สัมปทานทับซ้อน


แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ต่างหากที่ต้องส่งคนไข้ที่สุดปัญญารักษา เช่น ทำยังงัยน้ำตาลในเลือดก็ไม่ดีขึ้นสักที แบบนี้ต้องส่งมาให้เราช่วยดูแลครับ(ถ้าเป็นคนไข้ในเขตพื้นที่ที่เราดูแลอยู่) เพราะเราจะรู้จักคนไข้ของเราดีไปจนถึงครอบครัว ชุมชน

   มีความสับสนอย่างมากเมื่อพูดถึงบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในเมืองไทย บ้างก็ว่าไม่เห็นต่างจาก GP (แพทย์ทั่วไปที่จบ 6 ปี) บ้างก็ว่าไม่เห็นจะเก่งจริงๆซักด้าน เพื่อนร่วมวิชาชีพก็นึกภาพความเชี่ยวชาญไม่ออก ก็เลยไม่รู้ว่าจะปรึกษา หรือส่งคนไข้ประเภทไหนให้ดูแล สุดท้ายก็เลยถูก ผอ.ส่งให้ไประบายคนไข้ที่ OPD(แผนกผู้ป่วยนอก)ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้าของทุกโรงพยาบาล ไม่ต้องพูดถึงประชาชน ไม่แน่ว่าจะเคยได้ยินชื่อหมอประเภทนี้หรือปล่าว แล้วที่ยืนในสังคมอยู่ตรงไหนกันแน่?

     ผมคิดว่าความต่างของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเราเชี่ยวชาญในหน่วยของครอบครัวซึ่งมันอยู่ที่บ้าน ที่ชุมชน ไม่ใช่อยู่ที่แผนกผู้ป่วยนอก หรือในห้องผ่าตัด เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องเข้าใจครับและปล่อยให้พวกเราได้แสดงศักยภาพให้เต็มที่ในพื้นที่ของเรา อย่าขังไว้แค่ใน OPD เท่านั้น อีกประการก็คือต้องมีหน่วยให้เราสังกัดนั่นก็คือ ครอบครัวที่เราต้องติดตาม หรือพื้นที่ที่เราต้องดูแล(Catchment Area )ที่ชัดเจนอีกด้วย ผมว่าเริ่มที่ประมาณ ๑๐๐๐๐ คน กำลังพอดี ไม่ใช่ทั้งอำเภอหลายหมื่นคน  ลองนึกภาพดูครับ บทบาทของเราไม่ใช่การไป Screening โรคง่ายๆที่ OPD แล้วส่งให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆดูแลต่อ แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ต่างหากที่ต้องส่งคนไข้ที่สุดปัญญารักษา เช่น ทำยังงัยน้ำตาลในเลือดก็ไม่ดีขึ้นสักที แบบนี้ต้องส่งมาให้เราช่วยดูแลครับ(ถ้าเป็นคนไข้ในเขตพื้นที่ที่เราดูแลอยู่) เพราะเราจะรู้จักคนไข้ของเราดีไปจนถึงครอบครัว ชุมชน

    สรุปว่า แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวทุกคนก็ต้องเปิดเผยภาพตัวเองให้ชัด และผู้บริหาร เพื่อนร่วมวิชาชีพ ประชาชนก็ต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 386866เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตอบคำถาม คุณหมอ สีอิฐ แล้วครับ

http://gotoknow.org/blog/nopadol/386082

แต่เผลอกดลบชื่อ คุณหมอ สีอิฐ ไปน่ะครับ

 

คุณหมอ ยงยุทธ พงษ์สุภาพ

เคยเขียนเรื่อง "ยกบริการปฐมภูมิออกนอกโรงพยาบาล"

http://somed1.tripod.com/gp/news01.htm

ถ้ามี FmaMed ออกมาทำงานอย่างคุณหมอว่า  ประชาชนตาดำๆคงเข้าถึงบริการได้บ้างนะคะคุณหมอ  สถานบริการใกล้บ้านใกล้ใจคงพูดได้เต็มปาก

ประชาชนล้วนอยากได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ทุกคน  ระบบ Consult  คงไม่ดีเท่าการได้รับการสัมผัสบริการจากแพทย์

อยากเห็น FamMed ในแต่ละ Node อย่างคุณหมอว่าจังเลยค่ะ  สัก10-20 ปี ไม่รู้ว่าจะฝันนานเกินไปหรือเปล่านะคะ

ไม่น่าใช้คำว่าสัมปทานนะครับ

สัมปทานคือการเข้าไปครอบครองหาผลประโยชน์ผูกขาด

ผมว่ากำลังมีหลายๆภาคีที่กำลังทำเรื่องนี้อยู่...ช่วยกันให้กำลังใจครับ

พี่คิดว่าไม่มีการประชาสัมพันธ์ทำให้คนไม่เข้าใจและผู้บริหารก้ไม่เข้าใจทำให้คนเรียนยังลังเลและผู้ป่วยก็สงสัยค่ะ

ความเห็นส่วนตัวคิดว่ามีประโยชน์มากๆแต่จะทำให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนคงต้องใช้เวลานะคะ

ขอบคุณอาจารย์อัจฉราครับ ฝากอาจารย์อีกแรงนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท