คนไทยกับน้ำ : เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ


ขอขอบคุณภาพจากเว็บโซต์ครอบครัวข่าว ช่อง ๓ อ้างถึงใน พระอธิการโชคชัย ในเวทีคนหนองบัว คห ๘๕๙

  ในบ้านเมืองชุมชนไทย   ที่ประสบชะตากรรมน้ำท่วมหนักในตอนนี้ มีข้อสังเกตให้ได้คิดว่า ทั้งๆที่แต่โบราณนานมา สถานที่เหล่านั้นไม่เคยมีน้ำท่วมมาก่อนเลย ทำไมคนไทยยุคก่อนจึงเอาตัวรอดปลอดภัยจากเรื่องนี้มาได้อย่างดีตลอดมา อย่างน้อยท่านจะต้องเรียนรู้เข้าใจสิ่งรอบตัวได้ชัดเจนว่า........

                (๑) ทางเดินน้ำตามธรรมชาติมีมากมาย ทางระบายน้ำจำนวนมากนั้นก็ไม่ถูกถม หรือปิดกั้น
                (๒) การออกแบบบ้านของคนโบราณ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ปลูกบ้านใต้ถุนสูง ๒-๓  เมตร
                (๓) น้ำนอง น้ำหลาก น้ำท่วม ไม่ได้มองว่เป็นภัยธรรมชาติ
                (๔) จะมีน้ำน้อย น้ำมาก หรือประสบกับภาวะภัยแล้ง ก็ไม่ประมาท แต่เตรียมพร้อมรับมือกับน้ำทุกปี
                (๕) สังเกต มด แมว เป็นตัวช่วยคอยพยากรณ์แทนกรมอุตุฯ ก็สามารถช่วยได้
                (๖) ปีใดไม่มีน้ำหลาก น้ำนอง น้ำท่วมนา ปีนั้นจะถือว่าขาดความอุดสมบูรณ์เสียด้วยซ้ำไป
                (๗) คนไทยอยู่กับน้ำ เรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำตลอดมา คอยแค่สังเกตธรรมชาติรอบตัว แล้วเกิดการเรียนรู้ ปรับตัวตาม

แค่นี้ก็อยู่ได้อย่างสบาย ๆ ไม่มีปัญหาเลย.

...............................................................................................................................................................................

* บทความนี้เขียนและบันทึกถ่ายทอดไว้ในเวทีคนหนองบัว โดย ท่านพระคุณเจ้า พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) ในชื่อหัวข้อเดียวกันนี้ที่  dialogue box 867 ของเวทีคนหนองบัว  แต่เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมและค้นหาอ่านได้ง่าย รวมทั้งเพิ่มพูนศักยภาพการเขียนสะสมความรู้ สร้างวัฒนธรรมการอ่านและใช้ความรู้ในวิถีชีวิต ส่งเสริมให้ชาวบ้านและคนทั่วไปเข้าถึงความรู้ของท้องถิ่นที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของคนจากชุมชน ผ่านระบบค้นหาความรู้และข้อมูลทางเทคโนโลยี IT บูรณาการมิติชุมชนเข้ากับเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมความรู้ผสมผสาน ต่อยอดขึ้นจากพื้นฐานชนบท ซึ่งจะส่งเสริมให้ชุมชนมีภูมิปัญญาปฏิบัติในชีวิตและเป็นองค์ประกอบการก่อเกิดสุขภาวะและสังคมเข้มแข็งในชุมชน ผมจึงขอนำมารวบรวมไว้เป็นหัวข้อเฉพาะนี้อีกครั้งหนึ่ง และเพื่อให้ความเคารพในความสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมเขียนข้อมูลความรู้จากเรื่องราวในวิถีชีวิตสะสมเป็นภูมิปัญญาสาธารณะ จึงขอรักษาความเป็นต้นฉบับไว้โดยจัดย่อหน้าให้ง่ายต่อการอ่านและปรับแต่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 404972เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2010 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

มาให้กำลังใจ ครับ

สวัสดีค่ะ

มาร่วมส่งกำลังใจให้พี่น้องผู้ประสบภัยค่ะ  เห็นน้ำแล้วรู้สึกสดชื่นสบายใจนะคะ  หากไม่คิดถึงความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย

ที่อำเภอวังทองก็ท่วมเป็นบางส่วน  ที่หมู่บ้านของยายคิมก็เป็นจุดเสี่ยงภัยน้ำท่วม  เพราะมีผู้มาถมที่ปิดทางน้ำไหลค่ะ

* ขอบคุณค่ะ..พี่เห็นด้วยกับความจริงของการเรียนรู้กับธรรมชาติของน้ำเช่นนี้

* พี่เติบโตในบ้านริมน้ำอยู่ช่วงชีวิตหนึ่งในยุคหลายสิบปีมาแล้ว ที่บ้านเกิดของคุณแม่ ซึ่งตั้งบนฝั่งแม่น้ำปิงที่ไหลผ่าน อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค์ และอีกระยะหนึ่งที่บ้านพักนายทหารริมคลองวัดประชาระบือธรรม ที่ต่อเนื่องกับคลองเปรมประชากร ในกทม.

 ..เราไม่เคยประสบกับภาวะน้ำท่วมบ้าน ..การขึ้นลงของน้ำเป็นไปตามฤดูกาลที่คาดเดาได้เสมอ สมัยนั้นระบบการควบคุมน้ำไม่มี ธรรมชาติเป็นผู้กำหนดทั้งสิ้น อีกทั้งมีความสมดุลของสิ่งแวดล้อมอย่างสอดคล้องกับความสุขของชีวิตที่พอเพียง..คิดถึงกลิ่นแม่น้ำ-น้ำคลองใสสะอาดมากค่ะ..

พญาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นโดยใช้คติการสร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในคติจักรวาล 4 ด้านเท่าแบบเดียวกับสุโขทัย และมีการสร้างระบบชลประทาน เป็นเขื่อนคันดินขนาดใหญ่ ตัวเขื่อนสร้างด้วยดินเหนียว (homogenous fill) ความยาวสันเขื่อนประมาณ 1 กิโลเมตร บริเวณเวียงโบราณเจ็ดลิน (ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกว่า "อ่างแก้ว" ) เช่นเดียวกับระบบ "สรีดภงส์" ของกรุงสุโขทัย
น้ำจากเขื่อนใหญ่ “เจ็ดลิน” จะถูกพักไว้ในคันดินอีกระดับหนึ่งเพื่อกรองตะกอน ก่อนจะไหลลงมายังเมืองเชียงใหม่ตรงมุมกำแพงที่แจ่งหัวริน
ในขณะที่เมืองสุโขทัยก็มี “ลำคลองเสา”บังคับน้ำจากเขื่อนสรีดภงส์ ให้ไหลเข้าคูเมืองตรงมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ในลักษณะเดียวกัน
เมื่อ น้ำจากภูเขาดอยสุเทพเข้ามาในตัวเมืองเชียงใหม่มากเกินไปจนกลายเป็นอุทกภัย น้ำปริมาณมากจะถูกระบายตามคูเมืองทางทิศเหนือไปลงลำน้ำแม่ข่า ออกไปสู่แม่น้ำปิง
ที่มา...http://cm4nu.igetweb.com/index.php?mo=3&art=265897สรีดภงส์และเขื่อนกั้นน้ำโบราณในประเทศไทย

จากเนื้อความดังกล่าว จะเห็นได้ว่าคนไทยโบราณมีความชาญฉลาดและความสามารถในการจัดการด้านภูมิสถาปัตย์ของบ้านเมืองเป็นอย่างดี การจัดการน้ำ การมองเห็นภาพ อนาคตข้างหน้า เช่น การเก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง ยามหน้าฝนน้ำก็สามารถระบายได้โดยไม่เข้าไปท่วมในบ้านเมือง ทั้งนี้คูเมืองต่างๆยังใช้ประโยชน์ในการป้องกันข้าศึกไม่เข้าตีเมืองได้ง่ายๆอีกด้วย...

แต่เราคนในยุคปัจจุบัน กับไล่ถมที่เป็นการใหญ่..สระเล็กสระน้อย หนองน้ำตามธรรมชาติ ถูกถมเพื่อใช้ประโยชน์ในสิ่งปลูกสร้างเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ หนองน้ำใหญ่ๆอย่างหนองงูเห่า ก็ถูกถมลงจนเต็มพื้นที่กลายเป็นสนามบิน..และอื่นๆอีกมากมาย..แล้วน้ำจะไปทางไหนล่ะคะเนี่ย...ชาวบ้านตาดำๆรับกรรมไปเลย...มาแลกเปลี่ยนความคิดน้อยๆกับพี่อาจารย์ค่ะ...

สวัสดีครับอาจารย์หมอ JJ ครับ

  • ขอนำส่งน้ำใจจากอาจารย์ถึงชาวหนองบัว
  • และชาวโรงพยาบาลหนองบัวทุกท่านครับ
  • ด้วยจิตคารวะครับ

 

สวัสดีครับคุณครูคิมครับ

  • ตอนนี้แถวหนองบัวเริ่มครบ ๓ รสของความลำบากแล้วละครับ
  • อากาศเริ่มเย็น น้ำก็ท่วม ฝนก็ยังตกอยู่อีก

สวัสดีครับพี่นงนาทครับ

  • อันที่จริงการประชุมและวางแผนระดับนโยบายของประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาที่สำคัญๆนั้น น่าทำกันในช่วงฤดูน้ำหลากและน้ำท่วมกันอย่างนี้นะครับ อาจจะทำให้มีแนวคิดการพัฒนาประเทศที่นำเอาปัญหาอย่างนี้่เข้ามาคิดไปด้วยมากขึ้น
  • สวัสดีครับน้องคุณครูอ้อยเล็กครับ
  • ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาของคนเก่าก่อนไปด้วยเลยนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์วิรัตน์

                    มาให้กำลังใจชาวหนองบัวครับ ฝน ฟ้า อากาศ เป็นอะไรที่คาดไม่ถึงจริงๆ

น้ำท่วมแบบนี้ ทำเอาแย่กันไปตามๆกัน

อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านอาจารย์ มาอ่านความรู้ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ

ส่งกำลังใจ เพื่อพี่น้องผ่านพ้นวิกฤติภัยค่ะ เชื่อมั่น ศรัทธา พลังสามัคคี

ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์คุณหลวงเวชการครับ
อาจารย์ก็รักษาสุขภาพนะครับ

สวัสดีครับคุณอภิชิตครับ
แถวหนองบัวนี้แย่ติดต่อกัน ๓-๔ ปีซ้อนนี่แล้วละครับ
ปีที่แล้วฝนแล้งตอนทำนาและพอข้าวเริ่มแก่ฝนก็ตกหนักจนน้ำท่วมเสียหาย
ก่อนหน้านั้นไปอีกปีหนึ่ง ฝนแล้งตลอดปี แต่พอข้าวที่พอเหลืออยู่เริ่มแก่และกำลังรอเกี่ยว ฝนก็ตกติดต่อกันจนน้ำท่วมขัง ชาวนาหลายเจ้าไม่ได้ข้าวแม้จะเหลือไว้หุงกิน
เข้าโรงพยาบาลกันเป็นแถวเพราะเครียด ทั้งเสียใจและทุกข์กับการเป็นหนี้

สวัสดีครับคุณpooครับ
นี่ผมเข้ามาสันถวะท่านผู้อ่านและผู้มาเยือนให้กำลังใจคนหนองบัวแทนท่านพระมหาแล คุณฉิก คุณสมบัติ คุณเสวก และอีกหลายท่านไปเลยนะครับ เป็นกำลังใจกันนั้นงดงามครับ เพียงเริ่มกำหนดใจและแสดงเจตนา ก็รู้สึกงอกงามขึ้นในจิตใจทั้งผู้ให้และผู้รับแล้วละนะครับ ขอร่วมแสงความขอบคุณและรำลึกถึงน้ำใจของทุกท่านที่ให้แก่ชาวบ้านหนองบัวครับ

จริงตามที่เขียนแล้วครับ ควรอยู่กับธรรมชาติแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน บ้างคนชอบเอาชนะธรรมชาติ มากเข้านานเข้าเลยถูกธรรมชาติลงโทษ 

  • สักครู่นี้เข้าไปเรียนรู้เรื่องการถอดบทเรียน ที่บันทึกท่านอาจารย์ขจิต
  • กล่าวถึงท่านอาจารย์ ในบรรณานุกรรม
  • กำลังฝึกการถอดบทเรียน และฝึกทบทวนตนเองด้วยค่ะท่าน
พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)

เจริญพรอาจารย์วิรัตน์

  • ขออนุโมทนาที่อาจารย์นำข้อเขียนนี้มาบันทึกแยกไว้ต่างหาก

เจริญพรขอบคุณทุกความเห็นของทุกท่าน :  คุณหมอ JJ  คุณครูคิม  คุณโยมนงนาท คุณครูอ้อยเล็ก  คุณหลวงเวชการ คุณอภิชิต  คุณpoo  อาจารย์โสภณ เปียสนิท คุณโยมอุ้มบุญ

  • ดูข่าวทางทีวี เห็นแล้วใจหาย  รู้สึกเห็นใจ เดือดร้อนกันไปหมดทั้งโยมทั้งพระได้เห็นน้ำใจของคนไทยที่เสียสละแบ่งปันสิ่งของช่วยเหลือกันและกันอย่างมากมาย

....วิกฤต...เป็นโอกาศ....โอกาศที่ว่า..น่าจะมาถึง...."ทางการน่า...จะมีถุงยังชีพล่วงหน้า..หาสาเหตุให้เจอ...ว่าทำงานเรื่องผังเมือง..ความเป็นอยู่..ของเรากับสิ่งแวดล้อม(สมัยใหม่)...(ตาบอดคลำช้าง...ถี่ลอดตาช้าง..ห่างลอดตาเล็น)..."ช่วยๆกันเคาะๆๆ..จานๆๆๆกันหน่อย..ดีไหม....ยายธีเจ้าค่ะ....

พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)

เจริญพรคุณโยมยายธี

  • ขออนุโมทนาคุณยายธีที่เข้ามาเยี่ยมเวทีคนหนองบัว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท