ศิลปะ : สิ่งที่เด็ก ครู และผู้ปกครองขาดไม่ได้ (6)


ภาคผนวก 

การคิดนับว่าสำคัญมากสำหรับมนุษย์ สังคมจะก้าวหน้าเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าคนในสังคม มีความสามารถในการคิดระดับใด การคิดแบ่งออกเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าจะยึดลักษณะใดของการคิดมาเป็นหลักในการแบ่ง

เนื่องจากมีการกล่าวถึงกระบวนการคิดมาเป็นช่วงๆในบันทึกชุดนี้ จึงขอแจกแจงเรื่องของการคิดเพิ่มเติมไว้ดังนี้นะคะ

การคิดแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะการแบ่งได้ดังนี้

1 แบ่งตามขอบเขตการคิด   

1 การคิดในระบบปิด เป็นการคิดในขอบเขตจำกัด แนวการคิดไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การคิดทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ เป็นต้น      

2 การคิดในระบบเปิด เป็นการคิดที่เป็นไปตามความรู้ ความสามารถ ตาม ประสบการณ์ของแต่ละคนในแต่ละสิ่งแวดล้อม 

2 แบ่งตามเพศ       

1 การคิดแบบวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เป็นการคิดที่อาศัยสิ่งเร้าที่เป็นจริงเป็นเกณฑ์ เป็นการคิดที่ถือว่าเป็นพื้นฐานแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นลักษณะการคิดของเพศชายเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะของการคิดแบบวิเคราะห์คือ มีเหตุผล มีการคาดคะเน มีขอบเขต และเป็นแนวส่ง 

2 การคิดแบบโยงความสัมพันธ์ (Relational Style) เป็นการคิดที่สัมพันธ์กับอารมณ์ ซึ่งมักยึดตนเองเป็นใหญ่ เกิดจากการหาความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น ความสัมพันธ์ทางด้านหน้าที่ กาลเวลา มักเป็นการคิดของเพศหญิง 

3 แบ่งตามความสนใจของนักจิตวิทยา 

1 การคิดรวบยอด (Concept) เป็นการคิดที่ได้จากการรับรู้ โดยมีการเปรียบเทียบทั้งลักษณะเหมือนและต่าง โดยการอาศัยประสบการณ์เดิม 

2 การคิดหาเหตุผล (Reasoning) การคิดแบบนี้เริ่มจากมีการตั้งสมมุติฐาน แล้วมีการดำเนินการทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นจนกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์

3 การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นความคิดที่ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ หรือการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ต่อมวลมนุษย์

4 แบ่งตามลักษณะการคิด    

1 การคิดโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย (Undirected Thinking) หรือเรียกอีกอย่างว่า ความคิดต่อเนื่อง หรือความคิดเชื่อมโยง (Associative Thinking) เป็นการคิดจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงถึงกัน จนเหมือนการคิดแบบนี้จะไม่มีจุดหมายหรือควบคุมไม่ได้ แต่ก็มีทิศทางในการคิด แบ่งเป็นประเภทย่อยได้หลายประเภท เช่น การคิดแบบฝันกลางวัน ฝันกลางคืน คิดตามความเชื่อผู้คิด หรือเข้าข้างตนเอง เป็นต้น  

2 การคิดอย่างมีจุดหมาย (The Goal-directed Thinking) หรือ ความคิดตรง (Directed Thinking) เป็นการคิดที่มีจุดมุ่งหมาย คิดว่าจะทำอะไร สิ้นสุดที่ไหน ทำให้สำเร็จได้อย่างไร และมีการสรุปหลังจากที่คิดเสร็จแล้ว รูปแบบการคิดย่อยของแบบนี้เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การคิดแบบวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดแบบสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) เป็นต้น

5 แบ่งตามเนื้อหาหลักสูตร เช่น

1 การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง ความตั้งใจที่จะพิจารณา ตัดสิน เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยที่ไม่คล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ หากแต่มีการตั้งคำถามโต้แย้ง ท้าทาย และพยายามหาคำตอบใหม่ที่สมเหตุสมผลให้มากกว่าข้อเสนอเดิม

2 การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไข หรือข้อจำกัดต่างๆ เข้าหาแกนหลักของเรื่องได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

3 การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึง การแจกแจงองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์กันในแง่เหตุผลขององค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

4 การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) หมายถึง การพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือ ความต่างของสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิด การแก้ปัญหา หรือการหาทางเลือกที่ดีที่สุด

5 การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆมาผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นตามวัตถุประสงค์

6 การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) หมายถึง ความสามารถในการผสานข้อมูลทั้งหมดที่มีเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างไม่ขัดแย้งกัน แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอดของเรื่องนั้น

7 การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ หรือแนวคิด เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

8 การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีหลักเกณฑ์ และมีความเหมาะสม

9 การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึงการขยายขอบเขตความคิดออกไปจากความคิดเดิม ไปสู่ความคิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหา

10 การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) หมายถึงความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในบริบทใหม่ได้อย่างเหมาะสม โดยที่ยังคงยึดหลักการเดิมไว้ได้

ยังมีการคิดอีกแบบที่น่าสนใจและจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตค่ะ คือการคิดแบบ “โยนิโสมนสิการ” ในพุทธศาสนา

โยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการคิดที่ตรงจุด ไม่วกวน เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญาในแง่ของศาสนาพุทธ เน้นที่สามารถดับทุกข์ได้ ดังนั้น ผู้ที่ฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการอยู่บ่อยๆ จึงดำรงตนอยู่ในโลกได้อย่างสุข ไม่เต้นตามกระแสโลก ไม่เร่าร้อนไปตามสิ่งที่มากระทบ เป็นองค์ประกอบที่เรียกว่า “บุพนิมิต” อันชักนำบุคคลให้เข้าสู่มรรคมีองค์ 8

ซึ่งบุพนิมิตนี้ ประกอบด้วยปัจจัย 2 ส่วน คือ ปรโตโฆสะ คือเสียงจากภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อม ข่าวสารจากแหล่งต่างๆ ครู พ่อแม่ เพื่อน และ โยนิโสมนสิการ คือการคิดในใจอย่างแยบคาย

องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ  

มี 4 ส่วน คือ

1 อุบายมนสิการ การคิดอย่างเข้าถึงความจริง ให้รู้ถึงลักษณะอันเป็นสามัญของสิ่งต่างๆ คือมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

2 ปถมนสิการ คือ คิดอย่างมีขั้นตอน ไม่สับสน คิดอย่างต่อเนื่อง ไปตามลำดับ

3 การณมนสิการ คิดอย่างมีเหตุผล สืบสวนต้นเค้า หรือเหตุให้มาของเรื่อง

4 อุปปาทกมนสิการ คิดอย่างมีเป้าหมาย ซึ่งหมายเอาในทางที่ก่อให้เกิดความเพียร ในทางดี ที่เป็นกุศล  

วิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ

แบ่งได้เป็น 10 วิธีดังนี้ค่ะ

1 วิธีคิดแบบสืบสาวหาปัจจัย (Inquiry) คือการพิจารณาปรากฏการณ์ในปัจจุบันอันเป็นผล แล้วคิดสอบสวนเหตุย้อนลงไปถึงปัจจัยต่างๆที่สัมพัน์กัน และเกิดสืบเนื่องกันมา

บางทีเรียกการคิดวิธีนี้ว่าการคิดแบบ “อิทัปปัจจยตา ” อันมีหลักว่า เพราะสิ่งนั้นมี สิ่งนี้จึงมี

2 วิธีคิดแบบแยกองค์ประกอบ (Analysis) เป็นการคิดที่แยกสิ่งต่างๆที่พบเห็นออกไปเป็นส่วนประกอบย่อยต่างๆตามความเป็นจริง (ในทางธรรมเน้นด้านการไม่ยึดถือมั่นในตัวตน เช่น รถ เมื่อกระจายชิ้นส่วนต่างๆออกหมด ก็ไม่เห็นตัวรถอีกต่อไป)

3 วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือรู้เท่าทันธรรมดา (The Three Characteristics) คือรู้ว่าทุกสิ่งล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้ถาวร

เหตุปัจจัยเหล่านั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจทรงอยู่ได้ตามธรรมดา สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามไป ไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ตามไปด้วย

เมื่อรู้เท่าทัน ก็จะไม่ทุกข์เมื่อสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพธรรมดาของมัน

4 วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ (The Four Noble Truths) อันประกอบด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้ในทุกเรื่อง (ปัจจุบัน แม้แต่การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน นาๆชาติยังยอมรับว่าวิธีที่ใช้ในการแก้ไขเดิมๆนั้นไม่ได้ผล และมีการนำวิธีนี้ไปใช้แทน)

5 วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คิดตามหลักการและความมุ่งหมาย (Principle and Raional)  คือพิจารณาให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ธรรม หรือหลักการ และอรรถ หรือความมุ่งหมาย เพื่อให้บรรลุผลตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ

6 วิธึคิดแบบเห็นคุณโทษและหาทางออก (Reward and Punishment Apptoach and Avoidance)คือพิจารณาให้เห็นทั้งคุณ หรือด้านดี (อัสสาทะ)โทษ หรือด้านเสีย (อาทีนวะ) และการหาทางออก (นิสสรณะ) หรือการไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งที่พิจารณานั้นๆ เพื่อให้เป็นอิสระจากสิ่งนั้นนั่นเอง

7 วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม (Real Value and Unreal Value) คือพิจารณาถึงการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้เห็นว่าอะไรคือคุณค่าที่จำเป็น อะไรเป็นคุณค่าที่เสริมเข้ามาเพื่อปรนเปรอกิเลส เพื่อให้รู้เท่าทัน และบรรเทาความอยากมี อยากได้

เด็กในปัจจุบัน ควรฝึกการคิดลักษณะนี้ให้มากค่ะ ไม่อย่างนั้นคงตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาพยนตร์โฆษณา ค่านิยม จนอาจตัดสินใจผิดพลาดได้

8 วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม (Virture Stimulation) เป็นวิธีคิดที่สกัดกั้น บรรเทา หรือขัดเกลาตัณหา ซึ่งนอกจากจะทำให้ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสแล้ว ยังช่วยส่งเสริมกุศลธรรมให้งอกงาม เช่น พิจารณากำจัดความอาฆาตด้วยการเจริญเมตตา การปลุกเร้าความเพียรเพื่อขับไล่ความเกียจคร้าน

ในกรณีที่ได้เกิดความคิดอกุศลขึ้นแล้ว การแก้ไขส่วนมากก็คือการใช้โยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศล ค่ะ คือเปลี่ยนนิมิตที่เป็นอกุศล ด้วยนิมิตที่เป็นกุศลแทน

9 วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน (Present Though) คือคิดด้วยปัญญาบนพื้นฐานความจริงในปัจจุบัน ส่วนเรื่องที่คิด จะเป็นเรื่องอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้

เรามักเข้าใจผิดค่ะ ว่าการคิดวิธีนี้คือการคิดกับเหตุกาลที่เผชิญเฉพาะหน้าเท่านั้น จึงเข้าใจว่าพุทธศาสนาสอนให้ไม่วางแผนอนาคต

ความคิดที่ไม่เป็นปัจจุบันธรรมก็เช่น การละห้อยหาถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว การเพ้อฝันถึงอนาคตโดยไม่มีฐานจากความจริงในปัจจุบัน เป็นต้น

10 วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (Well – Rounded Thought) คือการคิดแบบแยกองค์ประกอบและแจกแจงให้ครอบคลุมถ้วนทั่วทุกด้าน เช่น ความเป็นจริง องค์ประกอบ ขณะ ลำดับ เงื่อนไข ความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย ความเป็นไปได้ เป็นต้น

อันที่จริง วิภัชชวาทไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นการพูดอย่างมีหลักการที่แสดงความจริงในทุกๆด้าน แต่เนื่องจากการพูดกับการคิด เป็นกรรมที่ใกล้เคียงกันมาก และเพราะก่อนการพูดก็ต้องมีการคิดก่อนจึงจัดวิธีพูดแบบนี้เป็นการคิดได้อีกแบบหนึ่งค่ะ

รูปแบบการคิดต่างๆเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องพยายามฝึกเด็กค่ะ ไม่ใช่เพื่อความสามารถในการดำรงชีวิตในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันของเด็กเอง แต่เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติเราด้วยค่ะ

......................................................................

บรรณานุกรมส่วนภาคผนวก

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม ธรรมสภา 1 / 4-5 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170  พ.ศ. 2550

รองศาสตราจารย์ ดร.ลักขณา สริวัฒน์ การคิด สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ 860-862 วังบูรพา กรุงเทพมหานคร 10200 พ.ศ.2549

 

หมายเลขบันทึก: 375278เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2010 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

มาชม

ได้วิธีคิดเยอะแยะเลยนะครับนี่...ชื่นชม ๆ

การปลูกฝังจิตสำนึกในทางคุณธรรมบนหลักคิดที่สังเคราะห์สู่การปฏิบัติในวิถีชีวิตของเด็กๆ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยนะคะ..

.............................................................................................................

มีผลงานศิลปะของเยาวชนที่ได้รับรางวัล "กล้าใหม่..ไฝ่รู้" ปี ๔จากธนาคารไทยพาณิชย์ ฯ มาฝากค่ะ...

การแข่งขันวาดภาพระบายสี Painting (ระดับประถมศึกษา)
หัวข้อ "ขบวนการชวนกันทำดี"
 
 
              
                      รางวัลชนะเลิศ 
          รร.บ้านกระถิน จ.นครราชสีมา

สวัสดีค่ะพี่ณัฐ

การคิดยังมีแบบปิด เปิด ... พี่ณัฐสบายดีนะคะ

มาผ่อนพัก ชมภาพวาดดอกไม้ คิดถึงค่ะ

คุณ ณัฐ สบายดีนะ ความคิดนี่เป็นเรื่องที่พูดยากเหมือนกันสำหรับอาตมา คงไม่มีอะไรมากไปกว่าพูดดี คิดดี ทำดีนะ เจริญพร

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา มาตามอ่าน..ไม่ทันเลยค่ะถึง ภาคผนวกแล้ว..อิอิ..มีความสุขทุกวันนะคะ

สวัสดีค่ะ

ได้รูปแบบคิดมากมายเลย  การฝึกให้เด็กคิดเป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ  ต้องช่วยการปลูกฝัง ฝึก ส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองต่อไป

ขอบคุณมากค่ะ

เสริฟอาหารเช้าไว้ให้ค่ะ สุขสันต์วันศุกร์สุดสัปดาห์นะคะ

 

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ยุมิ

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเจิมให้

เห็นลงบันทึกพุทธศาสนาเถรวาท น่าสนใจค่ะ จะไปค้นบ้านนะคะ

คุณนงนาทคะ

ภาพวาดเด็กๆนี่ดูทีไรก็เพิ่มความสดใสให้เราได้แทบทุกครั้งนะคะ คงเพราะความสดใสในวัยเด็กจึงถ่ายทอดแบบเด็กๆ และสีสันที่สดใสมังคะ

สวัสดีค่ะ

สบายดีนะคะ  ระลึกถีงเสมอค่ะ

วิธีคิดมากมายหลายรูปแบบ...แล้วจะนำไปฝึกกับเด็กๆนะคะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

โชคดีมีความสุขค่ะ

             

สวัสดีค่ะน้องปู

สบายดีค่ะ แถมโล่งใจไปอีกเรื่องเพราะเพิ่งส่งต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ไป

ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กที่บันทึกในบล็อคนี้แหละค่ะ

สวัสดียามเช้าค่ะพี่ณัฐรดา

อ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลยค่ะ ได้ความรู้เรื่องความคิดเพิ่มขึ้นค่ะ

ภาพวาดสวยมากค่ะ ชื่นชมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

นมัสการเจ้าค่ะพระคุณเจ้าปัญญาวโร

ใช่แล้วเจ้าค่ะ คิดดี ทำดี พูดดี

ผมว่านิทานเด็ก นี่บริสุทธิ์ แต่ชักนำให้เกิดการคิดได้ทุกรูปแบบจริงๆ ในผู้ใหญ่ stroytelling ก็มีอำนาจ ช่วยกระตุ้นให้คิดได้หลากรูปแบบครับ ขอบคุณสำหรับการจุดประกายครับ

เรียน คุณณัฐรดา

ขออนุญาตนำบทความไปเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องในบทที่ ๒ ของการทำรายงานโครงการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียนครับ ยอดเยี่ยมมากครับฝีมือการเขียนบทความ

P สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ติดตาม

P สวัสดีค่ะ

อุตส่าห์เอาอาหารเช้ามาเสริ์ฟ แต่กลับมารับตอนเย็นเสียนี่

อิอิ ไม่ว่ากันนะคะ

               ** ฝากความระลึกถึงไว้ให้คุณณัฐรดาที่แสนดีค่ะ **

          ** ขอให้ประสบแต่ความสุขสมปรารถนาในทุกๆ สิ่งนะคะ **

                     ** รักษาสุขภาพ พักผ่อนเยอะๆ นะคะ **

                          ** คิดถึงไม่มีวันเปลี่ยนแปลง **


                

 

สวัสดีค่ะคุณมีนา

ดีใจเสมอค่ะที่แวะมา

คุณณัฐรดาครับ ประมวลรวมมาได้เป็นระบบดีมากครับ ใช่ครับ โลกทุกวันนี้ต้องฝึกให้เด็กคิดในลักษณะต่างๆ ให้เป็น

อยากให้ครูทุกคนนำไปใช้ครับ เชื่อว่าได้ประโยชน์แน่

อ่านแล้วได้รับความรู้และมีประโยชน์มากจริงๆ ค่ะ

  • ศิลปะช่วยให้เด็ก ๆ มีสมาธิ
  • และเกิดการเรียนรู้ได้ดีครับ
  • ดอกไม้แทนคำขอบคุณครับผม

...มาเยี่ยม..ชมภาพวาดสวยๆค่ะ...

...ได้ความรู้เรื่องการคิดเยอะเลย....

...ขอบคุณเนื้อหาดีๆที่มีมาแบ่งปันค่ะ...

  • แวะมาเติมความรู้ ความคิด
  • ขอขอบคุณสำหรับการแบ่งปัน สาระดี ๆ ครับ

สวัสดียามเช้าค่ะ อากาศเวลานี้สดชื่นค่ะไม่มีฝน..มีแต่เสียงนกร้องเรียกกันค่ะ..คุณณัฐรดาออกกำลังยามเช้าไหมค่ะ

อาจารย์คะ ขอเก็บภาพวาด "ขบวนการชวนกันทำดี" ไปจัดนิทรรศการที่โรงเรียนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท