๔๒. Informatived Drawing และวิธีทางศิลปะ ในฐานะเครื่องมือวิจัยและสร้างพลังชุมชน


 การวิจัยชุมชน โดยเฉพาะการวิจัยที่มีความเชื่อมโยงกับวิถีปฏิบัติ เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาวบ้านและกิจกรรรมการดำเนินชีวิต สิ่งที่เป็นสารทุกข์สุกดิบของชาวบ้าน เหล่านี้ นักวิจัยและนักวิชาการพัฒนาในแนวที่เน้นความเป็นชุมชนและการเสริมกำลังการแก้ปัญหาตนเองของชุมชนในเชิงปฏิรูปสังคม ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆไปด้วยกันตามความจำเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป มักจะให้ความสำคัญต่อระเบียบวิธีวิจัยที่เน้นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของประชาชนผู้ปฏิบัติและเชื่อมโยงกับความเป็นจริงของสังคม ทั้งการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม การวิจัยเชิงคุณภาพ และการสร้างองค์กรจัดการตนเองผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน ซึ่งเป็นวิถีความรู้ที่จะก่อให้เกิดความเป็นชุมชนที่จัดโครงสร้างภายในด้วยคุณภาพใหม่จากการใช้อำนาจที่รุนแรงเป็นโครงสร้างเชิงปัญญา การใช้ความรู้ วิถีคิดปรึกษาหารือด้วยเหตุผลและความเข้าอกเข้าใจกัน ความสำนึกและคุณธรรมต่อการอยู่ร่วมกันของส่วนรวม

แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของการวิจัยและทำงานร่วมกันในแนวนี้ก็คือ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย อีกทั้งต้องใช้เวลาให้กับกิจกรรมการปฏิบัติและการทำงานกับคนมาก ดังนั้น การพัฒนาเทคนิควิธีการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาและดำเนินการวิจัยให้บรรลุจุดหมายดังที่พึงประสงค์ให้ได้อย่างดีที่สุด ก็จะเป็นกระบวนการเรียนรู้และผลการวิจัยที่เราจะได้รับ เกิดขึ้นไปด้วยอยู่เสมอ

 ก  พลังของการวาดรูปและวิธีการทางศิลปะที่ยังรอการเชื่อมโยงกับการวิจัยชุมชนอีกหลายด้าน 

การวาดรูปและวิธีการทางศิลปะซึ่งโดยปรกติแล้วก็ช่วยเพิ่มความสามารถในการสื่อสารกันของมนุษย์ทั้งภายในตนเองและกับโลกภายนอก สร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างลึกซึ้งทั้งระดับปัจเจก ระดับชุมชน และระดับสังคม กระตุ้นการคิดใคร่ครวญตนเอง สร้างศัยภาพการคิดและเห็นเป็นภาพ พัฒนาวิธีคิดและวิธีมองโลกสรรพสิ่ง บันทึกเชิงสะท้อนสังคม สื่อแสดง และบอกเล่าปรากฏการณ์ต่างๆด้วยภาษาศิลปะซึ่งสื่อตรงสู่ทรรศนะและภาวะด้านในของมนุษย์ รวมทั้งลดความแตกต่างกันทางความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนลดช่องว่างทางสังคมวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา ได้เป็นอย่างดี เหล่านี้ ก็เป็นเทคนิควิธีหนึ่ง ที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้และประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการวิจัยในแนวนี้ได้เป็นอย่างดี

 ข  ความจำเป็นจากการแก้ปัญหาในการทำงานเป็นการริเริ่มพัฒนาการเรียนรู้ที่ดี 

ผมมีโอกาสไปร่วมเป็นทีมวิจัยของโครงการวิจัยเชิงนโยบายพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับสู่การบริการในระบบบริการสุขภาพชุมชน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง แห่งสาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้กับสำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ระดมเครือข่ายการวิจัยและมีเครือข่ายนักวิชาการช่วยกันทำทั้ง ๔ ภูมิภาคของประเทศ

การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และเขียนรายงานผลการวิจัยกรณีศึกษาในระดับพื้นที่ของจังหวัดที่เป็นกลุ่มตัวอย่างแต่ละภูมิภาคนั้น จะมีทีมของแต่ละภูมิภาคดำเนินการ แต่การสังเคราะห์และเขียนรายงานสรุปลงไปบนข้อมูลของแต่ละภาค ก็จะมีทีมวิจัยและนักวิชาการส่วนกลางอีกทีมหนึ่งซึ่งเป็นทีมสหวิทยาการ ช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนรายงานผล ผมร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยสังเคราะห์ข้อมูลในส่วนของภาคเหนือซึ่งมีพื้นที่ตัวอย่าง ๒ จังหวัดคือจังหวัดพิจิตรและเชียงใหม่

แต่การที่จะร่วมวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งร่วมเขียนในส่วนที่ทีมต้องการของโครงการวิจัยในลักษณะนี้ หากมุ่งทำงานบนรายงานวิจัยและเอกสารชั้นต้นที่พื้นที่ได้ทำออกมาชั้นหนึ่งแล้ว ก็จะไม่เพียงพอที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆและให้บทสรุปได้อย่างถูกต้อง ผมจึงต้องการได้สัมผัสพื้นที่ชุมชน ร่วมทำกิจกรรม และร่วมสังเกตการณ์ในขั้นตอนต่างๆด้วยวิธีการที่เหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดต่างๆให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ทำงานมาถึงขั้นตอนการเลือกทำกรณีศึกษา ทีมพื้นที่ได้เลือกชุมชนหมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกรณีศึกษาของตน การเตรียมการเบื้องต้นนั้น ทางชุมชนและทีมของจังหวัดได้ประสานงานกับ อสม. สถานีอนามัย และเครือข่ายผู้นำชุมชน เพื่อร่วมกันเดินดูกิจกรรมและผลการดำเนินงานทางด้านต่างๆ ของชุมชนและอสม.โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการได้รับเงินค่าป่วยการ ๖๐๐ บาทต่อเดือนของ อสม. จะใช้เวลา ๒ วัน ผม อาจารย์ ดร.ลือชัย ผู้ประสานงานของโครงการ และทีมจังหวัด ก็ได้รับการบอกกล่าวชวนเชิญให้ไปร่วมสังเกตการณ์

แต่เมื่อไปแล้ว ทางชุมชนและทั้งหมดของทีมก็ไม่รู้จะดำเนินการไปอย่างไร ต่างก็ให้ความสำคัญของกันและกัน จึงไม่มีฝ่ายใดที่จะสามารถบอกให้เจาะจงลงไปได้ว่าความเป็นพื้นที่กรณีศึกษาของชุมชนในครั้งนี้จะครอบคลุมไปถึงการศึกษาและเก็บข้อมูลใดบ้าง อีกทั้งจะเดินเรียนรู้ชุมชนและดูกิจกรรมต่างๆอย่างไร

 ค  บทเรียนจากประสบการณ์ การสะสมความรู้ และการโยนิโสมนสิการ  

ในฐานะที่ในที่สุดแล้ว ผมเองนั้นก็จะต้องเขียนและร่วมสังเคราะห์ข้อมูลให้กับพื้นที่ การมีวิธีได้ประสบการณ์เรียนรู้ชุมชนไปกับทีมพื้นที่ย่อมทำให้ผมเข้าถึงปรากฏการณ์ภายใต้ข้อมูลต่างๆและสามารถสังเคราะห์ผลวิจัยได้อย่างถูกต้อง หากไม่เข้าไปเกี่ยวข้องก็จะกระทบการทำหน้าที่ของผมในขั้นตอนท้ายๆอยู่ดี ดังนั้น จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหานี้เพื่อให้ได้ความเข้าใจความเป็นกรณีศึกษา ตอบโจทย์การวิจัยในครั้งนี้ให้ได้อย่างดีที่สุด แม้ผมและชุมชนจะมีเวลาเพียง ๒ วัน แต่ความพร้อมที่จะร่วมกันทำของชุมชนและทุกคนนั้นดีมาก ผมนึกถึงวิธีการหลายแบบที่คงจะต้องนำมาออกแบบกระบวนการและดำเนินการขึ้นอย่างผสมผสาน

นึกถึงวิธีทำ Rapid Rural Apprisal : RRA อย่างแนวของ ดร.บัณฑร อ่อนดำ และเครือข่ายคนทำงานชุมชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [๑] และเคยไปเห็นองค์กรเอกชนของ PRIA ประเทศอินเดียใช้ทำงานกับกลุ่มสตรีและกลุ่ม Poored-Powerless [๒] นึกถึงวิธีทำ Strengthening and Sustainable Development Monitoring and Evaluation for Community Co-operative Organization ซึ่งผมเคยลงไปเวิร์คช็อปและทำด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมแนว Community-Based Approach Research and Development กับชุมชนปลูกกล้วยไม้ข้างอ่าวรามอนแมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์ [๓]และเป็นผลงานตัวอย่างให้แก่เพื่อนนักวิจัยชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มนานาชาติจากหลายประเทศ นึกถึงแนวคิด People Research ของ ดร.เสรี พงษ์พิศ [๔] รวมทั้งวิธีทำวิจัยและปฏิบัติการเชิงสังคมแนวประชาคมซึ่งได้ทำมาตลอดกว่า ๑๐ ปีในหลายประเด็นและหลายบริบทของประเทศ ทำให้ผมตัดสินใจออกแบบกระบวนการสำหรับ ๒ วัน เพื่อทำงานด้วยกันอย่างที่ต้องการ ซึ่งแก้ปัญหาได้ดีพอสมควรและได้บทเรียนจากการแก้ปัญหานี้หลายอย่างที่ดีเป็นอย่างยิ่ง 

 ฆ  กระบวนการแบบผสมผสาน Integrated Multi-Methods เพื่อศึกษากรณีศึกษาของชุมชนร่วมกับทีมพื้นที่ 

การร่วมเรียนรู้กรณีศึกษาของชุมชนและเรียนรู้วิธีดำเนินการวิจัยมิติต่างๆของทีมพื้นที่ในครั้งนี้ ทำให้ผมได้ใช้ประสบการณ์แก้ปัญหา หาทางออก และได้บทเรียนที่ดีมากอย่างยิ่ง บันทึกนี้จึงเหมือนกับเป็นทั้งการบันทึกประสบการณ์และการรายงานบทเรียนภาคสนาม (Field-note and Field report) ซึงคงจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาร่วมกันให้เหมาะแก่การทำงานมากยิ่งๆขึ้นในบริบทของชุมชนและสังคมไทย กระบวนการทำกรณีศึกษาของชุมชนในครั้งนี้ดำเนินการอย่างผสมผสาน โดยใช้เวลา ๒ วัน ๑ คืนในชุมชน คือ

๑.  ฟังและเรียนรู้ชุมชนแบบเปิด ไร้กรอบ ไร้โครงสร้าง สนทนาเพื่อเปิดรับข้อมูลและเรียนรู้ชุมชนจากการเล่าและสนทนาอย่างไม่มีโครงสร้าง ไม่พยายามครอบงำโน้มน้าวให้เสียความมั่นใจในความเป็นตัวของตัวเอง ทั้งทีมวิจัย อสม. ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน ร่วมกันพูดคุยและสนทนาไปตามแต่เรื่องราวและบรรยากาศการพูดคุยจะดำเนินไป ไม่จำกัดการพุดคุยด้วยคำถามหรือกรอบแนวคิดใดๆ ที่จะปิดทับพัฒนาการอย่างเป็นธรรมชาติของกระบวนการทางสังคมที่มีบรรยากาศปรึกษาหารือและน้อมตนเรียนรู้กันและกัน

กระบวนการดังกล่าวนี้ เป็นวิธีการชุมชนเพื่อร่วมกับทีมพื้นที่ค้นหาประเด็นหลัก สำรวจขอบเขตการเรียนรู้ชุมชน และพัฒนาแนวพิจาณาระบบความเชื่อมโยงกันของสิ่งต่างๆในความรู้จากประสบการณ์ความเป็นสมาชิกและการมีส่วนร่วมในกิจการต่างๆของชุมชน รวมทั้งเห็นความมีประสบการณ์ของชุมชนและได้แง่มุมหลากหลายสำหรับเข้าสู่การเริ่มต้นเรียนรู้ชุมชน(Entry-Point) ให้ยืดหยุ่นและสะท้อนความเชื่อมโยงกับประเด็นการทำกรณีศึกษา ตามที่ชุมชนและทีมวิจัยจังหวัดต้องการต่อไป

๒. วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยทีมสหสาขา

  • ตอนเย็นหลังการทำงานกับชุมชนวันแรก ทีมวิจัยและผมก็ใช้ร้านอาหารกลางแจ้งในที่พักท่ามกลางท้องนาและขุนเขา นั่งทำงานผ่านการประชุม สนทนา แลกเปลี่ยนทรรศนะ อภิปราย ร่วมกันให้ข้อสังเกตและสร้างบทสรุปต่อกรณีต่างๆให้หลากหลายมากที่สุด
  • ผมขอประชุมกลุ่มย่อยต่อและขอเชิญผู้นำของชุมชนบางส่วนมาช่วยคุยเรื่องราวต่างๆที่เราเริ่มเห็นประเด็นและความเป็นระบบดีขึ้น
  • วางแผนและแบ่งงานในทีมอย่างง่ายๆพอให้เป็นแนวคิดเพื่อบริหารจัดการตนเองให้ยืดหยุ่น เราทำงานในขั้นตอนนี้จากประมาณ ๔ โมงเย็นจนถึงกว่า ๓ ทุ่ม

๓. พัฒนาเครื่องมือและวิธีเก็บข้อมูลอย่างมีโครงสร้าง โดยนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับรู้และได้ประสบการณ์ตรงจากชุมชน มาพิจารณาและดำเนินการเป็นลำดับ

  • รวบรวมข้อมูล ผมรวบรวมข้อมูลทั้งหมดขอไปทำงานต่อในที่พัก คิด ทำ แล้วก็ทิ้งหลายรอบ กว่าจะลงตัว มองเห็นภาพอย่างปลอดโปร่งว่าจะดำเนินการอย่างไรและจะได้อะไรออกมาบ้าง ก็ล่วงเข้าตี ๓ ของวันรุ่งขึ้น
  • วิเคราะห์ประเด็น พัฒนาโครงสร้างและระบบความเชื่อมโยงของเนื้อหาเรื่องราวมิติต่างๆ เพื่อสร้างแนวทฤษฎีขึ้นมาใช้ชั่วคราวจากประสบการณ์ของชุมชน เป็นแนวคิดสำหรับถักทอเรื่องราวต่างๆขึ้นมาตามระบบคิดอย่างที่ชุมชนรู้ สามารถอธิบายด้วยวิธีคิดและวิธีเข้าใจของตนเอง ซึ่งจะทำให้ทีมวิจัย อสม.และกลุ่มผู้นำชาวบ้าน สามารถคุย สนทนา ปรึกษาหารือ สะท้อนทรรศนะเชิงวิพากษ์ รวมทั้งเข้าถึงความลึกซึ้งต่อสิ่งต่างๆ ด้วยกันได้อย่างทั่วถึงทุกคน
  • พัฒนาประเด็นคำถาม และแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มประเด็นการศึกษา คือ (๑)  ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชน (๒) ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของชุมชน ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เครือข่ายผู้นำและองค์กรชุมชน ความสัมพันธ์กับสังคมภายนอก รวมทั้งประวัติศาสตร์ชุมชน ความผูกพันกับในหลวง ราชินี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (๓) ความเป็นนวัตกรรมจัดการสุขภาพชุมชนและวิถีเรียนรู้สร้างศักยภาพ อสม. ในบริบทของชุมชนที่เป็นผลสืบเนื่องกับการได้รับเงิน ๖๐๐ บาท ข้อมูลและการร่วมกันวิเคราะห์เกี่ยวกับความเข้มแข็งและความยั่งยืนของการจัดการการพัฒนาตนเองของชุมชน ประกอบด้วยกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมและความริเริ่มของชุมชน บริบทและเงื่อนไขแวดล้อมที่มีนัยสำคัญต่อปรากฏการณ์ต่างๆที่บังเกิดขึ้นในชุมชน ปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานต่างๆของ อสม. ชุมชน องค์กรท้องถิ่น และเครือข่ายผู้นำของชุมชน
  • เขียนประเด็นคำถามและวาดเป็นภาพ ๓ ชุด เพื่อจัดกระบวนการในวันที่ ๒ เป็นสองส่วนเช้า-บ่าย คือ ครึ่งวันแรก เป็นการนำเสนอข้อมูลและพัฒนาประเด็นการเก็บข้อมูลและการเลือกตัวอย่างเพื่อลงไปดูอีกรอบร่วมกับ อสม.และกลุ่มผู้นำชุมชน และครึ่งวันบ่ายก็ร่วมกันลงไปเดินสำรวจ เยี่ยมเยือนชุมชน และเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบวิธีคิดตามที่วางแผนไว้ โดยใช้ความเป็นกลุ่มและศักยภาพการเรียนรู้ในตัวเองของปัจเจก หรือทำตนเองให้เป็นเครื่องมือเรียนรู้อย่างมีความอิสระและสะท้อนความหมายต่อประเด็นเชิงสังคมต่างๆอย่างดีที่สุด

๔. จัดเวทีชุมชน ติดกระดาษวาดรูปและประเด็นคำถามบนผนัง จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ลดความเป็นทางการ ทีมวิจัยดำเนินการสนทนาอย่างเป็นธรรมชาติและร่วมบันทึกข้อมูลหลายวิธี ดำเนินการไปตามความถนัดและตามความต้องการของทีมจังหวัด รวมทั้งการวาดภาพพร้อมไปกับสนทนาและสื่อสารปฏิสัมพันธ์บนภาพวาดอย่างมีประเด็นเชิงโครงสร้างซึ่งดำเนินการโดยผมเองเพื่อสานการทำงานของทั้งหมดบนเวทีให้ไปด้วยกัน
๕. เก็บข้อมูลและสร้างความรู้ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมแบบเสริมพลัง

๖. สรุปและนำเสนอ สะท้อนสู่การเรียนรู้ชุมชน
๗.เข้าสู่ชุมชนและเดินเรียนรู้กรณีตัวอย่างที่เวทีได้ร่วมกันถอดบทเรียนตนเอง

 ง  วิธีดำเนินการ  

ผมพยายามบูรณาการแนวคิดและมิติต่างๆที่สำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการสังคม ซึ่งในเชิงทฤษฎีนั้น โดยทั่วไปแล้วก็จะต้องผสมผสานองค์ประกอบต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน คือ การวิเคราะห์สภาวการณ์และการระบุความจำเป็นที่เป็นประเด็นร่วมกันของชุมชนและโลกภายนอก การพัฒนากิจกรรมและมาตรการปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพและทักษะปฏิบัติเพื่อพึ่งตนเองในการแก้ปัญหาด้วยการเรียนรู้ การประเมินผล วิจัยและสรุปบทเรียน หรือสรุปเป็น ๓ หลักการพื้นฐานที่สำคัญ ๓ มิติ คือ (๑) มิติการวิจัย (Research Dimension) (๒) มิติการพัฒนาการศึกษาและสร้างศักยภาพการจัดการ (Education Scheme and Capacity Building) (๓) การแก้ปัญหาชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ชุมชนต้องการได้จริง (Problem Solving and Quality of Life Development) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จัดว่าเป็นวิธีวิทยาที่เคร่งครัดกันอย่างหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมแนวปฏิบัติการชุมชน ที่จะต้องพัฒนาวิธีบูรณาการหลักการพื้นฐาน ๓ ประการดังกล่าวลงไปในกระบวนการวิจัยให้ยืดหยุ่นกลมกลืนไปกับประเด็นปัญหาและบริบทของชุมชนเป้าหมาย

ผมนำเอาหลักการเหล่านี้มาออกแบบจัดกระบวนการเสียใหม่ โดยให้ครอบคลุมสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นและผสมผสานกลมกลืนอยู่ในกิจกรรมที่จะร่วมทำกับทีมจังหวัดและชุมชน ซึ่งในวันที่สองนี้ อาจารย์ ดร.ลือชัยจำเป็นต้องแยกออกไปที่จังหวัดยโสธรเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานให้แก่ทีมวิจัยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระบวนการที่ออกแบบนี้เป็นภาคขยาย ให้มีความละเอียดอ่อนและสนองตอบต่อประเด็นการพัฒนาเชิงสังคมของสังคมไทยในสภาวการณ์ปัจจุบันไปด้วย ประกอบด้วย

  • การสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์วิจัยอย่างมีส่วนร่วม
  • การวางแผนและดำเนินการกิจกรรมบนฐานความรู้และการบ่งชี้ของข้อมูล
  • การให้ชุมชนได้เรียนรู้ ร่วมกันสื่อสารความเป็นสาธารณะ และเสริมศักยภาพทั้งแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อนำกลับไปทำงานต่อไป
  • การปฏิบัติการชุมชนเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของปัจเจกและสร้างความเป็นกลุ่มก้อนของกลุ่มการจัดการชุมชน โดยร่วมกันเป็นทีมวิจัยและเรียนรู้ชุมชน สร้างประสบการณ์ตรงและปรึกษาหารือความเป็นส่วนรวมต่างๆไปด้วยกัน

 จ  การค้นหาประเด็นความสนใจเพื่อพัฒนาเครื่องมือวิจัยเรียนรู้ชุมชนเป็นกลุ่มปฏิบัติการชุมชนเรียนรู้  

กระบวนการดังกล่าวดำเนินการเป็น ๒ จังหวะคือ จัดเวทีชุมชนให้เป็นการทำงานกลุ่ม คลายรูปแบบออกจากการทำสนทนากลุ่ม (Focus Group) ให้เพิ่มมิติการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตรวจสอบข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูลผสมผสานกันไป จากนั้น ก็ได้เครื่องมือ แนวคิด การระบุกรณีตัวอย่าง พร้อมทั้งการวางแผนเพื่อเดินเข้าสู่ชุมชนด้วยกัน เยี่ยมเยือนชาวบ้าน เรียนรู้ ได้ขยายประสบการณ์ด้วยการได้เห็นของจริง และร่วมเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดต่างๆด้วยตนเองไปพร้อมกัน

 ฉ  นำเสนอตรวจสอบและวางแผนบริหารจัดการกลุ่มให้เป็นเครื่องมือและวิธีเรียนรู้เป็นกลุ่มประชาคม 

จัดห้องและเวทีประชุมให้มีบรรยากาศนั่งระดมความคิด สนทนา ปรึกษาหารือ ติดรูปวาดซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลจากวันแรก พร้อมกับตั้งประเด็นคำถามเพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนทนากันเพิ่มเติมอย่างมีโครงสร้าง ผมและทีมวิจัยร่วมกันนำการสนทนา พูดคุยพร้อมกับวาดรูป ต่อเติมรายละเอียด ตรวจสอบกับชุมชน

 ช  ข้อมูลพื้นฐานความเป็นชุมชนในแนวเครือข่ายดำเนินชีวิตและสร้างสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมชีวิต  

รูปวาดและแผ่นสรุปข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชน พร้อมกับการตั้งประเด็นคำถามเพื่อยกระดับการสนทนาและรวบรวมข้อมูลให้มีความเจาะจง รวมทั้งมีโครสร้างของเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นความเป็นนวัตกรรม ความริเริ่ม และการเรียนรู้ต่างๆที่เป็นผลสืบเนื่องจากการได้รับเงินค่าป่วยการ ๖๐๐ บาทของ อสม.

 ซ  ข้อมูลพัฒนาการสุขภาพภาคประชาชนและการสร้างสุขภาวะชุมชน 

ข้อมูลพัฒนาการทางด้านต่างๆของชุมชน วาดรูปและแผนภาพเรื่องราวให้เห็นระบบความเชื่อมโยงทางด้านต่างๆที่ได้จากประสบการณ์และการเล่าถ่ายทอดของชาวบ้าน  ทำให้ชาวบ้านได้ตกผลึกประสบการณ์ สื่อสารความเป็นสาธารณะและได้เรียนรู้ตนเอง พร้อมทั้งตรวจข้อมูลกันและกัน ได้ข้อมูลครอบคลุม ทั่วถึง และมีคุณภาพทางการวิจัยดีที่สุดภายใต้ข้อจำกัดที่มี

 ฌ  การวิเคราะห์ความเป็นนวัตกรรมการจัดการเชิงระบบอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน 

วิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์กิจกรรมและความเข้มแข็งที่โดดเด่นของชุมชนด้วยรูปวาดแผนภาพปรากฏการณ์วิทยา ซึ่งนอกจากทำให้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่ออธิบายกิจกรรมและสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยทรรศนะและข้อมูลประสบการณ์ของชุมชนได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็เป็นเครื่องมือและวิธีวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเห็นปัจจัยและแนวการพิจารณามิติต่างๆบนฐานความรู้และการยืนยันอย่างเป็นระบบด้วยประสบการณ์ของชุมชน

 ญ  มิติการวิจัย ปฏิบัติการ ประเมินผลและถอดบทเรียนแบบสร้างพลัง

ในขั้นตอนนี้ ทำให้สามารถรวบรวมผลดำเนินการกิจกรรมและการก่อเกิดสิ่งต่างๆที่สะท้อนความเป็นนวัตกรรมการจัดการสุขภาพและสาธารณสุขชุมชน ที่กลุ่ม อสม. หมออนามัย ทีมจังหวัด และกลุ่มผู้นำชุมชนได้ดำเนินการสะสมอยู่ในชุมชน อันได้แก่การระดมทุนและทรัพยากรเพื่อพัฒนาสวัสดิการ พัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาศักยภาพชุมชน (Community Health Development Resources Mobilization and Development Management) มาทำการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลและถอดบทเรียนทางด้านต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะสวัสดิการทั้งชุมชนสำหรับ อสม.เพื่อการทำงานในแนวจิตอาสาที่เข้มแข็ง ตลอดจนการเรียนรู้เพื่อดำเนินงานในแนวทางใหม่ๆเพื่อเข้าถึงและครอบคลุมสุขภาพภาคประชาชน ที่เป็นความริเริ่มของ อสม.และการรวมกลุ่มของประชาชน 

 ฎ  มิติการเรียนรู้ เสริมศักยภาพ การสร้างความสามัคคีและสร้างความเป็นพลเมืองภาคประชาชน 

ต่อกรณีนี้ กลุ่ม อสม.และชุมชนเอง ก็ได้ข้อมูลจากการถอดบทเรียนนวัตกรรมการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อนำไปวางแผนพัฒนาและนำไปสื่อสารเผยแพร่แก่สาธารณะได้ต่อไป อีกทั้งในแง่ความเป็นกระบวนการทางการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพ อสม. ชุมชน และภาคประชาชนนั้น ก็จัดว่าเป็น นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการวิจัยปฏิบัติการชุมชนในแนวประชาคม ทำให้ชุมชนปฏิบัติการแก้ปัญหาและเรียนรู้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม พอเพียงแก่กำลังตนเองทุกด้านที่พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุมชนกรณีศึกษาดังกล่าวนี้ ก่อเกิดขึ้นมาจากการอพยพย้ายถิ่นจากหลายแหล่งทั่วประเทศมาอยู่ร่วมกัน ทว่า กลับสามารถสร้างความเป็นชุมชนที่มีความรักความสามัคคี มีภาวะผู้นำเกิดขึ้นอย่างเป็นกลุ่มก้อนหลายรุ่นวัย เรียนรู้การรวมกลุ่มเพื่อจัดการตนเองในบริบทใหม่ๆได้อย่างเหมาะสม ระดมพลังกันสร้างสุขภาวะชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง จึงนับได้ว่าเป็นการบริหารจัดการประชากรศึกษาชุมชนเพื่อแก้ปัญหาประชากรย้ายถิ่นและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งในส่วนนี้ คงจะได้แก่ผมเองมากกว่าใคร โดยเฉพาะความเป็น Case Study จากสังคมไทยที่เป็น Community of Practice Integration and Multi-Disciplinary Research Team Approach ที่ผมอยู่ในฐานะร่วมเป็นทีมนักวิจัยและทีมผู้สังเกตการณ์ ที่ต้องพัฒนาตนเองเพื่อเดินเข้าไปสู่จุดยืนของชุมชนและกลุ่มผู้ปฏิบัติการในบริบทที่แตกต่างกัน ไม่มีมิติ Implementation Dimension ที่ดำเนินการขึ้นโดยตรงจากกระบวนการวิจัย และเพิ่มมิติความเป็น Learning Society มากกว่าด้านอื่น  

นอกจากนี้ เพื่อได้เห็นมิติที่เป็นปัจจัยเชิงระบบและความเชื่อมโยง ที่ทำให้สามารถเห็นสิ่งที่ อสม.และชุมชนได้ริเริ่มสร้างสรรค์ ตลอดจนดำเนินการได้ในปัจจุบันว่าเป็นการต่อยอดประสบการณ์และทุนทางสังคมที่มีอยู่ของชุมชน อีกทั้งบ่งชี้ความเข้มแข็งและความยั่งยืนในการพัฒนาสุขภาวะพอเพียงของชุมชนได้อย่างชัดเจนมากยิ่งๆขึ้น ผมจึงได้แนะนำให้ทีมของจังหวัดและกลุ่ม อสม. เชิญอดีตกำนันคนแรกของชุมชน พ่อหลวง และบุคคลอ้างอิงที่ชุมชนมักกล่าวถึงว่าเป็นผู้ที่นำชาวบ้านที่เคยอ่านถวายรายงานเกี่ยวกับชุมชน เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินชุมชนเมื่อปี ๒๕๑๑ และพระราชทานพระราชดำริต่างๆที่ส่งผลให้ชุมชนได้ก่อเกิดหมู่บ้านสหกรณ์และริเริ่มสิ่งต่างๆได้ในลำดับต่อมาอีกหลายอย่าง ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้สูงอายุ แต่ยังมีสุขภาพแข็งแรง มีความทรงจำ และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆได้เป็นอย่างดี มาร่วมพูดคุยและให้ข้อมูลทุกมิติที่ต้องการ ซึ่งทำให้กลุ่มผู้นำชุมชนได้เรียนรู้ตนเองไปด้วยอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งในขั้นตอนนี้ ผมได้ขอให้ทีมจังหวัดบันทึกวิดีโอการสนทนาของแต่ละคนไปด้วย

 ฏ  มิติศิลปะการวาดรูปเพื่อสะท้อนผลการวิเคราะห์ สื่อการเรียนรู้ และบันทึกข้อมูลอย่างผสมผสาน 

การวาดรูปและศิลปะการทำสื่อในสถานการณ์ของการวิจัยที่ผสมผสานปฏิบัติการชุมชนในลักษณะดังกล่าวนี้ มีลักษณะที่สำคัญคือ

  • ลักษณะทางเทคนิคการวาด : เขียนความคิดออกมาเป็นภาพ ใช้ภาพลดทอน ลายเส้น สัญลักษณ์ ข้อความย่อ
  • อารมณ์ภาพและการสื่อแสดงความหมาย : จะอยู่ในวิธีวาดภาพที่เรียบง่าย การแสดงลำดับ การมุ่งแสดงความต่อเนื่องของระบบคิด ตลอดจนมิติความเชื่อมโยงกันขององค์ประกอบต่างๆ ผ่านภาษาการจัดวาง Form and Space ขนาด ความกลมกลืน และเส้นนำสายตา ซึ่งจะช่วยให้เกิดจินตภาพ ความเป็นกลุ่มก้อน และความเป็นสัดส่วน ในระดับการมองเห็นด้วยความคิด
  • Gesture Drawing และ Conture Drawing : ผมยังไม่สามารถหาบทสรุปและบันทึกสิ่งนี้ไว้ได้ถูก ทว่า ขอบันทึกรวบรวมและทำเป็นหมายเหตุเชิงประสบการณ์ไว้ก่อน แง่มุมดังกล่าวนี้ ผู้ที่ทำงานศิลปะและฝึกวาดภาพเชิงสื่อสะท้อนตนเองกับการรับรู้โลกรอบข้างผ่านการเห็นและรู้สึก จะรู้จักในแนวทำงานที่เรียกว่า การวาดเพื่อแสดงเพียงลีลาการเคลื่อนไหว ซึ่งจะต้องมีความคิดที่เป็นหนึ่งอยู่กับความเคลื่อนไหวและสะท้อนภาวะดังกล่าวนั้นออกมาอย่างฉับพลัน มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ มุ่งเน้นการเคลื่อนไหวภายนอกก็เป็น Gesture Drawing  ซึ่งจะมองความเคลื่อนไหวและสรุปเป็นแพทเทิร์น วาดออกมาเป็นภาพรวมของสิ่งนั้นเร็วๆ อีกลักษณะหนึ่งก็เป็นการมุ่งเน้นการเคลื่อนไหวภายใน เรียกว่า Conture Drawing  ซึ่งใช้ตามองสิ่งที่เห็นและใช้มือวาดภาพอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องมองมือและรูปที่วาด แต่ใช้ความรู้สึกจากมือจิตนาการไปตามความเคลื่อนไหว กระบวนการดังกล่าวนี้ต้องทำได้บนเวที ซึ่งถ้าหากเป็นการร่ายรำและการเล่นดนตรี ก็คงเปรียบได้กับการด้นสดในงาน Improvise สะท้อนความสดแบบดนตรี Jazz ซึ่งจะทำให้สามารถบันทึกสิ่งที่ไม่สามารถบอกเล่าได้ด้วยภาษาที่เป็นทางการ เช่น ได้ความต่อเนื่อง ความเลื่อนไหล ความรวดเร็ว ฉับพลับ ความหนาแน่น ความสบาย ของความเป็นห้วงเวลานั้นๆ  สิ่งเหล่านี้จะสามารถสื่อภาษาจิตใจและความรู้สึกได้
  • เทคนิคและวิธีการที่กลมกลืนกับเงื่อนไขชุมชน : ใช้ความมีสีสัน ๒-๓ สี และการเน้นทึบ หนา-บาง มาช่วยจำแนกความแตกต่างและสร้างความสวยงามทางศิลปะ ในการเลือกสีและกำหนดจำนวนสีนั้น โดยทั่วไปแล้ว คนทั่วไปอาจจะเลือกสีหลายๆสีไว้ก่อน ทว่า คนทำงานศิลปะจะใช้แนวคิดเรื่องความเป็นกลุ่มสีแสดงอารมณ์ในชุดเดียวกัน หรือ Colour Scheme เป็นแนวการเลือก โดยจะมีจำนวนสีสันมากน้อยเพียงใดก็แล้วแต่ทรัพยากรและเงื่อนไขต่างๆที่มีในสถานการณ์นั้นๆ เทียบกับการเล่นดนตรีก็ได้แก่การเลือกประดิษฐ์ท่วงทำนอง สร้างเมโลดี้ จากกลุ่มตัวโน๊ตและคอร์ดที่อยู่ในคีย์เดียวกันและอ็อคเตฟเดียวกัน นั่นเอง
  • วิทยาศาสตร์การเห็นและจิตวิทยาการเรียนรู้ : หากมีความรู้พื้นฐานทางด้านนิเทศศิลป์และเทคโนโลยีการศึกษา มาช่วยเป็นแนวคิดด้วยก็จะทำให้มีหลักการนำเอาศิลปะกับการเคลื่อนกระบวนการวิจัยชุมชนที่เสริมกระบวนการเรียนรู้ชุมชนในลักษณะนี้ไปด้วย ได้เป็นอย่างดี เช่น ขนาดของตัวอักษรและการเลือกใช้สี ให้สอดคล้องกับสภาพความสว่างและขนาดของกลุ่มคน ที่ช่วยการเห็นได้อย่างชัดเจนและทั่วถึง การเขียนตัวอักษรสีดำบนพื้นขาว ขนาดความสูง ๑ นิ้ว จะสามารถเห็นและอ่านได้อย่างสะดวกในสภาพแสงสว่างปรกติในอาคาร ในระยะ ๓๕ ฟุต ดังนี้เป็นต้น
  • ส่งเสริมการพูดคุยและการปฏิสัมพันธ์กันของกลุ่มชาวบ้าน : เป็นการดึงเอาบทบาทของศิลปะและสื่อการเรียนรู้ มาจัดวางกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันเชิงแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรึกษาหารือกันของกลุ่มคน ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์เฉพาะหน้า ความยืดหยุ่นต่อการร่วมกันคิดและแสดงออก ความใกล้ชิดกับประสบการณ์ของชุมชนและคนในพื้นที่

การวาดรูปและใช้เป็นเครื่องมือในลักษณะดังกล่าว มีความจำเป็นมากที่จะต้องพัฒนาทักษะการฟัง ทำงานความคิด วิเคราะห์ สรุป ประมวลผลข้อมูล สร้างข้อสรุปและคิดให้เป็นภาพเพื่อบันทึกและวาดรูป ขณะเดียวกัน ก็ต้องสามารถแยกแยะการรับรู้และทำบทบาทอย่างอื่นคู่ขนานพร้อมกันไปด้วย โดยเฉพาะใช้ข้อสรุปในช่วงจังหวะต่างๆตั้งคำถามหรือให้หัวข้อการสนทนา สะท้อนกลับไปสู่เวที เพื่อดำเนินการสนทนาให้ลื่นไหล มีความเป็นธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นการเรียนรู้ได้มากที่สุดภายใต้กรอบจำกัดที่มี ไปด้วย

ด้วยกระบวนการดังกล่าว ก็ทำให้ทุกคนต่างร่วมมือกันสร้างประสบการณ์ในการเห็น Social Reality ต่างๆด้วยตนเอง ค้นพบ ได้คำตอบเพ

หมายเลขบันทึก: 395459เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตามมาเรียนรู้แบบไม่ต้องเดินทางค่ะ

หวัดระบาดอีกแล้ว รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

สวัสดีครับคุณณัฐรดา ขอบคุณครับ กลัวจังเลยละครับหวัดเนี่ย เป็นทีไรก็อ่วมและทรุดไปเลยทุกที ตอนไปเก็บข้อมูลในหมู่บ้านนั้น ก็มีบ้านชาวบ้านหลายเลยละครับที่เขาชอบปลูกกล้วยไม้ไว้ตามต้นไม้ของบ้าน หน้านี้ของทางเหนือ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความงอกงาม ร่มรื่น ดอกไม้สวย ต้นไม้ป่าไม้เขียวครึ้ม

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.วิรัตน์

  • การตีโจทย์การทำงานให้ได้เป็นประเด็นสำคัญในการออกแบบกระบวนการหรือรูปแบบในการทำงานแต่ละชิ้น ถ้าตีโจทย์แตกเงื่อนไขต่างๆ เราก็จะสามารถคลี่คลายไปได้ทีละเปลาะทีละเปลาะ .. คิดถึงวิชา Instructional Design ชะมัดคะอาจารย์ ..
  • การเรียนรู้จากหน้างาน การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าให้สอดคล้องกับบริบททุกมิติที่อาจปรับเปลี่ยนได้ตลอด ..
  • ฯลฯ
  • อีกสารพัดที่อาจารย์พาเรียนรู้ ยิ่งใน ๓-๔ เวทีหลังๆ มานี่ทำให้เกิดคลิ๊กอะไรบางอย่าง ถุงทรายหนักๆ ที่ถ่วงขามาตลอดค่อยๆ ถูกปลดไปทีละถุง ทีละถุง แต่คงยังเหลืออีกหลายถุงที่จะต้องค่อยๆ ปลดไปคะ
  • ขอบพระคุณที่พาเรียนรู้คะ ..

สวัสดีครับอาจารย์ณัฐพัชร์ครับ

Instructional Design กับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะไม่เหมือนกันอยู่ตลอดเวลานั้น จะว่าไปแล้ว ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ความต้องสามารถทำงานที่ยืดหยุ่นได้มากกว่าเทคนิคและกรอบอย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้ากับผู้คนที่แตกต่างหลากหลายกันไม่ได้ โดยเฉพาะชาวบ้าน โดยที่หลักคิดและมิติการปฏิบัติที่มีนัยต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องการ ยังคงมีอยู่ การเข้าใจเหตุผลและวิธีคิดภายใต้แนวคิดและทฤษฎีที่หลากหลาย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ผสมผสานการทำงานกันหลายสาขา บทเรียนจากภาคปฏิบัติจากสังคม พวกนี้ เป็นประโยชน์ต่อการทำงานได้มากจริงๆครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์

สวัสดีครับอาจารย์ณัฐพัชร์ครับ

  • เป็นบันทึกที่เขียน หลังจากไปทำงานเก็บข้อมูลถอดบทเรียนสุขศึกษาชุมชนเพื่อรณรงค์การเลิกบุหรี่และควบคุมการบริโภคยาสูบที่ภาคใต้ ผสมกับการไปบรรยายหัวข้อนี้ให้กับนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อ ๒-๓ ปีมาแล้วเห็นจะได้ครับ
  • นานๆกลับไปอ่านเมื่อเกือบลืม ก็เหมือนได้กลายเป็นผู้อ่าน อ่านงานของคนอื่นไปเลยละครับ เพลินดี และได้ทบทวนประสบการณ์ตนเองไปด้วย ดีเหมือนกันครับ
  • ขอบคุณอาจารย์ณัฐพัชร์ครับพ๊ม

สวัสดีค่ะ

แวะมาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ

^__^

  • สวัสดีครับคุณต้นเฟิร์นครับ
  • ขอบคุณที่มาเยือนและทักทายกันครับ
  • หวังว่าคงได้ไอเดียและแนวคิดดีกลับไปใช้ทำงานนะครับ

สวัสดียามเช้าค่ะพี่อาจารย์...วันนี้มีความรู้สึกชื่นชมอยากบอกเล่ากันในนี้ว่ามีน้องๆและบรรดาเหล่ายอดฝีมือทางศิลปะ..ใช้เฟสบุ๊คเป็นช่องทางในการนำเสนอผลงานศิลปะเป็นจำนวนมากและผลงานดีๆทั้งนั้นเข้าไปเยี่ยมชมแล้วชื่นใจจัง..พลังของศิลปะงดงามเสมอ ที่ทึ่งที่สุดเป็นอาจารย์Saroj Tangที่ท่านมีความรักในศิลปะเป็นอย่างมากนำลิ้งค์สาธิตการปาดเกรยองของอาจารย์Saroj Tangมาให้ไปเยี่ยมชมด้วยนะคะ..

http://www.facebook.com/?ref=home#!/profile.php?id=100001190107733

  • มือกระบี่ทางศิลปะทั้งนั้นเลยนะครับ มิน่า  สงสัยอยู่นะครับว่าหายหน้าหายตากันไปไหน โดยเฉพาะจากบล๊อกโอเคเนชั่นและเว็บเพาะช่าง หลบไปเสวนากันใน facebook นี่เอง
  • ฝีมือสีน้ำก็ดีมากเลยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท