พระสุธนคำฉันท์ (คุณค่าด้านวรรณศิลป์)


พระสุธนคำฉันท์ของพระยาอิศรานุภาพ (อ้น)

.คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์

                ๒.๑ ลักษณะคำประพันธ์

                พระสุธนคำฉันท์  เป็นวรรณคดีที่มีความโดดเด่นในเรื่องลักษณะคำประพันธ์  มีการใช้ฉันทลักษณ์ที่หลากหลาย  ทั้งกาพย์และฉันท์  ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์เรื่องพระสุธนคำฉันท์นี้  พบว่ามีการใช้ฉันทลักษณ์ชนิด  กาพย์และฉันท์อยู่เป็นจำนวนมาก  ดังนี้คือ

                                ๑.  กาพย์ฉบัง  ๑๖

                                ๒. กาพย์สุรางคนางค์  ๒๘

                                ๓. อินทรวิเชียรฉันท์  ๑๑

                                ๔. วสันตดิลกฉันท์  ๑๔

                                ๕. โตฏกฉันท์  ๑๒

                  .๒ ด้านการใช้ภาษา

                .๒.๑ การใช้คำ

การเลือกใช้คำ กวีเลือกใช้คำง่ายๆ มาประกอบกันเพื่อแสดงให้เห็นความงดงามอ่อนโยนของตัวละคร เช่น พระทรงโฉมประโลมพิสมัย และใช้ภาษาที่มีความเหมาะสม ทำให้กระบวนกลอนไพเราะสละสลวย        

๑) การเล่นคำ เป็นกลวิธีที่ให้ความไพเราะด้านเสียงอีกวิธีหนึ่ง ช่วยทั้งด้านเสียงและเรื่องความหมายให้ไพเราะจับยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

                ยงยวรเยาวโยคย่ำยาม                       บมิชามศุขซาม

เกษมกระสรรตสมพอง

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๕๓)

               จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการเล่นคำที่มีเสียง ย คือ “ยงยวรเยาวโยคย่ำยาม” ซึ่งทำให้เกิดเสียงที่มีความไพเราะมากขึ้น

(๑)     เล่นคำซ้ำ การใช้คำซ้ำกันในตำแหน่งต่างๆของคำประพันธ์ ช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึกและเน้นย้ำความหมาย ตัวอย่างบทประพันธ์เช่น

               แคว้งแคว้งคระวีตาว                           ก็กระลึงกระหลับอา- 

วุธหวะกระบานบา                                              ก็พินาศเมือมรณ์ 

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๒๑)

                                จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่การซ้ำคำข้างต้นเป็นการซ้ำคำเพื่อเน้นย้ำความหมาย

 

(๒) เล่นคำซ้อน เป็นการนำคำเดี่ยว ๒ คำที่มีความหมายหรือเสียงคล้ายกัน ใกล้เคียงกันมาเข้าคู่กัน โดยตำแหน่งของคำซ้อนอาจอยู่ชิดกันหรือแยกจากกัน เพื่อเล่นคำล้อและย้ำความ เช่น

                กล่นเกลื่อนกลากกลาดรุมชุม           อาวุธกรกุม 

ก็ป่ายปะปาดเร็งรัน

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๘๓)

 

๓) การหลากคำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำไวพจน์ ทำให้เกิดความหมายอันไพเราะกินใจ เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์อารมณ์ซึ่งอาจเกิดได้ด้วยกลวิธีต่างๆในการแต่งของกวี

- คำที่เรียกหญิงที่รัก ดังตัวอย่างบทประพันธ์ต่อไปนี้

             เจ็ดองค์อรรคเทพกินร                        เฉิดโฉมอรชร

พิลาศลักษณ์พึงพล

            เพียงจักกลืนโฉมนฤมล                     ดินฟ้าสากล

จะอ้างก็อับอายองค์            

       ข้าเห็นแดดาลฤดี                                 ในลักษณเทพี

ยุพินทรพิลาศลาวรรณ      

         ข้อยใคร่ได้อรองค์อัน                          กามทิพเฉลิมขวัญ

สวาสดิ์สว่างหัวใจ

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๒๗)

               จากบทประพันธ์จะเห็นได้ว่ากวีมีการใช้ไวพจน์ เช่น อรชร นฤมล เทพี ยุพินทร ลาวรรณ เฉลิมขวัญ ซึ่งมีความหมายถึงผู้หญิง ทำให้ได้เสียงที่มีความไพเราะและได้ความหมายที่เด่นชัดมากขึ้น

- คำที่มีความหมายถึงพระจันทร์ เช่น ดังตัวอย่างบทประพันธ์ต่อไปนี้

                เมิลมุขไขแข่ง                                       รุจิเรขเดือนวรรณ

แจ่มจันทรอับพรรณ                                           ศศิรัชนิเรืองรอง

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๔๕)

                จากบทประพันธ์จะเห็นได้ว่ากวีมีการใช้ไวพจน์ เช่น ไข เดือน จันทร ศศิ รัชนิ ซึ่งมีความหมายถึงพระจันทร์ ทำให้ได้เสียงที่มีความไพเราะและได้ความหมายที่เด่นชัดมากขึ้น                         

 

                ๒.๒.๒ การใช้โวหารภาพพจน์

การใช้โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน

(๑) อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มี ความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า “เหมือน” เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ ตัวอย่าง เช่น                                                                                                                   

               อับแสงสุริยรังรจนา                           ดุจมือแมนมา

พิจิตรด้วยแก้วแกมกล       

                                                 (พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๖)

และ

              เสมอจันทราทิตยงามเงา                    ดุจดวงมณีเนา                     

วรัตนเรืองรองทอง

 (พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๔๒)

และ

               ปรางเปรียบกำโบลบง-                      กชรัตนรจนา                       

นาสิกคือขอพา                                                     หณเทพดำกล

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๔๕)

                                                                                                                                               

 (๒) อุปลักษณ์  เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัย ให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา ตัวอย่าง เช่น

              พริ้งพลายเหมหงษพิสดาร                    คือเห็จเหิรทยาน

ยะยาบยย้ายยักยนต์            

            สูงส่งฟ้าหล้าสากล                              ไตรโลกเล็งฉงน

ดั่งสับตแสงแสงพ้น

            กรงนาคมกรเกี้ยวกัน                          คือเศียรอนัน-

ตนาคดูดาลแสดง

            ครีบครุฑชำนันนิศกลง                      ฟ้าหล้าลาญหลง

คือภาพกระพือโดยถวิล

            เรียงรอบฟ้าหล้าเหมือนหมาย          คือศศิสุริยฉาย                                                      

จำรูญจำรัสนิจกาล              

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๗)

 

 (๓) อติพจน์ หรือ อธิพจน์  คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน ตัวอย่าง เช่น

             เสียงรถคชพลนิกร              แซ่เสียงอัศดร

ดุรงคร้องเริงรณ

           ไหวหวั่นชั้นฟ้าสากล           มลเมฆบังบน

แลบดชระอุ่มทุกพาย

          ดุจดังปัถพีจะทลาย              คลี่พลคือสาย

สมุทแสนสังขยา

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๘๒)

                จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการกล่าวเกินจริงคือ การกล่าวว่าเสียงรถและไพร่พลของพระสุธนที่จะไปรบมีเสียงดังจนทำให้สวรรค์ชั้นฟ้า ผืนแผ่นดิน มหาสมุทรหวั่นไหวจะทลาย แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของกองทัพ

 

(๔) สัจพจน์ หมายถึงภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ ตัวอย่างเช่น

            หัวหน้าต่อหน้าปรือปรัน                                   ฉาดฉานโจมฟัน

จระคลื่นจรคล่าวโรมรุม

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๘๓)

                จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้คำเลียนเสียงการต่อสู้ ทำให้ผู้อ่านเกิดภาพการต่อสู้ที่เด่นชัดมากยิ่งขึ้น

 

                ๒.๓  รสวรรณคดี

                ๒.๓.๑  รสทางวรรณคดีไทย
                          เสาวรจนี  (บทชมโฉม)
คือการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่งอาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์หรือสัตว์ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง  ดังตัวบทที่ว่า
                                        ทรงนามโดยอัศจรรยปรา                   กฎเกรียดิสมญา
                                สุธนพระยศฦๅไกร
                                   แง่งามบันเจิดพึงใจ                             ทรงลักษณวิไลย
                                วิลาศล้ำสากล
                                   กล้องแกล้งเกลากามนฤมล                   ไตรโลกยแยงยล
                                ก็ดาลระลุงเสียวสันต์
                                  เสียวทราบฤดีแดยรร                           คือทิพยทุกอัน
                                มาแปลงเปนองค์เอาใจ


                                   พรายพรายสิหาศน์มลังเมลือง               แก้วเก้ากนกเนือง
                                พิสุทธแสงอาภา
                                    อับแสงสุริยรังรจนา                            ดุจมือแมนมา
                                พิจิตรด้วยแก้วแกมกล
                                   เจ็ดชั้นบันเจิดหาวหน                        เพรียมพรายอำพล
                                โพยมพยับยับแยง
                                    บานปัทมกระหลับแคลงแคลง         รายรัตนเรืองแสง
                                วิโรจโชติชัชวาล

                                 ยลลักษณวิไลยลาญทรวง                   ภักตร์เพ็ญเดือนดวง
                               อันจำรูญจำรัสอาภา                            
                
กล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก  ดังตัวบทที่ว่า
                                นางกรรแสงสั่งเจียรจร                       บมิวายอาวรณ์
                ก็ไหว้พระบาทปัศวี
                                ผิวพระห้ามท้าวจรลี                            บมิฟังใยดี
                จะตามทุเรศแรมไพร
                                ด้วยความรักษ์ข้าอาไลย                      ไป่ละวางใจ
                จะตายบคิดอาตมา


                                อกแม่แต่นี้จะระกำ                              คำเข้าบเปนคำ
                จะกินน้ำตาต่างงาย
                                ทรงโศกกรรแสงไป่วาย                     ชลเนตรฟูมฟาย
                ก็ร่ำพิลาปอาดูร

                                เสาวนีตรัสเรียกภูธร                           โอ้พ่อมารอน
                ชีพิตรแม่กลใด                                                    
                                กลับมาเพื่อนแม่สายใจ                       จะเอื้ออาไลย
                แก่แม่จะเจ็บใจตาย
                                อกแม่ยังอยู่แต่กาย                               หัวใจแม่หาย
                ฤๅพ่อบเห็นจักหนี


                   .๓.๒  รสทางวรรณคดีสันสกฤต
                           
ศฤงคารรส
 (รสแห่งความรัก) เป็นการพรรณนาความรักระหว่างหนุ่มสาวระหว่างสามี ภรรยา ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย บิดามารดากับบุตร ญาติกับญาติ ฯลฯ สามารถทำให้ผู้อ่าน พอใจรัก เห็นคุณค่าของความรักนึกอยากรักกับเขาบ้าง  ดังตัวบทที่ว่า
                                      เห็นแต่ภูษาธำมรงค์                            บมิเห็นอรองค์
                                อนาถจะขาดใจตาย
                                      พระทรงกรรแสงบมิวาย                      ชลเนตรนองฟาย
                                บเปนจะเปนสมประดี
                                      กราบกับบาทาปัศวี                              ข้าคิดบมี
                                จะหวังชีวิตเปนตน
                                         แม้ไป่พบองค์นฤมล                           จักสู้วายชนม์
                                บเมือสิมาใยดี
      

                           หาสยรส  (รสแห่งความขบขัน) เป็นการพรรณนาที่ทำให้เกิดความร่าเริง สดชื่น เสนาะ ขบขัน อาจทำให้ผู้อ่าน ผู้ดูยิ้มกับหนังสือ ยิ้มกับภาพที่เห็น ถึงกับลืมทุกข์ดับกลุ้มไปชั่วขณะ  ดังตัวบทที่ว่า
                                         กึกก้องฆ้องขานกลองไชย             ครื้นเครงหวั่นไหว
                                สทกเสทือนฦๅงม                                                
                                        ชายหญิงบันเทิงทุกกรม                หฤๅหรรษาสม
                                สรนุกจำเนียรนิจกาล


                          วีรรส  (รสแห่งความกล้าหาญ) บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่าน ผู้ดู ผู้ฟังพอใจผลงานและหน้าที่ ไม่ดูหมิ่นงาน อยากเป็นใหญ่ อยากร่ำรวย อยากมีชื่อเสียง  ดังตัวบทที่ว่า
                              ล่วงบ่อนแล้วนั้น        ถึงเวฬุวัน              อันชัดจำงาย
              บุกป่าฝ่าหนาม                        ปิ้มปางตัวตาย       บคิดจักวาย
              ชีวิตธรมาน                      
กูนี้ตัวหาญ           ผู้เดียวกูผลาน      

                         กรุณารส (รสแห่งความเมตตากรุณาที่เกิดภายหลังความเศร้าโศก) เป็นบทพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่านหดหู่เหี่ยวแห้ง เกิดความเห็นใจถึงกับน้ำตาไหล พลอยเป็นทุกข์ เอาใจช่วยตัวละคร ดังตัวบทที่ว่า
                                                                            
                                        ดาบสฟังสารโศกี                           ดาลแลปรานี
                                อาไลยลห้อยอาวร
                                                ผิวท้าวบมิคืนนคร               สารสั่งกินร
                                กำชับแก่กูยังมี
                                                แล้วเอาอักษรวาที                อันเทพนารี
                                จารึกไว้ให้ภูธร


                                                ราษฎร์ร้อนร้อนเร่า             ทุกย่านทุกเย่า
                                คือไฟไฟฟอน                                      ภาอพยบ
                                ประลาศลาศจร                                     มายังอุดร
                                ปัญจาปาจิณ
                                                ทุกข์บ่อนบ่อนเบา               บมีคนเข้า
                                คนออกทุกทิน                                      เทครัวพ่ายแพ้
                                มาโพ้นหากิน                                       เพื่อพืชนแผ่นดิน
                                อดักอดล               

                           ภยานกรส
 (รสแห่งความกลัว ตื่นเต้นตกใจ) บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่านผู้ฟัง ผู้ดู มองเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยในบาปกรรมทุจริต เกิดความสะดุ้ง กลัวโรคภัยสัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจ บางครั้งต้องหยุดอ่าน รู้สึกขนลุกซู่ อ่านเรื่อง ผีต่างๆ
                                             เข้าในพนาเวศ                  หิมวันตคิรีย์
                                เซียบเสียงฉนีผี                              สุรกายปิสาจยง
                                            ผีภูตระมายา                     บรางควานโขมดดง
                                กู่ก้องพนมพง                               หิมพานตะพาลคะนอง
                           
รุทรรส/เราทรรส  (รสแห่งความโกรธเคือง) บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้ดูผู้อ่านขัดใจฉุนเฉียว ขัดเคืองบุคคลบางคนในเรื่อง บางทีถึงกับขว้างหนังสือทิ้ง หรือฉีกตอนนั้นก็มี  ดังตัวบทที่ว่า

                            
              คิดเคียดคำนึงประทุษฐจอง             อนุเวรปรารมภ์                        
     ปรารภรำพึงหฤทยทม                                 มนัศน้อยมโนถวิล ฯ

อ้าพระมงกุฎเกษ                                 วรเดชเคยครอง                                     
จากไปแลใครปอง                                               ผิจะปกจะป้องสงวน                                          
ทิ้งข้าพระเดียวดาย                                              นิรราษรัญจวญ                        
  สันโดษฟฟายอวน                                            แลอนาถบเห็นใคร


อ้างอิง

อิศรานุภาพ, พระยา. (๒๕๑๖). พระสุธนคำฉันท์. กรุงเทพฯ : ศึกษาภัณฑ์

                พาณิชย์.

หมายเลขบันทึก: 395447เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไม่เห็นจะเข้าใจเลย

ขอบคุณพี่ไก่มากค่ะที่ตั้งบล๊อกนี้ขึ้นมาเป็นประโยชน์แก่น้องๆมากกกกกกกกก

ขอบคุณมากนะคะ ต้องทำรายงานส่งอาจารย์พอดีเลย แต่ว่า อยากได้ ประวัติพระยาอิศรานุภาพ (อ้น) และก็ เรื่องเกี่ยวกับ สุธนูคำฉันท์ด้วยค่ะ หายากมาก หากruพอจะมีข้อมูลช่วยลงไว้ด้วยนะคะ   ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท