มุมคิด : เวทีเรียนรู้ ๓ ฝ่าย พลังขับเคลื่อนที่มี (ชีวิต) อยู่จริง?


บนเส้นทางของนักวิชาการ บนเส้นทางของนักพัฒนา ห้วงเวลากับบททดสอบ ไม่ง่ายเลยที่จะเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของประสบการณ์ในมิติชาวบ้าน มิติชีวิตที่มีอยู่จริงของพื้นที่สามจังหวัดฯ พื้นที่แห่งจินตนาการของการค้นหาคำตอบความสันติสุขที่แท้จริง...

      จะทำอย่างไรเมื่อสิ่งที่ประชาชนทำ ประชาชนต้องการหน่วยงานภาครัฐ (บางหน่วยงาน) กลับหลับหูหลับตาเดินสวนทางกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน?

      จะทำอย่างไรเมื่อนักวิชาการ  ยังคงนั่งโต๊ะ บอกเล่าเรื่องราวผ่านแว่นที่สวมผิดเลนส์?

      จะทำอย่างไรให้เวทีเรียนรู้ของคนสามฝ่ายสร้างพลังทางปัญญา แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง บนเส้นทางการขับเคลื่อนการพัฒนาที่มีชีวิต?

      ไม่ง่ายเลยที่จะร่วมหาคำตอบ และหาทางออกของคำถามข้างต้น...

 

(อีกมุมที่สื่อสะท้อนออกมาในความต้องการ และ

อยากผลักดันร่วมกันให้สาธารณชนได้เข้าใจ)

       เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาได้รับการทาบทามให้ร่วมเรียนรู้การทำงานที่มีชีวิต จากนักวิจัยท่านหนึ่งของศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย เพื่อร่วมระดมความคิดผลักดันการพัฒนาในมิติที่พอจะช่วยและทำได้ โดยมีองค์กรภาคีประกอบด้วยภาคประชาชน ผู้นำเยาวชน นักวิชาการ (นำทีมโดย อ.บงกช นพวงศ์ ณ อยุธยา... สตรีดีเด่นประจำปี ๒๕๕๓ ด้านการสร้างสันติภาพสันติสุขในพื้นที่ฯ และคณะ) นักพัฒนา (นำทีมโดย อ.อเนก นาคะบุตร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตผู้อำนวยการโครงการกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม เข้านั่งบริหารกองทุนเพื่อสังคมของธนาคารโลกหลังวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 และคณะ) และ ศูนย์บูรณาการการพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศพชต.)

       เวทีแห่งการร่วมเรียนรู้การทำงานของทั้งสามฝ่าย อาทิ ภาคประชาชน นักวิชาการ และ รัฐ สิ่งที่ทำให้ผมได้เห็นคือภาพของการมีอยู่จริงในพื้นที่สามจังหวัดฯ และการผสานความร่วมมือที่มิใช่เพียงการประสานด้วยหน้าที่แต่คือการถอดใจในการร่วมทำงานทิ้งยศฐาบรรดาศักดิ์ที่ทุกคนมีอยู่ร่วมขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาสันติสุขให้เกิดขึ้นในมุมที่ทุกคนพอจะมีพละกำลังจะรังสรรค์ความงดงามออกมาได้ เพราะพลังความงดงามของจิตใจ (ความจริงใจ) จะสร้างจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกันที่มีทิศทางอย่างมีชีวิตจริงๆในการขับเคลื่อนงานพัฒนาพื้นที่แห่งนี้

         เราต้องก้าวข้ามการคอร์รัปชัน  เราต้องก้าวข้ามความอคติมูลฐาน  เราต้องก้าวข้ามนัยยะทางการเมือง เราต้องก้าวข้ามเรื่องผลประโยชน์ เพราะ เราต้องมองผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจริงๆของประชาชน

       ผมยังเชื่อว่า...ทุกอย่างยังคงมีความหวังขอเพียงพลังของความจริงใจ ตั้งใจ (จริง) บนลู่วิ่งของถนนสายนี้ และยังเชื่อว่าแผ่นดินจินตนาการแห่งนี้ยังมีเรื่องราวอีกมากมายของความงดงามที่ชวนสัมผัส

        แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ คือ บทพิสูจน์ที่เราทุกคนต้องร่วมฟันฝ่าหาทางออกกันต่อไปเพราะมันไม่ใช่แค่แสงสว่างของความต้องการเฉพาะพื้นที่แต่มันคือวิถีแห่งความหวังของทุกคน (ด้วยความหวังและดุอาอฺ)


 

                                                                              บันทึกโดย...เสียงเล็กๆ

                                                                            ๒๖  ส.ค.  ๒๕๕๓ / ๑๑.๒๑ น.

                                                                        

หมายเลขบันทึก: 388261เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2010 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้เวทีเรียนรู้ของคนสามฝ่ายสร้างพลังทางปัญญา แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง บนเส้นทางการขับเคลื่อนการพัฒนาที่มีชีวิต  สามารถร่วมขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาสันติสุขให้เกิดขึ้นในมุมที่ทุกคนพอจะมีพละกำลังจะรังสรรค์ความงดงามออกมาได้นะคะ

ขอบคุณมากครับ ดร. ศศินันท์

P

มาตายี

การร่วมมือร่วมใจกันจากทุกฝ่ายอย่างจริงจังเท่านั้นที่จะนำพาปัญหาต่างๆผ่านพ้นได้ครับ

หากทุกฝ่ายถอดหมวกเปิดใจยอมรับฟังกันอย่างจริงจังและจริงใจแล้ว...

การขับเคลื่อนแนวทางการแก้ปัญหาที่แท้จริงก็น่าจะเกิดขึ้นได้นะครับ...

ภาครัฐ นักวิชาการและนักพัฒนาก็คงต้องแสดงความจริงใจเพื่อสร้างความไว้วางใจร่วมกันกับคนในพื้นที่นะครับ...

ส่วนคนในพื้นที่เองก็คงต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นด้วยเช่นกันนะครับ...

เพราะหากขาดความไว้วางใจกันแล้ว การสะท้อนปัญหาที่แท้จริงก็คงเกิดขึ้นไม่ได้นะครับ...

ปัญหาที่ซับซ้อนคงต้องอาศัยการ่วมมือกันของทุก ๆ ฝ่ายอย่างแท้จริงนะครับ...

ขอบคุณครับผม...

 

ขอบคุณมากครับบัง ว่าที่ ดร.

P

Mr.Direct

มุมคิดที่สกัดออกมา คือ เหตุผลของคำตอบในแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต่อไป

ขอให้สำเร็จการศึกษาระดับ ดร. เร็วๆนะครับเพราะพื้นที่แห่งนี้ยังรอคอยคนอย่างบังครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ ด้วยสลามและดุอาอฺ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ และเป็นกำลังใจให้คนทำงานค่ะ ขอให้มีความสุขในการทำงานเพื่อสังคมค่ะ

ขอบคุณมากครับพี่

P

ครูคิม

 งานเพื่อสังคมเราสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีโอกาสครับ แม้จะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตามครับ ขอเพียงกายพร้อม ใจพร้อม (ลุย)

 เป็นกำลังใจให้เช่นกันครับ

ในพื้นที่มันมีเงื่อนไขเยอะครับสำหรับการแก้ไขปัญหา วันก่อนที่เจอจะจะ คือ เมื่อผู้ปฏิบัติมีอคติ ความรู้ใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัยก็จะไม่ถูกนำมาปฏิบัติ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

Ico32

จารุวัจน์ شافعى

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ... เพราะฉะนั้นเราต้องหาช่องทางผลักดันงานศึกษาวิจัยสู่การปฏิบัติให้ได้ครับด้วยความหวังและดุอาอฺครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท