน" ราคาถูกมากค่ะ  โปรดไปหามาอ่านโดยเร็ว  รับรองอ่านไปขนลุก น้ำตาไหล และยายคิมอยากจะถามว่า

"สามารถอธิบายบางถ้อยคำ สำนวน"  ได้บ้างไหม

อย่าลืมอีก ๒ เรื่องคือผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด และหนูหิ่นอินเตอร์ นะคะ  จะได้ภาคภูมิใจกับความเป็นหัวใจทองคำ

  • ลูกอีสานเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนภาพในสมัยท้องถิ่นอยู่ด้วยความแร้นแค้นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะยุคแรกๆราว พศ.2500 ต้นๆ ไล่มาราวๆ 20 ปีต่อมา
  • แต่ในความซับซ้อนของการเป็นอยู่ที่ต้องปรับการกินอยู่ตามสภาพแวดล้อมนั้นยังมีความงามของสิ่งที่ไม่น่าจะมากับความแห้งแล้งได้ นั่นคือ "ความชุ่มชื่นใจ" 
  • ผมขอมองต่างมุมว่า อีสาน มีพัฒนาการจาก ลูกอีสานเพิ่มขึ้น จากกระแสปฏิวัติอุตสาหกรรมการเกษตรสู่การปลูกเพื่อขาย เลี้ยงเพื่อขาย เงินและทุนกลายเป็นปัจจัยปฏิสัมพันธ์ของคน ค่อยๆเบียดเสียดวัฒนธรรมและศาสนาทีละน้อยๆ
  • ถ้าหันออกมาดูอีสานทุกวันนี้ วัตถุเจริญเข้าถึงไปทั่ว เครือข่ายมือถือ ทีวีสี รถกระบะ และการศึกษา ทำให้ชนบทภาคไหนก็คล้ายกันทุกภาค ต่างกันที่วัฒนธรรม ภาษาและศาสนา
  • บุญรอด คือ วรรณกรรมที่บ่งบอกถึงความทะเยอทะยานของผู้หญิง ในยุคที่ได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระจากการจองจำทางวัฒนธรรม คำว่า ผัวฝรั่ง คือ สูตรสำเร็จของชีวิตรุ่งเรืองที่สาวบ้านนาปรารถนาจะถีบตัวออกจากฐานเดิม
  • หนูหิ่น สะท้อนภาพของสาวต่างจังหวัดที่เป็นตัวตลกสำหรับตนเมือง ที่อยู่ในสถานะด้อยกว่าในสังคม ชนชั้นแรงงานกันชั้นนายจ้าง   แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันดี 
  • เสริมครูคิมนิดหนึ่งครับ หัวใจดวงหนึ่งของคนอีสาน คือ "ศาสนา" ครับ
  • ขอเสริมเป็นเกร็ดความรู้นะครับเกี่ยวกับวรรณกรรมเปรียบเทียบ
  • ทางวรรณกรรมของฝรั่งอเมริกัน มันมีช่วงหนึ่งครับ สมัย คศ. 1900-1930 เรียกว่า ยุคนำสมัย American Modernity ตอนนั้นประเทศก้าวไปสู่ระบบเกษตรอุตสาหรรม ลูกจ้างทาส ได้รับการปลดแอก หลั่งไหลเข้าเมืองทำงานโรงงาน คนเมืองลืมตาอ้าปาก เสวยสุขสโมสร ก็จะมีวรรณกรรมเอกหลายๆเล่ม เช่น Great Gatsby เกี่ยวกับเศรษฐีใหม่แสวงหาตัวตน Grapes of Wraph การมุ่งหน้าหาชีวิตใหม่ในไร่ผลไม้ในแคลิฟอเนีย อ่านไปก็เหมือนๆกับยุคเมืองไทยเฟื่องฟูสมัย พศ. 2520-2540 ประมาณนั้นครับ
  • ว่าไปแล้ววีถีชีวิตของคนที่สะท้อนออกมาทางหนังสือก็มาจากแรงผลักของเศรษฐกิจนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์สัญชัย ฮามคำไพ

ยินดีที่ได้รู้จัก และขอขอบคุณที่มาเสริมเติมเต็ม ซึ่งตรงจุดประสงค์มากทีเดียวค่ะ ในการเขียนบันทึกนี้ โดยเฉพาะตัวสีแดง หลายอย่างยายคิมไม่รู้จัก และคาดว่าเด็กน้อยอิสานหลายคนก็อาจเหมือนกันค่ะ

จริงด้วยค่ะ ศาสนาเป็นสิ่งจรรโลงความยึดมั่นที่เหนียวแน่นมาก ตอนแรกที่ไปอยู่อิสานเมือปี ๒๕๓๔ พบคำว่า "บวร" ทุกบ้าน และมีความเข้าใจจากที่นั่นว่ามีการนำ ๓ สถาบันหลักของชุมชนมาเป็นหลักในการพัฒนา  "บวร" ดังมาจากอิสานค่ะ

บุรอด เป็นตัวอย่างของความมานะ อดทน ขยันขันแข็ง  แม้จะมีผัวฝรั่งแต่บุญรอดก็รักษาวัฒนธรรมและกุลสตรีไทย ที่ควรจะเป็น บุญรอดไม่งอมืองอเท้า และมีความกตัญญูค่ะ

ส่วนหนูหิ่น  เป็นเอกลักษณ์ของความซื่อสัตย์ และการมีอารมณ์ครื้นเครงแบบฉบับของชาวอิสาน (เท่าที่ยายคิมเคยพบ) ค่ะ ไม่เหมาความคิดคนอื่นมากนะคะ

เด็กน้อยใน "ลูกอิสาน" สองคนคือคูนและจันดี  สะท้อนให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ และอยากให้ครูสมัยใหม่อ่านด้วยค่ะ

ตอนที่ให้นักเรียนวาดท้องนา "คูนวาดตามแบบของครู ส่วนจันดีวาดตามความจริงที่นาของของตนเองมีจอมโพนอยู่กลางนา  กลับถูกลงโทษ"

หลวงพ่อ  เป็นต้นตำรับของการมีจิตสาธารณะ โดยการสอนเด็กไม่มีค่าตอบแทน  .... เยอะค่ะ อ่านเป็นรอบที่ ๔ อ่านอย่างช้า ๆ

ขอขอบพระคุณค่ะ  อาจารย์ช่วยมาเติมเต็มในตอนต่อไปอีกนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์สัญชัย ฮามคำไพ

ได้คุยกับอาจารย์  ทำให้ยายคิมเปิดโลกทัศน์ของความคิด ความอ่าน เพิ่มขึ้นค่ะ ตอนนี้ไม่มีอาชีพว่างงาน เติมเต็มให้กับการอ่านอย่างเดียว

จริงแหละค่ะ  การเปลี่ยนแปลงและแรงผลักของเศรษฐกิจทำให้เกิดการเรียบเรียงที่มาที่ไปจากวิถีชีวิตของคน

ขอขอบพระคุณค่ะ

นั่นมันบ่วงอะไรนะแม่..."บ่วงสังกะสี" นั่นแหละ

ทำไมแม่ไม่ซื้อไปใช้บ้างที่เรือนเราใช้แต่เปลือกหอยกาบทำบ่วง..."เออมีสะตางค์แล้วจะซื้อไปใช้"

 

เสริมคำว่า บ่วง  อันนี้เป็นภาษาลาวหรือภาษาอีสานโบราณ แปลว่า ช้อน นะครับ คนอายุรุ่น 60 ปีขึ้นไปจึงจะใช้คำๆนี้ในการเรียกสิ่งของที่ใช้ตักอาหารเข้าปาก แต่ในขณะเดียวกัน คนลาวแท้ยังคงใช้คำว่า บ่วง อยู่

หลายสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาศได้ไปทำบุญวัดลาวในเท็กซัส ก็เสวนาภาษาอีสานกับภาษาลาว หลายๆคำใช้เหมือนๆกัน แต่บางคำคนลาวก็พูดไม่เหมือนคนอีสาน เช่น "เจ้าซอกหาอีหยัง" = คุณค้นหาอะไรเหรอคะ หรือ "เอาแซ่น้ำก้อนไปจังซี่นี่ล่ะ กว่าจะถึงบ้านมันก็เปื่อยหมด" = เอาแช่น้ำแข็งไปอย่างนี้นี่ล่ะ กว่าจะถึงบ้านมันก็ละลายพอดี

ผมขำในครั้งแรกว่าคนลาว เขาใช้คำว่า ซอก ขณะที่คนอีสาน ใช้คำว่า หา และน้ำก้อนลาว คือ น้ำแข็งไทยอีสาน ส่วนคำว่า เปื่อย เป็นศัพท์ที่เดาไม่ออกเลย ว่า กริยาที่น้ำแข้งละลาย คนลาวจะพูดว่า มันเปื่อย ฟังดูเหมือนของต้มมากเลยครับ อิอิอิ

 

ครูสัญชัย ลูกอีสาน-หลานลาว

 

ลุงคนนี้แหละที่เคยเป่าโรคตาแดงให้ลูกตอนเล็ก ๆ

 

การเป่ายังคงมีจริงๆในการแพทย์พื้นบ้านอีสาน หลายๆชุมชนในบ้านผมที่ร้อยเอ็ด คนเฒ่าประจำคุ้ม (หมู่บ้าน) ก็มักจะมีวิชาหมอโบราณไว้บำบัดรักษาโรคหรืออาหารเจ็บป่วยอยู่ มีพ่อเฒ่าหนึ่งแถวบ้านผมเค้าจะรับรักษาโดยทางจิตบำบัดกับอุบัติเหตุบางอาการ เช่น กระดูกหัก ก้างปลาติดคอ การไปหาก็ต้องแต่งขันธ์ห้า คือ ดอกไม้สีขาวหนึ่งคู่ใส่จานพร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปด้วย และมีเงินค่ายกครูตามแต่กำหนดไว้ ไปถึงก็จะร่ายมนต์บริกรรมคาถาตามตำรา และเป่าน้ำมนต์พรวดๆลงบนที่ๆบาดเจ็บ หลังจากนั้นก็กลับบ้าน สักพักอาการเจ็บไข้ก็หายไปอย่างอัศจรรย์ครับ

หมอบ้านในอีสานยังคงทำหน้าที่อื่นด้วย เช่น หมอสูตร คือทำหน้าที่เป็นผู้สวดมนต์ในงานพิธีต่างๆ เช่น สู่ขวัญ ช้อนขวัญ และบางคนก็ยังมีความสามารถในการทำนายหาของหายได้ด้วยครับ  

สวัสดีค่ะอาจารย์สัญชัย ฮามคำไพ

ยายคิมเคยสอนที่โรงเรียนในอำเภอนครไทย ภาษาเขาก็คล้ายอิสานนะคะ  เรียกอะไร ๆ เหมือนกันหลายอย่าง

เคยฟื้นฟูในฐานะครูภาษา  ให้นักเรียนทำหนังสือภาษาถิ่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ  ทำให้เด็กหันมาสนใจภาษาของเขาได้ระดับหนึ่งค่ะ

บ่วงสังกะสี...ทำให้นึกถึงลูกของครูคนหนึ่ง ไม่ยอมใช้ช้อนสังกะสีทานข้าว  ตอนไปทำบุญวัด บอกว่า "เป็นช้อนของคนจน" เหตุเกิดที่อิสานนะคะ

ซอก...ใกล้เคียงภาษาไทยนะคะ  ค้นหา ซอกแซก

ยายคิมไปเมืองลาว คนลาวบอกว่า "ยายคิมนั่งแจม ๆ หน่อย"  ทำให้ยายคิมนึกถึงความหมายของฝรั่ง  งงละหวา..ไปพักหนึ่ง ดีที่ยายคิมเป็นคนนรักภาษา ทำให้สื่อเข้าใจง่ายค่ะ

การเป่า...ตอนยายคิมมาอยู่อิสาน โดนหมากัด พ่อใหญ่มาขอเป่าให้ ก็ดีค่ะ เป็นภูมิปัญญาไม่ควรลบหลู่นะคะ

ตอนแรกสนใจที่จะไปเรียนสาขาไทยคดีศึกษาที่สารคาม  แต่ย้ายกลับบ้านเสียก่อน ไม่งั้นเข้าใจอะไร ๆ ลึกซึ้งกว่านี้แน่ค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่มาเติมเต็มค่ะ

ตอนที่ให้นักเรียนวาดท้องนา "คูนวาดตามแบบของครู ส่วนจันดีวาดตามความจริงที่นาของของตนเองมีจอมโพนอยู่กลางนา  กลับถูกลงโทษ"

 

การเรียนการสอนในยุคนั้น ยังเป็นเรื่องของการกำหนดรูปแบบมาตรฐาน ครูคิมเคยคิดไหมครับว่า ทำไมคนรุ่นเก่าถึงต้องท่องบทอาขยานเป็นบทๆให้ได้ เพราะว่าระบบการปกครองมันก็มีส่วนครอบงำระบบการเรียนการสอนนะครับ อาจจะย้อยไปในสมัยจอมพลป. จอมพลสฤทธิ์ พลเอกเกรียงศักดิ์ พลเอกเปรม เป็นต้นมา การศึกษาคล้ายๆว่าจะได้รับอิทธิพลมาจากระบบทหารบ้างในบางส่วน แล้วมันมาคลายออกในสมัยหลังๆ 

ผมไม่ได้มองว่าการท่องจำคือสิ่งไม่เหมาะไม่ดีนะครับ มองอีกด้านหนึ่ง การท่องทำให้จำได้ ต่อมาทำให้รู้จริงตามตัวบทและสามารถพัฒนาไปสู่ระดับสูงๆได้ ในการเรียนไม่ว่ายุคสมัยใด รูปแบบยังมีความสำคัญอยู่นิรันดร เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรเสียหายถ้าหากท่องได้

กลับมาที่วรรณกรรมย่อหน้านี้ ทำไมจันดีถูกครูทำโทษ เหตุผลขั้นต้น คือ ผิดจากมาตรฐานของครู จึงต้องทำการตะล่อมเข้ากรอบโดยการทำโทษ และครูก็มีอำนาจอาญาสิทธิ์โดยชอบธรรมในการใช้กำลังข่มเหงเด็ก ผมอาจจะพูดแรงนะครับ ขออภัยนิดหนึ่ง แต่โดยความเป็นจริงของยุคสมัยนั้น ไม้เรียวคืออาวุธของครู เสมือนดาบของทหาร และสมัยนั้นสังคมก็อยู่ในภาวะกำหราบปราบปราม โดยเฉพาะเรื่องของระบอบการปกครอง ถ้าพูดคำว่า คอมมิวนิสต์ในช่วงสมัยลูกอีสาน ผมคิดว่าคงถูกยิงเป้าเอาได้ โรงเรียนก็เสมือนโรงอบรมนิสัยพลเมืองตามระบอบประเพณี ดังนั้น กรอบที่ชัดเจนจึงจำเป็นในการสอนเด็กในยุคนั้น

หันมาเสริมที่วงการศึกษาด้านการสอนวิชาภาษาอังกฤษของอเมริกาบ้างครับ นักวิชาการสายหนึ่งก็มีการสรุปออกมาแล้วว่า วิชาการเขียนเรียงความของนักเรียนอเมริกัน ครูควรแยกแยะเกณฑ์ประเมินออกเป็นสองกลุ่ม คือ เกณฑ์พื้นฐานภาษา และเกณฑ์สาระสำคัญ อันแรกก็จะพูดเรื่องไวยากรณ์ การสะกด วรรคตอน โดยเป็นรูปแบบของภาษา อันหลังอยู่เหนือกว่า โดยมองที่แนวคิดในการสร้างใจความ การสื่อสารวาทการของภาษา และความมสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เลยสนับสนุนว่า ครูภาษาอย่าบ้ารูปแบบกันเกินไป เอาสาระสำคัญเป็นหัวใจหลักเถอะ

อิอิ ผมว่ามันทิ่มโดนวงการศึกษาไทยบ้างเหมือนกันนะ รูปแบบ VS สาระ

 

ครูสัญชัย

 

 

 

สวัสดีค่ะ

การท่องอาขยาน บทกลอน หรือบทเพลงต่าง ๆ ก็มีส่วนดี  เพราะความจำเป็นส่วนหนึ่งในการนำสิ่งที่จำไปทำให้เกิดความรู้ใหม่ หรือการนำไปใช้

แต่บางวิชาเมื่อขาดการฝึกฝน  ก็อาจล้มเหลวเช่นวิชาภาษา  หากขาดการฝึกก็จะไม่เกิดทักษะ

กระบวนการฝึกขึ้นอยู่กับการนำทฤษฏีมาประยุกต์ใช้  ยายคิมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ติดรูปแบบ  ไม่ว่าวิชาใด ๆ จึงกลายเป็นคนอยู่ไม่ได้  ในระบบราชการที่มีเขานิยมกรอบ  มีตัวชี้วัดที่ไม่โปร่งใส

ครูดี ๆ ที่เขาลาออกไปก็เยอะ เพราะเขาทนกับกรอบไม่ได้ค่ะ  ขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ที่มาคุยและเติมเต็มให้กับยายคิม

เป็นหนังสือที่อ่านแล้วมีความสุขไปกับตัวละครทำให้นึกว่าตัวเองอยู่ในหนังสือเลยค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท