How to Search


การสืบค้นข้อมูล

             วันนี้ผมสอนวิชา ICT for Ed ประเด็นที่เรา(ผมและนิสิต) จะคุยกันก็คือเรื่องของการสืบค้นข้อมูล หลายคนอาจรู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่เห็นจำเป็นจะต้องมานั่งสอน เหมือนกับที่ผมเคยรู้สึกว่าวิชาการใช้ห้องสมุด ไม่เห็นจะต้องมานั่งสอนกัน กับแค่การค้นหาหนังสือ แต่แล้วหลังจากที่ผมพบหนังสือ เทคนิคการสืบค้นข้อมูลแบบมืออาชีพโดย Google แล้วผมก็งงว่า ทำไมการสืบค้นข้อมูลด้วย Google สามารถเขียนเป็นหนังสือเล่มหนาได้ขนาดนี้เชียวรึ แต่พอลองอ่านดูแล้วต้องบอกว่าหนังสือเล่มนี้มีประโยชน์มากๆ และเรื่องบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่นักค้นอาจไม่รู้ ตัวอย่างเช่น

  1. Google สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้
  2. สามารถหาความหมายของคำได้
  3. สามารถค้นหาภาพได้
  4. สามารถค้นหาเบอร์โทรศัพท์ได้
  5. สามารถหาแผนที่ได้
  6. สามารถหาภาพยนตร์ได้
  7. สามรถค้นหา Stock ได้
  8. ตรวจเช็คคำถูกคำผิด
  9. ค้นหาแผนที่
  10. สามารถค้นหาขั้นสูงที่กำหนดรูปแบบการสืบค้นได้
  11. ฯลฯ

              นอกจากการสืบค้นทาง Google แล้ว ยังมีฐานข้อมูลอีกมากมายให้สืบค้น เช่น

  1.  IEEE
  2. ACm
  3. Lexis Nexis
  4. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม
  5. กฤติภาคออนไลน์

อยากรู้จังว่ามีเทคนิคเจ๋งๆ อย่างไรที่จะค้นให้เจอ

หมายเลขบันทึก: 38344เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

เทคนิคการใช้ google (1 ในหลายวิธี)

Google มักจะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น as +the future catches you เป็นต้น

เทคนิคการค้นหา

1. ใช้keyword

2. ใช้ค้นหาแบบละเอียดhttp://www.google.co.th/advanced_search?hl=th

3. ใช้เครื่องมือเกี่ยวกับภาษาhttp://www.google.co.th/language_tools?hl=th

 

ใช้การค้นหาแบบละเอียดในgoogleซึ่งจะเป็นการค้นหาที่สามารถบอกราบละเอียดต่างๆ ที่เราต้องการได้ตรงจุดที่สุด ซึ่งต่างจากการค้นหาแบบธรรมดาคือ การค้นหาแบบธรรมดาจะรวบรวมไฟล์ทุกชนิดซึ่งทำให้ยากต่อการค้นเจอ

นางสาวรินนา ราชชารี
เมื่อตองการความช่วยเหลือหรือคำแนะนำในgoogle  เข้าไปคลิ๊กในคำแนะนำในการค้นหา  ของgoogleที่อยู่ข้างล่าง  และถ้าต้องการเลือกภาให้เข้าไปในเครื่องมือเกี่ยวกับภาษา

การใช้ -ในการสืบค้น

5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF

http://www.police.go.th/policenews/show.php?news_id=56&cat=IT&id=11

วิธีการทำงานของ Google

 หลักการป้อนคำเพื่อ ใช้ในการสืบค้น Google จะค้นหาเว็บเพจ โดยใช้ AND กับคำในวลี เช่น เราป้อน  physics dictionary ก็จะหมายถึงให้ google ค้นคำว่า physics AND dictionary  ถ้าค้นหาวลีที่ต้องการไม่พบ google จะไปค้นหาโดยใช้คำในวลีทีละคำ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ OR หรือ NOT ช่วยในการค้นหาได้อีกด้วย
OR --->เช่น physics OR dictionary หมายถึง physics หรือ dictionary ที่มีในเว็ปนั้นคำหนึ่งคำใดก็ได้
NOT --->เช่น physics NOT dictionary หมายถึง physics แต่ไม่เอา dictionary ถ้ามีคำว่า dictionary อยู่ด้วยก็จะไม่เอาออกมาแสดง
* (ดอกจัน) เราสามารถใช้ * ในการเชื่อมวลี ได้ เพื่อให้ 2 ส่วนของ physics * dictionary หมายถึงจะมีคำหรอวลีอะไรก็ได้มากั้นกลางระหว่าง 2 คำนั้นก็ จะเอาออกมาแสดง

google  สามารถหาไฟล์นามสกุลอื่นที่ไม่เว็ปก็ได้  เช่นต้องการหาไฟล์นามสกุล pdf   ก็ให้ใส่หัวข้อที่ต้องการแล้วตามด้วย  filetype:pdf

ใช้ advanced search จะเป็นการค้นหาที่ละเอียด และเฉพาะเจาะจงได้มากกว่า เพราะว่าเราสามารถใช้คำและเครื่องหมายระบุลงไปในช่องที่ใส่ keyword ได้ จะเป็นการประหยัดเวลามากกว่า การค้นด้วย google แบบธรรมดา เพราะจะไม่มีเว็บหรือไฟล์ต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องหรือมีเพียงบางส่วนที่คล้ายเข้ามาทำให้ยากที่จะค้นหา

เทคนิคการสืบค้นข้อมูลใน google

 google สามารถใช้อักษร * เพื่อแทนคำทั้งหมดที่ขาดไปได้ ตัวอย่าง เช่น ถ้าค้นหา Gone with the wind” สามารถพิมพ์เป็น “Gone * the Wind” ได้

และใน  google  ยังสามารถปรับแต่งสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นได้มากมาย โดยเข้าเว็บ 

(http://www.google.com/preferences) 

แล้วตั้งค่าคุณสมบัติใหม่ตามที่ต้องการ  เช่น

- กำหนดให้แสดงลิงก์ผลลัพธ์ในหน้าแรก 50 ลิงก์ต่อหน้า (ปกติจะอยู่ที่ 10 ลิงก์ต่อหน้า) เมื่อเห็นลิงก์จำนวนมากก็สามารถเลือกลิงก์ตามที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น

-ค้นหาเว็บเพจ เฉพาะภาษาที่ต้องการได้

Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)

 

Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)

1.  ต้องรู้ว่าต้องการค้นเรื่องอะไร

2.  กำหนดขอบเขตของคำค้นให้ชัดเจน กระทัดรัด หรือเป็นคำเฉพาะ

 

เทคนิควิธีการสืบค้นข้อมูลด้วย google

1. ต้องรู้ว่าต้องการค้นเรื่องอะไร

2. พิมพ์คำ ที่ต้องการค้นลงในช่องสำหรับใส่คำค้น
คำที่ใช้ค้นหาจะต้องไม่ขึ้นต้นด้วยช่องว่าง

3. หากต้องการหาหน่วยงานที่ต้องการ
ให้ใส่คำค้นดังตัวอย่างการสืบค้นดังนี้

          ต้องการคำค้นหน่วยงานเช่น : งานพัฒนา
          หรือใส่ คำค้นว่า งานพัฒนา

4. กำหนดขอบเขตของคำค้นไม่ให้กว้างเกินไป

google สามารถใช้เป็นเครื่องคิดเลขได้ด้วย ตัวอย่างเช่น 100/2 หรือ 10^5 โดยใช้เครื่องหมาย +-*/^% หรือคำว่า 5 kilometer in miles (เพื่อถามว่า 5 กิโลเมตรเท่ากับกี่ไมล์)

เทคนิคการค้นหาโดย Google

          - การระบุให้ Google หาใน Domail ที่เรากำหนดหรือ Website ที่เรากำหนดเท่านั้นโดยการใช้คำสั่ง site:<Domain name หรือ ชื่อWebsite ที่เราต้องการ> เช่นการคนหาBlogใน www.gotokhow.org พิมพ์ "คำที่ต้องการ" site:www.gotoknow.org เป็นต้น

ที่มา http://stang.sc.mahidol.ac.th

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล

  1. การใช้ Keyword ในการสืบค้นให้ตรงเป้าหมาย
  2. การใช้คำใกล้เคียงที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
  3. การใช้คำค้นทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
  4. การใช้คำขยายในการสืบค้นให้ตรงเป้าหมาย
  5. การใช้เครื่องหมายคำพูด (อัญประกาศ)"....... " หรือเครื่องหมาย + เพื่อให้คำ หรือประโยคสืบค้นเป็นประโยคเดียวกัน หรือใช้เพื่อต้องการเน้น ว่าต้องการคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะคำนี้เท่านั้น เช่น Toyota +Camry คือต้องการหาข้อมูลที่เกี่ยวกับรถ Toyota เฉพาะรุ่น Camry
  6. ใช้เครื่องหมาย - แทนความหมายว่าไม่ต้องการคำที่มีเครื่องหมาย - นำหน้า เช่น Toyota -Camry คือให้หาข้อมูลรถ Toyota รุ่นอื่นๆ ยกเว้นรุ่น camry

เป็นความรู้ที่ดีมากคะอาจารย์  เพราะการสืบค้นข้อมูลจะสามารถทำได้รวดเร็วและตรงกับสิ่งที่เราต้องการ...ถ้าเรารุ้เทคนิคเหล่านี้ก็จะทำให้ง่ายและเร็วขึ้นคะ  ขอบพระคุณที่นำเสนอความรู้ดี ๆ คะ..

 <====== น้องนิว :

เทคนิคการค้นหาหนังสือ

ค้นหาหนังสือที่ต้องการ  โยการใช้คำว่า  book about<ค้นหา> ตัวอย่างเช่น  book about thai spa

วราศิณี โพธิ์เจริญ (อาร์เซ)

            เทคนิคการค้นหาโดย Google

   * การค้นหาข้อมูลจากไฟล์ชนิดอื่น ๆ (filetype) ที่ไม่ใช่ htm เช่น  pdf, ppt, xls, rtf ให้ใช้

                       filetype:[extension]

           เช่น  ต้องการค้นหา ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี ให้เป็นไฟล์ พาวเวอร์พอยท์ 
ให้พิมพ์ ในช่องค้นหาของ google ดังนี้

                       Technology:[ppt]

           จะปรากฏข้อมูลของเทคโนโลยีที่เป็นไฟล์พาวเวอร์พอยท์ ให้เราให้สืบค้นได้ตามสะดวก 
           

ที่มา http://stang.sc.mahidol.ac.th

การค้นข้อมูลตัวเลข เงิน ระยะทาง หรือระยะเวลาภายในช่วงที่ต้องการหา

ใช้คำสั่งดังนี้
คำที่ต้องการค้นหา<ตัวเลขแรก>..<ตัวเลขสุดท้าย>
ตัวอย่างเช่น
The Kingdom of Siam 1300..1800

(ควรระบุหน่วยนับของตัวเลขด้วย  เช่น $, kg, km จะทำให้ผลการค้นหาแม่นยำมากยิ่งขึ้น)

ที่มา http://stang.sc.mahidol.ac.th

การหา Video Clip ให้พิมพ์ Url ว่า http://video.google.com

เรียน ท่านอาจารย์ ที่เคารพ

          ในการสืบค้นจากระบบของ OPAC ในห้องสมุดนั้น บรรณารักษ์

จะต้องออกแบบเน้นให้นักศึกษา หรือผู้สืบค้นมุ่งไปที่ Subject Heading

และจาก sj.h. นั้นจะขยายขอบเขตไปที่  titles หรือ authors ต่อไป และ

จากนั้น จะนำไปสู่ full detail ที่ห้องสมุด และบรรณารักษ์กำหนดไว้ให้ ซึ่ง

ในความเป็นจริงของสังคมโลกปัจจุบันบน OPAC ควรจะมีรายละเอียดที่ค่อน

ข้างจะต้องสมบูรณ์ให้มากที่สุด ในแต่ละรายละเอียดหนึ่งๆนั้น ควรจะต้อง

บอกรายการมากกว่านั้น เช่น ควรจะต้องมี abstract หรือ summary และ note 

อธิบายเพิ่มเติมไว้ และนอกจากนั้น ยังจะต้องมี link ไปยังตัว fulltext ที่จัดเก็บไว้

หรือที่มีอยู่ต่อไป ได้คล้าย e-books & e-learning

           ในปัจจุบันห้องสมุด จะต้องพัฒนาออกไปจากแบบแผนโบราณ ที่กำหนดให้

ใช้ sj.h ตามแบบของ DDC & LC  หรือ Sear List  SJ.H จะต้องกำหนดใช้ได้เหมือน

ใน Google ซึ่งมีวิธีการที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน จะไม่ใช้ SJ.H แบบเดิมๆ หันไปใช้

Key words แทนซึ่งมีแนวทางการสืบค้นแบบ keyword แบ่งเป็น 4 แบบ

คือ  KWIC, KWAC, KWOC, KWUC ซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ 1978  แต่ในเมืองไทย

บรรณารักษ์ทั้งหลายไม่ค่อยกล้าใช้ เพราะกลัวอะไรสักอย่าง ถ้าท่านอาจารย์มีเวลา ลองเข้า

ไปสืบค้น OPAC  ของ Berkley UCLA , MIT, Cornell และ ที่น่าสนใจมากๆ คือ ที่

Columbia University(CLIO ) จะพบอะไรอีกมากมายในการสืบค้นจากระบบห้องสมุด

โลกมันเปลี่ยน สังคมการเรียนรู้เปลี่ยนไป วิธีการต่างๆควรจะพัฒนาตามไปครับ

ถ้าทุกวันนี้ ระบบฐานข้อมูลต่างๆ สามารถเรียกใช้ สืบค้นจาก web หรือ จากระบบ

หน้าจอโทรศัพท์มือถือได้ ห้องสมุดจะมีรูปแบบเป็นอย่างไรในอนาคต 

การค้นหาข้อมูลเป็นเรื่องปกติที่ไม่คิดว่าต้องใช้ เทคนิคอะไรมาก เป็นความคิดที่ผิดไปซะ ขอบคุณมากมายสำหรับความรู้ใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท