กบกินเดือน


แม้แต่เดือนยังเศร้าไปกับการสูญเสียเพชรน้ำเอกของชาวล้านนา

            ผ่าง...ผ่าง...ผ่าง...ผ่าง...ๆๆๆๆๆๆๆ เสียงเหมือนมีคนตั้งใจตีสังกะสีข้างรั้วให้ดังเป็นจังหวะหนักแน่น ฉันลุกเปิดมุ้งตามแม่ออกไปยืนที่กลางชานบ้านพร้อมกับแหงนมองดูบนท้องฟ้าที่ตอนหัวค่ำมีเดือนส่องแสงสว่าง  " กบกินเดือน"แม่บอก สิ้นเสียงแม่เกราะหรือกะหลกก็ดังรัวไปทั้งหมู่บ้าน      ป๊ก...ๆๆๆๆๆๆ       แป็ง...ๆๆๆๆๆๆ      ปัง...ๆๆๆๆๆๆ    ปึก...ๆๆๆๆๆๆๆ   ทุกบ้านจะหาไม้หรือกระป๋องมาตีให้เกิดเสียงดัง เพื่อจะให้กบที่กำลังกินเดือนอยู่นั้นตกใจและปล่อยเดือนให้ส่องแสงนวลตามเดิม  แม่อุ้ยคดข้าวเหนียวมาปั้นแล้วคลุกกับเขม่าไฟให้ดำ มีกล้วยสุกและอ้อย นั่งอธิษฐานแล้วเอาวางไว้ข้างๆก้อนเส้าในครัว แม่อุ้ยบอกว่าบูชาปู่ดำ ย่าดำ ให้ทุกคนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ขณะที่เด็กๆยังเพลินอยู่กับการตีเกราะและบีบตุ๊กตายางให้มีเสียงดังแป๊บๆๆๆๆๆๆ  และได้ยินเสียงญาติข้างบ้านเอามีดมาสับต้นขนุนดังสวบสาบ และพูดว่าออกหน่วยนักๆเน้อ........

              กบกินเดือน หรือจันทรุปราคาครั้งหนึ่งที่ไม่มีใครตีเกราะ เคาะไม้เลยแม้แต่คนเดียว คือ กบกินเดือนครั้งที่ตรงกับวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2506  ซึ่งตรงกับวันที่ท่านเจ้าคุณพระศรีศิลป์สุนทรวาที เจ้าอาวาสวัดศรีบุญยืน ซึ่งเป็นวัดในหมู่บ้านของฉันได้มรณภาพลง  ท่านเจ้าคุณอาพาธและได้ไปรักษาที่โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  2506 พอถึงเดือน 4 เป็ง หรือวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4  เวลา 16.45 ท่านเจ้าคุณก็ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอายุ 36 ปี  การสูญเสียครั้งนี้นำความเศร้าโศกให้แก่คณะศรัทธาสาธุชนเป็นอันมาก เพราะประชาชนทั่วภาคเหนือต่างก็ขนานนามท่านเจ้าคุณว่าเป็นเพชรน้ำเอกของล้านนา    กบกินเดือนในครั้งนั้นเกิดขึ้นท่ามกลางความเศร้าโศก จึงปราศจากเสียงตีกะหลก เคาะไม้ หรือทุบต้นไม้เหมือนที่เคยทำกันมา  แต่ละบ้านจะเร่งรีบเดินทางไปรวมกันที่วัดเพื่อปรึกษากันเรื่องที่ท่านเจ้าคุณได้มรณภาพลง 

         คนเฒ่าคนแก่ต่างก็พูดว่าแม้แต่เดือนยังเศร้าไปกับการสูญเสียเพชรน้ำเอกของชาวล้านนาในครั้งนี้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 387008เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (66)

สวัสดีค่ะครูดารามาเยี่ยมดึกๆเพราะเพิ่งตื่นนะคะ อ่านเรื่องราวการเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติแล้วมาเห็นความเชื่อของคนในสมัยก่อนแล้วก็ยังอยากจะให้เชื่ออยู่ค่ะเพราะว่าทำให้ผู้คนอยู่อย่างมีความสุข มีความเคารพต่อกัน รักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กบกินเดือนต้องไปตีเล้าไก่เพื่อให้ไก่ออกไข่เยอะๆ ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครู rinda

               ขอบคุณค่ะที่เข้ามาทักทายกันขณะที่เพิ่งตื่นนอน  Krudala ก็เพิ่งค้นพบตัวเองว่า ชีวิต จิตใจ ฝากไว้กับเพื่อนๆชาว Gotoknow ทุกขณะที่ว่างเช่นตอนนี้ก็เพิ่งตื่นนอนเหมือนกัน ก็เข้ามาดูบันทึกพบว่า ครู Rinda มาอ่านบันทึกและแสดงความคิดเห็นไว้แล้ว ดีใจค่ะ

                     กบกินเดือนที่บ้านครู rinda ไปเคาะเล้าไก่ เพื่อไห้ไก่ออกไข่เยอะๆ   ที่บ้าน Krudala แม่อุ้ยก็บูชาปู่ดำ ย่าดำ และเคาะต้นไม้เพื่อให้ออกลูกเยอะๆ หมายถึงบรรพบุรุษของเราท่านเชื่อในเรื่องของพลังงานค่ะ ถ้าอธิบายตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ก็คือ ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ล้วนเกิดจากพลังงานทั้งสิ้น แหล่งกำเนิด หรือศูนย์รวมของพลังงานอยู่ที่ดวงอาทิตย์ หรือตะวัน การที่เกิดกลางวันกลางคืน หรือเกิดจันทรุปราคา สุริยุปราคา เป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อทุกชีวิตในโลก ดังนั้นการบูชาปู่ดำ ย่าดำ จึงเป็นการเคารพและให้ความสำคัญพลังงาน ที่เป็นศูนย์รวมของสรรพสิ่ง แม้ในหลักของศาสนา ที่สอนว่าอนิจจังไม่เที่ยง มีเกิด ดับทุกขณะ คนเราเป็นที่ชุมนุมของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อถึงเวลา ธาตุต่างๆ ก็จะกลับไปสู่สภาพเดิม   จะเห็นว่าพิธีกรรมต่างๆที่บรรพบุรุษเราปฏิบัติต่อๆมานั้นท่านเข้าใจกฏเกณฑ์ของธรรมชาติได้ลึกซึ้งมากๆ                 ขอบคุณที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ                                                 

              

ตอนเด็กๆ แถวบ้านจะมีคนยิงปืนด้วยค่ะ

เขาว่าเป็น ราหูอมจันทร์ จะได้ตกใจและรีบปล่อยจันทร์

สวัสดีค่ะ

ตอนเล็ก ๆ พี่คิมอยู่เชียงใหม่ เคยได้ยินเรื่องเล่าแบบนี้เหมือนกันค่ะ มีแม่บ้านและพี่เลี้ยงชื่อ "คำป้อ" เป็นคนลำพูนด้วยค่ะ

เป็นความเชื่อระดับภูมิปัญญา น่าบันทึกและนำไปถ่ายทอดลูกหลาน คนรุ่นหลังนะคะ  เพราะในความเชื่อนั้นมีเหตุและผลซ่อนอยู่นะคะ  หาใช่เรื่องเหลวไหล  เหมือนผู้รู้สมัยใหม่ว่ากัน

เป็นเรื่องที่พี่คิมลืมไปเหมือนกัน  ได้นำมาให้อ่านอีกครั้ง  ขอขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณครู ป. 1

          ขอบคุณที่เข้ามาแวะอ่านบันทึกของ Krudala ค่ะ

          คนไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับปรากฎการณ์บนท้องฟ้าคล้ายๆกัน แต่จะมีชื่อเรียกและพิธีกรรมแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนะคะ การยิงปืน จุดปะทัด ตีเกราะ เคาะเล้าไก่ ล้วนแล้วแต่เป็นการแสดงออกที่มีต้นเหตุมาจากการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นั้นๆขึ้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มีตัวตน มองไม่เห็น ก็คือพลังงานที่จุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์ค่ะ

                       ขอบคุณค่ะ

         

สวัสดีค่ะ

  • ที่ภาคใต้ก็มีแบบนี้เหมือนกันค่ะ
  • เด็ก ๆ ชอบมาก  สนุกดีค่ะ (ตอนที่ยังไม่มีแสงสีจากไฟฟ้า)
  • ระยะหลัง ๆ ก็ไม่ค่อยมีใครทำกัน
  • บางครั้งไม่ทราบกันด้วยซ้ำว่ามีจันทรุปราคาหรือ ราหูอมจันทร์
  • ขอบคุณค่ะที่นำเรื่องราวมาแบ่งปัน

สวสดีค่ะ พี่ครูคิม

         ฝนตกหนักอีกแล้ว  อากาศเย็น  ขอไปเอาเสื้อมาคลุมอีกตัวนะคะ...

พี่ครูคิมเคยมาอยู่เชียงใหม่และมีพี่เลี้ยงเป็นคนลำพูน คงเคยได้ยินเรื่องนี้มาบ้างแล้ว แรกๆ Krudala ก็คิดเหมือนนักวิชาการสมัยใหม่ที่เห็นเป็นเรื่องไร้สาระ แต่เมื่อศึกษาจริงๆแล้วมีที่มาค่ะ  และKrudala ก็จะไหว้ปู่ดำ ย่าดำทุกปีที่เกิดจันทรุปราคา หรือสุริยุปราคา  และก้อนเส้าที่ใช้ก่อไฟทำอาหารในสมัยนี้ไม่มีแล้ว ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นของดำเจ็ด หรือเก้าอย่างไหว้พระราหูแทนค่ะ การตั้งจิตอธิษฐานก็เหมือนที่แม่อุ้ยเคยทำสมัยก่อนคือนึกถึงคุณของแหล่งกำเนิดพลังงาน ขอให้คุณของสิ่งศักดิ์สิทธิช่วยคุ้มครองให้ทุกคนมีความสุข โดยการสวดมนต์ กรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ต่างๆ ฯลฯ  ทำแล้วก็สบายใจค่ะ

         Krudala ไปโอนเงินเข้าบัญชีตามที่ได้สั่งจองเสื้อ Gotoknowไว้ตามหมายเลขที่จดไป โดยโอนทางตู้ ATM แต่โอนไม่ได้ค่ะ ตอนแรกคิดว่าตู้นี้ไม่ได้ ไปลองอีกที่หนึ่งก็โอนไม่ได้อีก เลยคิดว่าจดหมายเลขมาผิดหรือเปล่า กำลังจะมาดูหมายเลขบัญชีของพี่ครูคิมใหม่อีกครั้งค่ะ  

           ขอบคุณที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นดีๆกับบันทึกของKrudalaค่ะ

      

 

สวัสดีค่ะ คุณอิงจันทร์ ณ กระท่อมอิงจันทร์

            Krudala สดุดตาชื่อนี้ตั้งแต่แรกเห็นเลยนะ เอาไว้เฉลยวันหลังดีกว่าว่าเพราะอะไร อิ..อิ..

            การเกิดจันทรุปราคา หรือสุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่คนทางภาคใต้เรียกราหูอมจันทร์ เด็กๆทำตามผู้ใหญ่เพราะเห็นเป็นเรื่องที่สนุกได้เคาะกะลา ตีเกราะ ฯลฯ สมัยนี้ไม่มีแล้ว ที่บ้านKrudala ก็ไม่มีแล้วค่ะ แต่ยังสงสัยว่าหรือคนไม่เห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆเหล่านี้แล้ว  ...ความจริงไม่ใช่นะคะ มีจำนวนมากที่ยังคงไปทำพิธีบูชาอยู่ แต่เพราะด้วยการสื่อสารเจริญขึ้น จึงมีกลุ่มที่อนุรักษ์ความเชื่อนี้รวมกันทำพิธีในวัดต่างๆ แต่ไม่ได้เคาะไม้หรือยิงปืนให้ราหูคายพระจันทร์แบบที่เคยได้ยินกันมา 

                                 ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

 

         

สวัสดีค่ะ...

เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนนะค่ะ...เพราะอาจมาจากสาเหตุที่เมื่อเหตุการณ์แบบนี้แล้ว จะมีเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ค่อยดีเกิดขึ้นไงค่ะ...เลยต้องตีเกราะ เคาะไม้ ให้บรรยากาศรีบคลี่คลายเป็นปกติ...แต่ถ้าเป็นทางวิทยาศาสตร์ ก็คือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติค่ะ...ถามว่าคำตอบมีใครผิดใครถูกหรือไม่...แบบนี้ต้องไปเรียนรู้ในเรื่อง "การคิด 10 มิติ" ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้แล้วละค่ะ...อาจเกี่ยวเนื่องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ และการคิดเชิงสังเคราะห์ค่ะ...เห็นไหมค่ะ?...เข้ามาใน G2W มีแต่ประโยชน์ค่ะ อยู่ที่เราจะเลือกใช้ประโยชน์หรือไม่ค่ะ...ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ชวนให้คิดค่ะ...

ก๊อกๆๆ  สายแล้ว

ตื่น ตื่น   up and down  กันหน่อยน่ะค่ะ

หวัดดียามเที่ยงค่ะ....

ขอบคุณมากค่ะที่แวะไปทักทายยามดึก...หลับไปแล้ววววว

จะได้ว่าถ้ากบกินเดือนเมื่อไหร่เป็นได้สนุกสนานกันมาก  ทั้งเคาะกะลาหม้อไห  เคาะต้นไม้  จุดประทัด  เดี๋ยวนี้ได้แต่มองๆ  บางครั้งก็หาไม่เห็น  และกลายเป็นเรื่องเล่าให้ลูกให้หลานฟังถึงบรรยากาศสมัยนั้น...

สวัสดีค่ะ อาจารย์บุษยมาศ

จากกบกินเดือน พัฒนาสู่การคิดวิเคราะห์  คิดสังเคาระห์  สามารถทำวิจัยเพื่อเลื่อนตำแหน่งได้ไหมคะนี่  น่าสนใจทีเดียวนะคะ คุยกับอาจารย์ได้ความรู้เยอะจัง

                       ขอบคุณที่ช่วยต่อยอดความคิดค่ะ

                             ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณกานดาน้ำมันมะพร้าว

ขอบคุณที่ฝ่าสายฝนแวะมาทักทายกันนะคะ  ฝนตกทุกวันเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น

ขอส้มกินได้ทั้งเปลือกอุดมด้วยวิตามินซี กินสักพวง หวัดหายแน่ค่ะ

                                           ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูบันเทิง

            ขอบคุณที่อุตส่าห์ปลุกให้มาออกกำลังกายนะคะ

      Krudala ไม่ได้ออกกำลังกายมานานแล้ว  สุขภาพไม่ค่อยดีค่ะ

                up and down .......

                      ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ Kruqui Chutima

ขอบคุณที่แวะมาทักทายกันยามเที่ยงนะคะ

กบกินเดือนสมัยก่อนสนุกอย่างที่ Kruqui พูดจริงๆค่ะ

เสียงเคาะสารพัดชนิด ปิ่นโต หม้อ ถังน้ำ .....

ปีที่แล้วเกิดสุริยุปราคา มีแต่ที่โรงเรียนเอาฟิลม์กรองแสงให้เด็กส่องดู  ชาว

บ้านก็ไม่ได้ยินใครเคาะอะไรอีกแล้ว ยังงงอยู่ว่าเดี๋ยวนี้กับแต่ก่อนต่างกันลิบ

บางครั้งก็ลืมว่าเรามาถึงยุคนี้แล้ว จริงๆก็คิดถึงบรรยากาศเก่าๆอยู่นะคะ

                              ขอบคุณค่ะ

 

 

  • เขียนบรรยายเห็นภาพพจน์เลยค่ะ  ตอนเด็กๆ เวลากบกินเดือน
    เห็นยายเอาผ้าไปนุ่งให้ต้นไม้ที่ไม่ออกลูกด้วยบอกว่าให้มันแปลงเพศ อิอิ
  • สวัสดีค่ะ  คุณKRUDALAP
  • "กบกินเดือน" อ่านแล้วพลอยตื่นเต้น
    ไม่คุ้นเคยกับคำนี้ค่ะ  ที่แท้ก็เป็นภาษาถิ่นสะท้อนวัฒนธรรมความเชื่อ
    ของชาวล้านนา  น่าสนใจค่ะ
  • หากเป็นภาคกลางมีการใช้ไม้เคาะต้นไม้ให้ลูกดกก็มีค่ะ
  • ท่านเจ้าคุณ ฯ อายุเพียง ๓๖ ปี  อายุน้อยมากค่ะ อ่านแล้วก็พลอย
    เสียดายเพชรน้ำเอกของชาวล้านนาไปด้วย
  • ขอบพระคุณค่ะ

มาช้ายังดีกว่าไม่มานะ อาตมาเห็นว่าทุกอย่างล้วนมีที่มา(เหตุ)อยู่ที่คนที่ได้สัมผัสจะรู้ที่มาและปฏิตามความเหมาะแก่เหตุอันจะเกิดผลได้ตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ เป็นตรรกะไปหน่อยหรือเปล่านี่ เจริญพร

สวัสดีค่ะ คุณครูเก็จถะหวา

          ขอบคุณที่แวะมาอ่านบันทึกของ Krudala ค่ะ

        กบกินเดือน ต้นไม้ได้ห่มผ้า  เพื่อให้ออกดอกออกผลเยอะๆ  จริงๆด้วยค่ะ

        เด็กๆได้แต่เคาะกระป๋อง แต่ผู้ใหญ่ไปที่ต้นไม้ เสียงดังฉับๆคือเอามีดไปฟัน

        คงเป็นการเตือนให้ต้นไม้รู้ว่าปีนี้ออกผลเยอะๆนะ แต่ไม่เคยสังเกตว่าถ้าเคาะ

        ต้นไม้แล้วปีนั้นต้นไม้ติดลูกมากกว่าทุกปีหรือเปล่า

                           ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณธรรมทิพย์

       กบกินเดือน เป็นที่เข้าใจกัยโดยทั่วไปทางภาคเหนือค่ะ แต่ถ้าภาษถิ่นจริงๆยังแตกต่างกันออกไปอีกนะคะ เช่นภาษายอง จะพูดว่า "จั๋นตะคาดตือเดิอน" หมายถึงจันทรคาตบังดวงจันทร์  แต่ความเชื่อและการปฏิบัติก็คล้ายๆกันค่ะ

       ท่านเจ้าคุณพระศรีศิลป์สุนทรวาที ท่านเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงมาก มีผลงานเป็นหนังสือมากมาย ตามประวัติท่านได้มาศึกษาที่กรุงเทพฯโดยพักที่วัดเบญฯเมื่ออายุได้ 19 ปี และสอบปธ. 7 เมื่ออายุได้ 28 ปี และได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณพระศรีศิลป์สุนทรวาที ในพ.ศ. 2503  เมื่ออายุได้ 33 ปีค่ะ

       คณะศรัทธาและลูกศิษย์จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านเจ้าคุณและเจ้าอาวาสองค์ก่อนทุกปี จะมีการเปิดเทปที่ท่านได้เผยแผ่ธรรม และแสดงปาฐกถาธรรมตลอดงาน

             ขอบคุณที่ช่วยแนะนำการเขียนบันทึกและ Krudala ก็ได้ปรับปรุงแล้วในบันทึกนี้ ให้มีชื่อเรื่องและความยาวที่เหมาะสม มีหวังว่าจะได้คำแนะนำอีกนะคะ

                            ขอบคุณมากค่ะ

กราบนมัสการ ท่านปัญญาวโร

ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ 

ควรเลือกปฏิบัติให้เกิดผลที่เหมาะสม

ตรงตามความเป็นจริง

                 ขอบพระคุณค่ะ

กบกินเดือนเมื่อไร ขอให้ทุกท่าน "อยู่เย็นเป็นสุข" นะครับ

  • สวัสดีครับ
  • กบนี่เก่งครับ กินได้ทั้งเดือนทั้งตะวัน
  • สิ่งที่ผู้เฒ่าผู้แก่พาทำน่าจะเป็นการเรียกขวัญกำลังใจครับ
  • ช่วงนี้ถ้ากบกินเดือนให้เอาไม้ไปเคาะบ้านต๊กโตเน้อครับ จะได้ออกลูกหลายๆ เขาว่าขายได้ตัวเป็นแสน สำหรับผมขอได้ตัวเดียวกะปอใจ๋แล้วครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์นุ

กบกินเดือน กับความเชื่อของบรรพบุรุษ 

กับหนังสือ ไอสไตน์พบ  พระพุทธเจ้าเห็น

น่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน นะคะ

   ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ชำนาญ

การเกิดสุริยุปราคา ทางแพร่ น่าน ก็เรียก "กบกินตะวัน" หรือคะ

สิ่งที่ผู้เฒ่าผู้แก่พาทำน่าจะเป็นการเรียกขวัญ กำลังใจ  เป็นข้อคิดที่ดีมากค่ะ

คุยกับอ.ชำนาญได้ความรู้ใหม่อีกแล้ว ขายต๊กโตได้ตัวละเป็นแสน

มิน่า...ต๊กโตที่บ้าน Krudala เคยร้องอยู่สองสามวัน ตอนนี้เงียบเสียงไปเลย

                                             ขอบคุณความคิดดีๆค่ะ

  • วัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละแห่ง...มักแฝงไว้ด้วยคติธรรม จริยะธรรม ค่านิยมที่มากด้วยกุศโลบายอันแยบยล เพื่อบ่มเพาะ ปลูกฝังให้ลูกหลานได้สืบสานต่ออย่างแนบเนียน...
  • เป็นสิ่งดีๆ ที่ผู้คนปัจจุบัน..มักมองข้าม ใส่ใจน้อยกว่าการนำเข้าวัฒนธรรมจากต่างชาติ...
  • ขอระบายและบ่นดังๆ ให้อาจารย์ฟัง แทนเสียงเพลงในยามรับประทานอาหารกลางวันนี้...ครับ

สวัสดีค่ะคุณKRUDALA

เวลามีกบกินเดือน เราจะพากันไปเคาะโอ่งไห เคาะยุ้งข้าวค่ะ ให้มีความอุดมสมบูรณ์

บันทึกนี้ที่ทำให้นึกถึงความทรงจำดีๆในวัยเด็กค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ..ประเพณีตามความเชื่อถือในปรากฏการณ์ธรรมชาติของพื้นบ้าน ยังคงมีอยู่เป็นที่รวมจิตใจของชุมชน เป็นเรื่องเล่าขานที่ยังรักษาไว้จนชั่วลูกหลาน..ช่วงนี้อากาศแปรปรวนทุกแห่ง..รักษาสุขภาพด้วยนะคะ..

สวัสดีค่ะอาจารย์สามสัก

ขอเรียกตามเพื่อนพ้องชาว GotoKnow นะคะ

ขอบคุณที่เข้ามาทักทายและฝากคำคมให้ชื่นใจ

ตอนรับประทานอาหารกลางวันค่ะ

"วัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละแห่ง มักแฝงไว้ด้วยคติธรรม จริยธรรมและค่านิยม

ที่มากด้วยกุศโลบายอันแยบยล เพื่อบ่มเพาะ ปลูกฝังให้ลูกหลานได้สืบสาน

ต่ออย่างแนบเนียน"

Krudala เข้ามาตอบในเวลาอาหารเย็น ที่ทำให้วันนี้กิ๋นข้าวแลงล้ำ...ลำเจ้า

                      ขอบคุณความคิดดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะน้องถาวร

        การเคาะโอ่ง ไห และยุ้งข้าวเมื่อ มีเหตุการณ์ "กบกินเดือน" หมายถึงให้ข้าวมีน้ำ

อุดมสมบูรณ์  เห็นผู้ใหญ่ทำเราก็ทำตามกันมาเพราะอยากให้ทุกคนในบ้านอยู่ดีมีสุขค่ะ

                        ขอบคุณที่แบ่งปันความคิดดีๆค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณพี่นงนาท

ขอบคุณที่มาทักทายและฝากภาพน้องฟ้ากับนายมฆให้ชมนะคะ

ประเพณี และความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เป็นที่รวมจิตใจของคนในชุมชน

และเป็นที่เล่าขานไว้ชั่วลูกหลาน

       ขอบคุณความคิดดีๆค่ะ

ชอบลุ้นเวลามีกบกินเดือนค่ะ แถวบ้านก็จะเตรียมตีกระป๋อง กระแป๋งแล้วค่ะ ตอนเด็กๆ ฮาๆ แม่จะเล่าให้ฟัง

ขอบคุณคะครูพี่ จะรอชมน้องฟ้ากะนายเมฆที่ลำปู้น ลำปูน นะเจ้า ฝันดีโตยค่ะ

สวัสดีค่ะ น้อง POO

กบกินเดือน เป็นเรื่องสนุกของเด็กๆ แต่ผู้ใหญ่จะมีพิธีกรรม เช่นแม่อุ้ยไหว้ปู่ดำ ย่าดำ

หรือเคาะต้นไม้ ตีเกราะ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เหลือเพียงเรื่องเล่า จากความทรงจำเท่านั้นค่ะ

Krudala เริ่มมองเห็นความงามของน้องฟ้ากะนายเมฆแล้วค่ะ หลังจากที่อ่านบล๊อคของ

น้อง POO จะลองหัดถ่ายภาพมาให้ดูนะคะ เมื่อไรจะเอาภาพขึ้นได้เสียทีก็ไม่รู้เน๊าะ

                         ขอบคุณที่แวะมาทักทายกันค่ะ

สมัยตอนผมเด็กๆ ก็ยังทันได้ตีปิ๊บกับเขาเหมือนกัน...บ้านผมเรียกต่างจากคนลำพูน ..เพราะเรียกกันว่า"จั๊กค่านกินเดือน" จนป่านนี้ผมยังไม่รู้ความหมายคำว่า"จั๊กค่าน" คืออะไร...อิอิ

สวัสดีค่ะ คุณหนุ่มเอม

ขอบคุณที่แวะมาอ่านบันทึกของ Krudala นะคะ

เอ...คุณหนุ่มเอมเป็นคนเมืองข้างนึ่งเหมือนกัน เคยตีปี๊บตอนจักค่านกินเดือน

ตาก็มองไปที่จั๊กค่าน มือถือไม้ตีปี๊บอยู่ ปังๆๆๆๆๆๆ อยู่บ้านKrudalaก็ยังได้ยิน

เสียงตีปี๊บจากบ้านคุณหนุ่มเอมเลยค่ะ...อิ..อิ...

"จักค่านกินเดือน" คล้ายกับภาษายองบางท้องถิ่นก็เรียก "จันต๊ะคาตตือเดิอน"

ไม่ว่าจะพูดออกเสียงอย่างไร ความเชื่อและการปฏิบัติก็คล้ายกันนะคะ

                             ขอบคุณที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

แม้แต่เดือนยังเศร้า กับการจากไปของบุคคลที่มีคุณค่า คุณประโยชน์ต่อสังคม....

สมัยเด็กๆ ครูใจดีก็ไปเคาะต้นไม้ แล้วบอกว่า ดก ๆๆๆๆ  ค่ะ....  ก็จะตื่นเต้นกันมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ค่ะ

ขอบคุณเรื่องเล่า... ความทรงจำสวยงาม อ่านเมื่อไหร่เป็นต้องอมยิ้มจนแก้มตุ่ยทุกที..

 

สวัสดีค่ะ  ครูใจดี

แม้แต่เดือนยังเศร้าไปกับการสูญเสีย ท่านเจ้าคุณพระศรีศิลป์สุนทรวาที

เพ็ชรน้ำเอกของชาวล้านนา 

 Krudala เป็นเด็กก็พอจะรู้ถึงความเศร้าโศก ขณะนั้นค่ะ

   ขอบคุณที่ติดตามอ่านบันทึกของ Krudala ค่ะ

สวัสดีครับKRUDALA

การตักบาตรเป็งบุ๊ดจะมีกลางคืนวันอังคารเที่ยงคืน ก็คืนวันพุธ นั่นเองครับ

 

ปีนี้ดูได้ที่นี่ครับhttp://gotoknow.org/blog/mcuchiangrai01/387833

...เพิ่งทราบว่าเรียกกบกินเดือน...ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครูดาหลา ค่ะ เมื่อคืนเห็นพระจันทร์กะน้องเดือน เคลื่อนคล้อยไปพร้อมกัน สร้างสีสันให้ท้องฟ้ายามค่ำคืนดูสวยงามและมีเสน่ห์ค่ะ ลำปู้น ลำปูน ช่วงนี้เป็นไงบ้างคะ ตกลงน้ำไม่ท่วมนะคะ

  • มาขอบคุณด้วยดอกดองดึงส์ตามคำขอครับ
  • ขอบคุณที่แวะไปทักทายผมนะครับ

สวัสดีค่ะ

***อยู่ลานนามาหลายปี....เพิ่งเคยได้ยิน กบกินเดือน วันนี้เอง....ทำไมหนอ

*** ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณฤทธิชัย

การตักบาตรเป็งปุ๊ด ถือว่าได้อานิสงฆ์มาก  ที่วัดในหมู่บ้านของKrudala ก็เคยมีการแห่พระอุปคุต  แต่เป็นกลางคืนจึงไม่เคยได้เห็นพิธี จะเห็นเฉพาะวิหารพระอุปคุต ที่เขาสร้างไว้มุมด้านหน้าของวิหารจริง และมัคทายกของวัดบอกว่าก้อนหินที่วางไว้นั้นคือพระอุปคุต  ก็ยังงงๆอยู่ว่าก้อนหินจะป็นพระอุปคุตไปได้อย่างไร  ส่วนการตักบาตรก็ตักบาตรในเช้าวันพระตรงกับวันพุธ ตามปกติ ไม่ได้ตักบาตรตอนเที่ยงคืนเหมือนที่เชียงรายค่ะ

                   ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ By Jan

กบกินเดือน  จันต๊ะคาตตือเดิอน  เป็นภาษาล้านนา และภาษายอง

 คือความหมายเดียวกัน  หมายถึงจันทรุปราคาค่ะ

                     ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

สวัสดีค่ะ น้อง POO

     คืนที่ผ่านมาฝนไม่ตก แต่ไม่ได้เยี่ยมหน้าไปชมพระจันทร์กะน้องเดือน เลยอดเห็นความงามที่เป็นเสน่ห์ของท้องฟ้ายามค่ำคืน  ส่วนมากจะได้เห็นดาวเคียงเดือนตอนหัวค่ำมากกว่าค่ะ

         ที่ลำพูนน้ำไม่ท่วมค่ะ  แต่...ที่โรงเรียนของ Krudala น้ำท่วมทุกครั้งที่ฝนตกค่ะ เพราะน้ำฝนระบายลงท่อไม่ทัน โรงเรียนกลายเป็นแอ่งรับน้ำเพราะชาวบ้านรอบบริเวณถมที่สูงไปหมด ปีกลายอ.บ.จ.มาปรับสนามให้สูงขึ้นมาก ยังไม่ทันได้ปลูกหญ้า ฝนเทลงมาดินที่ถมสนามกลายเป็นโคลนไหลลงมาท่วมถนนหน้าอาคารเรียน กลายเป็นทะเลโคลนไปเลย  โรงเรียนสวยๆก็กลายเป็นทะเลโคลนทุกครั้งที่ฝนตก  ด้วยประการฉะนี้.....   

                     ขอบคุณที่แวะมาถามข่าวคราวกันค่ะ

             

สวัสดีค่ะ คุณกิตติพัฒน์

ดองดึง สวยงาม มีประโยชน์ในทางสมุนไพร  

อย่างนี้ต้องเรียกว่า สวยอย่างมีคุณค่า  นะคะ

ขอบคุณที่จัดให้ ตามคำขอ ค่ะ

                 ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณกิตติยา

              สมัยนี้ไม่มีวาสนาได้ยินคำที่เป็นออริจินอล อีกแล้วค่ะ

เด็กสมัยใหม่ เซ็นซิทีฟม้าก.... คำต่างๆที่ใช้กันฟังแล้วแสนจะโรแมนติคค่ะ...

กบกินเดือน....รับไม่ได๊...รับไม่ได้... ^___^

                        ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

                               

 

  • ดาหลา  ไม่ได้ขอ  แต่จัดให้ด้วยความยินดี
  • เพื่อตอบแทนไมตรีจิตที่แวะเข้าไปทักทายครับผม
  • ขอบคุณครับ

 

 

ตอนสมัยเด็ก รู้สึกสนุกที่ได้เคาะกะละมังเวลามีกบกินเดือน หรือจันทรุปราคา เป็นธรรมชาติที่ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ เกิดได้อย่างไร?

มาเยี่ยมค่ะ

เคยตีบีบกับเขาด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณกิตติพัฒน์

ดาหลาสีขาว  สีส้ม  สีแดงเข้ม ...ว้าว...ว้าว...ว้าว !!! 

มีอีกไหม...มีอีกไหมเนี๊ยะ?

ไม่ได้ขอ ก็จัดให้  อย่างนี้จะไม่ให้รัก...ไม่ได้แล้ว!

รู้ใจไปหมด...ซึ้ง...ซะ

     ขอบคุณในมิตรภาพที่มอบให้

               ขอบคุณมากค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณเกด

           เพิ่งตื่นขึ้นมาก็เปิด Net  ทำให้ได้พบกับผองเพื่อนGotoKnow ในรอบดึกค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย และคุยกันเรื่องเคาะกะละมัง เวลามีกบกินเดือน

ตอนนี้หู Krudala ยังได้ยินเสียงแป่งๆๆๆๆ จากการเคาะกาละมังของคุณเกดอยู่เลยค่ะ

อิ..อิ...^__^

  รวมพลคน GotoKnow ที่ขอนแก่น สนุกไหมคะ

                ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณมนัญญา

รวมพลคนตีปี๊บ...!!! 

 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ " KOB KIN DUEN " ...^___^

กบคงได้ยินการบรรเลงดนตรีวงใหญ่ เลยต้องปล่อยเดือนที่กำลังเขมือบอยู่ !!

อ๊บ...อ๊บ...อ๊บ...กระโดดหนีไปกินแมงเม่าต่อแล้ว

             ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

 

 

 

 

สวัสดีค่ะครูดาหลา มาเยี่ยมตอนเย็นๆ ใกล้เวลาอาหารมื้อค่ำๆ จะทานไรดีน้า..อากาศแบบนี้ฝนตกปรอยๆทำแกงหน่อใส่ปลาจี่ท่าจะลำน้อพี่น้อ อย่าลืมใส่ใบแมงลักโตยเน้อเจ้า ลำขนาด

ขอบคุณค่ะ

เป็นบันทึกที่มีพลังความรัก ความเข้าใจ และแฝงไว้ด้วยคุณธรรม

การรำลึกถึงคนดีเป็นกุศลค่ะ

เพิ่งทราบว่าบ้านน้องเรียก

"กบกินเดือน"

คนรุ่นเก่าเข้าใจ และฉลาดที่จะตั้งชื่อให้เกิดการเรียนรู้ไม่รู้จบนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีเจ้า น้องครู rinda

มาชวนแกงหน่อใส่ปลาจี่ ใส่ใบแมงลักตวย จะลองแกงชิมสักเตื่อ ท่าจะลำแต้เนาะ

ฝนตกก่อเจ้า ตี้บ้าน Krudala เมื่อแลงตกนักขนาด อย่างอี้กั๋วน้ำท่วมแต้ๆ

                   ขอบคุณเจ้า

  • จะกินยังไงอ่ะ  ผัดไทยตอนเที่ยงคืน
  • เก็บใส่ตู้เย็นไว้ก่อนละกันนะคุณดาหลา
  • พรุ่งนี้ ถ้าไม่บูด คงพออุ่นกินได้นะ
  • ไปละ  ง่วงแล้ว

 

สวัสดีค่ะ krutoiting

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย และอ่านบันทึกจากความทรงจำของ Krudala ค่ะ

เป็นบันทึกที่มีพลังความรัก ความเข้าใจและแฝงไว้ด้วยคุณธรรม

" กบกินเดือน"เป็นคำพูดของคนย้อนยุคที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ไม่รู้จบ

                   ขอบคุณความคิดดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณกิตติพัฒน์

  โถๆๆๆ....ง่วงนอนแล้วยังอุตส่าห์มาส่งผัดไทย  

  บาปมากไหมเนี๊ยะเรา...

  ขนาดนี้แล้วจะไม่กินได้ไง...ไม่ต้องใส่ตู้เย็นแล้วค่ะ...กินเลย

             และจานนี้ไม่ได้อิ่มธรรมดาเสียแล้ว...อิ่มอกอิ่มใจเชียวล่ะ... อะแฮ้ม!!

                                        ขอบคุณมากๆค่ะ

สวัสดีครับครู ดาลา ประสบการณ์อย่างนี้คนรุ่นก่อนเขาเจอกันมาทุกคน

การตีปีบ โห่ร้องเป็นไล่

ที่ปักใต้เดือนเป็นจัน หวันเป็นสูญ (กลางวัน)

เขาจะร้องกันว่า ฮาเหอ ฮาเห้อ ขี้ออก.....คายคาย ราหูตัวร้าย กินซ้ายกินขวา คายเอ้อหายเหย (หมายให้คายออกมา)

สวัสดีค่ะ ท่านวอญ่า

         กลับจากประชุมสัมมนาเมื่อไรคะนี่  

          เดือน ของภาคเหนือ   ปักษ์ใต้ เรียก  จันทร์

          หวัน หรือตะวัน         ปักษ์ใต้ เรียกสูญ คือไอศูนย์ หรือสุริยะ  ใช่ไหมคะ

          การร้องบอกให้ราหูคายจันทร์ เป็นความเชื่อและความงดงามของภาษาที่สื่อ

        ให้เห็นถึงความห่วงไย วิตกกังวล แฝงอยู่

       เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางภาษาของแต่ละภาคได้ดีมากค่ะ

            ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ค่ะ

สมัยเป็นเด็กเดินผ่านอุโบสถวัดเขาเขียนภาพกบกินเดือน ถ้าใครเอามือชี้เพื่อนบอกว่าจะเกิดสิ่งที่ไม่เป็นมงคล เกิดอันตราย

เขาให้แก้เคล็ดโดยเอานิ้วมือไปเช็ดกันแล้วเอามาอม (โดนอำซะ หมดท่าเลย๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕)

สวัสดีค่ะ ท่านผ.อ.พรชัย

              ขอโทษที่ตอบช้าไปหลายวัน เพราะ NETมีปัญหาค่ะ ความจริงระบบเขาก็ดี แต่เป็นเพราะบ้านเราอยู่กันตามประสา...ลูกๆโตแล้วเหมือนนกที่เขาบินเองได้แล้ว ก็ปล่อยให้เขาโบยบินออกไปตามกำลังของเขา  เราก็อยู่กัน...ตามประสา....(ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)..อิ...อิ...และทุกครั้งที่NETมีปัญหาก็จะติดต่อ Call Center ที่กรุงเทพ  บางวันตื่นตี 4 เข้าNET ไม่ได้ ก็โทรตอนตี 4 คนรับสายมารับเสียงอู้อี้เหมือนเพิ่งตื่นนอน  Krudala ก็ขำๆรู้เลยว่าเราไปปลุกเขาตื่น    ก้อ...ตี 4 จะออกไปปั่นจักรยานอีกก็เข็ดแล้ว ตั้งแต่ออกไปปั่นคนเดียวแล้วเห็นอะไรขาวๆลอยใกล้เข้ามา ใจแทบหยุดเต้น!  จะออกไปวิ่งเหยาะๆตามถนนก็มีหมาที่ไม่มีเจ้าของมาไล่เห่า ...อุปสรรคเยอะมาก   พอมารู้จัก G2K ก็รู้ว่านี่แหละ...ใช่เลย

           ที่ยโสธรท่านผ.อ.เคยเดินผ่านอุโบสถวัดที่มีภาพ กบกินเดือน และบอกกันว่าถ้าใครเอามือชี้จะเกิดสิ่งที่ไม่เป็นมงคลต่างๆ และให้แก้คล็ดโดยเอานิ้วไปเช็ดก้นแล้วเอามาอม....ตอนนั้น เด็กชายพรชัยก็ได้อมนิ้วด้วยใช่ไหมล่ะ...อิ...อิ... 

     น่าจะเป็นกุศโลบายที่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกต่อๆกันมา เพื่อไม่ให้เด็กไปทำเสียงดัง การที่ให้อมมือก็คือให้มีสติ หยุดพูดคุยส่งเสียงดังรบกวนพระที่กลังสวดมนต์หรือภาวนาอยู่ เรื่องที่คนโบราณบอกเล่าและปฏิบัติตามกันมาก็ไม่ใช่เรื่องไร้สาระอย่างที่คิด นะคะ

                   ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่แบ่งปันค่ะ

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดี ๆค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ภาทิพ

                ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

                       ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท