คุณค่าในการส่งเสริมสุขภาพตามแนวจิตวิถี


“ ความสงบภายในของจิตใจ ”

 

คุณค่าในการส่งเสริมสุขภาพตามแนวจิตวิถี

(Spiritual   Approach)

 

          ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมการสรุปผลการดำเนินงานโครงการคุณค่าในการส่งเสริมสุขภาพตามแนวจิตวิถี  โดยกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ  และได้รับแจกเอกสารฉบับนี้  ทำให้มีความรู้สึกว่าน่าจะเผยแพร่ให้เพื่อน ๆ ได้รับรู้  เพื่อเป็นแนวคิดในการปฏิบัติต่อไป  ซึ่งต้องขอขอบคุณ คุณรุ่งรัศมี  ศรีวงศ์พันธ์  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการจาก  ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง  กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้สรุปบทเรียนดี ๆ  มาเผยแพร่

 

การเรียนรู้การทำงานของจิตใจ

          แนวคิดสำคัญจากการเรียนรู้  :  วิทยากรได้กล่าวถึงสุขภาวะได้น่าสนใจ คือ  สุขภาวะทางกาย  จิตใจ  สังคม  และจิตวิญญาณ  ประเด็นสุดท้ายนี้  ต้องใช้สัมมาทิฐิในการมองมิติทางจิตวิญญาณ  (Spiritual)   ซึ่งเป็นการเดินทางกลับสู่ภายใน  เพื่อส่งออกภายนอก  คุณค่าของตัวเองอยู่ที่  “ ความสงบภายในของจิตใจ”  สภาวะจิตอันเดิมแท้ของเรา  คือ  การกลับสู่ตัวตนที่แท้จริงของตัวเรา  (peace  of  mind  by  yourself)  เราไม่จัดการกับภายนอก  เราจัดการกับตัวเองก่อน  เราไม่เปลี่ยนโลก  แต่เราจะเปลี่ยนภายในตัวเอง  “ การจัดการจิตใจ ”  ต้องฝึกฝน

          “ การตระหนักรู้ในตัวเอง ”  กำหนดพฤติกรรมและชีวิตของผู้คน  การจัดการกับสภาพจิตใจของตนเอง  เป็นความรับผิดชอบของเราในการเข้าใจกลไกทางจิตของตนเอง  โดยเฉพาะประเด็นของ  “ จิตใต้สำนึก ”  เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้  และสะสมประสบการณ์มาตั้งแต่วัยเด็ก  มีคำกล่าวว่า  “ จิตสำนึก     สร้างความคิด   ความคิด   มาจากจิตใต้สำนึก ”  การจัดการกับอารมณ์  ต้องมาจากการสร้างความคิด  คือ  การตั้งคำถามกับตัวเองให้ถูกต้อง  คือ  การสร้างรูปแบบความคิดให้กับตนเอง  เช่น  สร้างความคิดเชิงบวก / จินตนาการเห็นภาพ / เห็นภาพ  และรู้สึกด้วย  หากความรู้สึกยาวนานพอ  จะสร้างอารมณ์และก่อให้เกิดการกระทำ  สรุปในประเด็นนี้คือ  คำสั่ง  “ ห้าม  หรือ  อย่า ”  จะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  ต้องสั่งให้เป็นภาพ ป้อนข้อมูลที่พึงปรารถนาในจิตใจ  นั่นคือต้องคิด + รู้สึก  จึงจะเปลี่ยนแปลง  (Thinking + feeling  =  changing)

          วิธีคิดที่ดี  จะสร้างประสบการณ์  และการกระทำที่ดีเกิดขึ้น  นั่นคือต้องมีการเตรียมการ  ขณะที่ยังไม่เกิดอะไรขึ้น  ต้องฝึกฝนจิตใจในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น mediation  เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดี  การควบคุมคุณภาพของความคิดขึ้นอยู่กับจิตใจ  จิตใต้สำนึก  และสติปัญญา  วิทยากรยกตัวอย่าง  “ การคิดก่อนพูด ”  หากความคิดที่หนึ่งเกิดขึ้นแล้ว  ในจิตใจของเรา  พอไตร่ตรองแล้ว  ความคิดที่หนึ่งจะไม่เกิดเป็นการกระทำ  เป็นการพูด  ที่เป็นโทษหรือมีประโยชน์  ต้องใช้  inner  voice  (เสียงแห่งคุณธรรมภายใน)  ของตนเองจัดการ  หากจะเปลี่ยนแปลงความคิด  ต้องสร้างรูปแบบความคิด  (ทางบวก)  และมีอำนาจเหนือกว่า  ด้วยอำนาจแห่งสติปัญญา  (สติปัญญา  เป็นตัวควบคุมจิตใจ)  วิทยากรเปรียบเทียบจิตใจเสมือนห้องมืด  ต้องใช้แสงสว่างแห่งสติปัญญาในการเปิดจิตใจให้สว่าง

          วิธีการง่าย ๆ  ในการจัดการความคิด  คือ  “ การสร้างความคิดที่ดี ”  เข้าไปแทนที่  หากไม่เกิด  กลับไปดูที่  “ จิตใต้สำนึก ”  การทำซ้ำ  จะสร้างนิสัยจากการเติบโต  จนมีอิทธิพลต่อจิตใจและการกระทำ

 

 

                                                                         ด้วยความปรารถนาดี

                                                                         มันทนา  ศิลปเวชกุล

                                                                                 ก.ค. 53

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 401345เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะIco64

   ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ

ขอบคุณคะพี่ ที่สำคัญ ถ้ารู้แล้วไม่ฝึกปฏิบัติ ก็จะทุกข์กับสิ่งที่ตนเองคิดเองเออเองในทางลบ น่าสงสารคนที่ไม่พัฒนานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท