เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้อ่านเจอบทความที่น่าสนใจบทความหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจและสิทธิอธิปไตยในทรัพยากรพันธุกรรมพืช เพราะต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนานาประเทศต่างก็ต้องพบเจอกับปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐเข้าร่วมลงนาม หรือมีการตกลงทำสนธิสัญญากับทั้งภาครัฐของอีกรัฐหนึ่ง หรือแม้ทั้งภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศอื่นๆในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของอีกรัฐหนึ่ง เช่น การทำเขตการค้าเสรี(FTA)แบบทวิภาคี หรือการเรียกร้องความร่วมมือในด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เรื่องการแก้ปัญหาโลกร้อนและภาวะเรือนกระจก หรือที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ล่าสุด ได้แก่ความร่วมมือในด้านพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ซึ่งถ้าหากทางไทยให้สัตยาบันรับรองเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาฉบับบดังกล่าว ย่อมส่งผลต่อการใช้อำนาจอธิปไตยของรับไทยในการบริหารนโยบายการจัดการการเข้าถึงฐานทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตรในอนาคต ซึ่งประเด็นสำคัญที่ไทยจะต้องพิจารณาเพื่อการตัดสินใจ คือ ประเด็นทางกฎหมายที่มีนัยในทางกฎหมายทั้งกฎหทายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ คือ อำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยเหนือฐานทรัพยากรพันธุกรรมเพื่ออาหารและการเกษตรว่ามีขอบเขตกว้างมากเพียงใดในสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยของประเทศ
คิดแค่นั้นไม่พอต้องดูว่าเราไปลงนามสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในเรื่องใดไว้บ้างแล้ว เช่น CITES และปัจจุบันเราได้ทำต่อหรือไม่ในการพัฒนากฎหมาย พัฒนาคน และสร้างทัศนคติในเรื่องดังกล่าวกับประชาชนกลุ่มใดบ้างแล้ว