AI บทที่ 17 : GSCOs


          จากครั้งที่แล้วได้เกริ่นนำเกี่ยวกับ GSCOs มาบ้างแล้วใน weekly meeting สคส. : review AI บทที่ 17  ก็จะขอลงรายละเอียดเลยนะคะ 

           คำว่า GSCOs นั้นย่อมาจาก Global Social Change Organizations ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก   อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือกองทุนหรือหน่วยงานพัฒนาระดับชาติที่มุ่งไปที่ประเด็นการช่วยเหลือความยากจน การถูกกดขี่ การรักษาสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และเด็กกำพร้า    GSCOs นี้มีอยู่ทั่วโลกแต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่ร่ำรวยทางเศรษฐกิจ  GSCOs เกิดขึ้นมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เนื่องจากมีนักสังคมสงเคราะห์จำนวนมากทั่วโลกออกมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสงครามและในช่วงนั้นมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นมากมาย  จึงเกิดแนวคิดว่า ประเทศที่ร่ำรวยทางเศรษฐกิจหรือประเทศที่พัฒนาแล้วควรให้ความช่วยเหลือประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือประเทศที่ประสบภัย

           ในช่วงแรกนั้น GSCOs มักสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีต่างๆ ไปช่วยเหลือโดยไม่ได้ใส่ใจว่าจะนำเงินหรือเทคโนโลยีเหล่านั้นไปดำเนินการอย่างไร ทำให้การพัฒนาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้     ต่อมาจึงมีการทำสัญญาและข้อตกลงกันระหว่างหน่วยงานผู้ให้ทุนและผู้รับทุน โดยหน่วยงานรับทุนต้องมีการจัดการหรือวางแผนการทำงานที่ดีก่อนจึงจะพิจารณาให้ทุน ประกอบกับการทาง GSCOs เองก็ต้องมีการจัดการกองทุนที่มีประสิทธิภาพเนื่องจาก GSCOs เป็นองค์กรเปลี่ยนแปลงสังคมระดับโลกต้องมีการจัดระบบการทำงานไปทั่วโลก  ซึ่งบ่อยครั้งการจัดการระบบระดับโลกนี้มีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่เพียงพอ เนื่องจากขีดจำกัดของงบประมาณและระดับคนทำงานในแต่ละพื้นที่ที่มีการทำงานในสถานการณ์ที่เคร่งเครียด กดดัน เต็มไปด้วยอันตรายและความเสี่ยง  และต้องดำเนินการด้วยกฎเกณฑ์ ประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย และแตกต่างกันในแต่ละบริบทซึ่งทำให้รูปแบบการทำงานในแต่ละพื้นที่ไม่มีแบบฉบับที่ตายตัว


       หลายกองทุนมุ่งค้นหารูปแบบการทำงานในองค์กรของตนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในวงจรโลกและเกิดคำถามเหล่านี้ขึ้น


       “What, then, will work in this rapidly emerging global village?”
      “What organizational arrangements are required?”
      “What methodologies are appropriate?”

นี้เป็นคำถามที่ทำให้ GSCOs ต่างๆ ต้องแสวงหาวิธีการจัดการที่ดีกับองค์กรของตน  ครั้งหน้าจะกล่าวถึง Organization Inquiry Model ที่ใช้กับ GSCOs คะ

คำสำคัญ (Tags): #kmi#km
หมายเลขบันทึก: 40308เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท