ไปฟังเยาวชนพูด เรื่องการดูแลเด็ก


ไปฟังเยาวชนพูด เรื่องการดูแลเด็ก

          ผมได้รับการเชิญจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(สำนักงาน สท.) ให้ไปช่วยดำเนินการปลุกเร้าเยาวชนทั้งหลายให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องการดูแลปกป้องเด็ก  ช่วงต้นเดือนเดินทางไปที่พิษณุโลก เป็นโซนภาคเหนือที่เยาวชนหลายจังหวัดทางภาคเหนือเดินทางเข้ามาร่วมประชุม จันทร์ที่ผ่านมาไปที่อยุธยาเป็นโซนของจังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง

          เยาวชนแต่ละภาคจำนวน 150 คน  ส่วนใหญ่เป็นผู้นำจากสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด หรือไม่ก็เป็นประธานสภาเด็กนักเรียน  มิติของการแสดงออกและความคิดความอ่านจึงฉะฉานและแหลมคมไม่น้อย  สรุปโดยสังเขปได้ดังนี้

          -ครอบครัว พ่อแม่ให้เวลากับลูกน้อยลง  ทะเลาะและหย่าร้างกันมากขึ้น เด็กก็เชื่อฟังพ่อแม่น้อยลง

          -การศึกษา แม้จะเรียนฟรี แต่ครูก็ทุ่มเทน้อย โรงเรียนและเด็กชนบทยังถูกทอดทิ้ง ได้รับการสนับสนุนไม่เท่าโรงเรียนและเด็กในเมือง

          -ศาสนา  ยังห่างไกลจากเด็กและเยาวชน คำสอนเข้าใจยากและเป็นนามธรรม

          -สังคม  เต็มไปด้วยอบายมุข สถานบันเทิงมีมากมาย ยาเสพติดซื้อหาง่าย

          -สื่อ  ยังลงแต่เรื่องไร้สาระ ส่วนสื่อที่เด็กได้ดูนั้นส่วนมากเป็นสื่อลามก

          ผู้นำเยาวชนเหล่านี้  ยังได้นำเสนอทางป้องกันแก้ไข ไว้อย่างน่าสนใจ

          1.ครอบครัวต้องได้รับการเตรียมความพร้อม หากจะมีครอบครัวต้องพร้อมจะดูแลเด็กที่เกิดมา ครอบครัวที่อ่อนแอต้องมีหน่วยงานให้คำปรึกษาหารือ 

          2.การปฎิรูปการศึกษานั้น คิดถึงโรงเรียนและเด็กชนบทให้มาก และอย่าลืมเรื่องพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้เรียนอย่างจริงจัง โรงเรียนชนบทต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมเต็มที่

          3.ศาสนาเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเข้าถึงเด็กและเยาวชน การเผยแพร่ศาสนาต้องทำให้สนุกและเข้าใจง่าย

          4.สังคมต้องทำให้สะอาด ต้องใช้กฎหมายควบคุมและจัดการสิ่งไม่ดี พร้อมสร้างสังคมและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้มีอยู่ทั่วไป

          5.ต้องมีกองทุนส่งเสริมให้สื่อที่ดีดีเกิดขึ้นมากๆ ให้เด็กและเยาวชนได้ร่วมในการผลิตสื่อที่ดี ส่วนสื่อลามกนั้นให้จัดการอย่างเด็ดขาด 

          พวกเขาทิ้งท้ายได้อย่างคมคายว่า เด็กและเยาวชนเองก็ต้องเรียนรู้เข้าใจในเรื่องสิทธิของตนเอง  จัดการหน้าที่ที่มีอยู่ให้เรียบร้อย  ฝึกการมีวินัยในตนเองและต้องหมั่นเรียนรู้และรับผิดชอบต่อสังคมอยู่เสมอ

          ช่วงท้ายนี้ เป็นเป้าหมายที่ผู้ใหญ่ใฝ่ฝันให้เด็กในประเทศของเราเป็นเช่นนี้มิใช่หรือ 

 

หมายเลขบันทึก: 387918เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2010 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 07:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (81)

ขยันจัง เขียนบทความแต่เช้า

อ่านแล้วมีคำ 2 คำ ที่สงสัย "เยาวชน" และ "เด็ก"

ความแตกต่างอยู่ตรงไหน ?

คุณใยไหมครับ เขียนแต่เช้ามีประโยชน์สองสถาน หนึ่งเข้าเน็ตง่ายและสองสมองปลอดโปร่ง

เด็กหมายถึงอายุตั้งแต่แรกคลอดถึง 18 ปี เยาวชนคือ 18 ปีขึ้นไปถึง 25 ปี (ตามกฎหมาย) ครับผม

สวัสดีค่ะ

เด็กกลุ่มนี้น่ารักจังค่ะ ให้ข้อคิดที่ดีแก่ผู้ใหญ่

บางเรื่อง บางครั้ง มองว่าก็ยากจะแก้ไขนะคะ

ทุกฝ่ายเป็นได้เพียงกัลยาณมิตรของกันและกัน เราทำในส่วนของเราให้ดีที่สุด

ฝนตก อากาศปรวนแปร เดินทางบ่อยๆ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

คุณณัฐรดาครับ ช่วงนี้อากาศแปรปรวนจริงครับ กำลังไอและเจ็บคออยู่ สงสัยจะเป็นหวัด

สำหรับข้อเสนอของเยาวชนทั้งหลาย น่าสนใจครับ หากใคร่ครวญและนำมาเป็นหลักปฎิบัติ น่าจะจัดการหลายเรื่องได้ดีทีเดียว

สวัสดีครับ

  • ขอบพระคุณคุณครูหยุย ที่แวะไปเยี่ยม ทักทาย
  • ทุกวันนี้สังคมไทย สังคมโลกล้วนมีปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชนมากมาย
  • หากช่วยกันทุกๆฝ่ายด้วยความจริงใจและจริงจังปัญหาคงลดลงได้บ้างนะครับ
  • เรื่องสื่อลามก สื่อไร้สาระ ทุกวันนี้มากมายเหลือเกิน อยากฝากให้ทุกๆท่านช่วยกันดูแล คอยแนะนำช่วยเหลือเด็กและเยาวชน ที่มีปัญหา
  • สงสารเด็กๆเหล่านั้นนะครับ 

สวัสดีค่ะ

จัดเวทีขึ้นที่พิษณุโลกหรือคะ  น่าไปร่วมฟังสิ่งที่น่าสนใจ  เยาวชนเขามีคุณค่าและเป็นความหวังของประเทศชาติ

สิ่งที่เขาพูดมาทั้งหมด  เห็นด้วยค่ะ  เมื่อเราทราบปัญหาแล้วก็ต้องหาทางแก้  สำหรับครูผู้ทุ่มเทนั้นมีน้อยค่ะ และขาดจิตวิญญาณต่อความเป็นครู

นโยบายการจัดการศึกษาดูเลิศหรูมากนะคะ  แต่การจัดการของครูไม่สอดคล้องค่ะ

สวัสดีค่ะครูหยุย

เด็กๆเขามีข้อเสนอที่น่าสนใจและ หากผู้ใหญ่ใจกว้างน่าจะนำไปแก้ไข ปฎิบัตินะคะ...ขอบคุณที่คุณครูไปแวะเยี่ยมนะคะ

กำลังสอนโครงงานเด็กม.ต้นครับ หลายอย่างที่สะท้อนจากเด็ก ๆ ตรงกับครูครับ คงเป็นทั้งประเทศ น่าเป็นห่วง แต่กำลังเล็ก ๆ กำลังทำงานอยู่ยังดีกว่าดูเฉยและถอนหายใจ ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนนะครับ

ครูจ่อยครับ ปัญหาที่เด็กๆ เผชิญอยู่นั้นมากจริงๆ สื่อเองก็ไม่สร้างสรรค์ ต้องใส่ใจแก้ไขอย่างจริงจังครับ

จัดผ่านไปล้วสองภาคครับครูคิม จะจัดภาคใต้ ภาคที่นครศรีธรรมราช ภาคอีสานที่นครราชสีมา และครั้งสุดท้ายที่ กทม. เสร็จสิ้นไม่เกินวันที่ 5 กันยายนนี้ เด็กๆ เขาเสนอได้ดีมากครับ ภาคอื่นๆ คงไม่ต่างกันมาก

มาตายีครับ สิ่งที่เด็ก ๆนำเสนอนั้น สำคัญคือผู้ใหญ่ทราบแล้วจะทำหรือเปล่าเท่านั้นเอง งานแบบนี้ทำแล้ว ดีงาม เพียงแต่ผลประโยชน์จะเข้ากระเป๋านักการเมืองน้อย

กำลังเล็กๆ ของคนเล็กๆ ที่ขับคลื่อนอยู่ เหมือนหยดน้ำจากหลายๆ แหล่ง หยดมารวมกันกลายเป็นมหานทีครับ คนไทบ้าน

ขอบคุณนะครับ ที่มาแบ่งปัน

สวัสดีค่ะครูหยุย ลุยฝนมาเยี่ยมค่ะ ขอบคุณที่เล่าให้ฟังค่ะ

ขอบพระคุณคุณครูหยุย ที่แวะไปเยี่ยม ทักทาย ค่ะ

- ครอบครัว พ่อแม่ให้เวลากับลูกน้อยลง ทะเลาะและหย่าร้างกันมากขึ้น เด็กก็เชื่อฟังพ่อแม่น้อยลง -การศึกษา แม้จะเรียนฟรี แต่ครูก็ทุ่มเทน้อย โรงเรียนและเด็กชนบทยังถูกทอดทิ้ง ได้รับการสนับสนุนไม่เท่าโรงเรียนและเด็กในเมือง -ศาสนา ยังห่างไกลจากเด็กและเยาวชน คำสอนเข้าใจยากและเป็นนามธรรม -สังคม เต็มไปด้วยอบายมุข สถานบันเทิงมีมากมาย ยาเสพติดซื้อหาง่าย ....... กล่าวได้ตรงจุดเลยค่ะ เด็กไม่ค่อยเชื่อฟังครูเลยค่ะ เถียงเก่ง พ่อแม่ตามใจ เด็กเอง ไม่ค่อยรู้จักกาลเทศะ  เราคนเดียวไม่สามารถแแก้ปัญหาได้หมด ต้องช่วยกัยทุกคนน่ะค่ะ ...

เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

 

ขอบคุณค่ะครูหยุยที่แวะเข้ามาทักทายบล็กของครูบรรณารักษ์

ก็ตั้งคำถามเพื่อให้เด็กที่อ่านได้ลองตอบดูค่ะ...

เด็กนอกเมืองก็ลองทำไปเพื่อจะสร้างความสนใจให้เด็กอ่าน

ลินดาครับ ฝ่าสายฝนมาเยี่ยม เดี๋ยวนำหวัดมาให้ผมด้วย จะทำอย่างไรดี

ปนัดดาครับ ทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องใหญ่สัมพันธ์กันหมด ทุกฝ่ายจึงต้องร่วมด้วยช่วยกันอย่างจริงจังครับ

ครูบรรณารักษ์ครับ ดีครับ ยิ่งทำโจทย์มากเท่าไหร่ เด็กๆ เรียนรู้มากเท่านั้นครับ

  • เด็กๆมักทำอะไรได้เหนือความคาดหมายของครูบ่อยๆครับ
  • อ่านสรุปสาระที่เด็กๆคิด เด็กๆพูดแล้ว ครอบคลุม รอบด้าน ทั้งเหตุและแนวทางแก้ไขชื่นชมมากๆครับ
  • ขอบคุณสาระดีๆนี้ครับ

เป็นไงล่ะครูหยุย...เสียงสะท้อนจากใจเด็กที่สะเทือนใจผู้ใหญ่

ก็คงต้องบอกเหมือนกับทุกคนนั่นแหละค่ะว่า..ต้องร่วมด้วยช่วยกันทุกคน

ขอบคุณกับบันทึกที่ให้ข้อคิดจากเด็กถึงผู้ใหญ่ค่ะ...

คุณธนิตย์ครับ เด็กๆ ระดับแกนนำเหล่านี้ สังคมมุ่งหวังพวกเขาได้ครับ

สวัสดีค่ะครูหยุย

*** มาเยี่ยมบันทึกขออนุญาตนำข้อมูลจากบันทึกของท่านไปเผยแพร่ ในวารสารโรงเรียนนะคะ

*** วันนี้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องเยาวชน ได้ชัดเจนขึ้น คือ

***เยาวชน ความหมายตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่ผู้บรรลุนิติภาวะแล้วจากการจดทะเบียนสมรส ในทางกฎหมายก็ถือว่าบุคคลที่มีอายุระหว่างนี้เป็นเยาวชนและหากต้องระวางโทษก็จะพิจารณาโทษแตกต่างจากผู้ใหญ่

*** ความหมายในระดับสากล โดย สหประชาชาติ ระบุว่า เยาวชน หมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้มีอายุระหว่าง ๑๕ - ๒๕ ปี หรือเป็นช่วงวัยหนุ่มสาว

*** และเยาวช คือคนอายุ 18 ปีขึ้นไปถึง 25 ปี (ตามกฎหมาย)

*** ทั้งหมดเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องไหมคะ

*** ขอบคุณค่ะ

krugui ครับ ข้อคิดจากเด็ก เป็นเรื่องไม่เล็กแต่ยิ่งใหญ่ครับ ฟังแล้วน่านำไปใคร่ครวญดำเนินการนะครับ

อ.กิติยาครับ ยินดีครับที่จะนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อไป ส่วนความหมายที่เทียบเคียงอายุของเด็กและเยาวชนนั้น หลากหลายครับ แม้แต่ในกฎหมายแต่ละฉบับยังใช้ต่างกัน ที่ยกมานั้นถูกต้องตามที่ยกมาครับ แต่บางฉบับยังกำหนดอายุต่างออกไปก็มี ...สรุปคือ ใช้ไปตามแต่ละฉบับที่บัญญัติกำหนดไว้ครับ

  • สวัสดีค่ะคุณครูหยุย
  • ประเด็นต่างๆที่เยาวชนกลุ่มนี้มองและเสนอแนวทางแก้ไข ผู้ใหญ่ต้องเก็บมาคิดและหาทางจัดการแก้ไขนะคะ
  • สวัสดีค่ะ คุณครูหยุย
  • ชื่นชมค่ะที่เปิดเวที
  • ให้เด็กๆได้แสดงความคิดเห็น
  • นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
  • หากทุกฝ่ายได้หันกลับมามอง
  • นำข้อมูลที่ได้รับจากเด็กๆ
  • ไปปรับปรุงร่วมพัฒนาคนละไม้คนละมือ
  • แต่บางปัญหาอาจเป็นเชิงลึกที่มีความซับซ้อน
  • บางครั้งการรับฟังจากผู้ที่ประสบปัญหาจริง
  • น่าจะเป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจค่ะ.

มาชมทักทายครับ...คุณครูหยุย

มีประเด็นครอบคลุมสังคมไทยเราเลยนะครับ

ยามค่ำชมทีวีเจอข่าวการลักพาเด็กพอดีเลย...

ทำให้มองภาพปัญหาเกี่ยวกับเด็กชัดขึ้น...

ฟังเด็กพูดถึงศาสนาแล้ว คงต้องนำมาขบ คิด ค้น คว้า

ว่า...ทำยังไง...คำสอนจึงจะเข้าถึงจิตใจเด็ก ๆ คงต้องร่วมด้วยช่วยกันทุกฝ่ายนะครับผม...

สวัสดียามเช้าค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยมเยียนกัน

เห็นด้วยกับครุหยุยค่ะ ว่าควรนำพระสูตรสิงคาลกะนี้เผยแพร่ไปตามโรงเรียน (อันที่จริง น่าจะมีการคัดลอกพระไตรปิฎกบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตเผยแพร่ไปด้วยนะคะ)

อย่างสิงคาลกสูตรนี้ ดังที่ได้นำข้อเขียนของคุณ สุชีพ ปุญญานุภาพมาอ้างไว้ในบันทึก "ที่มาของสิงคาลกสูตร" ค่ะ ว่าชาวยุโรปให้การยกย่องมาก เพราะเชื่อว่าสามารถแก้ปัญหาสังคมได้ เพราะเป็นการแนะนำหน้าที่ที่ทุกคนในสังคมพึงปฏิบัติต่อกัน โดยไม่ผลักภาระไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

เช้านี้ลงตอนต่อไปแล้วค่ะ

kanchana ครับ ใช่แล้วครับ หากผู้ใหญ่ที่ดูแลด้านนโยบายได้นำไปกำหนดเป็นมาตรการแล้ว หลายเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนน่าจะดีขึ้นครับ

ครับ รับข้อเสนอครูแป๋มครับ จะให้ทางผู้จัดเขาจัดลงไปที่กลุ่มประสบปัญหาโดยตรง น่าจะได้ข้อมูลมาเสริมเติมเต็มครับ

umi ครับ ผมค่อนข้างจะเชื่อว่า หลักศาสนา น่าจะเป็นหนทางสำคัญสุดในการปกป้องดูแลเด็กครับ เพียงแต่ต้องปรับกลวิธีการเผยแผ่ให้จับจิตจับใจเด็กให้ได้ครับ

ผมกำลังพยายามขายความคิดเรื่องนำไปเผยแพร่ในโรงเรียนอยู่ครับคุณณัฐรดา สำหรับตอนต่อไปนั้นกำลังตามอ่านครับ

เรียนครูหยุย ตอนนี้ผมย้าย ร.ร. แล้วครับ แต่ก่อนสอนอยู่ ร.ร.กระเทียมวิทยา ตอนนี้ย้ายมาอยู่ ร.ร.กระสังพิทยาคม จ.บุรีรัมย์ (อยู่ใกล้ๆ สุรินทร์) เรื่องการดูแลเด็กผมได้รับประสบการณ์ จากท่าน ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เราต้องให้ความรัก ความเมตตา และทำเป็นตัวอย่างทีดีแก่ลูกศิษย์

ผมก็ได้พยายามทำให้เต็มที่ สิ่งที่ทำได้ในชีวิตการเป็นครูคือ

(1) ผมไม่เคยสูบบุหรี่

(2) ผมไม่เคยดื่มเหล้า

(3) ผมไม่เคยเล่นการพนัน

(4) ผมไม่เคยเที่ยวงกลางคืน

ที่ทำอย่างนี้ก็เพราะต้องเการเป็นครูที่ดี และเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ ครับผม

ครูฐานิศวร์ วัตรปฏิบัติเหมือนพระเลยครับ ดีครับเป็นแบบอย่างที่ดีและสอนเด็กได้อย่างเต็มปากถึงความไม่ดีของอบายมุขทั้งปวง

สวัสดีค่ะ

มาอ่านเรื่องราวดีๆ ที่จริงดิฉันรู้จักคุณครูมานาน

และติดตามเรื่องราวเสมอ และนึกสรรเสริญสิ่งที่คุณครูได้กระทำดีเสมอมา

ขอบคุณมากค่ะที่ไปเยี่ยมที่บล็อก "เล่าสู่กันฟัง"

ขออนุญาตนำบล็อกขึ้นแพลนเน็ตนะคะ

เพื่อจะได้ติดตามผลงานต่อไปค่ะ

คุณตันติราพันธ์ครับ ยินดีสำหรับการมาเยี่ยมเยือนนะครับ ผมพยายามจะสื่อสารสาระบางประการเพื่อเสริมการเรียนรู้ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคมครับ

สวัสดีค่ะคุณครูหยุย

แม้จะเชื่อมั่นเรื่อง ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น หากแต่สภาพแวดล้อมกับจิตสำนึกภายในของแต่ละคนคงหล่อหลอม ฝึกฝน เรียนรู้ จะส่งผลในการพัฒนาความคิด จิตใจ ผู้คนค่ะครู

อรุณสวัสค่ะคุณครูหยุย

คงเป็นอีกเช้าวันหนึ่งที่ได้เข้ามาอ่านเรื่องราวดีๆ  จากความคิดเห็นของเด็กและเยาวชน ซึ่งต่อไปในอนาคตจะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลและพัฒนาประเทศชาติ 

ผู้ใหญ่ทั้งหลายเมื่อฟังและรับรู้ว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไร สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งปรับปรุงพัฒนาดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนโดยเร็ว

ขอบพระคุณเรื่องราวดีๆ ที่นำมาบอกกล่าว เป็นประโยชฯมากค่ะ

ตั้งใจมาเรียนเชิญครูหยุยไปเยี่ยมชมกิจกรรมเข้าค่ายโครงงานวิทยศาสตร์ ของโรงเรียนลับแลพิทยาคม  หวังว่าคงได้รับเกียรติจากคุณครูหยุยไปให้กำลังใจพวกเด็กนะคะ

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

 

 

 

คุณ poo ครับ ใช่ครับสภาพแวดล้อมและพื้นฐานภายในของแต่ละคน เป็นหลักในการหล่อหลอมบุคลิกภาพ สำนึกคิดและความสามารถของชีวิตครับ

เพิ่งไปเยี่ยมชมมาครับคุณครูใจดี จะมีอีกเมื่อไหร่ครับ หากตรงกับเวลาที่ว่างคงมีโอกาสเดินทางไปเยือนจริงๆ ถึงถิ่นลับแล

-สวัสดีครับครูหยุย

-มาอ่านเรื่องราวและ "รับฟัง" ความคิดของ "เด็ก ๆ" ครับ

-สรุปว่า เราจะต้อง "ต้องหมั่นเรียนรู้และรับผิดชอบต่อสังคมอยู่เสมอ ๆ"

-ขอบคุณครับ

เพชรน้ำหนึ่งครับ ใช่ครับต้องเรียนรู้และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมอยู่เสมอ ปัญหาคือทำอย่างไรจะปลูกฝังสิ่งนี้ให้เกิดแก่เด็กๆ ของเรา

อรุณสวัสดิ์ค่ะ

เห็นด้วยกับความเห็นของคุณปู (39) และความเห็นของครูหยุย (41) ค่ะ

ดีใจค่ะที่ทราบเรื่องความคิดที่ครูหยุยกำลังขายอยู่

เป็นไปได้ไหมคะ ที่ห้องสมุดทุกโรงเรียน หรืออย่างน้อยก็โรงเรียนประจำจังหวัด จะมีคัมภีร์ทางศาสนา หรือ พระไตรปิฎกอยู่สำหรับให้ครูและเด็กได้อ่าน

พระไตรปิฎกในศาสนาพุทธนั้น ฟังชื่อรู้สึกเหมือนจะอ่านยาก แต่ไม่ใช่อย่างที่รู้สึกทั้งหมดค่ะ บางสูตรเหมือนนิทาน อ่านแล้วทั้งสนุก ทั้งได้หลักธรรม ส่วนสูตรที่เป็นธรรมหลัก แม้เด็กอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ เด็กอาจเปิดผ่านไป แต่อย่างน้อยก็ผ่านตา

อาจเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาศาสนาเมื่อโตขึ้นก็ได้ค่ะ

ณัฐรดาครับ เดี๋ยวจะประสานส่งความคิดเห็นเรื่องพระไตรปิฎกไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจะได้กระจายไปยังห้องสมุดโรงเรียและจังหวัดต่างๆ เดี๋ยวนี้ตามโรงแรมเริ่มมีไว้คู่กับไบเบิ้ลแล้วครับ

มีหนูน้อยมาขอบคุณค่ะ (จากภาพชุดหนูเป็นเด็กดี แต่ รีคัลเลอร์ค่ะ)

ธรรมสภายิ้มแป้นแน่ๆเลย พระไตรปิฎกชุดนึง 45 เล่ม สงสัยโรงพิมพ์ไม่ต้องพิมพ์หนังสืออื่นแล้วค่ะ

ครูหยุยขอรับ.......ลูกศิษย์ผมโตๆๆทั้งน้านเลยที่มหาวิทยาลัย

คุณณัฐรดาครับ ภาพให้สีชัดเจนดีจัง สำหรับพระไตรปิฎกที่ผมเห็นคือเล่มเขื่องขนาดหนึ่งเล่ม ใช่หรือเปล่า

บอกข่าวล่ามาเร็วคือ ได้ฝากบอกไปยังปลัดกระทรวงศึกษา "ดร.กมล รอดคล้าย" บอกผมมาว่ากำลังให้เขตพื้นที่สอบถามโรงเรียนต่างๆ ในระดับมัธยมว่า ห้องสมุดมีอยู่หรือเปล่าครับ

อ.k- ครับ ลูกศิษย์อาจารย์โตๆ ทั้งนั้นที่มหาวิทยาลัย แต่ที่ผมเรียนด้วยในหลักสูตรนี้ เข้าข่าย เด็ก"โข่ง"เฉลี่ยรวมรุ่นแล้วอายุตกราว 53 ปี (สูงสุด 74 และต่ำสุด 36)

สวัสดีค่ะ ครูหยุย

แวะมาทักทายเมื่อมีโอกาสนะค่ะ

หนูไม่ค่อยได้เข้าร้านเลยค่ะ

^^

รักษาสุขภาพด้วยน่ะค่ะ

สวัสดีค่ะครูหยุย

เห็นด้วยเลยค่ะ แต่ที่เห็นว่ามีอิทธิพลมากอย่างหนึ่งคือสื่อค่ะ แบบอย่างของเด็กผ่านทางสื่อทั้งนั้น

สื่ออิสระในการนำเสนอแต่...เรื่องราวเหล่านั้นเหมาะที่จะนำเสนอแก่เด็กหรือไม่ น่าเป็นห่วงจริงๆค่ะ

เรียน ครูหยุย ที่ ร.ร.กระสังพิทยาคม มีกิจกรรมดีๆ มากมาย เช่น

วงดนตรีเพลงพระราชนิพนธ์ รางวัลชนะเลิศ รายการชิงช้าสวรรค์

ถ้าครูหยุยมาสุรินทร์ เรียนเชิญเยี่ยม ร.ร.กระสังพิทยาคม นะครับ

หนูเหนือกาลเวลา ขอบใจครับที่มาเยือน ที่ว่าไม่ค่อยได้เข้า ร้าน นั้น คือร้านอะไรครับ ถ้าเป็นร้านเกมส์ก็ไม่ควรจะเข้าค่ำเกินเวลา 20.00 น.นะครับ

คุณมณีวรรณครับ สิ่งที่สื่อนำเสนอในทางที่แย่นั้น มีมากจริงๆ ในสื่อทุกชนิด คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่า สำนึกสื่อ จะรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างเต็มที่

ดีใจร่วมกับเด็กๆ ที่โรงเรียนด้วยนะครับที่ได้รางวัลจากกการประกวดร้องเพลงรายการชิงช้าสวรรค์ รายการนี้ดีครับ เพียงแต่ผมเป็นห่วงค่านิยมที่ต้องแต่งกายกันหรูหรา ใช้ค่าใช้จ่ายมากเกินตัวเท่าน้นเองครับ ถ้าประหยัดได้จะดีมากกว่าเดิม

สวัสดีตอนเกือบสายค่ะ

สงสัยว่าเล่มเขื่องที่ว่า อาจเป็นหนังสือ "คำบรรยายพระไตรปิฎก" หรือไม่ก็ "พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน" ซึ่งเป็นการย่อพระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม ลงบรรจุในเล่มเดียวก็ได้มังคะ

ดีใจกับข่าวล่าจังค่ะ

พาเด็กๆมาเล่นกันที่บ้านครูค่ะ

อ้อ ความเห็นที่ 47 เขียนผิดค่ะ ไม่ใช่ธรรมสภาค่ะ ที่นั่นเป้นเพียงอีกที่ที่มีจำหน่ายค่ะ

พระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม ส่วนใหญ่วิทยาลัยสงฆ์เป็นผู้พิมพ์ค่ะ เช่น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นต้น

ใช่ครับคุณณัฐรดาครับ เป็นพระไตรปิฏกสำหรับประชาชน พิมพ์โดยมหาจุฬาฯ ครับ

สวัสดีครับครูหยุย

ชื่นใจกับความคิดความอ่านของแกนนำเด็ก และเยาวชนกลุ่มนี้มากจริงๆ ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่ถูกกลั่นกรองออกมาจากพวกเขา โดยเฉพาะข้อ 5 ซึ่งผมกำลังพยามยามสร้างพื้นที่สื่อในจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ กำลังเชิญชวนคนในชุมชนที่มีจิตอาสาร่วมเป็นเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน หากจะรบกวนปรึกษา และขอกำลังใจจากครูหยุยบ้างคงจะได้รับความกรุณานะครับ 

หนุ่มเอมครับ ดีใจมากครับที่ทราบว่ากำลังเปิดพื้นที่สื่อสำหรับเด้กๆ ที่กาญจนบุนุรี หากมีอะไรที่ผมพอจะช่วยได้ ก็ยินดีครับ

สวัสดีค่ะ ครูหยุย

หมายถึงร้านอินเตอร์เน็ตนะค่ะ

ก็ต้องมาหางานและมาเชคเมลหล่ะค่ะ

ว่างๆก็เข้าเพราะหอพักก็อยู่ใกล้ๆค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยน่ะคะ

หนูเหนือกาลเวลาเข้าร้านเน็ตก็ดีครับ แต่อย่าดึกมากนัก น่าเป็นห่วง ยังโชคดีที่หนูอยู่ใกล้หอ ยังไงก็ขยันหมั่นเพียรหน่อยนะครับ "ขยันวันนี้ สบายวันหน้า สบายวันนี้ วันหน้าจะลำบาก"

-ศาสนา  ยังห่างไกลจากเด็กและเยาวชน คำสอนเข้าใจยากและเป็นนามธรรม

 

ดิฉันฝันอยากให้เด็ก ๆ ได้รับการบ่มเพาะ เรียนรู้เรื่ิองของศาสนา(ไม่ว่าจะเป็นศาสนาอะไร-แล้วแต่เด็กศรัทธา)

คิดรูปแบบออกจะขอนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นค่ะ

สวัดดีค่ะคุณครู

หนูว่าถ้าทุกคนทำได้อย่างนี้

สังคมไทยคงจะน่าอยู่ขึ้นนะคระ

ภูสุภาครับ คิดออกเมื่อไหร่ช่วยนำเสนอด้วยนะครับ ผมว่าจะเป็นประโยชน์มาก ปัจจุบันมีพระสงฆ์บางรูปเทศก์ได้สนุกสนาน เป็นที่นิยมอยู่เช่นกัน หากมีแนวปฏิบัติที่น่าสนใจก็น่าจะดีกว่าไม่น้อยครับ

หนู aonrak-socail ใช่เลยครับ หากผู้ใหญ่ทุกฝ่ายร่วมกันทำตามข้อเสนอนี้ เพียงบางส่วนก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ

สวัสดีค่ะ ครูหยุย ขอบคุณสำหรับคำแนะนำน่ะค่ะ

^^

จะพยายาทำตามให้ดีที่สุดจ้า

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

หนูเหนือกาลเวลา อดทนกับตัวเองไม่กี่ปี ขยันเข้าไว้ อนาคตหนูไปได้ไกลแน่ ส่วนสุขภาพครู แข็งแรงเป็นปกติดีครับ

สวัสดีค่ะคุณครูหยุยที่เคารพ

- จุดเล็กๆที่จะให้เด็กน้อยเข้าใกล้ชิด(เบื้องต้น)ศาสนาอย่างมีความสุขสนุกสนานดิฉันไปวัดไหนๆก็บอกต้องการความสงบ...เด็กก็คงต้องถูกกันออกไปไกลๆเพราะเด็กสงบไม่นานนิ

- ต้นไม้ในวัดก็ไม่ดึงดูดให้เด็กน้อยเข้าวัด(ต้นตะขบ,ชมพู่,หว้าฯลฯ...ที่กินได้ เล่นได้) ในโรงเรียนก็เช่นกันทำไมต้องปลูกต้นไม้...สวยงามที่เด็กๆและชาวบ้านกินไม่ได้ด้วยน้า???)...เอเกี่ยวไหมเนี่ย???555รายละเอียดต้องพูดๆเขียนบ่เก่งๆ

                                                         ขอบคุณค่ะ

คุณจอมใจครับ ปราชญ์ชาวบ้านคนหนึ่งเคยบอกผมมานานกว่า 10 ปีแล้วครับว่า ปลูกไม้แดก ดีกว่าปลูกไม้ดอก ผมคิดเช่นนั้นจริงๆ เพราะเป็นประโยชน์หลายสถาน เรื่องวัดเช่นกัน น่าคิดมากว่าจะทำให้เด็กไปอย่างสนุกและได้ธรรมมะได้อย่างไร

ปราชญ์ชาวบ้านคนหนึ่งเคยบอกผมมานานกว่า 10 ปีแล้วครับว่า ปลูกไม้แดก ดีกว่าปลูกไม้ดอก...โหเป็นคำของปราชญ์เชียวเหรอเนี่ย!!!

"""ต้นตะขบ...ดูแลง่ายแสนง่าย ร่มก็เย็นและกว้าง ลูกก็อร่อยออกให้เด็กๆ(นกด้วย)กินตลอดปีตลอดชาติ...เด็กเขาได้ปีนป่ายพัฒนาร่างกายจินตนาการ...ต้นหว้าก็อร่อย.ฯลฯ..ผักติ้ว...โอ้ย-พืชผักผลไม้พื้นเมือง-วัดและโรงเรียนน่าจะเป็นผู้นำในการปลูกเพื่อเรียกคน/เด็กเข้าวัด(เข้ามาทำอะไรก่อนก็ช่าง...ค่อยสอนที่หลัง) ...วัดและโรงเรียนจะอยู่ในใจเสมอ...

ดีใจครับ พบคนสนใจเรื่องไม้กินได้ ตะขบ หว้า ที่บ้านสร้างสรรค์เด็ก คลองสาม รังสิต ไม่ได้ปลูกแต่นกช่วยปลูกไว้ เด็กกระรอก นก ชอบมาก

ครูหยุยคะ ดิฉันรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม ดูแลยากมาก เพราะเด็กมีปัญหาทางจิตใจ แต่เมื่อโตขึ้นก็ค่อยๆ ดีขึ้น แต่ก็นั่นแหละพอเข้าสู่วัยรุ่นก็เอาเลย ทุกความเสี่ยง ทุกวันนี้ไม่ได้เลี้ยงดูเธอแล้วแต่ต้องเลี้ยงดูหลานแทน ย่าเอาไปคน ยายเอามาคน ก็สงสารเธอนะ คอยแต่ให้กำลังใจให้เธอตัดสินใจลุกขึ้นสู้ แต่เธอก็ไม่สู้ พ่ายแพ้กับสิ่งรอบข้างตลอดมา เธอรู้ตัวดี ว่างๆ เราก็จะคุยกันทาง hi5 ดิฉันก็คอยเอารูปหลานขึ้นบ้าง ทำยากหน่อย มันต้องปรับขนาดภาพ แต่ก็รู้สึกดี อยากบอกว่าสิ่งดีๆ ที่ใครๆ ก็ยอมรับดิฉันก็พยายามจัดให้ แต่ก็ได้แค่นี้แหละ ทุกวันนี้ก็ได้แต่ปลอบใจตัวเองว่า เราให้เขาเต็มที่แล้วจะผิดจะถูกก็แล้วแต่ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น แล้วก็ยังหวังอยู่ลึกๆ เสมอว่า สักวันหนึ่งลูกจะลุกขึ้นมาหยัดสู้ด้วยตนเอง และถ้าดิฉันดูไม่ผิด ดิฉันรับรู้ได้ว่าเธอรักดิฉัน เธอไม่เคยรบกวนดิฉันมาเป็นปีแล้ว ได้แต่โทรหาแล้วก็คุยกันทางhi5 และที่สำคัญดิฉันก็รักเธอเหมือนกัน สิ่งที่ดิฉันคิดว่าน่ากลัวที่สุดก็คือกระบวนการค้ายาเสพติด เป็นกระบวนการที่ทะลุทะลวงได้อย่างน่ากลัว เด็กๆที่จิตใจไม่เข้มแข็งพอต้านไม่ไหวหรอกค่ะ แล้วกระบวนการนี้ก็ยังคงครองแชมป์อยู่นั่นแหละ ใครล่ะ จะช่วยได้

ศิริวรรณครับ สิ่งที่ทำมานั้นเป็นบุญแล้วครับ ทำเต็มที่แล้ว หนูคนนั้นจะได้แค่ไหนก็ตามบุญที่สะสมมาแต่เดิม สักวันเธอนั้นก็คงคิดได้และกลับมาใช้ชีวิตปกติครับ บางครั้งอาจต้องให้เวลาบ้าง

2.การปฎิรูปการศึกษานั้น คิดถึงโรงเรียนและเด็กชนบทให้มาก และอย่าลืมเรื่องพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้เรียนอย่างจริงจัง โรงเรียนชนบทต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมเต็มที่ 

4.สังคมต้องทำให้สะอาด ต้องใช้กฎหมายควบคุมและจัดการสิ่งไม่ดี พร้อมสร้างสังคมและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้มีอยู่ทั่วไป

เห็นด้วยกับสองข้อนี้อย่างยิ่งค่ะ อย่างแรก ควรสนับสนุนโรงเรียนในชนบทและโรงเรียน(ขนาดเล็ก)ในเมืองด้วยนะคะ ปัญหาที่เจอคือ ครูไม่เพียงพอค่ะ โรงเรียนมีเด็กทั้งหมด 200 กว่าคน มีครู 13 คน ดูเหมือนจะเพียงพอใช่มั้ยคะ ถ้าใช้อัตราส่วน ครู 1 คน ต่อ เด็ก 25 คนแต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ควรนับผู้อำนวยการโรงเรียนเพราะไม่ได้มีหน้าที่สอนประจำวิชา ครูท่านอื่น ๆ ก็มักต้องไปอบรมที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น และครูแต่ละท่านต้องสอนหลายวิชา ทำใ้ห้การเรียนการสอนขาดความต่อเนื่อง นักเรียนได้เรียนบ้างไม่ได้เรียนบ้าง น่าสงสารที่สุดค่ะ มีข้อสงสัยค่ะว่าแต่ละปีมีคนสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นครูผู้ช่วยและมีผู้ขึ้นบัญชีสอบได้เยอะมาก แต่ทำไมโรงเรียนหลาย ๆ โรงถึงยังขาดครูคะ ส่วนข้อที่สี่เห็นด้วยค่ะ ต้องสร้างสังคมเราให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ในกรุงเทพฯมีแหล่งเรียนรู้มากมาย แต่ยังอ่อนการประชาสัมพันธ์ไปนิด แต่อย่างต่างจังหวัด มีน้อยมาก หรือบางแห่งแทบไม่มีเลย อย่างยกตัวอย่างที่เฉวง เกาะสมุยไม่มีห้องสมุดไว้ให้บริการ แล้วเราจะปลูกฝังให้เด็กเป็นคนรักการอ่านใฝ่รู้ได้อย่างไร แล้วพื้นที่สำหรับให้เด็ก ๆ มาทำกิจกรรมดี ๆ กันก็ไม่มีเลยค่ะ---- ขอโทษด้วยนะคะที่ระบายเยอะไปนิด แค่อ่านแล้วอดแสดงความรู้สึกไม่ได้น่ะค่ะ

ฐนิกาครับ ครูนั้นความจริงไม่ขาด เพียงแต่จำนวนไม่น้อยผ่านการเมืองไปช่วยราชการในที่สบายกว่า ครูจึงขาดไปโดยอัตโนมัติ เพียงแค่คืนครูกลับสู่โรงเรียน อัตราและครูพอแน่ครับ ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่นำเสนอมานั้นตรงกันครับและอย่าคิดว่าเป็นระบายเลย ผมพร้อมจะฟังและแลกเปลี่ยนเสมอครับ

สวัสดีค่ะ

กำลังชวนเด็กๆแสดงความเห็นเรื่องการนับถือ 2 ศาสนาค่ะ ตามที่ผู้ใหญ่กำลังสับสนกันใหญ่ในช่วงเวลานี้

ยังไม่มีความเห็นจากเด็กๆเลยค่ะ

ณัฐรดาครับ ถ้าความเห็นนี้ถูกโยนเข้าไปทางเฟสบุ๊ค คงมีความเห็นกันมากมาย เวทีนี้อาจมีเยาวชนน้อยหน่อย คงต้องรออีกนิดครับ

ผมทำงานอยู่ในองค์กรเด็กพิการแห่งหนึ่งในภาคอีสาน

ขอคำปรึกษา:

ผมกำลังจัดโครงการให้ความรู้จนท.เรื่องคุ้มครองสิทธิเด็กและการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ช่วงต้นเดือนธ.ค.2553 ผมไม่มีประการณ์เรื่องนี้ 1.อยากให้ครูหยุยช่วยให้ความรู้กับจนท.ได้มั้ยครับ 2.อยากได้วิทยากรกระบวนการ ครับ

 

คุณหาญชัยครับ เบื้องต้นขอให้ประสานกับทาง พัฒนาสังคมจังหวัด เพื่อทำโครงการร่วมกัน ว่าจัดอบรมใคร เรื่องอะไร วิทยากรคือใคร ผมเองหากไม่ติดอะไร บอกกำหนดการล่วงหน้าไว้เนิ่นๆ อาจไปบรรยายให้ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท