เชิญครู เข้าอบรมฟรี “การผลิตสื่อการสอนเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา”


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

เชิญครูภูมิศาสตร์ เข้าอบรม “การผลิตสื่อการสอนเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา

ขอเรียนเชิญ ครู อาจารย์  ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ในรายวิชาด้านภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เทคโนโลยีสำรวจข้อมูลระยะไกล (RS) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (GPS) หรือวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฝึกอบรม


งบประมาณ
ได้รับงบประมาณสนับสนุนบางส่วนจาก ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระยะเวลาในการอบรม  

จำนวน 1 รุ่น ละ 3 วัน

รุ่นที่ 1/53 วันที่ 12 – 14 ตุลาคม 2553      [สงวนสิทธิ์รับ จำนวนจำกัด  ]

ค่าลงทะเบียน ไม่มีค่าลงทะเบียน (ได้รับงบประมาณสนับสนุนบางส่วนจาก ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

 ใบสมัครเข้าร่วมการอบรม  

[ download ใบสมัคร ]

ดูรายละเอียด และกำหนดการ โครงการเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ http://เทคโนโลยีชนบท.com

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณสุนันต์ หรือ คุณสายพิน หรือคุณพีระวัฒน์
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร. 02-564-4440-59 ต่อ 2300 และ 02-564-4482    02-564-4482      
ในวันและเวลาราชการ
โทรสาร. 02-564-4482    02-564-4482      
e-mail : [email protected]
หรือ [email protected]

เรื่องที่อบรม 

 เนื้อหาหลักประกอบด้วย เทคโนโลยี 3 ด้าน ซึ่งมีเนื้อหาโดยสังเขป

1. ความรู้พื้นฐานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2. หลักการเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) องค์ประกอบ และแนวทางการประยุกต์ใช้ และปฏิบัติการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การแสดงผล การสืบค้น (Query) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เบื้องต้น

3. การปฏิบัติการระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจัดทำแผนที่โลก และแผนที่ประเทศไทย (แผนที่เฉพาะเรื่อง Thematic Map) เพื่อนำไปใช้สอนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา

รูปแบบ/วิธีดำเนินการ 

ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้

1. การบรรยายภาคทฤษฎี

2. การฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา

3. ใช้โปรแกรมรหัสเปิดด้านระบบภูมิสารสนเทศ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1) ครู อาจารย์ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจหลักการทำงาน กระบวนการประมวลผลข้อมูล และเครื่องมือต่างๆ ของเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และโปรแกรมรหัสเปิด 

2) ครู อาจารย์ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ร่วมกับฐานข้อมูลแผนที่โลก และแผนที่ประเทศไทย ในระดับพื้นฐานได้ 

3) ครู อาจารย์ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ และสื่อการสอน ที่ได้รับไปใช้ในการถ่ายทอดให้กับนักเรียน และใช้ประกอบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

4) เป็นการสร้างเครือข่ายบุคลากรด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ด้านการเรียนการสอน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ รวมถึงโอกาสในการศึกษาวิจัยร่วมกันในอนาคต 

 

สื่อการสอนที่ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับ 

ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับ

1. เอกสารประกอบการอบรม

2. สื่อผสมประกอบการอบรมในรูปแบบ DVD-ROM ประกอบไปด้วย

a. สไลด์ประกอบการฝึกอบรม ในรูปแบบ Acrobat PDF

b. CAI สื่อการเรียนรู้ในการใช้โปรแกรมรหัสเปิดในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

c. ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โลก และประเทศไทย

d. โปรแกรมรหัสเปิดสำหรับติดตั้ง พร้อมคู่มือการใช้งานภาษาไทย

3. แผ่นใสสี เพื่อนำไปใช้ประกอบการสอนในรายวิชา คนละ 20 แผ่น (ครูสามารถนำมาเองได้ หากต้องการพิมพ์มากกว่านี้ มีเครื่องพิมพ์ A4 สี สนับสนุนการพิมพ์)

กำหนดการอบรม

“การใช้สื่อการสอนเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา”

วันที่ 1

 

 

08.00 – 09.00 น.

 

+ ลงทะเบียน

09.00 -12.00 น.

 

+ ทฤษฎี ความรู้เทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ   

 

 

+ ทฤษฎี ความรู้เบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ในการแสดงผลข้อมูล

 

 

+ ปฏิบัติการ พื้นฐานการติดตั้งโปรแกรมและฐานข้อมูล  

13.00 – 16.00 น.

 

+ ทฤษฎี ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : ข้อมูลเชิงเชิงพื้นที่ Spatial Data และการนำเข้า

 

 

+ ปฏิบัติการ การแสดงผลข้อมูล GIS (Spatial Data)

* – การแสดงผลข้อมูลแผนที่รูปแบบ Vector (Coverage/ AutoCAD /Shapefile etc.)
* – การแสดงผลข้อมูลแผนที่ รีโมทเซนซิง ร่วมกับ GIS ในโปรแกรม

วันที่ 2

 

 

09.00 – 12.00 น.

 

+ ทฤษฎี ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : ข้อมูลเชิงบรรยาย Attribute Data และการสืบค้นข้อมูล

 

 

+ ปฏิบัติการ การตบแต่งสัญลักษณ์ ข้อมูลแรสเตอร์
+ ปฏิบัติการ การตบแต่งสัญลักษณ์ ข้อมูลเวกเตอร์

13.00 – 16.00 น.

 

+ ทฤษฏี การกำหนดพิกัดภูมิศาสตร์ให้กับภาพถ่ายจากดาวเทียม (Geometric Correction)

 

 

+ ปฏิบัติการ การตรึงพิกัดภูมิศาสตร์ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อทำเป็นแผนที่ฐานสำหรับงานติดตามทรัพยากรในท้องถิ่น

วันที่  3

 

 

09.00 – 12.00 น.

 

+ ทฤษฎี การนำเข้าข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

 

 

+ ปฏิบัติการ การนำเข้าข้อมูลเวกเตอร์ : Spatial Data

- ข้อมูลแบบจุด เส้น และพื้นที่

13.00 – 16.00 น.

 

+ ปฏิบัติการ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนที่พร้อมพิมพ์ และการส่งออกภาพแผนที่

+ ปฏิบัติการ การจัดทำแผนที่ภาพสีผสม และจัดส่งออกเพื่อพิมพ์ และผลิตสื่อประกอบการสอน

16.00 – 16.30 น.

 

มอบวุฒิบัตรและปิดการอบรม


หมายเหตุ
เวลา 10.30 – 10.45 น. และ 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน (ตามอัธยาศัย)

 

หมายเลขบันทึก: 401349เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอจัดลำดับความสำคัญ ให้กับครูที่จำเป็นต้องสอนด้านภูมิศาสตร์ ด้วยการนำ GIS, Remote Sensing, GPS เข้ามาร่วมกิจกรรมวิชาการในครั้งนี้ก่อน

จะให้ความสำคัญกับพื้นฐาน และการผลิตเป็นสื่อการสอน และพิมพ์ออกแผ่นใส เพื่อนำไปประกอบการพิมพ์

ครูอาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะได้ DVD ที่ประกอบด้วยโปรแกรม GIS Opensource และ

ฐานข้อมูล GIS 1:250,000 ของไทย

ฐานข้อมูล GIS ของทวีป และประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เพื่อนำมาประกอบการสอนต่อไปได้

และได้คู่มือเป็นเอกสารการใช้โปรแกรม GIS Opensource อีกด้วย

เชิญชวนกันมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการนำเครื่องมือไปพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปครับ

โอโหอาจารย์หายไปนานมากๆๆ สบายดีไหมครับ ขอเอาไป link ให้คุณครูที่สนใจนะครับ

ครับ ^^

พอดีงานมันติดพัน

ถือคติ "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" ฮ่าๆ

ไม่ค่อยมีเวลาเข้า มาในระบบ g2k

เครื่องผมมันเข้าระบบยากอ่ะนะ ติดขัดทั้ง user/pass/captcha อ่านไม่ออกอีก T-T

ไว้มีโอกาสค่อยเจอกันใหม่ครับ

  • น่าสนใจ ระบบ GIS นี่ใช้ระบบนำทางที่ใช้ในรถ หรือในมือถือรึปล่าวคะ
  • ในมือถือมีอยู่ แต่กว่าจะสัญญานจะมาเปิดไว้เป็นครึ่งชั่วโมง (ใช้ไม่เป็นค่ะ)

ในมือถือบางรุ่นจะช้านะครับ แต่ถ้าเป็นรุ่นเฉพาะ ก็จะเร็วเป็นพิเศษ 

ในมือถือจะเหมาะสำหรับจัดเก็บพิกัดจุดที่เราลงไปในสนาม หรือทำงานสนาม แล้วนำมาระบุตำแหน่งในโปรแกรม กูเกิลเอิร์ธ 

^^

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท