เยี่ยมชมกิจการโรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค จ.สระบุรี


สวัสดีคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์พุแคทุกท่าน หลังจากที่ผมได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมป์เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว ผมก็มีความตั้งใจจะไปเยี่ยมชมโรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนในเครือทั้ง  7 โรงเรียน เพื่อดูกิจกรรม และให้ความรู้แก่นักเรียนปัจจุบัน ซึ่งในวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ผมได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค จังหวัดสระบุรี เป็นแห่งแรก ซึ่งผมพร้อมกับคณะศิษย์เก่าหลายท่านที่ไปร่วมให้ความรู้แก่นักเรียนที่กำลังจะจบการศึกษาจำนวนกว่า 400 คน ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากท่านผู้อำนวยการสุรินทร์  และมีความรู้สึกภูมิใจกับนักเรียนของโรงเรียนเป็นอย่างมาก เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักรียน ได้เข้าเยี่ยมชมห้องสุมดที่ยอดเยี่ยม นักเรียนยังได้แสดงความคิดเห็นกับผมด้วย ซึ่งมีภาพที่ประทับใจมาให้ดูด้วย สำหรับนักเรียนที่ได้อ่านแล้วช่วยบอกต่อกับเพื่อนๆ และผมขอให้แสดงความคิดเห็นมาใน blog นี้ด้วยว่าหลังจากได้ฟังแล้วจะนำไปใช้ได้อย่างไรกับอนาคตของตนเอง มีความตั้งใจใฝ่ฝันอย่างไรเมื่อจบการศึกษาแล้ว มองอนาคตของตนเองไว้อย่างไร และสามารถส่งคำถามมาได้ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 40306เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
"บทเรียนจากความเป็นจริง เรือง no pain, no gain โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"

ไม่มี pain ไม่มี gain[1]

 

วันที่ผมเขียนนี้เป็นวันพฤหัสบดีที่ 20 ที่ประชาชนชาวไทยทุกคน ต่างส่งจิตใจถวายพระพรด้วย ความเป็นห่วงใยขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากอาการพระประชวรอย่างรวดเร็ว เป็น มิ่งขวัญของคนไทยต่อไป


ระยะนี้เป็นช่วงอันตรายสำหรับสังคมไทย เพราะการเมืองยังไม่นิ่ง คนไทยส่วนมากที่คิดไม่เป็น อาจจะไม่เข้าใจถึงความรุนแรงของการเมืองไทย ฉะนั้นคนไทยต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง คิดเป็น วิเคราะห์ เป็น จึงจะสกัดกั้นคนไม่ดีออกไป ในประวัติศาสตร์ คนไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ได้สร้างปัญหาไว้อย่างมาก ดังที่ผมเขียนไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว


ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต เพราะอายุท่านแค่ 76 ปี เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง ผมเป็นรุ่นน้องได้รับความกรุณาจากท่านเสมอ เพราะผู้ใหญ่ที่ดี จะต้องสนับสนุนให้รุ่นเด็ก ได้โตแทน ผมเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ก็จะต้องทำบทบาทนี้มากขึ้น เช่น สนับสนุนให้อาจารย์ยม นาคสุขมีความ เก่งและดีเพิ่มขึ้น จำได้ว่า ผมเขียนบทความมาเกือบ 20 ปีแล้วใน Chula review ฉบับแรก เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ยุคแรกของไทย ดูได้จากกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังเป็นรองชาติอื่น ๆ มาก ท่านยังได้พูดถึงเสมอว่าเป็นประโยชน์ และท่านได้มาช่วยแสดงปาฐกถาให้สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสมอ


จำได้มาตลอดว่า ครั้งหนึ่ง ท่านพูดว่า " จีระ รู้ไหม " มาเฟียก็เก่ง แต่เป้าหมายของเขาไม่ดี ขาด คุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัว ทำเพื่อพรรคพวก ผมจึงยึดถือว่า คนเก่ง กับคนดี มีคุณธรรมควรจะต้องคู่ กัน ดูได้จาก 8 K's และ คนเก่งอย่างเดียวจะต้องแพ้คนดี ทุนทางจริยธรรมในระยะยาว ในสัปดาห์นี้มีคำสัมภาษณ์ของคนสำคัญต่อสาธารณชน ที่น่าสนใจคือ อดีตนายกรัฐมนตรี คุณ อานันท์ ปันยารชุน ได้แสดงความเห็นเรื่องการเมือง ผมได้คุยกับท่านหลายครั้ง ทราบว่าท่านระวังในการ แสดงความเห็นเรื่องการเมืองมาก แต่ครั้งนี้ ท่านพูดว่า นายกฯ ทักษิณอยู่รอดไปวัน ๆ เพื่อตัวเอง ไม่ได้ อยู่เพื่อประเทศหรือส่วนรวม ซึ่งคำพูดแบบนี้ น่าสนใจ ท่านผู้อ่านลองไปพิจารณาดูว่าถูกหรือไม่ ผมไม่ ขอแสดงความเห็น แต่ต้องการให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์ต่อไป


 พูดถึงวิกฤติการณ์ครั้งนี้ หากทุกกลุ่มที่เป็นกลางจับเข่าคุยกัน หาเหตุผล และแสดงจุดยืนบ้างก็ จะดี จะได้แง่มุมจากประชาชนที่มีความรู้ ได้ share ideas ถ้าประเทศไทยมีแต่ตัวละครเดิม ๆ พูด ค่อนข้างจะเลือกข้างมากเกินไป คือมีสองฝ่าย ฝ่ายชอบรัฐบาล กับฝ่ายเกลียดรัฐบาล ซึ่งแนวคิดจะแคบ เกินไป ทำให้สังคมไทยไม่เรียนรู้พอเพียง


ในสัปดาห์นี้ ผมเริ่มงานที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งประชุมทุกวันจันทร์ ได้ความรู้ และได้รู้จักกรรมการตุลาการที่คัดเลือกอีก 12 ท่าน รวมทั้งประธาน คือ ประธานศาลฎีกา ผมคิดว่าจุด แข็งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ อยากให้ตุลาการเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน จึงมีการเลือกจากวุฒิสมาชิก ช่วยให้มุมมองที่สะท้อนประชาชนมากขึ้น บรรดาคณะกรรมการตุลาการที่เลือกมาจากคนดีและเก่ง ทั้งนั้น ผมโชคดีได้ทำงานท้าทาย และได้เรียนรู้ไปด้วย


เมื่อวันพุธที่ 19 ผมบินไปเชียงใหม่ ได้ร่วมงานกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ผ่านคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยที่ผมเป็นกรรมการ จัดให้คณาจารย์ 150 คน ทั้ง มหาวิทยาลัย รับฟังเรื่องสร้างสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเน้นทฤษฎี 4 L's มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อนำไปปฏิบัติ เริ่มให้อาจารย์รับฟังลูกศิษย์แบบแลกเปลี่ยนความรู้ 2 ทางมากขึ้น ผมจะจัดให้ คณาจารย์ทุกเดือน ซึ่งครั้งหน้าจะเน้นคุณธรรม จริยธรรม ผมทำจริง หากใครเห็นว่าผมมีประโยชน์ก็บอก มาได้


ส่วนในวันพฤหัสบดีที่ 20 ผมในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ไปพบคณาจารย์และนักเรียนของเทพศิรินทร์พุแค ที่พุแค จ.สระบุรี เทพศิรินทร์ในปัจจุบันไม่ได้มี เฉพาะเทพศิรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ยศเส ในกรุงเทพฯเท่านั้น มีเครือข่ายอีก 6 โรงเรียน คือ เทพศิรินทร์ ร่มเกล้า เทพศิรินทร์นนทบุรี เทพศิรินทร์ปทุมธานี เทพศิรินทร์พุแค เทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี และเทพศิรินทร์ขอนแก่น ซึ่งผมได้มีนโยบายที่จะไปเยี่ยม รับฟังทุกโรงเรียน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และ หาทางช่วยเหลือเรื่องการเรียน ดนตรีและกีฬา และความคิดสร้างสรรค์


ผมอยากบอกกระทรวงศึกษาธิการว่า การมีเทพศิรินทร์สาขาเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องสนับสนุน การเงิน และคณาจารย์ให้พอเพียงสำหรับโรงเรียนแม่ เพื่อให้สาขาดีขึ้น เช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค ใน ระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี ก็โดดเด่นมากในต่างจังหวัด เด็กต่างจังหวัดแย่งกันเข้าเรียน แต่ฐานของเขาอ่อนแอ มาก แต่เทพศิรินทร์ร่วม จะต้องเข้มแข็งกว่าเดิม ไม่ใช่อ่อนแอลง


จะขอจบบทความถึงเรื่องกีฬา ซึ่งตั้งหัวเรื่องว่า no pain , no gain มีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ Phil Mickelson เล่น Grand slam อยู่ 40 กว่าครั้ง ไม่เคยชนะเลย แต่ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ชนะในระดับ Grand slam 3 ครั้ง แฟนกีฬากอล์ฟ จะรู้ว่า สังคมคาดหวัง Phil Mickelson ไว้สูงมาก ว่าจะสู้กับ Tiger woods ได้และเก่งตลอดไป และอาจจะเล่นเหนือกว่า woods ด้วย


ในการแข่งขัน US open เมื่อเดือนมิถุนายน Phil Mickelson นำอยู่ 1 แต้ม เหลือหลุมสุดท้าย แค่ตี par ก็จะชนะ แต่ผลคือตี double bogey คือถ้า ตีแค่ 4 ก็ชนะ แต่เกิดปัญหาตีผิดพลาด อย่างไม่น่า เชื่อ ตีถึง 6 ครั้ง ซึ่งตีไป 6 คนเล่นไม่เก่งอย่างผม ได้ 6 ก็แย่แล้ว


ในฐานะที่ผมชอบเรียนรู้ เห็นใจว่าเขาถูกคนมองว่า ผิดพลาดอย่างรุนแรง และอาจจะถึงกับ " กู่ไม่กลับ "


ดังนั้นการแข่งขันกอล์ฟ British open ในอาทิตย์นี้ จึงน่าสนใจว่า Phil Mickelson จะใช้ บทเรียนความเจ็บปวดราคาแพง เอาชนะตัวเองได้หรือไม่ หรือมี pain แล้วไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะ ผมชอบทฤษฎีเจ็บปวดก่อนและไปสู่ความสำเร็จ ฉะนั้นจะต้องดูว่า Phil Mickelson มี pain และไปสู่ gain ได้หรือไม่ น่าติดตาม ในวันอาทิตย์นี้


บทเรียนเรื่องนี้สอนว่า ทุกคนเจออุปสรรค แต่ใช้อุปสรรคเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จ การมีความ เจ็บปวด ไม่ใช่ของเลว แต่ต้องนำไปสู่ความสำเร็จให้ได้ ผมชอบเอาชนะความเจ็บปวด เพื่อให้เรา แข็งแกร่งขึ้น จึงเรียกว่า มี pain แล้วมี gain

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                     โทรสาร
0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความเป็นจริง เรือง no pain, no gain โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ นักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค สระบุรีและท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้าวันนี้ ผมหาความรู้จาก Internet และได้ศึกษาบทความของ ศ.ดร.จีระ จาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ บทเรียนจากความจริง ไม่มี pain ไม่มี gain และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความรู้ประสบการณ์ ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักเรียน นักศึกษาที่สนใจ รายละเอียดมีดังนี้           

วันพฤหัสบดีที่ 20 ที่ประชาชนชาวไทยทุกคน ต่างส่งจิตใจถวายพระพรด้วย ความเป็นห่วงใยขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากอาการพระประชวรอย่างรวดเร็ว เป็น มิ่งขวัญของคนไทยต่อไปเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ผมได้บรรยายศิลปะการเป็นหัวหน้าให้กับหัวหน้างานในองค์กร ที่ผมทำงานอยู่ ผมนำภาพของในหลวง มาสอนหัวหน้างาน ให้เห็นพระอัจฉริยภาพของในหลวงในการเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าคนไทยทั้งชาติ เช่น

§       ภาพพระองค์ท่านทรงเสด็จไปปฏิบัติภารกิจยังท้องถิ่นกันดารและทรงเยี่ยมราษฎร  และภาพที่พระองค์ท่านทรงย่อตัวลงพูดคุยกับประชาชน แสดงให้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงมีพระวิริยะ ในการปฎิบัติภารกิจ ติดดินใกล้ชิดราษฎรของท่าน โดยไม่ยึดถือตำแหน่งเป็นที่ตั้ง  การเป็นหัวหน้างานควรขยันเดินเยี่ยมพนักงาน และไม่ถือตนว่าใหญ่ มีจิตใจเมตตา ต่อผู้น้อย

§       ภาพขณะที่พระองค์ท่านทรงงาน เห็นสายพระเนตรของพระองค์ทรงทอดพระเนตรมาที่ประชาชนที่มารอรับเสด็จ ด้วยความเมตตา ปรารถนาดีแสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านทรงมีความรัก ห่วงใยคนไทย ในขณะที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจไปด้วยตลอดเวลา เป็นหัวหน้าต้องคิดและปราถนาดีต่อลูกน้อง ดุจดังเขาเป็นลูกและน้องของเรา

  

§       ภาพที่พระองค์ท่าน ทรงนำแผนที่ กล้องถ่ายรูป และดินสอ จดบันทึกสิ่งที่ได้ยินจากราษฎร สิ่งที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ แสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านทรงมีการเตรียมพระองค์ เตรียมแผนงานเป็นอย่างดีพระองค์ทรงมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของท่าน สมควรที่ผู้นำควรเจริญตามฝ่าพระบาทฯ

 

 §       ภาพพระฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลายภาพ ขณะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ  บ่งบอกให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับราษฎร เมื่อครั้งที่ท่านทรงมีปฐมบรมราชโองการว่า เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  เป็นการยืนยันให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้นำที่มีคุณธรรม มีสัจจะ อยู่ในทศพิศราชธรรม   ทำให้เกิดบารมีแผ่ไปทั่ว พระองค์อ่านจึงเป็นที่รักและเคารพยิ่งต่อประชาชนชาวไทย และเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก  คนเป็นหัวหน้างานเป็นผู้นำ จึงควรศึกษาและเจริญลอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  

       การที่ผมสอนหัวหน้างานเช่นนี้ เป็นการสอน การคิดนอกกรอบ  ให้หัวหน้างานได้เห็นภาพและจินตนาการ และคิดตามไปด้วย

       ผมสังเกตุเห็นหัวหน้าทุกคนมีความสุขที่ได้เห็นพระฉายาลักษณ์จำนวนมากของพระองค์ท่านซึ่งผมนำมาฉายให้ชมในห้องอบรม ด้วยความจงรักภักดี ที่ผมมีต่อพระองค์ท่าน ทำให้ผมคิดเรื่องนี้ และสอนออกไปจากใจ 

         พอถึงเวลา บ่ายสองสามโมงในวันนั้น(20 ก.ค.) ผมขั้นรายการด้วยการแจ้งผู้เข้ารับการอบรมว่าขณะนี้ พระองค์ท่านคงกำลังเสด็จพระราชดำเนินไปรับการถวายการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช ขอให้พวกหัวหน้างานตั้งจิต อธิฐานให้พระองค์ท่านทรงปลอดภัยจากการรับการถวายการผ่าตัดและทรงมีพระวรกายที่แข็งแรง ขอให้หัวหน้าทุกคนกลับไปบ้านคืนนี้ ชวนลูกหลานสวดมนต์ภาวนา ให้ในหลวงของเรา จงทรงพระเจริญ  หัวหน้างานทุกคนล้วนปิติยินดี กับภารกิจที่พระองค์ท่านทรงมีต่อราษฎร ครับ คนไทยโชคดีกว่าชาติใด ๆ ที่มีในหลวงผู้เป็นมิ่งขวัญของเราชาวไทย ครับ

ประโยคต่อมา ที่ ศ.ดร.จีระกล่าวว่า "คนไทยต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง คิดเป็น วิเคราะห์ เป็น จึงจะสกัดกั้นคนไม่ดีออกไป" ประโยคนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  ด้วยเหตุที่คนไทยอ่านหนังสือน้อย ไม่ค่อยรักการอ่าน เหมือนอย่างคนญี่ปุ่น ประกอบกับการสอนเด็กไทยมักจะเน้นการท่องจำ ทำให้เด็กเข็ด ไม่สนุกกับการเรียน โตขึ้นจึงกลายเป็นคนไม่รักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความคิดไม่กว้างไกล  ขาดทุนทางปัญญา  การตัดสินใจที่ดี เป็นการตัดสินใจที่ต้อง Base on information and knowledge บางครั้งคนไทยเราตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ หรือตาม ๆ กันไป แต่ถ้าทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ดีเป็นพื้นฐาน มีทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์ ผมคิดว่า ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นครับ   อนาคตเด็กไทย อนาคตชาติจึงฝากไว้ที่ครู อาจารย์ ด้วย หวังว่ารัฐจะหันมาให้ความสำคัญของการพัฒนา ส่งเสริมครูและคณาจารย์ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น       

ผู้ใหญ่ที่ดี จะต้องสนับสนุนให้รุ่นเด็ก ได้โตแทน ผมเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ก็จะต้องทำบทบาทนี้มากขึ้น เช่น สนับสนุนให้อาจารย์ยม นาคสุข มีความ เก่งและดีเพิ่มขึ้นประโยคนี้ ผมได้สองเรื่อง คือ ความยิ่งใหญ่ของผู้ใหญ่หรือผู้นำ ดูที่การปฏิบัติต่อผู้น้อย ดูตัวอย่างที่ในหลวงของเรา ทรงปฏิบัติของปวงชนชาวไทย  เป็นต้น การจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้นำที่มีคุณค่า คือการสร้างคนรุ่นใหม่ ให้เติบโตแทน  บทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคือสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนที่มีคุณภาพและมีคุณค่าต่อประเทศชาติ   ประการต่อมา ผมทราบและซึ้งถึงความจริงใจ ได้กำลังใจจาก ศ.ดร.จีระ ท่านให้เกียรติผมมาก โดยไม่รังเกียจ ว่าจะเป็นลูกตาสีที่ไหน ผมได้ยินอาจารย์พูดว่า ผมต้องการให้โอกาสลูกศิษย์ทุกคน ผมประทับใจที่อาจารย์คิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา เหมือนอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ สอดคล้องกับกระแสพระราชดำรัสของในหลวงที่ทรงมีต่อผู้มาเข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ว่า ขอให้ทุกฝ่ายคิด พูด ทำ ด้วยความมีเมตตา ปรารถนาดีต่อกัน   

ผมสังเกตเห็นว่า ศ.ดร.จีระ  ทำงานเป็นทีม มีวิธีการบริหารทีมงาน และลูกศิษย์ที่น่าสนใจ  สามารถนำไปบูรณาการในการบริหารปกครองทีมงานในองค์กรได้เป็นอย่างดี

ท่านมีวิธีการบริหารความรัก ความเชื่อ ความศรัทธา ในทีมงานได้ดีอยู่เสมอ เป็นแบบอย่างที่ดีมากครับ เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่หรือผู้นำที่มีคุณภาพ ขอบคุณอาจารย์มาก ที่ให้เกียรติผมและมีความกรุณา คิดสนับสนุนผมให้เก่งและดีเพิ่มขึ้น        

กำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังเป็นรองชาติอื่น ๆ มาก ประโยคนี้ ผมมีความเห็นว่า ทรัพยากรมนุษย์ของไทย ทั้งปริมาณและคุณภาพ ยังเป็นรองชาติอื่นๆ หลายด้าน โดยเฉพาะด้านที่สำคัญ ๆ เช่น ด้านภาษาอังกฤษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ   เป็นสิ่งที่ผู้นำบ้านเมืองควร กำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์พัฒนาชาติในเรื่อง ทุนทางทรัพยากรมนุษย์ เพื่ออนาคตของประเทศในระยะยาว อย่างชัดเจนและมีตัวชี้วัด ความสำเร็จ ทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว  ส่งเสริมให้สถานบันการศึกษาและครู มีบทบาทในเรื่องนี้   การสร้างคนในสาขาที่สำคัญ ควรวางรากฐานการสร้างตั้งแต่ในครรภ์มารดา และเมื่อเป็นเด็กเล็ก 

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมหมู่บ้านโพธิ์ทอง ต.ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผมเคยเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ และทำวิจัย เมื่อสมัยเป็นบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ผมได้แวะไปเยี่ยมกำนัน และชาวบ้านที่เคยใช้ชีวิตร่วมกันในหมู่บ้านยากจนแห่งนี้  และได้แวะเข้าไปเยี่ยม โรงเรียนเคียงศิริ ซึ่งเป็นโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จย่าฯ  ซึ่งผมเคยเข้าไปช่วยสอนนักเรียนชั้น ป. 6 ผมดีใจที่เห็นโรงเรียนพัฒนาขึ้นด้วยอาคารเรียนหลายหลัง สามารถรับนักเรียนได้มากขึ้น แต่ที่น่าเศร้าใจคือ ห้อง Lap ที่มีไว้ให้นักเรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์  แทบจะไม่มีอุปกรณ์ทำ Lapที่ทันสมัยให้นักเรียนได้ใช้เลย  แต่ก็ยังดีที่มีห้องคอมพิวเตอร์ให้นักเรียน ได้ฝึกใช้  ที่พบแล้วน่าคิดอีกเรื่องก็คือ  โรงเรียนมีคอกเป็นอาคารโปร่งเหมือนคอกวัว แต่ล้อมรอบด้วยไม้ระแนง จากพื้นถึงเพดาน มุงหลังคากระเบื้อง ขนาดเท่าบ้านขนาดเล็กชั้นเดียว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกำนันในหมู่บ้าน  สร้างไว้ใกล้อาคารเรียนที่สมเด็จย่าทรงโปรดประทานให้ที่หมู่บ้านฯ  คอกที่ว่านั้นใช้เป็นที่ให้เด็กอนุบาลได้เข้าไปเล่นเหมือนในห้าง  ภายในห้องมีพื้นทราย และมีล้อรถยนต์เก่า ๆ อยู่ ห้าถึงหกเส้น ผมทราบภายหลังว่า คือ เพราะเด็กชอบเล่นทราย ยางรถยนต์เก่า ๆ เป็นของเล่นที่แปลกสำหรับเด็กในชนบท 

ตรงนี้เป็นมุมมองหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายสาธารณะของรัฐ และวิสัยทัศน์ในการสร้างคนเพื่อสร้างชาติ ว่ายังไม่เข้มแข็งและจริงจังบ

รัฐยังไม่จริงจังกับการสร้างเด็กน้อยในชนบท ในขณะที่เด็กญี่ปุ่น อเมริกา สิงค์โปร์ มีสถานที่และของให้เด็ก ๆ เล่นเพื่อกระตุ้นความอยากรู้ อยากเรียน กระตุ้นทุนทางความรู้สติปัญญา ที่มีการวัดผลได้  

ที่เห็นแล้ว อดจะกล่าวถึงไม่ได้ ก็คือโรงเรียนเคียงศิริ ที่สมเด็จย่าทรงโปรดริเริ่มสร้างให้ไว้ เมื่อครั้งหมู่บ้านนี้มีปัญหาชายแดน เป็นพื้นที่สีชมพูมีผู้ก่อการร้ายนั้น เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว  อาคารนี้ยังใช้เป็นที่เรียนของเด็กเล็ก มีป้ายขนาดใหญ่ติดไว้หน้าอาคารเรียนว่า โรงเรียนอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จย่า ทรุดโทรมไปมาก  ไม่มีงบประมาณในการบำรุงรักษา ชาวบ้านช่วยกันซ่อมตามมี ตามเกิด  เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะเป็นมรดกสำคัญที่สามารถใช้สร้างความรจงรักพักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี

ผมคิดว่า โรงเรียนที่สมเด็จย่าทรงโปรดสร้างไว้เช่นนี้ คงมีหลายแห่ง น่าจะมีหน่วยงานราชการเข้าไปตรวจสอบ บูรณะให้สมกับเป็นโรงเรียนที่สมเด็จย่าทรงสร้างไว้ให้เป็นมรดกแผ่นดิน ส่งเสริมให้เด็กไทยได้รู้ซึ้งถึงความมีพระหฤทัยเมตตาต่อปวงชนชาวไทยตราบนานเท่านาน เป็นการปลูกฝังให้เด็กไทยรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ผมขอฝากผู้เกี่ยวข้องในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ให้ตระหนักเรื่อง การสร้างเด็กในชนบทให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของชาติในอนาคต ผ่าน Bog ของ ศ.ดร.จีระ นี้ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จย่า ทรงมีต่อผู้ยากไร้ ผมคิดว่า จะทำอะไรสักอย่างเพื่อหาทุนไปร่วมกับชาวบ้านที่นั่น ทำการบูรณะโรงเรียนเคียงศิริ โรงเรียนที่สมเด็จย่า ทรงโปรดพระราชทานให้เป็นมรดกแก่คนไทย และหาทางสนับสนุนส่งเสริมให้ห้อง Lap ที่โรงเรียนดังกล่าว มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น       

ประโยคต่อมา ที่ ศ.ดร.จีระ เขียนว่า " มาเฟียก็เก่ง แต่เป้าหมายของเขาไม่ดี ขาด คุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัว ทำเพื่อพรรคพวก ผมจึงยึดถือว่า คนเก่ง กับคนดี มีคุณธรรมควรจะต้องคู่ กัน ดูได้จาก 8 K's และ คนเก่งอย่างเดียวจะต้องแพ้คนดี ทุนทางจริยธรรมในระยะยาว" 

ผมมีความเห็นว่า พวกมาเฟียมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำอยู่บางประการคือ   

  • รู้จักครองงาน จึงมีเป้าหมายชัดเจน  มุ่งมั่นที่จะทำ มีการวางแผนอย่างรัดกุม ลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็ว 
  • รู้จักครองคน คือคนในทีม ซึ่งมาเฟียส่วนใหญ่ทำงานเป็นทีม มีการหารือและทำงานร่วมกันได้อย่างน่าสนใจ  
  • แต่มาเฟียอาจจะ ไม่รู้จักครองตน  ปล่อยให้ความไม่ดี มาครอบงำ ขาดความคิดดี  ขาดทุนทางความรู้ ทุนมนุษย์ ขาดทุนทางจริยธรรม สุดท้าย จะทำให้ไม่มีทุนทางความสุข พบกับชะตากรรมไม่ดี ในท้ายของชีวิต ครับ  

 ประโยคที่ว่า   อยู่รอดไปวัน ๆ เพื่อตัวเอง ไม่ได้ อยู่เพื่อประเทศหรือส่วนรวม

ผมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า คนไทยเรา ยังขาดทุนมนุษย์ อยู่หลายอย่าง เราไม่ค่อยได้สอนให้เด็กคุ้นเคยกับการมอง คิด ตั้งเป้าหมายชีวิตในระยะยาว จึงปล่อยเวลาให้ผ่านไป ทั้งที่มนุษย์มีเรื่องน่าเสียดาย 3 เรื่อง

  • วันนี้ผ่านไปโดยไร้ค่าน่าเสียดาย
  • ชาตินี้ไม่ได้ศึกษาแสวงหาความรู้น่าเสียดาย 
  • เกิดเป็นมนุษย์ทั้งทีเอาดีไม่ได้น่าเสียดาย ไม่ได้สร้างประโยชน์ หรือคุณค่าแก่คนรุ่นหลังหรือสังคมเลย น่าเสียดาย 

       ประโยคที่ ศ.ดร.จีระ เขียนว่า ผมโชคดีได้ทำงานท้าทาย และได้เรียนรู้ไปด้วย  ศ.ดร.จีระ ได้แสดงสิ่งที่น่าเอาอย่าง  ในความเห็นของผม คนที่เป็นเลิศ  มักมีคุณลักษณะตามทฤษฎี  6 ท. คือ  

  • ท.ท้าทาย  ทำงานที่ยากกว่า  
  • ท.ท่าทีที่ดี  มาจากความคิดที่ดีนำไปสู่การทำดี พฤติกรรมดี นิสัยและบุคลิกดี 
  • ท. เที่ยงธรรม มีคุณธรรม ความเที่ยงธรรมประจำใจ 
  • ท. ทน มีความอดทน อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร  
  •   ท. ทำ  มุ่งมั่นทำงาน ในหน้าที่รับผิดชอบ ให้สำเร็จ  
  •  ท.ทบทวน   ผู้ใดหมั่นทบทวนตรึกตรอง สิ่งที่ได้เรียนรู้หมั่นทบทวน ก็จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางปัญญา มีความเป็นเลิศ ในการเรียนรู้

การที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวว่า ผมโชคดีได้ทำงานท้าทาย และได้เรียนรู้ไปด้วย  แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ท่านมี ท.ท้าทาย ท.ทำ ท.ท่าทีที่ดี ท.อื่น ๆ อย่างครบถ้วน  นักศึกษา ลูกศิษย์ของ ศ.ดร.จีระ ควรที่จะเรียนรู้ และดำเนินลอยตาม      

ประโยคที่ว่า    ให้อาจารย์รับฟังลูกศิษย์แบบแลกเปลี่ยนความรู้ 2 ทางมากขึ้น ผมจะจัดให้ คณาจารย์ทุกเดือน ซึ่งครั้งหน้าจะเน้นคุณธรรม จริยธรรม ผมทำจริง หากใครเห็นว่าผมมีประโยชน์ก็บอก มาได้  ประโยคนี้ ผมได้ข้อคิดว่า การเรียนการสอน/การจัดการ/การเป็นผู้นำสมัยใหม่นี้ ต้องมี two ways communication และ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้ได้ทั้งการบริหารความรู้ ได้ทั้งการบริหารทัศคติ ความรัก และความศรัทธา  เป็นสิ่งที่ผู้เป็นบิดา มารดา สามารถนำไปใช้สอนการบ้านบุตรธิดาได้  เป็นสิ่งที่ครู อาจารย์ ตามโรงเรียนต่าง ๆ ควรนำไปใช้ในการเรียนการสอน เลิกเสียทีการสอนแบบท่องจำ อย่างเดียว

ศ.ดร.จีระ นำองค์ความรู้ เรื่อง 4L’s ไปให้อาจารย์ตามโรงเรียนต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์อย่างมากกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ เป็นสิ่งที่ดี ที่ผู้นำทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรนำเอาหลักการเหล่านี้ไปบูรณาการ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์ความรู้ในองค์กร         

"no pain , no gain  ทฤษฎีเจ็บปวดก่อนและไปสู่ความสำเร็จ สอนว่า ทุกคนเจออุปสรรค แต่ใช้อุปสรรคเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จ การมีความ เจ็บปวด ไม่ใช่ของเลว แต่ต้องนำไปสู่ความสำเร็จให้ได้ ผมชอบเอาชนะความเจ็บปวด เพื่อให้เรา แข็งแกร่งขึ้น "

ประโยคนี้ ทำให้ผมตระหนักถึงคำว่า ลำบากเมื่อหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มเมื่อแก่  ลำบากก่อน สบายทีหลัง   เมื่อสิ่งไม่ดีมาเยือน สิ่งดีมักจะตามมาภายหลัง  เป็นคำที่ผมเคยได้รับการสอน จากครูไทย และอาจารย์ต่างชาติ เมื่อสมัยผมเป็นนักศึกษาที่ บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโครงการของอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์   

ในชีวิตผมตอนเป็นเด็กคุณแม่ผมในเลี้ยงดูผมแบบชาวบ้าน ๆ เหมือนสมัยก่อนเก่า คือเอาผมไปฝากไว้กับพระ ให้อยู่วัด  ถ้าปิดเทอมนาน ๆ ท่านก็ออกอุบายให้ผมบวชเณร ให้มีโอกาสซึมซับในหลักธรรม พุทธศาสนา ให้เดินตามพระทุกเช้า กินข้าววัด นอนวัด ช่วยพระทำกิจประจำวัน รู้สึกลำบาก แต่อานิสงค์ที่ได้ คือผมได้เรียนรู้ชีวิตความลำบากและมีประสบการณ์ชีวิตที่ทรงคุณค่า

ผมได้มีโอกาสเห็นซากศพที่วัด ซึ่งก่อนเผาซากศพ  ผมเห็นคนมุงดูศพและกล่าวอาลัยเสียดาย อาลัยอาวรณ์ ว่าเป็นคนดีแท้ ไม่น่าจากไปเลย   แต่บางศพ มีคนมุ่งดูแล้วซ้ำเติมว่าสมควรตายแล้ว ไปเสียได้ก็ดี  อยู่ไปก็ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร หนักแผ่นดินเกิด  ทำให้ผมได้คิดว่า  ชีวิตมนุษย์ แท้ที่จริงคือคุณงามความดี  ชีวิตคือละคร เราเป็นผู้กำกับบทตัวเราเองว่า ตอนจบ จะให้ผู้ชมกล่าวถึงอย่างไร จะให้ผู้ที่มายืนดูศพเรา กล่าวถึงว่าเป็นคนดีน่าเสียดาย หรือเป็นคนร้ายสมควรตาย ตกนรกอเวจี และไม่เคยทำประโยชน์อะไรให้ชาติบ้านเมือง ฟ้าลิขิตให้เราเกิด  แต่ชีวิตจากเกิดถึงตาย เราเป็นผู้กำหนด     

 ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า   

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน  

สวัสดีครับ 

ยม 

น.ศ.ปริญญาเอก                    

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ 

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)

ยม "บทเรียนจากความจริง วาระแห่งาติ:การตรงต่อเวลา โดย ศ.ดร.จีระ"

วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา[1]

 

 

สัปดาห์นี้หากไม่พูดเรื่องการเมืองคงเชยเต็มที่ จะพูดอย่างไรที่สังคมจะได้ประโยชน์จากการสร้างความสมานฉันท์ เพราะในยุคนี้ สังคมแตกแยกมาก หลายคนอาจสะใจที่คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 3 คนคือ พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ คุณวีระชัย แนวบุญเนียร คุณปริญญา นาคฉัตรีย์ ต้องถูกจำคุก แต่ก็สร้างความเจ็บปวดให้แก่อีกฝ่ายที่เชียร์กกต.มาก ผมอยากเห็นสังคมมีความสามัคคีกันมากขึ้น ระบบตุลาการศาลยุติธรรมยังทำหน้าที่ได้เที่ยงธรรม ผมภูมิใจมากที่ได้เข้าประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกวันจันทร์ เป็นโอกาสที่ได้เห็นว่า ระบบศาลยุติธรรมยังรักษาความดี ความถูกต้องไว้ได้

 


ท่านลองคิดดูว่า ถ้าการเมืองเข้ามายุ่งกับระบบศาลยุติธรรม ประเทศจะเป็นอย่างไร จึงขอเตือนสติสังคมไว้ว่า อย่านึกว่าการเมืองจะเข้ามาไม่ได้ ถ้าระบบศาลยุติธรรมอ่อนแอ การเมืองที่มีเงินมาก มีอำนาจมากและขาดคุณธรรม เข้ามาได้เสมอ และเป็นธรรมดาของทุกแห่งในโลก ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันเมื่อไร จะเกิดปัญหาทันที

 


ผมยังนึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างสุดซึ้ง


-
พระองค์ท่านทรงเน้นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2549 ซึ่งทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ชุดนี้ ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มกัน
-
ตอนท้ายพระราชกฤษฎีกา ทรงเน้นให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ ยุติธรรม


หากไม่มีพระองค์ท่าน การแก้ปัญหาของชาติ จะทำได้ยาก เพราะถ้าสองฝ่ายสู้กันต่อไป จะไม่มีทางสำเร็จ ประชาสังคมก็อ่อนแอ คนไทยส่วนมากใช้ชีวิตผ่านไปวันๆ ไม่คิดเป็นระบบ คิดไม่เป็น และส่วนมากไม่สนใจการเมือง ทำนองว่า ไม่ใช่ธุระของฉัน

 


คนไทยเก่งเฉพาะทาง เช่น จากการที่ผมสอนปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พยายามให้นักเรียนที่เรียน Food science มองให้กว้าง ข้ามศาสตร์ มองประเทศของตัวเองอย่างหวงแหน และมองปัญหาของประเทศให้ทะลุ

 
ไม่เช่นนั้น นักการเมืองที่ไม่ดีก็ชนะตลอด เพราะเขาสามารถคุมสื่อ คุมระบบราชการ ผมไม่ได้พูดเฉพาะนักการเมืองซีกรัฐบาล แต่นักการเมืองทุกระดับทั้งชาติและท้องถิ่น
การเมืองต้องสะท้อนความจริง กว่าจะเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ ต้องใช้เงินทอง ใช้อำนาจ จะทำอย่างไรให้การเมืองไม่ต้องใช้เงินมากนัก และให้ราชการ ทหาร ตำรวจ ปลอดการเมือง เป็นโจทย์ที่ทุกคนต้องคิดต่อไป
การสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ คงจะดีกว่าเก่าแน่นอน เพราะศาลฎีกาเป็นผู้นำ ฉะนั้น
-
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ 5 คน มาจากความยุติธรรม น่าจะโปร่งใสมากขึ้น
-
ตั้งแต่ระดับเลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือผู้อำนวยการต่างๆ รวมทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จะดูแลให้ทำงานโปร่งใสได้อย่างไร จะมีการแต่งตั้งคนใหม่เข้ามาหรือไม่ เพราะ 5 ปีที่ผ่านมา ข้าราชการประจำที่ กกต. ก็ทำงานไม่น่าไว้วางใจนัก


- บรรดาตำรวจ ทหาร และข้าราชการที่เคยรับใช้นักการเมืองแบบไม่เป็นกลางจะทำอย่างไร จะมีวิธีดูแลให้เกิดความยุติธรรมได้อย่างไร


- นายกฯทักษิณสัญญาเรื่ององค์กรกลาง (Pollwatch) โดยพูดไปเรื่อยๆ หรือจริงใจ เพราะขณะที่พูด กกต.ชุดเดิมยังอยู่ ก็ต้องดูต่อไปว่า ท่านจะทำอย่างไร เมื่อมี กกต.ชุดใหม่แล้ว ยังจะสนับสนุนองค์กรกลางจริงหรือไม่

 


วันนี้พูดเรื่องการเมืองค่อนข้างมาก ผมเป็นคนไทยที่รักชาติ ก็ต้องใช้จังหวะให้เหมาะสม การเมืองต้องมองไปข้างหน้า และให้ยั่งยืน

 


ผมขอฝากอีกประเด็นคือ ไม่ว่าจะมีองค์กรกลาง หรือ กกต.ชุดใหม่ ประชาธิปไตยจะต้องพัฒนาตลอดเวลา ความจริงการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย คือการพัฒนาสังคมการเรียนรู้ พัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิธีการคิด ผมคิดว่าทฤษฎี 4L's ของผมน่าจะใช้ได้กับการพัฒนาประชาธิปไตย

 


สมัยคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก มีอาจารย์โคทม อารียา เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และนำการเรียนรู้ไปสร้างจิตสำนึก ระยะหลัง ไม่มีบทบาทหน้าที่นี้เลย กกต.ชุดนี้ เป็นการมองการเมืองแบบเอาชนะกัน แบ่งข้าง

 
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่จะต้องหลากหลาย ไม่ใช่มีเฉพาะศาลฎีกาเป็นตัวยืนเท่านั้น ต้องมีคนที่สนใจการสร้างสังคมการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึก และให้เกียรติชาวบ้าน (Respect) รับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจว่า ประชาธิปไตยจะต้องรักษาอย่างไร ถ้าได้คนที่สร้างสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริงเข้าไปบ้าง ก็คงจะดี  สัปดาห์นี้ ผมได้จบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ 60 ชั่วโมง ให้สภาวิจัยไปแล้ว มีความสุขมากที่เห็นข้าราชการระดับ C8 เอาจริง


สุดท้าย ขณะผมนั่งเครื่องบินกลับจากขอนแก่น เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม ได้พบว่าที่สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ และอดีตประธานรัฐสภา คุณอุทัย พิมพ์ใจชน ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ ท่านเมตตาต่อผมมาก ได้บอกผมว่า "จีระ พี่อุทัยอยากให้เน้นเรื่อง การตรงต่อเวลาของคนไทย ผมจึงขอรับหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้คนไทย มองเรื่องเวลาให้มากขึ้น ผมคิดว่าการตรงต่อเวลา คงไม่ใช่คำสั่ง เหมือนสั่งให้อ่านหนังสือ ไปบอกไม่ได้ว่า คุณต้องตรงต่อเวลา ผมคงจะเน้นวัฒนธรรมการรักษาเวลา เพราะเป็นแนวคิดที่ดี


ผมเห็นด้วย อย่างผมเอง เมื่อตอนหนุ่ม ก็ไม่ตรงต่อเวลานัก แต่พออายุมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงขอฝากให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ สื่อมวลชน เน้นเรื่องนี้ให้มาก และจะมีการจัดรายการโทรทัศน์กับพี่อุทัยในเรื่องนี้ด้วยครับ

 


ผมตั้งใจจะจุดประกายให้เป็นวาระแห่งชาติ

  

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                    โทรสาร 0-2273-0181  
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /คณาจารย์และนักเรียน ร.ร.เทพศิรินทร์ พุแค และท่านผู้อ่านทุกท่าน   
หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงสบายดี  และได้มีโอกาสร่วม ตั้งจิตอธิษฐานให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแร็ง และทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

เช้าวันนี้ ผมหาความรู้จาก internet เช่นเคย และศึกษาบทความจาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ ของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา

และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความคิด ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักศึกษาที่สนใจ  รายละเอียดมีดังนี้    

วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา

 

 

 ผมภูมิใจมากที่ได้เข้าประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกวันจันทร์ เป็นโอกาสที่ได้เห็นว่า ระบบศาลยุติธรรมยังรักษาความดี ความถูกต้องไว้ได้

ประโยคนี้ เห็นได้ว่า ศ.ดร.จีระ ปฏิบัติภารกิจ ที่เป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติหลากหลาย  การที่จะเข้าไปเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในตุลาการศาลยุติธรรม ไม่ใช่งานที่ใครก็ได้ ที่จะเข้าไป   ขึ้นชื่อว่า ตุลาการศาลยุติธรรม คนที่จะเข้าไปได้ผมมั่นใจว่า ต้องเป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถ เป็นคนดีมีฝีมือ และเป็นคนที่เป็นกลาง รักความยุติธรรมเหมือน ขงเบ้ง ซึ่งแน่นอน ผมและลูกศิษย์ เชื่อมั่นว่า ศ.ดร.จีระ มีครบถ้วน และพวกเราก็ภูมิใจในตัว ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก

 

  การเมืองที่มีเงินมาก มีอำนาจมากและขาดคุณธรรม เข้ามาได้เสมอ และเป็นธรรมดาของทุกแห่งในโลก ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันเมื่อไร จะเกิดปัญหาทันที

เรื่องการเมืองในบ้านเรา ยังเป็นการเมืองที่ต้องพัฒนาอีกมาก  ต้องเป็นการเมืองเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน อย่างบริสุทธิ์ อย่างยั่งยืน  ใช้คุณความดี มากกว่าเงิน ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนาน   การเมือง เหมือนคน  ถ้ามีอำนาจมาก และขาดคุณธรรม ย่อมสร้างความเสียหาย มากกว่าความเจริญของบ้านเมือง  การเมืองที่มีการใช้อำนาจมาก มีเงินมากและขาดคุณธรรม ร้ายแรงยิ่งกว่าไข้หวัดนก แต่มีลักษณะคล้ายกันตรงที่ สามารถแพร่ระบาดเข้าไปในระบบบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างรวดเร็วและมีอิทธิพลสูง  ก็ต้องฉีดวัคซีนด้วยการรีบวางรากฐานการศึกษาให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีมากขึ้น โดยเร็ว  ถึงแม้การฉีดวัคซีนดังกล่าวอาจจะเห็นผลช้า แต่ดีกว่าที่จะปล่อยให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ตลอดไป การกำหนดคุณสมบัตินักการเมืองควรทบทวน เรื่องทุนทางจริยธรรม ทุนมนุษย์ ทุนปัญญา และที่สำคัญ คือ ทุนความยั่งยืน ให้มาก คนที่มีทุนความยั่งยืนมากพอแล้ว จะไม่โกงกิน ไม่บ้าอำนาจ

 

  พระองค์ท่านทรงเน้นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2549 ซึ่งทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ชุดนี้ ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มกัน

เรื่องนี้ เป็นสิ่งที่น่าปิติยินดีและน่าศึกษาเจริญรอยตามฝ่าพระบาท เป็นอย่างมาก พระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ การตัดสินใจในฐานะผู้นำนี้แฝงไปด้วยทุนทางความรู้/ทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน  รอบคอบเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร ผู้นำในบ้านเมือง  นักเรียน นักศึกษา ควรเรียนรู้เจริญรอยตามพระองค์ท่านในเรื่องนี้ 

 

   หากไม่มีพระองค์ท่าน การแก้ปัญหาของชาติประโยคนี้ ผมเชื่อว่า คนไทยทั้งชาติคิดเหมือนกับ ศ.ดร.จีระ  ในหลวงของเรา มีพระบารมีล้นพ้น เป็นที่รักและศรัทธาของปวงชนชาวไทย ท่านนายกรัฐมนตรี ควรเรียนแบบพระองค์ท่านในเรื่องการบริหารทุนทางความรัก ความศรัทธา รู้จักบริหารจัดการอำนาจ คือรู้จักสร้าง รู้จักใช้ และรู้จักรักษาอำนาจ โดยยึดทศพิศราชธรรมเป็นที่มั่น ซึ่งโดยตำแหน่งแล้ว ท่านนายกฯทำได้ง่ายกว่าคนทั่วไป  คนใกล้ชิดท่านนายกฯ น่าจะแนะนำท่านเรื่องนี้ ด้วย ที่กล่าวมานี้ ด้วยความเป็นห่วงท่านนายกฯ 
  
ผมสอนปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พยายามให้นักเรียนที่เรียน Food science มองให้กว้าง ข้ามศาสตร์ มองประเทศของตัวเองอย่างหวงแหน และมองปัญหาของประเทศให้ทะลุการสอนของ ศ.ดร.จีระ เป็นเช่นนั้นจริง ไม่ใช่แค่สอน ป.โท แม้แต่ ป.เอก และการสอนให้กับองค์กรทั่ว ๆ ไป ศ.ดร.จีระ ก็สร้างบรรยากาศแบบนี้ คือเน้นให้มองปัญหาบ้านเมือง ปัญหาองค์กร จากภาพกว้าง มาสู่ภาพลึก  จะทำให้เข้าใจเห็นสภาพปัญหาที่แท้จริงในบ้างเมือง ในองค์กร โดยใช้องค์ความรู้ข้ามศาสตร์ เช่น การสอนเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศ.ดร.จีระ จะให้ความรู้หลากหลาย มาบูรณาการให้การสอนเข้มข้น มีสาระ  ที่สำคัญคือลูกศิษย์ ต้องตามท่านให้ทัน ต้องเรียนแบบคนมีบุญเรียนคือ สนใจ+ใส่ใจ+เอาใจใส่ และต้องหมั่นทบทวนสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ได้สอนไป  ที่สำคัญ คือ ศ.ดร.จีระ พยายามจะเปลี่ยนิสัยนักเรียน นักศึกษาไทย ให้ตรงต่อเวลา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นคนรักการอ่าน คิดวิเคราะห์และใช้ IT ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยขน์ต่อการเรียนรู้ชีวิตในโลกปัจจุบันและอนาคต
การเมืองต้องสะท้อนความจริง กว่าจะเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ ต้องใช้เงินทอง ใช้อำนาจ จะทำอย่างไรให้การเมืองไม่ต้องใช้เงินมากนัก และให้ราชการ ทหาร ตำรวจ ปลอดการเมือง เป็นโจทย์ที่ทุกคนต้องคิดต่อไปการเมือง ทุกประเทศต้องใช้เงิน แต่บ้านเราใช้เงินมาก ๆ ในเรื่องการเมือง ตั้งแต่กระบวนการแรกของการที่จะเข้ามาเป็นนักการเมือง ก็ต้องใช้เงิน  พอเข้ามาเป็นนักการเมือง ก็ต้องใช้เงินดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ใช้เงินเพื่อรักษาตำแหน่งหน้าที่ ใช้เงินเพื่อให้หลาย ๆ อย่างออกมาดี ใช้เงินเพื่อให้มีโอกาสได้กลับมาเป็นนักการเมืองอีกต่อไป พอมีการเลือกตั้งการเงินในประเทศสะพัดมาก การเมืองบ้านเรายังคงเป็นเช่นนี้อีกต่อไป ตราบใดที่ประชาชนคนส่วนใหญ่ ยังมีการศึกษาน้อย ยากจน และไม่มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม เพียงพอ  นักการเมืองที่ทำงานเพื่อชาติจึงควรจริงจังกับการเสริมสร้างประชาธิปไตย ด้วยการเร่งพัฒนาการศึกษาทุกระดับในประเทศให้ดียิ่งขึ้น  
ผมเป็นคนไทยที่รักชาติ ก็ต้องใช้จังหวะให้เหมาะสม การเมืองต้องมองไปข้างหน้า และให้ยั่งยืน เรื่องความรักชาติ ของ ศ.ดร.จีระ มีมากมาย ผมสังเกตจากการที่ได้มีโอกาสเรียนกับท่านในห้องเรียน ป.เอก และการได้มีโอกาสได้ฟัง ท่านสอน นักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบัง  ท่านพูดและสอนให้ คนรักชาติมากยิ่งขึ้นอยู่เสมอ  ทำหน้าที่เป็นครูและยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนแผ่นดิน ประชาสัมพันธ์ให้คนรักชาติ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนที่เป็นเม็ดเงินใด ๆ นี่เรียกว่า ทำไปด้วย อุดมการณ์รักชาติ น่ายกย่องสรรเสริญท่าน  เป็นอย่างมาก  
ประชาธิปไตยจะต้องพัฒนาตลอดเวลา ความจริงการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย คือการพัฒนาสังคมการเรียนรู้ พัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิธีการคิด ผมคิดว่าทฤษฎี 4L's ของผมน่าจะใช้ได้กับการพัฒนาประชาธิปไตย ให้เกียรติชาวบ้าน (Respect) รับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจว่า ประชาธิปไตยจะต้องรักษาอย่างไร ถ้าได้คนที่สร้างสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริงเข้าไปบ้าง ก็คงจะดีประชาธิปไตย เหมือนต้นไม้ใหญ่ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ในการบริหารประเทศชาติ ประชาธิปไตย ในอังกฤษ ในอเมริกา เติบโตมานาน เป็นต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขา มีเมล็ดพันธ์ปลิวไปทั่วโลก  ประชาธิปไตยในประเทศไทย เป็นผลพวงจากความเจริญเติบโตทางด้านประชาธิปไตยของอังกฤษ อเมริกา  ประชาธิปไตยในบ้านเราเป็นต้นไม้ที่กำลังเติบโต  แต่ที่น่าห่วงก็คือ ที่รากเหง้าของต้นไม้แห่งประชาธิปไตย คือความรู้ การศึกษา ฐานะของประชาชนส่วนใหญ่นั้น ยังไม่แข็งแรงพอ ที่จะให้ต้นไม้แห่งประชาธิปไตยในประเทศไทย เติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรงได้  การหันมาพัฒนาและให้เกียรติชาวบ้านอย่างที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยในบ้านเรา ให้แข็งแรง โตวัย ครับ  
"จีระ พี่อุทัยอยากให้เน้นเรื่อง การตรงต่อเวลาของคนไทย ผมจึงขอรับหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้คนไทย มองเรื่องเวลาให้มากขึ้น ผมคิดว่าการตรงต่อเวลา คงไม่ใช่คำสั่ง เหมือนสั่งให้อ่านหนังสือ ไปบอกไม่ได้ว่า คุณต้องตรงต่อเวลา ผมคงจะเน้นวัฒนธรรมการรักษาเวลา เพราะเป็นแนวคิดที่ดี  ผมเอง เมื่อตอนหนุ่ม ก็ไม่ตรงต่อเวลานัก แต่พออายุมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงขอฝากให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ สื่อมวลชน เน้นเรื่องนี้ให้มาก และจะมีการจัดรายการโทรทัศน์กับพี่อุทัยในเรื่องนี้ด้วยครับ ผมเพิ่งทราบว่า ศ.ดร.จีระ เป็นรุ่นน้อง ท่านอุทัย พิมพ์ใจชน ที่เทพศิรินทร์  ผมไม่มีโอกาสรู้จักกับคุณอุทัย เป็นการส่วนตัว แต่รู้จักท่านจากการทำงาน จากสื่อต่าง ๆ ดูท่านเป็นคนมีอุดมการณ์ รักชาติ มุ่งมั่นพัฒนาการเมือง ศ.ดร.จีระ มีทุนทางสังคม มาก และแน่น  น่าศึกษาเอาอย่าง  การพัฒนาชาติ จำเป็นต้องมีทุนทางสังคมนี้ สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา  ส่วน เรื่องการตรงต่อเวลาของคนไทย นี้ก็สำคัญ คนไทยเรา ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ น่าจะแก้ไขเป็นทำอะไรตรงเวลาคือคนไทย คงต้องเริ่มแก้กันตั้งแต่ผุ้เป็นพ่อ แม่ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องนี้ ครูต้องเน้น ต้องสอน ต้องส่งเสริม  เมื่อเด็กนักเรียน ออกมาสู่สังคม สังคมก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เห็นได้ทำอะไรที่ตรงเวลา เช่น รถเมลล์ รถไฟ ก็ต้องตรงเวลา ตามกันไป การปลูกฝังเรื่องการตรงต่อเวลาในคนไทย พวกเราคงต้องช่วยกันทุกฝ่าย   เพราะเป็นงานใหญ่ที่ต้องยกเครื่องทุนทางความรู้ ทุนทางจริยธรรม ทุนทางปัญญาให้แก่คนไทยทุกระดับกันใหม่ การเปลี่ยนนิสัยคน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ผมได้ตรงนี้จาก ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก ท่านจะมาสอนตรงเวลา ใครเป็นลูกศิษย์อาจารย์จีระ แล้วมาสาย จะร้อน ๆ หนาว ๆ เป็นแน่ เรื่องนี้ น.ศ. ป.โท และ ป.เอก ที่ท่านสอน ทราบเป็นอย่างดี   

ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์ บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

 

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

    
สวัสดีครับ  
ยม   
น.ศ.ปริญญาเอก  
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)"
ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)
โดย ศ.ดร.จีระ (คัดมาจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 ส.ค. 2549)
การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย การเขียน บทความของผมก็เช่นกัน ระยะแรกก็ไม่นึกว่า จะมีคนอ่าน และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะผมมักจะ พูดเรื่องที่กว้างไปสู่แคบ ที่ไม่ใช่กระแสหลักแบบการเมืองหรือธุรกิจ
เพราะอยากเห็นคนไทยสนใจเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์
ผมได้พบกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คุณเจตน์ ธนวัฒน์ เมื่อวันพุธที่ 2 สิงหาคม ในการ ประชุมที่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านบอกผมว่า ได้อ่านบทความ รู้สึกว่ามีค่าและมีประโยชน์ เพราะ พูดความจริงและตรงประเด็น
ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกเทศมนตรี ที่สนใจเรื่องระยะยาว ชอบสังคมการเรียนรู้ แบบสด ทันสมัย ข้ามศาสตร์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ผมก็มีกำลังใจที่จะทำและเขียนต่อ ผมรู้สึกมีความสุขมาก นับเป็นโชคดี ที่ท่านผู้ว่าฯเจตน์ จะไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองคนต่อไป คง จะสร้างการเรียนรู้ในหมู่นักปกครองมากขึ้น
เมื่อดูทฤษฎี 3 วงกลม ที่ผมคิด ผม highly motivated มีแรงกระตุ้น แรงผลัก แรงดึง เพื่อไปสู่ ความเป็นเลิศ 
 หากพูดถึงเรื่อง motivation คนไทยมักจะมองแคบ คือ มองถึงอำนาจ เงินทอง เพชร นาฬิกา รถ แพงๆ คอนโดมิเนียม เป็นต้น เท่านั้น ไม่นึกถึงสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความมีสมาธิ การแบ่งปัน การ มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว หรือสำหรับผม ให้คนอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
ดังนั้น สิ่งที่เขียนมาทั้งหมด คือ ผมพยายามทำ แลกเปลี่ยน แบ่งปัน หากใครสนใจก็เป็นแนวร่วม ได้ ยิ่งแนวร่วมขยายวง ประเทศก็จะเจริญขึ้นแน่นอน
มีลูกศิษย์ถาม อาจารย์ป๋วยว่า "ทำอะไรมากมาย ซึ่งเน้นทำความดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำไป เพื่ออะไร" ท่านตอบว่า "ในประเทศไทย ถ้าคนดีไม่ทำอะไร คนชั่วก็ต้องชนะ เพราะคนชั่วมีมากกว่าคนดี "
ผมมีความเห็นต่อว่า คนดีมักจะเก็บตัวเงียบ อาย ไม่มีแนวร่วม ขาด social capital อยู่อย่างสงบ แต่คนไม่ดีจะบ้าอำนาจ ใช้อำนาจเหนือทุกอย่างที่ตนเองมีพลัง
บทความผมอยู่ใน website ของแนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ โดย click ไปที่ " บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ "
ผมสังเกตว่า ยิ่งนานวัน บทความของผม ยิ่งมีคน click ไปมากขึ้นทุกสัปดาห์
อีกประการหนึ่ง ผมสอนหนังสือเกือบจะทุกอาทิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งให้ นักเรียนอ่าน
 บทความ โดยให้วิเคราะห์ว่า
- ผมเขียนโดยใช้ style อะไร
- ได้อะไรที่โป๊ะเชะบ้าง
- สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรและปรับใช้กับตัวเองอย่างไร
เช่นสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องตรงต่อเวลา สอนให้ผมดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย พยายามไม่ผิดเวลา โดยเฉพาะยิ่งเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องขอขอบคุณพี่อุทัย พิมพ์ใจชน มากที่แนะนำสิ่ง ดีๆ
สัปดาห์นี้มีกิจกรรมเรื่อง เทพศิรินทร์ ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์ต่อกลุ่มอื่นด้วย จึงขอแบ่งปันให้อ่าน

เรื่องแรกคือ วันที่ 1 สิงหาคม คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ เข้าไปเยี่ยมคำนับและรายงานผลให้องคมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของ เรา การได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เมตตาต่อโรงเรียน นักเรียนเก่า และนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งคณาจารย์ด้วย เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ พี่กำธนของเรา ได้เน้นว่า เด็กเทพศิรินทร์ต้องเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้อง เป็นคนมีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และเน้นว่าเทพศิรินทร์มี 7 แห่ง ไม่ใช่มีแห่งเดียวเหมือนเดิม แต่เทพศิริ นทร์ 7 แห่งเป็นหนึ่งเดียว คือ สถานที่อาจจะแยกกันอยู่ แต่จิตวิญญาณมีเทพศิรินทร์หนึ่งเดียว
ในวันรุ่งขึ้น ผมและคณะไปเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น ซึ่งนักเรียนเก่าท่านหนึ่ง คือ คุณ อดิศร เพียงเกษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ผลักดันให้เทพศิรินทร์มีสาขาที่ภาคอีสาน ด้วย
ผมภูมิใจมาก เพราะผมมาขอนแก่นบ่อย แม้เมื่อยังไม่ได้เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ผมได้มา 2 ครั้งแล้ว ครั้งนี้ได้พบนักเรียนกว่า 600 คน และคณาจารย์ด้วย ผมได้ให้กำลังใจว่า อะไรที่ผม และสมาคมช่วยได้ จะทำอย่างสุดความสามารถ เพราะการศึกษาของนักเรียนต่างจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
เด็กเทพศิรินทร์ขอนแก่น มีความภาคภูมิใจมาก ที่มีส่วนเป็นเทพศิรินทร์ ได้ศึกษาประวัติความ เป็นมาของเทพศิรินทร์ ผมได้มอบทุนก้อนหนึ่งให้เด็กที่ชนะการประกวดเรียงความเรื่อง "ขอนแก่นกับโลกา ภิวัตน์" ปรากฏว่า เด็กเทพศิรินทร์ขอนแก่นสามารถเขียนเรียงความได้ดี
ในอนาคต จะพยายามส่งครูเทพศิรินทร์ทั้ง 7 แห่ง ไปฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาก ขึ้น ในโครงการ "Super Teacher" ให้ต่อเนื่อง
ผมภูมิใจในบรรยากาศการเรียนรู้แบบ 4 L's ระหว่างผมกับนักเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น 600 คน
สุดท้าย ผมขอหยิบยกหนังสือเล่มล่าสุดของ Alvin Toffler เรื่อง "Revolutionary Wealth" มาเล่า สู่กันฟัง เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ดร.อำนวย วีรวรรณ ได้เชิญ Toffler มาพูดที่ประเทศไทย ผมได้ใกล้ชิดและ สัมภาษณ์เขา Toffler เป็นนักทำนายอนาคต Futurist เป็นที่ยอมรับที่สุดของโลกในปัจจุบัน หนังสือเล่มที่ดังมาก ที่สุดคือ "The Third Wave" มอง

เกษตร-----------อุตสาหกรรม-----------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

แต่มาวันนี้ เขาบอกว่า นอกจาก IT แล้ว จะมีความรู้เป็นคลื่นลูกที่ 4 และความรู้เป็นทรัพย์สินที่ สำคัญที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) ทรัพย์สินไม่ใช่เฉพาะ ที่ดิน เงิน หรือวัตถุ แต่ทรัพย์สินในอนาคตเป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) เช่น

- Happiness
- Blog
- การสร้างสังคมการเรียนรู้
- การเสียสละให้แก่ส่วนรวม
- การอ่านหนังสือ
- การใช้เวลากับลูก
- การสอนหนังสือ
- การมีสุขภาพทางกายและใจที่สมบูรณ์
- การนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
- การทำงานอาสาสมัครให้ส่วนรวม

ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมในบางส่วน

เพราะผมได้ wealth จากการที่ใช้ชีวิตโดยแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง และมีความสุขที่ได้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ แต่ความรู้และความสุขไม่ได้มาฟรีๆ ต้องเปลี่ยนทุนมนุษย์มาเป็นทุนทาง ปัญญา คือต้องคิดเป็น ทำเป็น ทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีก 2 ทุนคือ ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่ง 2 Kนี้วัดไม่ได้ คนไทยจึงไม่เข้าใจ
แต่ผมและ Alvin Toffler เข้าใจครับ  
จีระ หงส์ลดารมภ์

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / ทรัพยากรมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

 

  เช้าวันนี้วันที่ 5 สิงหาคม  2549 หลายท่านคงดีใจ ปิติยินดีกันทั่วหน้า ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงปลอดภัยและเสด็จกลับไปพักรักษาพระองค์ที่พระราชวังสวนจิตฯ ได้แล้ว  วันนี้ ผมศึกษาบทความจาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ ของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความคิด ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักศึกษาที่สนใจ  รายละเอียดมีดังนี้    
  
  การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทายเรื่องนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนเราจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย  ผมขอเสริมตรงนี้ อยากจะฝากครู อาจารย์ในบ้านเมืองเรา ให้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประโยคนี้  เพื่อนำไปใช้กระตุ้นให้เด็กนักเรียน เกิดความชอบ สนุก และอยากเรียนรู้ และท้าทายที่จะทำและคิดสิ่งใหม่ ๆ ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้ เช่น การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ตามโรงเรียน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญในเรื่องการกระตุ้นเด็กนักเรียน ให้เกิดความชอบ ในการเรียนภาษาอังกฤษ สนุกที่จะเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ และอยากเรียนต่อ ไม่ใช่บังคับให้ท่องศัพท์ ท่องจำ เป็นต้น   
การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้นี้  ยังสอดคล้องกับแนวพุทธศาสตร์ กล่าวคือพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ธรรมแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  รวมกันเรียกว่า อิทธิบาท 4  เป็นรากฐานแห่งความสำเร็จ เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 คือ 
1.      ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 
2.      วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น 
3.      จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น 
4.      วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น ตรงนี้ อยากจะจุดประกายให้นักศึกษา ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ และลูกศิษย์ของผมได้ยึดเป็นหลักแห่งความสำเร็จ ในการเรียน และการดำเนินชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต  
บทความ รู้สึกว่ามีค่าและมีประโยชน์ เพราะ พูดความจริงและตรงประเด็น

บทความของ ศ.ดร.จีระ ถ้าอ่านแล้วคิดวิเคราะห์ต่อยอดจะเกิดประโยชน์กับตนเองและสังคม  เพราะ ศ.ดร.จีระ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทันสมัย มีความรู้ใหม่ สด และยังเป็นผู้มีอุดมการณ์ คล้ายกับ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ คือ มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้ง ด้วยความเป็นคนเช่น การคิด การเขียน การกระทำ การพูดก็ตาม ล้วนมีสาระ จริง ตรงประเด็นและเกิดประโยชน์ (อย่าไปคิดแค่พูดเพราะ หรือไม่เพราะ) ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ ที่ฟังแล้วคิดวิเคราะห์ ต่อยอดเป็นคือ ฟังและเรียนรู้อย่างผู้มีบุญ คือ ฟังอย่างสนใจ ใส่ใจและเอาใจใส่ ก็จะเกิดปัญญา ลูกศิษย์บางคนเริ่มแรกอาจจะตามอาจารย์ไม่ทัน อาจจะเกิดอาการมึนบ้าง แต่ถ้าตามติด อ่านต่อ จะเริ่มเห็นสัจจะธรรม คุณประโยชน์ ในบทความนั้น   
“motivation คนไทยมักจะมองแคบ คือ มองถึงอำนาจ เงินทอง เพชร นาฬิกา รถ แพงๆ คอนโดมิเนียม เป็นต้น เท่านั้น ไม่นึกถึงสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความมีสมาธิ การแบ่งปัน การ มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว หรือสำหรับผม ให้คนอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
เรื่อง Motivation เป็นเสมือนเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้าใช้โดยปราศจากความรู้ ความเข้าใจ จะไม่เกิดประโยชน์กลับจะมีโทษตามมา
 การ Motivation ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง ใช้และรักษาอำนาจ กล่าวคือเป็นการสร้างอำนาจได้ด้วยการให้  Motivation เป็นการให้อย่างหนึ่งที่ผู้บริหาร ผู้นำ มักใช้กันทั้งภาครัฐและเอกชน   
ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบ อย่างที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ ว่า Motivation ไม่ใช่แค่เรื่องการให้ทางวัตถุ เงินทอง ครับ แต่หลายองค์กรนำไปใช้ ด้วยการให้แก้ว แหวน เงินทอง ของใช้ต่าง โดยปราศจากความรู้และเทคนิคของการให้  การให้ดังกล่าว สมาชิกในองค์กรจะรู้สึกว่า การให้ให้แก้ว แหวน เงินทอง ของใช้ต่างดังกล่าว ถ้าเป็นการให้ครั้งแรก ผุ้ได้รับจะรู้สึกชื่นชมผู้ให้  ครั้งที่สองผู้ได้รับ จะรู้สึกขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง พอครั้งที่สาม จะขอบคุณผู้ให้และเริ่มคาดหวังว่าจะได้อีกมากขึ้นในคราวต่อไป พอถึงเวลาที่ควรจะให้ครั้งที่สี่ แล้วไม่ได้หรือได้น้อยกว่าที่เคยได้ ก็จะเกิดปัญหา ความผิดหวังเกิดขึ้น ทำให้เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรมากมาย เป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสหภาพแรงงานในองค์กรได้ และมีปัญหาตามมาอีกมากมาย  แนวทางในการแก้ไขและป้องกัน ผมแนะนำว่า การให้แก้ว แหวน เงินทองเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าให้โดยปราศจากเหตุผลของการให้   และควรให้ความรู้ ควบคู่จริยธรรม หลักศาสนา ไปให้มากกว่า ทรัพย์สินที่ให้  พระพุทธเจ้า ได้ให้หลักการให้  Motivation ไว้ว่า การให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการให้ความรู้ ให้โอกาส ให้อภัย ให้ธรรมตามกาล   
อาจารย์ป๋วยว่า "ทำอะไรมากมาย ซึ่งเน้นทำความดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำไป เพื่ออะไร" ท่านตอบว่า "ในประเทศไทย ถ้าคนดีไม่ทำอะไร คนชั่วก็ต้องชนะ เพราะคนชั่วมีมากกว่าคนดี "

คนดีมักจะเก็บตัวเงียบ อาย ไม่มีแนวร่วม ขาด social capital อยู่อย่างสงบ แต่คนไม่ดีจะบ้าอำนาจ ใช้อำนาจเหนือทุกอย่างที่ตนเองมีพลัง

  ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาคงไม่ถามกันใช่ไหมครับอาจารย์ เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านั้น ล้วนมีหน้าที่ต้องทำความดี เสียสละเพื่อส่วนรวม เช่นประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น  
 ในประเทศของเรา กำลังพัฒนา  ศ.ดร.ติน ปรัชพฤกษ์ ท่านเคยสอนไว้ว่า การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดการเจ็บปวด คนเป็นผู้นำ คนเป็นนักพัฒนาต้องพร้อมรับและกล้าเผชิญกับความเจ็บปวดเหล่านี้ จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ขอให้คนดีทั้งหลายอย่าได้ท้อใจ เพราะท่านกำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาครับ ถ้าคนดีไม่ทำ แล้วใครจะทำ พอไม่มีใครทำความดี คนชั่วก็จะได้ใจ และเป็นใหญ่ในสังคม จะทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบสุข ความไม่เจริญเกิดขึ้นในบ้านเมืองได้ 
ผมเชื่อมั่นว่า คงมีหลายคนถามประโยคนี้กับ ศ.ดร.จีระ ด้วยเช่นกัน เพราะอาจารย์ ทำงานอุทิศตนเหมือนเป็นนายกรัฐมนตรีผู้รักชาติ ทำงานพัฒนาคน พัฒนาชาติ โดยไม่ยึดมั่นในตำแหน่ง ไม่ต้องรอให้มีตำแหน่งแล้วจึงจะทำ  ผมหวังว่าสังคมประเทศชาติของเราจะพัฒนาขึ้นโดยเร็วและให้ผู้นำประเทศหันมาให้ความสำคัญกับบุคคลผู้ทรงคุณค่า บุคคลของแผ่นดิน เช่นนี้ ด้วยการให้การสนับสนุนทุกรูปแบบ 

บทความผมอยู่ใน website ของแนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ โดย click ไปที่ " บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ "

นอกจากที่อาจารย์กล่าวไว้  บทความดังกล่าวของ ศ.ดร.จีระ ยังมีอยู่ใน http://gotoknow.org/blog/chirakm ด้วย ครับ

  

ผมสอนหนังสือเกือบจะทุกอาทิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งให้ นักเรียนอ่านบทความ โดยให้วิเคราะห์ว่า
-
ผมเขียนโดยใช้ style อะไร
-
ได้อะไรที่โป๊ะเชะบ้าง
-
สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรและปรับใช้กับตัวเองอย่างไร

 

 ผมเป็นลูกศิษย์ในโครงการปริญญาเอก คนหนึ่ง ที่ ศ.ดร.จีระ เป็นผู้สอน  และส่วนหนึ่งที่ผมได้จาก ศ.ดร.จีระ คือ ได้นิสัยแห่งการเรียนรู้ การคิด การเขียน โดยเฉพาะการเขียนผ่าน Blog มากขึ้น จากการสอนของ ศ.ดร.จีระ ที่ต้องการเปลี่ยน และสร้างนิสัย ที่ดีให้กับลูกศิษย์  การเขียน Blog นี้ได้ประโยชน์มาก ผมต้องอ่าน คิด วิเคราะห์ และต่อยอดให้ได้ และผมจะฝึกต่อว่าต้องให้ได้ในเวลาที่ต้องให้รวดเร็ว การเขียน Blog นี้ จะปรากฏต่อสาธารณะชน  จึงต้องคิดไตร่ตรอง เขียนให้ดี ได้นิสัยระมัดระวังในการเขียนด้วย คือต้องเป็นกลาง มีสาระ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เป็นต้น ขอบคุณอาจารย์ที่เพิ่มทุนเรื่องนี้ให้ผม 
   คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ เข้าไปเยี่ยมคำนับและรายงานผลให้องคมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของ เรา การได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เมตตาต่อโรงเรียน นักเรียนเก่า และนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งคณาจารย์ด้วย เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ พี่กำธนของเรา ได้เน้นว่า เด็กเทพศิรินทร์ต้องเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้อง เป็นคนมีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี 
ผมเพิ่งทราบว่า ที่เทพศิรินทร์ มีท่านองค์คมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ ศรัทธาอย่างยิ่งเป็นศิษย์เก่าด้วย  เทพศิรินทร์สร้างคนที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม ประเทศชาติเป็นอย่างมากไว้หลายท่าน น่าภูมิใจแทนคนไทยทั้งชาติ 
  ศ.ดร.จีระ ยังมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ทั่วทุกแห่งมีคุณภาพเท่าเทียมกัน คือสร้างเด็กนักเรียนที่เทพศิรินทร์ให้เป็นคนเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้องเป็นคนีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี  ผู้ปกครองนักเรียนถ้าได้เห็นได้ยินเช่นนี้ คงจะสบายใจ  เพราะจากบทความของ ศ.ดร.จีระ แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์แสดงมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และมีการปฎิบัติอย่างจริงจัง เช่นนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
 โรงเรียนหลาย ๆ แห่ง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐ ในการบริหารด้านการศึกษา และพัฒนาเด็กนักเรียน น่าจะมาศึกษานโยบายในการบริหารโรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วนำไปเป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์บริหารโรงเรียน สร้างคนเพื่อสร้างชาติ ต่อไป  

การศึกษาของนักเรียนต่างจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

 เรื่องการบริหารการศึกษา ในต่างจังหวัด น่าเป็นห่วงครับ ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ มีความคิดที่จะยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งน่าจะเป็นงานสำคัญของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มาช่วยสนับสนุนความคิดของอาจารย์ให้เป็นจริงโดยเร็ว  ท่านนายกฯทักษิณ น่าจะบริจาคเงินสร้างโรงเรียน ตัวอย่างทั่วทุกภาค เป็นโรงเรียนแห่งอนาคต เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพทั้งคุณภาพครู อาจารย์ คุณภาพสถานศึกษา สภาพแวดล้อม เพื่อที่จะเอื้ออำนวยในการสร้างคนที่มีคุณภาพให้ชาติ เพื่อวางรากฐานความเข้มแข็งทางทุนมนุษย์ของชาติในอนาคต  
  ”Toffler เป็นนักทำนายอนาคต Futurist เป็นที่ยอมรับที่สุดของโลกในปัจจุบัน หนังสือเล่มที่ดังมาก ที่สุดคือ "The Third Wave" มอง

เกษตร-----------อุตสาหกรรม-----------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

แต่มาวันนี้ เขาบอกว่า นอกจาก IT แล้ว จะมีความรู้เป็นคลื่นลูกที่ 4 และความรู้เป็นทรัพย์สินที่ สำคัญที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) ทรัพย์สินไม่ใช่เฉพาะ ที่ดิน เงิน หรือวัตถุ แต่ทรัพย์สินในอนาคตเป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น ( Intangibles )
-  Happiness
- Blog
- การสร้างสังคมการเรียนรู้
- การเสียสละให้แก่ส่วนรวม
- การอ่านหนังสือ
- การใช้เวลากับลูก
- การสอนหนังสือ
- การมีสุขภาพทางกายและใจที่สมบูรณ์
- การนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
- การทำงานอาสาสมัครให้ส่วนรวม

ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมในบางส่วน “ใช้ชีวิตโดยแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง และมีความสุขที่ได้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ แต่ความรู้และความสุขไม่ได้มาฟรีๆ ต้องเปลี่ยนทุนมนุษย์มาเป็นทุนทาง ปัญญา คือต้องคิดเป็น ทำเป็น ทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีก 2 ทุนคือ ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่ง 2 Kนี้วัดไม่ได้ คนไทยจึงไม่เข้าใจ “

จากประโยคที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ ผมสรุปได้ว่า คลื่นลูกที่สี่ คือ ความรู้ เกษตร-------อุตสาหกรรม-------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) --------ความรู้
ในอดีตประเทศใด องค์กรใด สังคมใด จะมีความเจริญมั่งคั่งหรือไม่ ดูที่การเกษตร ต่อมาดูที่การอุตสาหกรรม ต่อมาดูที่การเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศ ในองค์กร ในสังคมนั้น ๆ ตรงนี้ ในประเทศญี่ปุ่นเห็นชัดเจนมาก  ญี่ปุ่นพัฒนาตนเอง จากประเทศเกษตร เป็นประเทศอุตสาหกรรม และพัฒนามาทำเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รวดเร็วมาก
ในประเทศอินเดีย จากประเทศยากจน กำลังจะพลิกผันเป็นประเทศผู้นำด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศจีน หลายท่านคงทราบดีว่า จีนมีครบหมด เกษตรอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และฐานความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ของจีนที่มีคุณค่าสะสมมานับพันปี ก็มีหลายศาสตร์
ในสังคม ในองค์กร ยุคปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องหันมาทบทวนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องการจัดการด้านความรู้  ส่งเสริมให้คนในสังคม ในองค์กร เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ในยุคนี้ถ้าคนในองค์กร ในประเทศ มีทุนทางความรู้มากเท่าใด ยิ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทุกรูปแบบ ความรู้ที่คู่คุณธรรมจึงเป็นฐานของทุนมนุษย์   ทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากกว่ารถประจำตำแหน่ง วัตถุนิยมต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่ความยั่งยืนขององค์กร ของชาติ
  

ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน 
   
สวัสดีครับ 
ยม   
น.ศ.ปริญญาเอก   
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์   
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)
กวย ดอกเตอร์ ไอ้สัส

หวาดดี

เด็กเทะทั้งหลาย

เรานัทนะ

อยากทำความรู้จัก

เรามาจากเทพร่มเกล้า

อยากรู้ว่า

ทำไมเด้กเทพถึงตีกันบ่อยจัง

ช่วยตอบคำถามที

เดี๋ยวนี้เพื่อนๆๆ

เขาไม่มองหน้ากันเลย

เทพร่มเกล้า ปาระบเดใส่กันหน้าโรงเรียน

แทบทุกปี

ปีนี้ไล่ออกไปหลายคนแล้ว

อาจารก็ไม่โหด

ใจดีเกินไป

กีฬาสีก็ตีกัน

เรายังโดน

อยากถามโรงเรียนหรือ สถานที่เถื่อน

ผมรักโรงเรียนเทพ

ป่านรักเทพศิรินทร์

จากเด็กเทพสระบุรี

ชอบเทพศิรินทร์พุแค ค่ะ

จากเด็กเทพศิรินทร์ เชียงใหม่

เด็กเก่าเทพศิรินทร์

ไปแข่งฉิ่งช้าสวันสู้ๆ

งุงื

หวัดดีค่ะ

อยู่3/11

เทพ สระบุรีค่ะ

ไงก้อหวัดดีทุกคน

หวัดดีชาวเทพ

เปงไงกัลบ้าง

ผลสอบเปงที่น่าพอใจกัลป่าว

ไงก้อรักษาสุขภาพกัล

ด้วยน๊า

จาก wi 3/11 2551

เทพศิรินทร์ พุแคค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท