มาเสริมสร้างพลังใจให้นักเรียนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยตนเองกันเถอะ


การพัฒนาผู้เรียนที่ยั่งยืนต้องยึดหลัก "การพึ่งตนเอง" และไม่ทำให้เขาเป็นเด็กที่เลี้ยงไม่โต

       หากเราเชื่อว่า "ชีวิตใครก็ชีวิตของคนนั้น"  ใครจะรู้ปัญหาและเข้าใจชีวิตดีเท่ากับตัวของตัวเอง  และคนที่รู้ปัญหาดีก็ควรเป็นผู้แก้ปัญหานั้นๆ  ไม่ใช่ให้คนอื่นไปแก้ไขให้
      แต่สำหรับผู้เรียนที่ยังด้อยวุฒิภาวะ  ก็คงต้องมีครูคอยช่วยเหลือ  และการช่วยเหลือของครูถ้าจะทำอย่างมืออาชีพ ก็คงไม่ไปช่วยประคบประหงมจนทำให้เขาเป็นเด็กที่เลี้ยงไม่โต  แต่ต้องรู้อาการของโรค  รู้สาเหตุของปัญหา ถ้าเป็นหมอเขาก็จะหาวิธีรักษาตามอาการ  ตามสาเหตุ  แต่ถ้าเป็นครูก็คงไม่ทำการรักษาเพียงร่างกายภายนอกเท่านั้น  แต่ต้องดูแลรักษาลงไปถึงจิตใจด้วย  ครูจึงจำเป็นต้องรู้หลักจิตวิทยา  หลักการศึกษา เพื่อรู้วิธีเข้าไปดูแลช่วยเหลือให้ครอบคลุมทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เรียนแต่ละคน
      ตัวอย่างเช่น การจะเข้าไปดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ(ตามมาตรฐานที่ 5) ก็คงไม่ใช้การดูแลแบบปูพรม  แต่ควรหาวิธีกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความตระหนักในปัญหานี้ด้วยตนเอง โดยอาจใช้เทคนิคการทำค่านิยมให้กระจ่าง(Value Clarification :VC) ให้นักเรียนเกิดการยอมรับตระหนักในปัญหาด้วยตนเองเป็นรายคน  ฝึกเขาให้มีการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหาที่ทำให้ตนเองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  เช่น สาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพรวมต่ำอาจมาจากการอ่อนวิชาคณิตศาสตร์  ตนเองไม่ทำการบ้าน  ไม่ทบทวนบทเรียนหลังเลิกเรียน ฯลฯ และเมื่อรู้สาเหตุแล้วก็กระตุ้นให้นักเรียนแต่ละคนคิดวางแผนแก้ปัญหาด้วยตนเอง (ตามแนวคิด Behavier Modification :BM หรือการปรับพฤติกรรม)  หากมีสาเหตุของปัญหาใดที่ครูช่วยได้ เช่นเด็กอ่อนคณิตศาสตร์ครูก็อาจช่วยโดยจัดกลุ่มสอนพิเศษให้ เป็นต้น  โดยให้นักเรียนแต่ละคนมีแผนพัฒนาแต่ละสาเหตุของปัญหาด้วยตนเอง  แล้วครูคอยติดตาม เสริมแรงนักเรียนเป็นระยะๆ  จนนักเรียนสามารถพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาเป็นรายคน  ก็น่าจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งห้อง  ทั้งโรงเรียนดีขึ้นตามไปด้วย เรียกว่าการ X-rays เป็นรายคนนั่นเอง ซึ่งถ้าใช้กระบวนการนี้ครูไม่ต้องเหนื่อยไม่ต้องลงมือทำเองทั้งหมด แต่จะคอยเป็นโค้ช เป็นพี่เลี้ยง คอยติดตามให้กำลังใจนักเรียนอย่างต่อเนื่องเท่านั้น

       เห็นหรือยังว่าชีวิตใครก็ชีวิตมันจริงๆ  แต่การที่ครูคอยช่วยเหลือและหาทางออกที่สร้างสรรค์ให้แก่เขา  จะทำให้เขาเกิดพลังในการดูแลชีวิตเขาด้วยตัวเขาเอง  แล้วเขาก็จะภาคภูมิใจในผลสำเร็จของเขา และจะทำให้เขาได้เพิ่มทักษะในการดำรงชีวิตมากขึ้น และเข้มแข็งมากขึ้นด้วย 

หมายเลขบันทึก: 38508เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จากการทำงานของผมกับชุมชนพบอย่างหนึ่งว่า "คนหนึ่งคน มีอะไรมากกว่าที่เราเห็น" จริงๆ  ฉะนั้น การที่จะเข้าใจโลกของคนคนหนึ่ง ต้องใช้เวลาศึกษา และใช้ใจที่เป็นกลางไม่ Bias

สิ่งที่เขาเป็น ที่แสดงให้เห็นเป็นเพียงภูเขาน้ำแข็งส่วนยอด มีอีกมากมายที่ต้องศึกษา เรียนรู้เขา ก็คือ ฐานของภูเขาน้ำแข็งเหล่านั้น

คุณครูที่คลุกคลีกับเด็ก  ต้องใจกว้าง  ใจเป็นกลาง มีเมตตา มีจิตวิทยาในการดูแลเด็กนักเรียน

เด็กที่มีปัญหา ....ไม่น่ารัก ในสายตาของคนอื่น ....เด็กคนนั้นน่าสงสาร และ ควรอย่างยิ่งที่ครูจะต้องเข้าไปศึกษาชีวิตเด็กคนนั้นจริงจัง เพื่อหาสาเหตุ

ในความเป็นจริงที่เห็น  ผมเห็นคุณครูหลายๆท่าน ก็ไม่ชอบเด็กไม่น่ารัก(เพราะเขาทำตัวไม่น่ารัก) ผลักเด็กเหล่านี้ออกไปเรื่อยๆ นอกกลุ่ม เป็นเด็กชายขอบในที่สุด ...แล้วเด็กก็เลวสมใจ

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมากครับ สำหรับชีวิตเด็ก ๑ คน ...ผู้ที่จะเป็นครู ผมว่าต้องมีใจที่ละเอียด และให้ความสำคัญกับจิตวิทยาเด็กด้วย

ไม่ทราบว่าผม ให้ข้อเสนอแนะตรงประเด็นมั้ย แต่ตรงนี้ผมมองว่าเป็น "สิทธิเด็ก" ที่ถูกเพิกเฉย ปัญหาเหล่านี้บ่มไว้เกือบทุกโรงเรียนในประเทศไทย.....ผมเชื่ออย่างนี้

ผมขอสิทธิ์ให้กับเด็กไม่น่ารักเหล่านี้....ครับอาจารย์

 

เรียน อ.ธเนศ .....คุณครูที่ดิฉันได้พบเห็นอาจไม่เหมือนกับคุณครูที่คุณจตุพรพบ....โดยเฉพาะในสังคมบ้านนอกที่ดิฉันเคยสัมผัส คุณครูของดิฉันรักและดูแลศิษย์ด้วยหัวใจ อาจดีกว่าการดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่เด็กบางคนด้วยซ้ำ เด็กบ้านนอกส่วนใหญ่มักมีปัญหารุมเร้าคงไม่แพ้เด็กบางคนที่อยู่ในเมือง แต่อาจเป็นคนละประเด็น....ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูหลาย ๆ คนที่อุทิศตัว ทุ่มเท เอาใจใส่ดูแลลูกศิษย์ด้วยหัวใจ....และขอร้องให้คุณครูอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่เข้าใจเด็กบางคนอย่างแท้จริง หันมาสนใจดูแลช่วยเหลือลูก ๆ ของเรานะคะ..."เด็กคือผ้าขาว" ค่ะ และถ้าเลือกได้ไม่มีใครอยากเป็น "คนไม่ดี" "คนไม่น่ารัก" เด็กก็เหมือนกันค่ะ.....ปล.อาจารย์ทราบหรือยังคะ ว่าอาจารย์ได้รับคำชมจากอาจารย์ คุณหมอวิจารณ์ พานิช ลองคลิ๊กไปที่ http://gotoknow.org/blog/thaikm นะคะ
เรียน อาจารย์ปวีณา และ อาจารย์ธเนศ... ในกรณีนี้ผมคงมองในมุมต่างบ้าง ///ในดีมีเสียและในเสียมีดี/// ผมชื่นชมความเป็นครูผู้สร้างชาติ ผมก็ทำงานในชนบทที่ทุรกันดาร พบเห็นคุณครูที่ทุ่มเท ทั้งกายใจ อยู่บนดอย ภาพเหล่านั้นมันซึ้งใจ ติดตรึงใจ ของผม...ผมเข้าใจว่า การให้ข้อคิดเห็นอาจต้องให้ในแง่บวก เพื่อรังสรรค์บรรยากาศของการเรียนรู้...แต่ยังไงก็ตาม ผมคิดว่าประเด็นนี้สำคัญมากครับ มันละเอียดอ่อน และใช้ปฏิบัติกับเด็กโดยตรง ผมเชื่อครับว่าคุณครูรักเด็กนักเรียนของคุณครูครับ แต่ความรักของครู ที่จะเป็นความรักที่ถูกต้องเป็นอย่างไร? ความรัก ที่ไม่รังแกเด็กเป็นอย่างไร? ตรงนี้ครับสำคัญ

เรียนท่านอาจารย์
     ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้หาโอกาสเพื่อที่จะเป็นครูกับเขา เพราะฉะนั้นก็คงจะไม่แปลกเท่าไหร่นักที่ความคิดของผมจะเป็นไปในทางที่เ้พ้อฝัน
 อาจารย์คงได้ยินข้อความที่ว่า "ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน" ผมมองว่าการที่เด็กปัจจุบันนี้อย่างที่เราเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์หรือในข่าวโทรทัศน์ เพราะว่า เด็ก ๆ เหล่านั้นมีความอย่างที่ดีหรือที่เหมาะสมน้อยในโลกของเขา///// ธรรมชาติมีสมดุล แต่สังคมเริ่มที่จะขาดสมดุลระหว่างสิ่งที่เรียกว่า "ดี" กับ"เลว" หรือถ้าไม่แน่ใจอาจจะเรียกว่า "ไม่เหมาะสม" และเมื่อ ผู้เรียนที่ยังด้อยวุฒิภาวะ ตามที่อาจารย์กล่าวนั้น นั่นก็หมายความว่า เขาจะเลือกหรือปฏิบัติตามในสิ่งที่เขาเห็น และคนที่เขาจะเลือกที่จะทำตาม คือ คนที่บอกเขาว่า เขาควรทำอย่างไร คน ๆ นั้นก็คือ ครูของเขาที่โรงเรียน ผู้ใหญ่ของเขาที่บ้าน หรือแม้กระทั้งพ่อแม้ของเขาเอง
//////////////เขาจะปฏิบัติตามได้อย่างไร หากเกิดความขัดแย้งในข้อมมูลที่เรากำลังสือสารให้เขา หรือผู้เรียน เรากำลังบอกกล่าวถึงเรื่องราวของสิ่งดี ๆ ที่ผู้เรียนควรปฏิบัติ ความถูกต้อง ความเหมาะสม แต่.....ก็จะเกิดคำถามหนึ่งขึ้นในใจของผู้เรียนว่า มีผู้ใหญ่หลายคนไม่ได้เรียน ต้องไม่รู้แน่ ๆ ถึ่งปฏิบัติกันผิด ๆ แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ผู้ที่เป็นครูของเขาหลายคนหรือส่วนใหญ่(ก็มีส่วนดีบ้าง แต่ผมมองว่าเป็นส่วนน้อย) ได้เรียน และรู้ แต่ทำไมไม่ปฏิบัติ มันยากหรือ ??? มันไม่ถูกหรือ???
///////////////////ในขณะที่ด้านเสื่อมกลับมีให้เห็นกับเกลื่อน ค่านิยมที่ผิด ๆ หรือไม่เหมาะสม กลับมีให้เห็น หากครุผู้สอนไม่สามารถที่จะเลือก หรือชี้แจงได้ว่าอะไรคืออะไร เราคงไม่สามารถที่จะให้ผู้เรียนของเรา เลือกที่จะรับได้เองหรอก และที่สำคัญผุ้สอนต้องสามารถที่จะปฏิบัติตาม ปฏิบัติได้ในสิ่งที่สอนด้วย

หากจะมองสังคมของสงฆ์ หากมุ่งเพื่อละกิเลสแล้ว พระสงฆ์ก็ยังเป็นสังคมที่น่านับถือ ไม่เคยได้ยินใครกล่าวว่า พระสงฆ์ล้าหลัง พระสงฆ์ไม่ทันสมัย พระสงฆ์กล่าวถ้อยคำเชย ๆ หากสิ่งที่พระสงฆ์ปฏิบัตินั่น ถือว่า ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ความเชื่อมั่น ครัทธา เป็นเกราะป้องกันใจ

หากแต่ว่า สังคมปัจจุบันฉาบฉวย คนไม่มีหลัก ไม่มีเกราะป้องกันใจตัวเอง ไม่สติช่วยเตือนตัวเอง

สิ่งที่ผมอยากจะบอกผ่านก็คือ
     ให้ความสำคัญกับมาตรฐานที่เรียกว่าไอคิวน้อยลง และเพิ่มความสำคัญของคำว่า" ศิลธรรมจริยธรรม"ให้มากขึ้น เราอาจจะตามโลกได้หน่อย แต่โลกล้าหลังมันก็ทำให้เรามีความสุข มิใช่หรือ?????

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท