ตารางที่ 5 อัตราการครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
<table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0" class="MsoTableGrid" style="margin: auto auto auto 23.4pt; border-collapse: collapse; border: medium none"><tbody>
ปี พ.ศ.
กลุ่มเป้าหมาย(ราย)
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก(ราย)
ความครอบคลุม (ร้อยละ)
อัตราการเพิ่มขึ้น(ร้อยละ)
2547
6,645
3,153
45.4
19.2
2548
5,814
3,756
64.6
</tbody></table><p></p><p>ตารางที่ 6 แสดงผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการส่งรักษาอย่างครบวงจร</p> <table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0" class="MsoTableGrid" style="margin: auto auto auto 23.4pt; border-collapse: collapse; border: medium none"><tbody>
ปี พ.ศ.
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก(ราย)
2547
6,645
3,153
45.4
19.2
2548
5,814
3,756
64.6
</tbody></table>
อภิปรายและข้อเสนอแนะ
1. การอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอย่างครบวงจรนั้น เป็นการจัดอบรมที่ตรงกับความต้องการของเจ้าหน้าที่ และการนำขบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) มาใช้ ทำให้ทราบองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ และนอกจากนี้การติดตามนิเทศแบบเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน มีความเอื้ออาทร ไม่ใช่การจับผิด ทำให้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. ระบบการส่งต่อรักาที่สะดวก รวดเร็ว และถือประโยชน์คนไข้เป็นหลัก เมื่อมีการจัดระบบอย่างถูกต้องและปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสม ทำให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติ และผู้ป่วยได้รับการรักษามากขึ้น แต่ยังควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. ความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง และความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายมีความสำคัญมากในการพัฒนา การยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น แสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม และการยอมรับมติของคนส่วนใหญ่ถือเป็นหัวใจสำคัญ
4. การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ทำให้ผลการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น แต่ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รูปแบบการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมที่สุดต่อไป
5. การนำพลังชุมชนเข้ามาร่วม "ชมรมรวมใจต้านภัยมะเร็ง" ทั้ง 4 แห่ง ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มีอาสาสมัครที่ยินดีเข้ามาร่วมอย่างเต็มใจและเสียสละอย่างแท้จริง เพราะไม่มีค่าตอบแทน และทั้ง 4 แห่งมีความตื่นตัวและความกระตือรือล้นอยากเรียนรู้ และเมื่อมีการจัดเวทีให้นำเสนอผลงาน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนเกิดความสามัคคีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการดำเนินงาน เพราะทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา และร่วมลงมือทำงาน เพื่อนำไปสู่ผลที่ดีที่สุด และกำลังขยายความร่วมมือจากพลังชุมชนไปในศูนย์สุขภาพชุมชนอื่นๆที่มีความพร้อมต่อไป แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อจำกัดคือแกนนำชุมชนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ถ้าอยู่ในช่วงใกล้การเลือกตั้งอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานได้
</span><p> </p><p align="center"></p><p align="center"></p>