มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
Mrs. Maleephan มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช Pooma

โครงการสอน วิชาสังคมศึกษา ม.6


การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง


แผนการจัดการเรียนรู้และประเมินผลการเรียนรู้ฉบับย่อ

กลุ่มสาระวิชา   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

รายวิชา สังคมศึกษา  43102               1.0  หน่วยกิต  2 คาบ/สัปดาห์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   6                           ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

อาจารย์ผู้สอน   นางมาลีพันธุ์ เกิดทองมี

คำอธิบายรายวิชา

   วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของไทย นับว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้ชาติไทยมีความเจริญรุ่งเรืองยาวนาน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาบางอย่างก็ได้ตกทอดเป็นมรดกในยุคสมัยต่อมา และได้นำไปปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาจึงเป็นสิ่งมีค่า ที่บรรพบุรุษได้คิด ได้ทำ ได้ประดิษฐ์ และผ่านการกลั่นกรองมาแล้วว่าเหมาะสม ปราศจากโทษภัย คนรุ่นหลังจึงควรภาคภูมิใจและอนุรักษ์ไว้

   การที่ประเทศไทยสามารถดำรงอยู่ได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น เนื่องจากมีบุคคลสำคัญของไทยที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรม และพัฒนาชาติไทยให้มีความเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ บุคคลสำคัญเหล่านี้ได้ฝากผลงานที่ทรงคุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทย และชาติไทยอย่างอเนกอนันต์ ดังจะเห็นได้จากการสร้างผลงานทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้ให้แก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง

    การสร้างสรรค์ พัฒนาการของมนุษยชาติ ในด้านต่างๆตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ที่มีผลต่อมนุษยชาติทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม ศิลปะและวัฒนธรรมการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการสร้างสรรค์พัฒนาการของมนุษยชาติในด้านต่างๆ

     เหตุการณ์สำคัญๆ ของโลกไม่ว่าจะเกิดขึ้นในดินแดนใดก็ตาม ไม่เพียงแต่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนของดินแดนนั้นเท่านั้น แต่ได้กระทบกระเทือนไปยังมนุษยชาติทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติดาร์วิน การยกพลขึ้นบกในวันดี-เดย์ (D-Day) การลดอาวุธนิวเคลียร์ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตหรือเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ไข้หวัดนก ไข้หวัด 2009 เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และมีผลกระทบต่อแนวคิด วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวโลก

    เหตุการณ์สำคัญที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆของโลก โลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ ทั้งที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันและต่างภูมิภาคกัน จัดตั้งองค์กรหรือกลุ่มต่างๆ ขึ้น เพื่อดำเนินการให้ไปสู่เป้าหมายหรือผลประโยชน์บางอย่างร่วมกัน ในบรรดากลุ่มต่างๆ นั้น การรวมกลุ่มของประเทศในทวีปยุโรปที่เรียกว่า การบูรณาการยุโรป มีความเป็นมาและวัตถุประสงค์ที่น่าสนใจควรแก่การศึกษา เพราะความสำเร็จของการรวมกลุ่มยุโรป นอกจากจะมีผลต่อดุลยอำนาจในโลกแล้ว ยังมีผลต่อการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มกับประเทศนอกกลุ่มด้วย ดังนั้นการทำความเข้าใจเรื่องราวของกลุ่มประเทศยุโรป จะช่วยให้ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ สามารถรักษาผลประโยชน์ของชาติในการติดต่อกับประเทศกลุ่มนี้ได้ทันท่วงที

     พัฒนาการของมนุษยชาติมีทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ ซึ่งในความขัดแย้งและความร่วมมือนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันตามกาลสมัย แต่ภายใต้ความขัดแย้งนั้นบางครั้งก็นำมาสู่ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ รูปแบบความร่วมมือเพื่อประสานผลประโยชน์ในปัจจุบันมีรูปแบบหลากหลาย ที่เด่นชัดเป็นการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยมีการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการเสริมสร้างความร่วมมือและประสานผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก

    แนวทางการประสานประโยชน์ในการสร้างสันติภาพของโลก เป็นความพยายามของนานาชาติที่จะร่วมมือกันจัดระเบียบโลกขึ้นใหม่ เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาคมโลก ตัวอย่างที่      สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือดังกล่าว คือ การประชุมใหญ่แห่งเวียนนาและระบบความสัมพันธ์ทางการทูตแบบบิสมาร์ค องค์การสันนิบาตชาติและองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น       

ผลการเรียนรู้      

1.อธิบายความหมาย,ศึกษากรณีตัวอย่างภูมิปัญญาไทยและวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาไทยและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกของชาติ

2.สามารถวิเคราะห์ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆและพัฒนาชาติไทย

3.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ พัฒนาการของมนุษยชาติ ในด้านต่างๆตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน  

4.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการสร้างสรรค์พัฒนาการของมนุษยชาติในด้านต่างๆ

5. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในภูมิภาคต่างๆที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงของโลก

6.ศึกษารวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์เกี่ยวกับความร่วมมือ ความขัดแย้งของมนุษยชาติในโลกและแนวทางการสานประโยชน์ให้เกิดสันติภาพของโลก(รวมทั้งเหตุการณ์ปัจจุบัน)

7.สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆของโลก(รวมทั้งเหตุการณ์ปัจจุบัน)

8. สามารถวิเคราะห์ผลงานของมนุษยชาติในการหาแนวทางประสานประโยชน์เพื่อสร้างสันติภาพของโลก

 

สัปดาห์ที่

คาบที่

เนื้อหา/หัวข้อ

จุดประสงค์การเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 1

1-5  พ.ย.53

1 -2

ปฐมนิเทศและทดสอบพื้นความรู้

1. ความหมาย ความสำคัญของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

2. ที่มาของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

3. ปัจจัยพื้นฐานและอิทธิพลภายนอกที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย

4. ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

4.แนวทางการนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการดำรงชีวิต

 

เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน การมอบหมายงาน การประเมินผล

1.เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต

 

สัปดาห์ที่ 2

8-12

พ.ย.53

3-4

5. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกของชาติ

6. ตัวอย่างผลงานที่จัดว่าเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของไทยในด้านต่างๆ

7. การประกอบอาชีพ

8. การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม

9. การเมืองการปกครอง

 

2.สามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกของชาติด้วยความภาคภูมิใจ

สัปดาห์ที่ 3

15-19

พ.ย.53

5-6

1.ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ

 

3.วิเคราะห์ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ ได้

 

 

สัปดาห์ที่

คาบที่

เนื้อหา/หัวข้อ

จุดประสงค์การเรียนรู

สัปดาห์ที่ 4

22-26

 พ.ย.53

7 -8

2.ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์และพัฒนาชาติไทย

3.ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญที่ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ ได้แก่

1.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

2.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

3.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

4.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

5.พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ปัจจุบัน คือ พระธรรมโกศาจารย์

6.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

7.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

8.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

9.ดร.แดน บีช บรัดเลย์ (Dr. Dan beadch Bladlay)

10.สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

11.พระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช

 

4.วิเคราะห์ประวัติและผลงานของบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์และพัฒนาชาติไทยได้

 

สัปดาห์ที่ 5

29-30พ.ย. 1-3ธ.ค.53

9-10

การปฏิวัติดาร์วิน

5.ยกตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่มีส่วนสร้างสรรค์พัฒนาการของมนุษยชาติตั้งแต่อดีตถึง                             ปัจจุบันได้

 

สัปดาห์ที่

คาบที่

เนื้อหา/หัวข้อ

จุดประสงค์การเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 6

6-10ธ.ค.53

11-12

1.เหตุการณ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การยกพลขึ้นบกในวันดี-เดย์ (D-Day)

2.ลดอาวุธนิวเคลียร์

6.วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลที่มีส่วนสร้างสรรค์พัฒนาการของมนุษยชาติตั้งแต่อดีตถึง                              ปัจจุบันได้

 

สัปดาห์ที่ 7

13-17

ธ.ค. 53

13-14

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

7.ยกตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

สัปดาห์ที่ 8

20-24

ธ.ค. 53

15-16

เหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001(พ.ศ.2544)

8.วิเคราะห์ผลกระทบต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

สัปดาห์ที่ 9

27-30

ธ.ค. 53

17-18

1.ความเป็นมาของการรวมยุโรป

2.ขั้นตอนของการรวมยุโรป

3.การสร้างความเป็นยุโรปร่วมกัน

4.ความสำคัญของการรวมยุโรปต่อประเทศอื่น

5.เปรียบเทียบการสร้างสรรค์ผลงานด้านต่างๆ ของมนุษยชาติ

 

9.อธิบายความเป็นมาของการรวมยุโรปหรือการบูรณาการยุโรปได้

10.วิเคราะห์ความสำคัญของการรวมยุโรปที่มีผลต่อประเทศอื่นได้

11.เปรียบเทียบการสร้างสรรค์ผลงานด้านต่างๆ ของมนุษยชาติได้

 

สัปดาห์ที่ 9

27-30

ธ.ค. 53

18

สอบวัดผลกลางภาค

ผลการเรียนรู้ที่ 1-5

 

สัปดาห์ที่

คาบที่

เนื้อหา/หัวข้อ

จุดประสงค์การเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 10

3-7 ม.ค.54

19-20

1.ความขัดแย้ง

1.1         ความหมาย

1.2      สาเหตุความขัดแย้ง               

12.อธิบายเกี่ยวกับความหมายและสาเหตุของความขัดแย้งของมนุษยชาติได้ 

สัปดาห์ที่ 11-12

10-21

ม.ค.54

21-24

1.3 ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง

  • Øความขัดแย้งทางความคิด
  • Øความขัดแย้งทางศาสนา
  • Øความขัดแย้งทางอารยธรรม
  • Øความขัดแย้งทางผลประโยชน์Øความขัดแย้งทางอุดมการณ์

 

13.ยกตัวอย่างเหตุการณ์ความขัดแย้งของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้

สัปดาห์ที่

13-14

24-31 ม.ค.

1-4 ก.พ.

54

25-28

1.ความร่วมมือ

   1.1 ความหมาย

   1.2  ประเภทของความร่วมมือ

   1.3  ลักษณะของความร่วมมือ

   1.4 แนวทางการสร้างความร่วมมือ

14. อธิบายเกี่ยวกับความหมาย ประเภทและลักษณะของความร่วมมือของมนุษยชาติได้

15.บอกแนวทางการสร้างความร่วมมือของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้

 

สัปดาห์ที่

14-15

25-29 ม.ค.53

 

29-30

   1.5 ตัวอย่างความร่วมมือ

  • Øความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
  • Øความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการและวัฒนธรรม
  • Øการแข่งขันกีฬา

 

16.ยกตัวอย่างเหตุการณ์ความร่วมมือของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้

สัปดาห์ที่

15-16

7-18 ก.พ.54

29-32

1.การสร้างสรรค์ผลงานของโลกตะวันตก

    1.1การสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะของอิตาลีสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ

1.2 แนวคิดปฏิรูปสังคมและการเมืองในสมัยแห่งภูมิธรรม

 

 

17.วิเคราะห์การสร้างสรรค์และยกตัวอย่างผลงานการสร้างสรรค์ของโลกตะวันตกได้

 

สัปดาห์ที่

คาบที่

เนื้อหา/หัวข้อ

จุดประสงค์การเรียนรู้

สัปดาห์ที่

15-16

7-18 ก.พ.54

29-32

    1.3ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร

2.การสร้างสรรค์ผลงานของโลกตะวันออก

   2.1ระบบทศนิยมของจีนหรือระบบการนับสิบ

  2.2กระดาษและการพิมพ์ของจีน 

   2.3  ธนบัตรของจีน

  2.4  วรรณกรรมของอินเดีย

  2.5  คลังแห่งปัญญา

3.การสร้างสรรค์ผลงานของไทย

  3.1สถาบันพระมหากษัตริย์

  3.2 การผลิตข้าว

  3.3 การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านการแพทย์แผนไทย

  3.4 การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์

  3.5 การสร้างสรรค์ผลงานของช่างศิลป์ไทย

  3.6 มรดกโลกทางวัฒนธรรม

18.วิเคราะห์การสร้างสรรค์และยกตัวอย่างผลงานการสร้างสรรค์ของโลกตะวันออกได้

19.วิเคราะห์การสร้างสรรค์และยกตัวอย่างผลงานการสร้างสรรค์ของไทยได้

20.เปรียบเทียบการสร้างสรรค์ผลงานของมนุษยชาติได้

สัปดาห์ที่

17

21-25

 ก.พ.54

33-34

1.การแสวงหาสันติภาพในคริสต์ศตวรรษที่ 19      

2.ความร่วมมือเพื่อสร้างสันติภาพในคริสต์ศตวรรษที่ 20

3.ความร่วมมือเพื่อสร้างสันติภาพภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

 

21.อธิบายแนวทางการประสานประโยชน์ในการสร้างสันติภาพของโลกได้

22.วิเคราะห์แนวทางการประสานประโยชน์ในการสร้างสันติภาพของโลกได้

23.วิเคราะห์ถึงความสำคัญของแนวทางการประสานประโยชน์ในการสร้างสันติภาพของโลกได้

 

สัปดาห์ที่ 18

27-28 ก.พ.

1-3 มี.ค. 53

36

สอบวัดผลปลายภาค

ผลการเรียนรู้ที่ 6-8(จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 12-23)

 4. แผนการประเมินผลการเรียนรู้และการมอบหมายงาน

        การสอนรายวิชา สังคมศึกษา ส 43102 ประจำภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2553 มีแผนการประเมินผลการเรียนรู้  ดังนี้      คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค  =      70  :  30

       คะแนนระหว่างภาค   =  คะแนนสอบก่อนกลางภาค  +  คะแนนสอบกลางภาค  +  คะแนนสอบหลังกลางภาค +คะแนนจิตพิสัย =   15 + 30 +15 + 10

4.1 ประเมินจากงานหรือการบ้านที่มอบหมายและสอบเก็บคะแนนรายจุดประสงค์ 30      คะแนน

4.2 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน: จิตพิสัย 10 คะแนน

4.3 ประเมินจากการสอบกลางภาค   30     คะแนน

4.4 ประเมินจากการสอบปลายภาค  30     คะแนน    รวม  100       คะแนน

รายละเอียดการประเมินผลแต่ละหัวข้อ เป็นดังนี้

4.1 ประเมินจากงานหรือการบ้านที่มอบหมาย 30 คะแนน

รายการ

รูปแบบของงาน

วันที่

มอบหมาย

กำหนดส่ง

เวลาที่

นักเรียน

ควรใช้(นาที)

คะแนน

1.แบ่งกลุ่มค้นคว้าเหตุการณ์ หลังสิ้นสุดสงครามเย็นถึงปัจจุบัน นำเสนอสาระสำคัญ จัดเป็นกิจกรรมเกมทายปัญหา  เน้นของความถูกต้องของสาระ ( 3 คะแนน) การจัดกิจกรรมได้น่าสนใจ  เข้าใจง่าย
( 3  คะแนน ) มีคู่มือการจัดกิจกรรมและเฉลยเรียบร้อยพร้อมการอ้างอิงที่ถูกต้อง ( 3 คะแนน ) ตรงเวลาและนำเสนอตามกำหนด ภายในเวลา 15 นาที(1 คะแนน ) 

งานกลุ่ม(6 คน)

สัปดาห์ที่ 1   
(1 -5 พ.ย.53 )

8-19 พ.ย.53

 

  วันละ 10 นาที รวม 3 วัน  30 นาที

10

2. นักเรียนนำเสนอภูมิปัญญาท้องท้องถิ่น โดยบอกแหล่งที่มา วิธีการผลิต ประโยชน์ที่ได้รับ

งานเดียว

สัปดาห์ที่ 4,5

ในคาบที่เรียน

วันละ 5 นาทีรวม10นาที

5

 3. บันทึกข่าว 1 เรื่อง เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อเศรษฐกิจหรือการเมืองทั่วโลก (2 คะแนน ) แสดงความคิดเห็น ( 2 คะแนน ) ตั้งคำถามปรนัย พร้อมแสดงคำตอบ 1 ข้อ (1 คะแนน ) พิมพ์ด้วยอักษรAngsana New 16 ไม่เกิน 1หน้ากระดาษ A4  นำมาถาม-ตอบในชั้นเรียน

งานคู่

สัปดาห์ที่ 5(29พ.ย.- 3 ธ.ค.53)

13-24ธันวาคม2553

วันละ 5 นาที รวม  2 วัน  10 นาที

5

4. สัมมนากลุ่ม กำหนดประเด็นปัญหาค้นคว้าข้อมูลเรื่อง  ปัญหาน้ำท่วม, ปัญหาดินถล่ม, ความขัดแย้งภาคใต้(2549 –ปัจจุบัน), ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา,ปัญหาแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยนำเสนอประเด็นที่ค้นคว้ากลุ่มละ 10 นาทีผู้ร่วมสัมมนากลุ่มอื่นๆแสดงความคิดเห็นร่วมด้วยไม่น้อยกว่ากลุ่มละ 2 ประเด็นให้แต่ละกลุ่มสรุปผลการสัมมนาลงในกระดาษ A4เกณฑ์การให้คะแนน ความถูกต้องของข้อมูล (5 คะแนน)  สรุปประเด็น (3 คะแนน)  มีส่วนร่วมการสัมมนา (2 คะแนน)

งานกลุ่ม (6 คน)

สัปดาห์ที่ 9(20-24ธ.ค. 53)

24 มกราคม 2554

สัปดาห์ละ30  นาที

10

 4.2  การประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน : คุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (10 คะแนน)

การประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ส 43102 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ได้กำหนดหัวข้อการประเมิน ดังตารางข้างล่าง 

หัวข้อการประเมิน

ผลการประเมิน

 

(1)  ความรับผิดชอบ  ( 6  คะแนน)

     1.  เข้าชั้นเรียนตรงเวลา

ดีเยี่ยม

(5)

ดีมาก

(4)

ดี

(3)

ปานกลาง

(2)

ปรับปรุง

(1)

 

 

 

 

 

     2.  ส่งงานตรงเวลา

 

 

 

 

 

     3.  ปรับปรุง – พัฒนาผลงานของตนเองสม่ำเสมอ

 

 

 

 

 

     4. ความสนใจในการเรียน

 

 

 

 

 

     5.  การซักถาม/ตอบคำถาม

 

 

 

 

 

    6.  ความสะอาดเรียบร้อย

 

 

 

 

 

(2)  การปฏิบัติกิจกรรม  ( 4 คะแนน)

     1.  ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม

 

 

 

 

 

     2.  ความกระตือรือร้นในการทำงาน

 

 

 

 

 

     3.  ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

 

 

 

 

 

    4.  ความสำเร็จของการทำงาน

 

 

 

 

 

รวม

 

 

 

 

 

 

รวม = 50 คะแนน/ = 10 คะแนน

 4.3 การประเมินจากการสอบกลางภาค ( 30 คะแนน )

                กำหนดสอบกลางภาค ระหว่างวันที่ 27-30  ธันวาคม 2553 เวลาที่ใช้ในการสอบ 60 นาที หัวข้อ/เนื้อหาและลักษณะของข้อสอบมีรายละเอียดดังตาราง

หัวข้อ/เนื้อหาที่ใช้ในการสอบกลางภาค

ลักษณะ/จำนวนข้อสอบ

คะแนน

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

อัตนัย 1 ข้อ /ปรนัย 8 ข้อ

2/4

บุคคลสำคัญและผลงานในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมฯ

อัตนัย 1 ข้อ /ปรนัย 8 ข้อ

2/4

อารยธรรมของมนุษยชาติกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

อัตนัย 3 ข้อ /ปรนัย 24 ข้อ

6/12

 4.4 การประเมินจากการสอบปลายภาค (30   คะแนน )

   กำหนดสอบปลายภาค ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์- 4 มีนาคม 2554  เวลาที่ใช้ในการสอบ 60 นาที หัวข้อ/เนื้อหาและลักษณะของข้อสอบมีรายละเอียดดังตาราง 

หัวข้อ/เนื้อหาที่ใช้ในการสอบปลายภาค

ลักษณะ/จำนวนข้อสอบ

คะแนน

ปัญหาความขัดแย้ง

อัตนัย 1 ข้อ /ปรนัย 12 ข้อ

2/6

ความร่วมมือ

อัตนัย 1 ข้อ /ปรนัย 12 ข้อ

2/6

การสานประโยชน์

อัตนัย 3 ข้อ /ปรนัย 16 ข้อ

6/8

สื่อการเรียนการสอน

  1. Websites เช่น http://www.questia.com และ http://www.answers.com   http://www.gotoknow.org/blog/jimpooma
  2. Gilbert,Martin. (2000). Challenge to Civilization : A History  of The Twentieth Century 1952-1999. London : HarperCollins  Publishers.
  3. ชวลีย์ ณ ถลาง. (2545). เหตุการณ์ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
  4. วิมลวรรณ  ภัทโรดม. (2540). ยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :          ศักดิโสภาการพิมพ์.
  5. ยาสึโกะ  นะอิโต. (2536). 4 ปีนรกในเขมร. กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ.
  6. JUNG  CHANG. จิตราภรณ์  ตันรัตนกุล แปล.(2523). หงส์ป่า.กรุงเทพฯ:พิมพ์ครั้งที่ 5,นานมีบุ๊คส์
  7. วิดีทัศน์ “สงครามเวียตนาม”    “สงครามอ่าวเปอร์เซีย”   “ ทุ่งสังหาร”  “การสร้างกำแพงเบอร์ลิน”
  8. แผนที่ประวัติศาสตร์ยุโรป
หมายเลขบันทึก: 405325เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท