ภาระกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั่นก็คือ การบริการวิชาการ
ในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการบริการจัดการที่ดีของกองทุนหมู่บ้านจังหวัดอุตรดิตถ์ ผมและเพื่อน ๆ อาจารย์ ก็ได้มีโอกาสไปเปิดเวทีเพื่อบริการชุมชนหลาย ๆ แห่งด้วยกัน ผมจึงได้มีโอกาสนำสิ่งที่ประทับใจมาเล่าให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ ได้ฟังครับ
บริการความรู้สู่ท่าสัก
ในวันที่ 25 เมษายน 2547 คณะอาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการ ได้มีโอกาสเดินทางไปบริการความรู้แก่คณะกรรมการและสมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสัก อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งถือเป็นภาระกิจหนึ่งของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องมีหน้าที่บริการวิชาการแก่ชุมชน และตรงกับปรัชญาของสถาบันที่ว่า “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งเนื้อหาในวันนั้นที่คณะอาจารย์ได้เข้าไปจัดเวทีในท้องถิ่นมีด้วยกันอยู่ทั้งหมด 4 หัวข้อด้วยกัน คือ
เนื้อหา |
วิทยากรกระบวนการ |
1. การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ผ่านมา ปัญหาและแนวทางพัฒนา | อาจารย์ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ |
2. การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ | อาจารย์ภาศิริ เขตปิยรัตน์อาจารย์สินีนาฏ ปัญญาศิลป์ |
3. การจัดทำบัญชีเบื้องต้น | อาจารย์วริศรา ดวงตาน้อย |
4. การประกอบธุรกิจเบื้องต้น | อาจารย์รวมพร อารีรักษ์ |
ในวันนั้นมีการจัดอบรมขึ้นที่ศาลาการเปรียญวัดท่าสัก ต.ท่าสัก อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ โดยผู้เข้าร่วมการอบรมในวันนั้นเป็นคณะกรรมการและสมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน จำนวนประมาณ 50 คน
ซึ่งการอบรมในวันนั้นทางคณะผู้จัดงานได้ปรับเปลี่ยนด้านล่างของศาลาการเปรียญของวัดให้กลายเป็นห้องเรียนของชุมชน เป็นศูนย์กลางความรู้ของชุมชน
ขอบคุณแทนสำหรับหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสัก อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ นะคะ///..อาจารย์คะ... แล้วหลังจากนั้นทางคณะฯ ได้มีกระบวนการในการติดตามผลอย่างไรต่อไปคะ...???
น้องนิว :
มีอีกเยอะเลยครับน้องนิว
ครั้งนี้บอกตรง ๆ ว่า ทำผิดอย่างมหันต์เลยครับ
ตอนนั้นเพิ่งครั้งที่เริ่มทำวิจัยใหม่ ๆ เราก็ดูตามอย่างรุ่นก่อน ๆ ที่เขาเคยทำกันมา อบรมโน่นอบรมนี่ แท้ที่จริงนั่นไม่ใช่หัวใจหลักของการทำวิจัยแบบ PAR เลยครับ
แต่ครั้งนี้เป็นบทเรียนที่สำคัญอย่างมาก ๆ เลย
เพราะถ้าเราไม่เคยทำผิด เราก็ไม่รู้สิ่งที่ถูกมันคืออะไรครับ
แต่สิ่งที่ทำไปไม่ได้ไร้ประโยชน์นะครับ
อย่างน้อยก็เกิดปัญหาและแนวทางกับตนเอง ที่จะคิดและทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อไปครับ