ฝากหมอไว้..แล้วแต่หมอจัดการ


นับเป็นโจทย์ค่อนข้างหนัก สำหรับพยาบาลในตึกผู้ป่วยในฝ่ายกาย ที่ไม่มีผู้ป่วยจิตเวชนอนรักษาอยู่ด้วย

                                                                                ตึกผู้ป่วยใน

    “อะไรๆก็ว่าสมชาย ไม่ได้ทำอะไรให้ใครก็ว่าสมชาย สมชายไม่ดีเอง ช่างเถอะ...”เสียงพ่นพึมพำของผู้ป่วยจิตเวชคนหนึ่ง ในเวลาดึกพร้อมเดินไปมาในตึกผู้ป่วยใน เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเตียงอื่นใกล้เคียงต่างไม่หลับ และทุกสายตามองตามการเดินของสมชายตลอด ในคืนนั้น

      สมชาย...หนุ่มใหญ่ หน้าตาเฉยเมย แต่งตัวดี กลิ่นเหล้าติดกาย มานอนโรงพยาบาลได้ 2 คืนแล้ว ญาติได้พามาโรงพยาบาล ได้บอกว่า อยู่ที่บ้านเสียงดัง เอะอะ ถือมีดพร้าตลอด แต่ไม่เคยทำร้ายใคร เคยรับการรักษาทางจิตเวชที่โรงพยาบาลสวนปรุงหลายปีที่แล้ว เมื่อกลับมาอยู่บ้าน ถ้าดื่มสุรา อาการที่เคยเป็นเช่นนี้ก็กลับมาอีก ครั้งนี้ก็เช่นกัน ญาติบอกว่าทุกคนในบ้านไม่ได้หลับได้นอน รวมทั้งเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงพลอยได้รับความเดือดร้อนไปด้วย “ ขอฝากหมอไว้ล่ะกัน แล้วแต่หมอจะจัดการ ญาติๆไม่มีเวลาเอาใจใส่คนไข้ มีหลานต้องดูแลอีกสองคนที่บ้าน” เป็นคำพูดของพ่อสมชาย หลังจากที่ได้รู้ว่า นอนโรงพยาบาลแล้ว ก็กลับบ้านไป โดยไม่มีใครมานอนเฝ้าที่โรงพยาบาล

       นับเป็นโจทย์ค่อนข้างหนัก สำหรับพยาบาลในตึกผู้ป่วยในฝ่ายกาย ที่ไม่มีผู้ป่วยจิตเวชนอนรักษาอยู่ด้วย ....สำหรับคืนแรกผ่านไป อาการที่ญาติบอกว่าเอะอะ เสียงดังนั้น ไม่มีในโรงพยาบาล เพียงแต่เดินบ่นคนเดียวไปมา และยังพบว่า สมชายคอยเอาใจใส่ผู้ป่วยใกล้เคียง พาเข้าห้องน้ำ ป้อนข้าว ป้อนยา ไปพูดคุยเป็นเพื่อนเตียงอื่นๆ เขาจะไม่นอนที่เตียงขออนุญาตไปนอกตึก ไปซื้อของ เก็บดอกไม้บ้าง พอช่วงกลางคืนก็ไม่ยอมนอน เดินไปมาคนเดียวตลอด ทางทีมสุขภาพในโรงพยาบาลได้ประสานงานกับทีมสุขภาพชุมชน ให้ญาติมาปรึกษาการวางแผนดูแลผู้ป่วย ญาติได้ขอให้ทางโรงพยาบาลส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสวนปรุง และให้ตำรวจตามไปด้วย เกรงว่าผู้ป่วยจะมีอาการก้าวร้าวระหว่างทาง ซึ่งทางตึกผู้ป่วยในได้ประสานงานตามที่ญาติได้ขอร้องเป็นอย่างดี ซึ่งการดำเนินทุกอย่าลุล่วงไปด้วยดี

        จากการรับสมชายนอนที่โรงพยาบาลในครั้งนี้ ได้เรียนรู้ว่าการดูแลผู้ป่วยจิตเวชนั้นละเอียดอ่อน เริ่มจากสัมพันธภาพในครอบครัว ถ้าขาการสนใจ เอาใจใส่ผู้ป่วย ก็จะทำให้เขารู้สึกไม่เหมือนคนอื่น เขาจะใช้สุราเป็นเพื่อนตลอด ในที่สุดอาการที่เคยเป็นก็กลับมามีอาการอีก เป็นๆหายๆ ไม่รู้จักสิ้นสุด ทำอย่างไรให้สังคมหันมาให้ความสำคัญต่อการเจ็บป่วยทางจิตใจ ซึ่งนับวัน ก็จะมีผู้ป่วยกลุ่มนี้มากขึ้นทุกๆปี ในสังคมเช่นในปัจจุบันนี้

                              

                                  มิตรไมตรีระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย

 

หมายเลขบันทึก: 396185เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ฝากหมอไว้แล้วแต่หมอจะจัดการ

หมอฝากพยาบาลแล้วแต่พยาบาลจะจัดการ

พยาบาลฝากคนงาน กำชับให้ดูแลอย่างใกล้ชิดติดตามอย่าให้หนีออกจากรพ.

คนงานก็ไปฝากยามช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิด

เหตุการณ์ฝากหมอแบบนี้มีพบเห็นบ่อยในรพ.

ขอบคุณรพสองที่นำมาแบ่งปันมุมมองในแง่คิด

  • สวัสดีค่
  • ท่านวอญ่า พิมพ์ซะเห็นภาพ แสดงว่าเป็นเหมือนกันทั่วประเทศ อิอิอิ
  • ---
  • ความจริงแล้ว เราเท่านั้นที่เป็นเพื่อนเขา ที่ รพ. ป้าแดง ก็มีอยู่คนสองคน ที่หนีบ้านมาพึ่งโรงบาล

 

เขาหนีร้อนมาพึ่งเย็นใช่มั๊ยคะป้าแดง

ขอขอบคุณทีมงานทุกคนในตึกผูป่วยในที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วยทั้งทางกายและทางจิตนะคะ...ขอบุญกุศลนี้ดลบันดาลให้ทุกคนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี..มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ...และตอนนี้สมชายก็ได้กลับบ้านเราแล้วนะคะ..เมื่อเช้าเพิ่งมาCo.ที่จิตเวช

LAIAT. K

ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจ ทีมผู้ป่วยในจะดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ เพิ่มยิ่งขึ้นต่อไป ค่ะ/ครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ทีมของตึกผู้ป่วยในนะค่ะ.........ใช่จริง ๆ ผู้ป่วยประเภทนี้น่าเห็นใจมาก ๆ ขอชื่นชมทีมสุขภาพทุกคน......noot / LR

วันนี้สมชายกลับมาCo.อีกครั้ง แต่ครั้งนี้มาขอรับยาแทนแม่เพราะเป็นห่วงแม่..เป็นหวัด+กระเพาะยังไม่หายดี..และแสดงความห่วงใยญาติผู้ป่วยหน้าห้องคลอด..กลัวว่ากระเป๋าเสื้อผ้าเขาจะหาย...และยังแสดงความห่วงใยพยาบาลให้การปรึกษาอีกว่าอ้วนไม่ดีนะ..อย่ากินเยอะ...นี่คือน้ำใจของสมชายตัวจริงค่ะ

LAIAT K.

ขอชื่นชมที่ใช้กายและใจดูแลผู้ป่วยให้หายวันหายคืน  ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท