พระสุธนคำฉันท์ (คุณค่าด้านเนื้อหา)


พระสุธนคำฉันท์ของพระยาอิศรานุภาพ ( อ้น )

. คุณค่าทางด้านเนื้อหา

.๑  แนวคิด/แก่นเรื่อง

                เรื่องพระสุธนคำฉันท์  มีเนื้อเรื่องที่เหมือนกับสุธนชาดกในปัญญาสชาดก  และสุธนชาดกหรือมโนห์ราสำนวนอื่น ๆ ที่มีอยู่  ดังนั้นแล้วด้านแนวคิดหรือแก่นเรื่องจึงเหมือนกับในสุธนชาดก  กล่าวคือ  แนวคิดของเรื่อง  คือ  การที่พระสงฆ์รูปหนึ่งบิณฑบาตรอยู่ ได้พบสตรีสาวสวยนางหนึ่งเกิดปฏิพัทธ์ พอกลับจากบิณฑบาตร ก็วางบาตรไว้นั่งก้มหน้าเสียใจ พระสหายเห็นจึงถามแล้วจึงพาไปเฝ้าพระศาสดา พอพระองค์ตรัสว่า ทำไมจึงได้ทำอย่างนี้ ทั้งที่ก็บวชด้วยศรัทธา ละสมบัติมาบวชในพระศาสดา ยังหวนคืนถึงเรื่องสตรีได้ และตรัสถึงเรื่องสตรีว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ดังเรื่องอดีตที่แม้บัณฑิตในครั้งก่อน เพราะสตรีจึงได้ละทิ้งบิดามารดาราชสมบัติ แม้ชีวิตตนเองก็มิได้คำนึง จนประสบทุกข์มากมาย พระองค์จึงทรงนำอดีตนิทานเรื่องพระสุธนเล่าให้กับภิกษุรูปนี้ฟัง

 

.๒ ตัวละคร

                ในเรื่องพระสุธนคำฉันท์มีตัวละครปรากฏในเรื่องอยู่หลายตัวด้วยกัน เช่น พระสุธน นางมโนราห์ พรานบุณฑริก ท้าวอาทิตยวงษ์ นางจันทร ท้าวทุมวงษ์ ฤาษีกัสป ท้าวชมภูจิตร ปุโรหิต เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงเฉพาะตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในเรื่อง ดังนี้

 

                ๑.๒.๑ พระสุธน

พระสุธน เป็นพระโอรสของท้าวอาทิตยวงษ์ กับนางจันทรเทวี ครองนครอุดรปัญจา มีลักษณะเป็นหนุ่มรูปงาม เห็นได้จากคำกล่าวของพรานบุณฑริกที่ว่า

 

                 ควรเปนเกษกามกำนัน                       นรินทรเทพธรธรรม์ 

สุธนดิลกจุธา

                เฉลิมลักษณ์เทียรทิพเปรียบปรา-      กฏิสองโสภา

ประภาคยคือหล่อลำเพิง

                เสมอจันทราทิตยงามเงา                    ดุจดวงมณีเนา

วรัตนเรืองรองทอง

 (พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๔๒)

จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระสุธนมีความงามดังเทพบนสรวงสวรรค์ ซึ่งทำให้เห็นถึงภาพความงามของพระสุธนมากขึ้น

 

                ๑.๒.๒ นางมโนราห์

นางมโนราห์ เป็นธิดาของท้าวทุมวงษ์ นางเป็นหญิงที่มีความงดงามมากซึ่งกวีได้เปรียบความงดงามของนางมโนราห์ดั่งองค์พระอุมา ดังตัวบทที่ว่า

                 ยลลักษณวิไลยลาญทรวง                  ภักตร์เพ็ญเดือนดวง

อันจรูญจำรัสอาภา

                 คิ้วค้อมส่งสุดหางตา                          ศรเนตรกามา

คือศรพกามเนียรนิล

                 เสาวภาคลอองค์เอี่ยมอิน -                ทรีย์ทิพยุพิน

ดั่งองค์อุมามาเปน

นางมโนราห์มีความเฉลียวฉลาดและปฏิภาณไหวพริบดี ดังตัวบทที่ว่า

                 แม่นแท้ข้าจักเมือมรณ์                        ขอเอาอาภรณ์

สำหรับประดับตัวตาย

 (พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๑๐๗)

 

                ๑.๒.๓ พรานบุณฑริก

พรานบุณฑริกเป็นชาวนครอุดรปัญจาที่มีลักษณะจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน มีสิ่งใดที่ว่าดีก็จะนำไปถวายนายของตน และลักษณะที่เห็นได้จากเรื่องตอนหนึ่งก็คือ เมื่อพรานบุณฑริกเห็นนางมโนราห์ก็เกิดความใคร่ ดังบทที่ว่า

              บุณฑริกกรันจวนใจกาม                    เลงลาญแลตาม

ระเทาระทดใจถวิล

              แดดาลระด่าวดิ้นโดยจินต์  ผิวมีปีกบิน

จะโบยไปโดยบทจร

              อาไลยลันลุงอาวรณ์                            เศร้าโทรมทรวงทอน

มนัศกลุ้มกลางใจ

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๒๕-๒๖)

 

                ๑.๒.๔ ท้าวอาทิตยวงษ์

ท้าวอาทิตยวงษ์เป็นกษัตริย์ครองนครอุดรปัญจา เป็นพระบิดาของพระสุธน ซึ่งในเรื่องได้กล่าวถึงลักษณะความเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ดังบทที่ว่า

                ราชาธิราช                             อดิศรธเรศตรี

อาทิตยวงษ์ดี-                                       ลกราชภูธร

                ครองมิ่งมไหสูรย์                   สุรศักดิฦาขจร

ในบูรพนคร                                          อุดเรศปัญจา

               เสนาคณานี-                         กรราชแสนยา

แสนเสวกานา                                      ยกยุทธโจษจล

              นานพนากร                          ปฏิพลสพราศพล

สามรรถราญรณ                                   อริราชสยบแสยง

             พลคชคือคช                         สิหราชเริงแรง

สินธพดาลแสดง                                  ดุลเดชรณภู

               พลรถจำรูญรัตน                   ชำนิอัศวสินธู

ยานยุทธไพร                                        ปรปักษยากปอง  

(พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๔)

จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าท้าวอาทิตยวงษ์เป็นกษัตริย์ที่ทรงชำนาญในทางการสงคราม เป็นที่โจษจันของอริราชศัตรูและเทียบเทียมได้

 

                ๑.๒.๕ ปุโรหิต

ปุโรหิตแห่งนครอุดรปัญจาเป็นตัวละครที่มีลักษณะเด่นอีกตัวหนึ่ง กล่าวคือ เป็นตัวละครผ่ายปรปักษ์ที่เพิ่มสีสันให้กับเรื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งลักษณะของปุโรหิตนั้นมีใจริษยา กล่าวมุสา ดังบทที่ว่า

               โหรากล่าวลักษณา                               โดยมานมายา

ประทุษฐโทษผูกพัน

               หวังมล้างลูกไททรงธรรม์                         ด้วยรังเกียจกรรม์

ก็ทูลอำเภอโดยเดา

และ

                ปโรหิตทูลแด่ราชา                             โดยใจริศยา

ก็กล่าววะจีกระลำภร

               ผิวจักบรรเทาอันดร                                 ธานโทษเมือมรณ์

ให้พ้นในเงื้อมมฤตยู

              จะกอบกฤษดิกาโดยบู                              ราณราชเรียนครู

เพทางค์ปกรณคัมภีร์

              ตั้งบรรยายจิตรพิธี                                   บูชาพลี

สการถ้วนทุกอัน

 (พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๙๖-๙๗)

             จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าปุโรหิตกราบทูลความเท็จในการทำนายฝันของนางจันทรเทวี ซึ่งสงผลร้ายต่อนางมโนราห์ ทำให้นางต้องถูกนำไปประกอบพิธีบูชายัญ

 

                ๑.๒.๖ ท้าวทุมวงษ์

                ท้าวทุมวงษ์เป็นบิดาของนางมโนราห์ ในเรื่องจะเห็นถึงความรักที่พ่อมีต่อลูกได้จากตัวละครนี้ดังบทที่ว่า   

                           ทูลพลางๆพาษปธา-                        ราราชธิดา

ก็แสนกำสดบมิวาย

                           สองท้าวสดับดุจตนตาย                   จระลึงลาญสลาย

สวาสดิคือศรเสียบใจ

                          แม้นมารมจุราชอันไกร                      เด็ดเอาหไทย

บทันจะสึกสมประดี

                         ท้าวทอดองค์อาตมินทรีย์                   ยอกรทุ่มตี

กระทุ่มอุระประมาณ

 (พระสุธนคำฉันท์, ๒๕๑๖, หน้า ๓๔-๓๕)

                จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าท้าวทุมวงษ์เมื่อทราบว่านางมโนราห์ถูกพรานบุณฑริกจับตัวไปก็เศร้ากำสรด ดังใครมาเด็ดเอาหัวใจไป

 

อ้างอิง

อิศรานุภาพ, พระยา. (๒๕๑๖). พระสุธนคำฉันท์. กรุงเทพ:ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

หมายเลขบันทึก: 395436เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท