นับดาวเรียนรู้ KM ปฏิบัติ ดวงที่ 12


เทคนิคการจัดการสมาธิในการทำงาน

เทคนิคการจัดการสมาธิในการทำงาน

             เมื่อต้องทำงานเรื่องใดให้สำเร็จ  โดยมีกำหนดแล้วเสร็จเป็นตัวบังคับ  ท่านมีวิธีการอย่างไร?

             สำหรับผู้เขียน  จะเริ่มจากการตีโจทย์ ให้เคลียร์ เก็บข้อมูลที่จำเป็น แล้วมองหา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  ที่ตัวเราเป็นผู้เข้าไปควบคุมเองตามทักษะเด่น  ถ้าเป็นงานทีม  ก็จะจัดแบ่งงานให้กับทีม ตามทักษะเด่นของเขา    ในช่วงของการดำเนินงาน แน่นอน เราต้องพบกับอุปสรรคบ้าง ความเครียด ความกดดันจากงาน   ผู้เขียนมักใช้วิธีทำงานชิ้นอื่นควบคู่ไป ระหว่างที่คิดงานนี้ไม่ออก  คือหยุด เพื่อพิจารณา มอง  ทบทวนด้วย เพื่อไม่หลงระหว่างทาง  สิ่งหนึ่งที่คลายเครียดได้อย่างดีและช่วยให้สมองโปร่ง  คือการทำงานเชิงศิลปะ  หรือการสัมผัสต้นไม้  ดอกไม้  เด็ก เป็นต้น   

             ผู้เขียนเคยอธิบายเทคนิคแบบนี้ให้กับผู้บริหารระดับสูงที่ต้อง ทำงาน วางแผนทางด้านองค์กร โดย เปรียบเทียบ การจัดการสมาธิหรือ ความคิด ในตัวคน กับการจัดการวัตถุ เช่นการสะสางเอกสาร ข้อมูล ในรูปของกระดาษ และสื่ออิเลคทรอนิคส์ ที่เราใช้ในการทำงาน ให้ทันสมัยอยู่เสมอ  แล้วทำการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ  เพื่อสะดวก ในการหยิบฉวยมาใช้งาน ได้ทุกเมื่อ ที่เราต้องการ โดยไม่ชุลมุน  พร้อมทั้งใช้งานข้อมูลอย่างเต็มประสิทธิภาพ เหมาะสม

             เมื่อถึงเวลาลงมือ เราก็ทุ่มเทความตั้งใจและสมาธิเต็มที่กับงานนั้น  ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ตาม  แต่เราต้องไล่สุดฤทธิ์ให้งานจบตามเวลา  โดยเผื่อใจสำหรับการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าไว้แบบไม่กังวล  คือครองสติให้อยู่กับตัวเราตลอดเวลา  เพราะจะมีทางเลือกให้เราตัดสินใจทำอีกมากมาย

             นอกจากนี้การจัดการงาน ยังต้องแยกแยะ ชนิดเนื้องาน เพื่อเลือกทำในเวลาที่เหมาะสม  เช่น  ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย  สำหรับวันที่มีประชุม  เราคงต้องใช้สมาธิกับการประชุมค่อนข้างมาก  งานที่ทำจึงต้องมีแบบผ่อนคลายบ้าง

             การจัดการงาน รวมถึงข้อมูลที่พร้อมใช้  จะทำให้เราพร้อมรับทุกสถานการณ์  ที่ลูกค้าเข้ามาติดต่อโดยไม่นัดหมาย  หรือช่วงที่เกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดฝัน  ต้องทำการซ่อมบำรุงรักษา  อุปกรณ์ หรือ คน หรือ อื่นๆ   นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เวลา สื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภายใน และภายนอก องค์กร อย่างทันสมัยอยู่เสมอ 

ดาวดวงที่ 12  เก็บจาก การเตรียมการเป็นวิทยากรกระบวนการ KM  ของตัวผู้เขียนเอง

คำสำคัญ (Tags): #การจัดการ#สมาธิ
หมายเลขบันทึก: 39719เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่ผมมีความเห็นเพิ่มเติมว่าการที่จะลดความเครียดได้ดีอีกประการหนึ่งคือการไปออกกำลังกาย การไปดูหนัง ฟังเพลงเบาๆ ก็จะเป็นทางออกหนึ่งของการลดความเครียด

ขอบคุณค่ะ ความเห็นของคุณอุทัยถูกต้องแล้วค่ะ เราสามารถแยกแยะระดับความลึกซึ้งของ การผ่อนคลาย ได้หลายรูปแบบ เพื่อความเหมาะสม ต่อระดับสมาธิของเรา เพื่อการผลิตผลงานที่มีประสิทธิผลมากที่สุด ในแต่ละวัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท