รายงานสรุปผล การดำเนินโครงการพัฒนาสังคมและชุมชน ด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก


รายงานสรุปผล การดำเนินโครงการพัฒนาสังคมและชุมชน ด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก

ผลการดำเนินงาน

โครงการพัฒนาสังคมและชุมชนด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลบางเดื่อ ปี 2553

 นโยบายสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) เกี่ยวกับการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง โดยให้แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ สร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย ประสานและเชื่อมโยง  การดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน เป็นการขยายแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้นโดยมี คณะกรรมการแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน เกิดสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดความวุ่นวาย ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดความตรึงเครียด ความสุขของประชาชนลดน้อยลง การรับรู้ข่าวสาร   ในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงการเรียนรู้ของประชาชนมีอัตราลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง

                กศน.อำเภอบางปะหัน เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ โครงการพัฒนาสังคมและชุมชนด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลบางเดื่อ ปี 2553 ขึ้น โดยเน้นให้กิจกรรมมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมแล้วสามารถนำ องค์ความรู้  และประสบการณ์ของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมไปพัฒนาและปรับใช้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

อนึ่ง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปะหัน ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ตามโครงการพัฒนาสังคมและชุมชนด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลบางเดื่อ ปี 2553 มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ และกิจกรรมพิธีเปิด กศน.ตำบลบางเดื่อ เมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 29 สิงหาคม 2553 ณ กศน.ตำบลบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้   จำนวน 100 คน  และประชาชนที่เข้าร่วมในพิธีเปิด กศน.ตำบลบางเดื่ออีกจำนวนมาก ใช้งบประมาณการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน(งบดำเนินงาน) ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปะหัน จำนวน 20,000 บาท  (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) แยกได้ดังนี้

1. ค่าวิทยากรให้ความรู้และวิทยากรกระบวนการ  รวมจำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ                               

2. ค่าอาหาร จำนวน 100 คน ๆ ละ 50 บาท  เป็นเงิน 5,000  บาท

3. ค่าอาหารว่าง  จำนวน 100 คน ๆ  25 บาท จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน 5,000  บาท

4. ค่าวัสดุ สื่อการเรียนรู้ ค่าจัดพิธีเปิด และอื่น ๆ  เป็นเงิน  10,000  บาท

                 กิจกรรมครั้งนี้ได้ให้ประโยชน์กับประชาชนตำบลบางเดื่อ และประชาชนที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งในด้านความรู้จากวิทยากรให้ความรู้ และกิจกรรมสันทนาการ รวมทั้งความรู้ที่ได้จากการใช้แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลบางเดื่อ แห่งนี้ ต่อไป

**************************

 กำหนดการ  

โครงการพัฒนาสังคมและชุมชนด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลบางเดื่อ ปี 2553

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางปะหัน

 ณ แหล่งเรียนรู้ราคาถูก กศน.ตำบลบางเดื่อ  อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 วันอาทิตย์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2553

เวลา   07:00-08:30 น.    - ลงทะเบียน / รายงานตัว 

         08:30-12:00 น.    - มหกรรมการเรียนรู้ราคาถูก : ฐานกิจกรรมการการเรียนรู้

                       1) ชมนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                       2) เรียนรู้พัฒนาบุคลิกภาพ..สอนการแต่งหน้าสุภาพสตรีด้วยตนเอง

                       3) เรียนรู้การลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ (ผลิตอาหารต้นทุนต่ำเพื่อจำหน่าย) ตามวิถีความพอเพียง

                       4) เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญา

         11:00-12:00 น.    - ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์

                               - เรียนรู้หลักธรรมเพื่อการเจริญปัญญาด้วยการศึกษาตลอดชีวิต

(12:09 น.)  - พิธีเปิด กศน.ตำบลบางเดื่อ  โดย ท่านฯ พ้อง  ชีวานันท์ ส.ส.อยุธยา

         12:00-13:00 น.    - พักรับประทานอาหารกลางวัน

         13:00-16:30 น.    - มหกรรมการเรียนรู้ราคาถูก : ฐานกิจกรรมการการเรียนรู้(ต่อ)

         16:30-17:30 น.    - สรุปบทเรียน / มอบหมายภาระกิจ

                                       --------------------------------------

                               สาระสำคัญจากการจัดกิจกรรม

  การบรรยายพิเศษในพิธีเปิด และการให้ความรู้  : การศึกษาตลอดชีวิต

โดย : ท่านฯ พ้อง  ชีวานันท์  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 2

           Coombs พบว่ารูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียนของประเทศด้อยพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา    ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชน ได้อย่างทั่วถึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการศึกษา (Educational Crisis) เพราะประชาชนที่มีฐานะดีเท่านั้นที่มีโอกาศได้รับการศึกษา ส่วน คนยากจนขาดโอกาสในการศึกษา แม้รัฐบาลต่างๆ ได้ทุ่มเทงบประมาณการศึกษาสูงมากก็ตาม แต่การศึกษาไม่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะผู้อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล รัฐบาลยิ่งพัฒนาคนรวยกลับรวยยิ่งขึ้น คนจนกลับจนลง จึงทำให้มีการเรียกร้อง ให้มีการปฏิรูปการศึกษา นักปฏิรูปการศึกษา อาทิ เปาโล แฟร์ (Paulo Freire) ชาวบราซิล เขียนเรื่อง "การศึกษาของผู้ที่ถูกกดขี่" (Pedagogy of the Oppressed) อีวาน อีลิช (Ivan Ilich) เขียนเรื่อง "โรงเรียนตายแล้ว" (Deschooling Society) และ Faure เขียนเรื่อง "Learning to be" ให้กับองค์กร Unesco เสนอว่าควรจะปฏิรูประบบการศึกษาในโรงเรียน มาเป็นการศึกษานอก โรงเรียน และส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบ การดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมอุตสาหกรรม ที่ได้มีการนำเทคโนโลยี เครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ทุน แรงงาน ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของวิกฤตการณ์ตลาดแรงงาน มนุษย์เราจึงต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อที่จะได้ก้าวทันโลกที่ เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ของคนเราจึงไม่หยุดเพียงที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย แต่เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มนุษย์เรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต นั้นคือการรวมเอาการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) นอกระบบโรงเรียน (Informal Education)เข้าด้วยกัน คนเราสามารถเลือกศึกษาได้ในช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิตตามความเหมาะสม การศึกษา และการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งไม่ว่าจะ ในครอบครัว วัด ชุมชน สถาบันการศึกษา สถานประกอบการ และแหล่งวิชาต่างๆ การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตกลายเป็นความจำเป็นของมนุษย์ปัจจุบัน

ความหมาย
               การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเอง
               การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก

แนวความคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต
               การศึกษาตลอดชีวิต เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาในปัจจุบันแท้จริงแล้วแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตมิใช่เรื่องใหม่ แต่มีมานานแล้วในคัมภีร์กุรอานมีคำสอนว่า บุคคลพึงเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลถึงหลุมฝังศพ (From cradle to grave) หรือจากครรภ์มารดาถึงสุสาน(From womb to tomb) คอมินิอุส (Comenius)นักศึกษาในสมัยนั้นได้พูดถึงรายละเอียดของกระบวนการศึกษาตลอดชีวิตว่าควรจัดให้มีโรงเรียน สำหรับทุกคน กล่าวคือ โรงเรียนสำหรับทารกแรกเกิด เด็กก่อนวัยเรียน เด็กเยาวชนวัยเรียน คนหนุ่มสาว และคนชรา ในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมานี้ได้มีการเผยแพร่เรื่องเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ และเพิ่มความสนใจไปสู่ทั่วโลก ในการประชุมระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษาผู้ใหญ่ (World Conference on Adult Education) ที่จัดโดย Unesco ที่กรุงมอนตรีอัล ประเทศแคนาดา ค.ศ.1960 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ค.ศ.1972 และที่กรุงไนโรบีค.ศ.1986ได้พัฒนาแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตอันมีสาระสำคัญดังนี้
               1. มนุษย์แสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา     เพราะมนุษย์เราเรียนรู้จากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสังคมทุกขณะ เช่น จากการ ทำมาหากิน การเล่น การพักผ่อน การเข้าร่วมพิธีกรรม และการสมาคมเป็นต้น
               2. การศึกษาที่แท้จริงไม่ได้จำกัดแต่เพียงในโรงเรียนแต่ครอบคลุมถึง การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษาเกิดได้ตามโอกาสจึงไม่มีวันสิ้นสุด
               3. การศึกษาตลอดชีวิตเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้รับการศึกษา  เพราะสามารถเลือกเรียนตามรูปแบบที่ตนต้องการ ยืดหยุ่นได้ตามโอกาส ทุกคน สามารถ เรียนรู้ได้จากทุกแห่งตามโอกาสจะอำนวย ฉะนั้น มนุษย์จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการศึกษาอย่างไม่มีจุดจบไปตลอดชีวิต

การจัดการศึกษาตลอดชีวิต
แนวปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตมีดังนี้

               1. การศึกษาในระบบโรงเรียนจะต้องไม่สิ้นสุดเพียงเมื่ออยู่ในโรงเรียน     แต่จะต้องจัดให้บุคคลเมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้วสามารถเข้ามาเรียนได้
อีก กล่าวคือ โรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้เตรียมความพร้อมด้านความรู้ความสามารถ และปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตแก่นักเรียนเพื่อให้ นักเรียนสามารถมีทัศนคติ แรงจูงใจที่จะใฝ่รู้ และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองหลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว
               2. ทุกหน่วยงานในสังคมมีบทบาทในการจัดการศึกษา    อาทิ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ สโมสร ศาลาประชาคม วัด ที่ทำงาน เป็นต้น อันเป็นการจัดการเครือข่ายการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ และเอกชน เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เช่น บริการข่าวสาร ข้อมูล ต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
               3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน ควรจะจัดหลักสูตรในลักษณะของการบูรณาการ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและประสบการณ์ของผู้เรียน เพื่อ เสริมทักษะ ความรู้ และพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยให้ถือการงานหรือชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
               4. หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตจะต้องครอบคลุมบทบาทของมนุษย์   ตั้งแต่เกิดจนตายตั้งแต่ชีวิตส่วนบุคคล ครอบครัว การงาน การพักผ่อน สังคมการเมือง เศรษฐกิจ ฉะนั้นจะต้องพัฒนาให้มีเครื่องมือที่จะเรียนรู้ สามารถใช้แหล่งวิทยาการมีแรงจูงใจที่จะคิดศึกษาหาความรู้ไปตลอดชีวิต
               5. การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยจะต้องเกื้อกูลกัน   สังคมจะต้องส่งเสริมให้มีแหล่งวิชาที่ทุกคนมีโอกาสใช้สื่อทุกประเภท และศึกษา หาความรู้จากแหล่งต่างๆ อาทิ ห้องสมุด วิทยุ โทรทัศน์ พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตได้นำไปใช้โดยจัดการศึกษาตลอดช่วงอายุของบุคคลในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้จะต้องปรับโครงสร้างขององค์กรที่จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย หลักการศึกษาตลอดชีวิตโดยยึดการบูรณาการความเสมอภาค ความเป็นประชาธิปไตย และความสอดคล้องกับวิถีชีวิต

หมายเลขบันทึก: 402404เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2010 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท