จันทร์ยิ้ม
ทีมจันทร์ยิ้ม เพื่อพัฒนาเยาวชน

ร่วมประชุมใหญ่ราชวิทยาลัยกุมารเวชศาสตร์ ครั้งที่ 70


WORKSHOP ON “ENHANCING EARLY LEARNING IN A HEALTHY ENVIRONMENT”

เมื่อ27 ตุลาคม2553 พระจันทร์ได้เข้าร่วมประชุมใหญ่

ราชวิทยาลัยกุมารเวชศาสตร์ ที่ห้องประชุมชั้น 10

อาคารพัชรกิติยาภา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ในหัวข้อการเรียนรู้ของเด็ก ขอรายงานโดยย่อดังนี้

พิธีเปิด รศ.พญ.นิตยา คชภักดี ประธานอนุสาขาเปิดเอง

แล้วก็ไปทำหน้าที่วิทยากรเองในหัวข้อแรก

How young children learn and what we can do to facilitate.

อาจารย์เริ่มโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของช่วงปฐมวัยเพราะ

สมองเติบโตและพัฒนาเร็วที่สุด

การอบรมเลี้ยงดูในช่วงนี้มีผลต่อคุณภาพของคนไปตลอดชีวิต

เด็กเองเกิดมาพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างน้อยลองผิดลองถูก

หากได้รับการสนับสนุนที่ดีจากผู้ใหญ่

ก็สามารถพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดตามศักยภาพของสมองได้

เด็กป.1เข้าใหม่แต่ละคนไม่เหมือนกัน

หากสอนแบบเดียวกันเด็กเก่งก็เบื่อ เด็กอ่อนก็มีปัญหาพฤติกรรม

ครูต้องเข้าใจบริบทของเด็ก

และจัดระบบการเรียนรู้ให้เข้ากับต้นทุนเดิมของเด็ก

ซึ่งตรงนี้ยังทำไม่ค่อยได้เพราะข้อจำกัดเรื่องความเข้าใจ

และจำนวนนักเรียนต่อห้องที่มากเกินไป

Metacognition (อภิปัญญา)

หรือ ความสามารถของบุคคลที่ได้รับการพัฒนา

เพื่อควบคุมกำกับกระบวนการทางปัญญาและกระบวนการคิด

มีความตระหนักในงาน และสามารถใช้ยุทธวิธีทำงานจนสำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 405899เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2010 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 

คาบต่อมาเป็นเรื่อง

Safety first: Environment, toys and people

 รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

อาจารย์บรรยายถึงอัตราตายในเด็ก 0-5 ปี

ที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่สมบูรณ์มีมากขึ้น

อาจารย์ให้ดูภาพสถานที่ที่อันตรายต่อเด็ก

รูปแบบการได้รับอันตรายจนเสียชีวิต

ทั้งที่บ้านและที่สถานเลี้ยงเด็กรวมทั้งโรงเรียนโดยเฉพาะสนามเด็กเล่น

โดยกลุ่มเด็กเศรษฐานะต่ำจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมอันตรายบ่อยที่สุด

อาจารย์ อยากให้มีข้อกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมขั้นต่ำที่สุด

ที่ให้เด็กอยู่อาศัยได้ 

โดยหากที่อยู่ของเด็กนั้นๆไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ

รัฐต้องเข้าแทรกแซง

 

Enhancing language development: Communication,

socialization and potential for 3R’s.

 

รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์

กล่าวถึงปัญหาการพูดในเด็ก พูดช้า พูดไม่ชัด

อาจารย์ให้ความสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์ของพ่อแม่กับเด็กตั้งแต่ยังเล็ก

โดยความสามารถด้านภาษา

จะกระตุ้นได้จากหนังสือนิทานที่พ่อแม่อ่านซ้ำๆให้ลูกฟัง

อาจารย์ให้ความสำคัญเกี่ยวกับหนังสือเล่มแรกอย่างมาก

 

How to detect and manage developmental

behavioral problems in young children  

 

ส่วนนี้แบ่งกลุ่มให้แก้ปัญหาตามสถานการณ์สมมติ

พ.อ.หญิง ชาคริยา ธีรเนตร ได้กรุณาแนะนำว่าหลายปัญหาของพ่อแม่

หมอเด็กจะคุ้นเคยแล้วแต่เรื่องหนึ่งที่เราแก้ไม่ค่อยได้คือนักเรียนนักเลง

เด็กเลียนแบบพฤติกรรมผู้ใหญ่ใกล้ชิดหรือจากสื่อ

เด็กผู้ชายจะทำตัวเป็นเจ้าพ่อ รีดไถ่เงิน ชกต่อย ขู่บังคับ

เด็กผู้หญิงจะซุบซิบนินทา บีบบังคับ ไม่ให้เล่นด้วย แกล้งให้โกรธ

เด็กที่ถูกกระทำจะเจ็บช้ำน้ำใจมาก เคยมีถึงฆ่าตัวตายมาแล้ว

           

การแก้ปัญหา ต้องสอนเด็กให้รู้จักป้องกันความรุนแรงเฉพาะหน้า

1.เดินเลี่ยง

2.ถ้ายังตามมาทำ ให้บอกไปว่าเราไม่ชอบ

3.ถ้ายังไม่ยอมหยุดให้ตะโกนเอะอะให้คนรู้

ระยะยาวโรงเรียนต้องมีโครงสร้างในการแก้ปัญหานี้

เช่น 1.มีวิธีการทราบเหตุและระงับเหตุเร็ว

2.เข้าช่วยเหลือผู้ถูกกระทำให้ปรับตัวได้ มีทักษะชีวิตที่ดีขึ้น

3.ดูแลผู้กระทำให้เลิกพฤติกรรมแบบนี้

ใครได้เข้าฟัง โชคดีมาก ใครได้อ่านข้อเขียนนี่ แม้จะเป็นบทสรุป ก็ถือว่าโชคดีเช่นกัน

 ดีใจจัง อ.วัลลภ มาเจิม blog ขอบคุณจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท