คุยกันแลกความคิดกัน


การแลกเปลี่ยนโดยมีบรรยากาศผ่อนคลายจะทำให้ได้สิ่งที่อยู่ลึกในใจและความเชื่อมากกว่าบรรยากาศแบบตึงเครียด

เป็นสิ่งที่ พวกเราที่ทำการจัดการความรู้ เกิดความรู้สึกว่าการแลกเปลี่ยนแบบไม่เป็นทางการ จะทำให้สกัดความรู้ ความเชื่อที่อยู่ลึกในใจมากกว่าบรรยากาศแบบตึงเครียด และคิดว่าความเชื่อตรงนี้เป็นสิ่งที่เป็นจริง ลองสังเกตจากการประชุม การทำงาน หรือ ชีวิตในบ้าน

หากคนรอบข้างเกิดความเครียด วิตกกังวล กลัว หลายคนจะไม่กล้าแสดงความคิด ความเชื่อของตนเอง ทำให้บางครั้งไม่ได้ ความรู้ ความคิด ความเชื่อที่แท้จริงออกมา  ดังนั้นตอนหลังๆเราก็ใช้รูปแบบ

แบบไม่เป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

หมายเลขบันทึก: 37447เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

เห็นด้วยครับกับแนวความคิดที่ว่า ความเครียด วิตกกังวล กลัว เป็นเหมือนกำแพงกั้นการแสดงออกทางความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งเป็นการตัดยอดทางความคิดของต้นอ่อนที่กำลังจะเติบโตอย่างน่าเสียดาย

สังคมก็เป็นตัวขับเคลื่อนทางด้านลบส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักในการปิดกั้นความรู้ ทุกคนมักเห็นตนเองเป็นที่ตั้งและทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการที่ฝังรากลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกที่ถูกหล่อหลอมมาจากหลากหลายปัจจัย

เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะทำทุกอย่างเพื่อที่จะตอบสนองความรู้สึกของจิตใต้สำนึก (โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยภายนอก เช่น นวัตกรรมใหม่ วัฒนธรรมต่างประเทศ เป็นต้น) ก็คือตัวเราเอง คนเราเดี๋ยวนี้ไฝ่หาความรู้น้อยลง ถึงขั้นไม่พยายามใฝ่หาความรู้ก็มี การคิดที่ไม่เป็นระบบ การตกผลึกทางความคิดที่ถูกลืม การทิ้งจิตตัวเองให้โดดเดี่ยวโดยไม่มีการคุยกับตัวเองบ้าง?

นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งอีกหลายๆ ส่วนที่เป็นปัจจัยสาเหตุของปัญหาสังคมทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้มาจากไหน???

สิ่งเหล่านี้มันถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และจะสืบต่อไปเป็นความเคยชิน โดยฝังรากลึกจนเป็นวัฒนธรรมซึ่งถ้าจะมีการปรับแก้ ก็จะต้องใช้เวลามากเฉกเช่นพฤติกรรมที่มีให้เห็นในปัจจุบัน

และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือคนในสังคมยุคปัจจุบันไม่ได้เรียนรู้ และให้ความสำคัญกับหลักของศาสนา ห่างไกลออกไปทุกที การเรียนรู้หลักของศาสนาเป็นเพียงเสาเพื่อให้ยึดเกาะสำหรับ คนแก่ชรา คนอกหัก คนที่มีปัญหาในชีวิต คนที่.........    สรุปแล้วเป็นคนที่สิ้นหวังทั้งหมดทั้งสิ้น และจากปัจัยที่กล่าวมาก็มีผลให้เห็นได้ตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ

ดังนั้นคนยุคปัจจุบัน ตลอดจนถึงยุคต่อไปต้องเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมของยุค โดยเริ่มจากตนเองก่อนแล้วค่อยๆ ปลูกหน่อเนื้อทางความคิดให้รุ่นต่อไปฝากไว้เพื่อพัฒนาประเทศชาติ เมื่อตนได้สิ้นไปแล้วนั่นเอง

 ป.ล. เห็นด้วยกับความคิดครับยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผิดพลาดจุดใดขออภัยไว้ด้วยครับ :)

ขอบคุณค่ะ สำหรับการร่วมแลกเปลี่ยนความคิด

และได้เพื่อนร่วมทางเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

โดยเฉพาะประเด็นบางส่วนของสังคม(ต่อเติมคำเพิ่มเอง)ที่เป็นตัวขับเคลื่อนด้านลบ  เราKMมาช่วยกันสร้างส้งคมด้านบวกโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้

เพื่อขับเคลื่อนสังคม และEMPOWERMENTคน   เพื่อให้สังคมด้านบวกเกิดขึ้นเยอะๆและทุกคนจะได้มีความสุขค่ะ

พอได้เขียนตอบคุณถกลก็ทำให้ความคิดนึกไปถึง

ขบวนการให้รางวัลที่ใช้ในการบริหาร  ซึ่งในตำราจะเขียนว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจ สำหรับตัวเองจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาคิดว่ามันอาจเป็นดาบสองคมคือให้ด้านบวกสำหรับคนได้รางวัลในช่วงแรกๆ

และอาจทำให้เกิดสังคมด้านลบเกิดความสงสัยแคลงใจสำหรับหลายๆคนที่ไม่ได้รางวัล  ทำให้ลบล้างความรู้เรื่องการสร้างแรงจูงใจว่า ใช้กระบวนการให้รางวัลจะดีจริงหรือไม่  และโยงไปถึงระบบBENCHMARK ในตำราใช้แล้วจะมีความสุข และเกิดสังคมด้านบวก?หรือจำนวนสังคมด้านลบมากกว่าเพราะจำนวนผู้ได้รางวัลมีน้อยกว่า   

เห็นด้วยครับ ลดความเป็นทางการ ลดขั้นตอน ปรับรูปแบบ (เรื่องง่ายๆ ที่ผู้ชายก็รู้และผู้หญิงก็รู้ แต่...ไม่ลงมือทำ)

ขอบคุณ ผอ.บวร สำหรับการแสดงความคิดเห็นค่ะ

ถ้าผอ.ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดการส่งเสริมทันตสุขภาพรบกวนไปที่blog "แลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมทันตสุขภาพ"นะค่ะ  เพื่อจะได้แบ่งปันความรู้ของคนที่สามารถดูแล และปรับพฤติกรรมให้เด็กๆมีทันตสุขภาพดี  ลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งของรัฐบาลและตัวบุคคล

   ผมคิดว่าความรู้ส่วนตนและตลอดถึงปัญญาเชิงสังคมจะเกิดขึ้นได้ คงต้องเริ่มจากการเรียนรู้แบบน้อมนำในแต่ละบุคคลก่อน อันนี้ทุกท่านก็รู้ดีกันอยู่แล้ว

   การที่ปัจเจกบุคคล มีทัศนคติที่มองเห็นโลกในแง่บวกนั้นจะดีต่อการเรียนรู้ในทุกทาง ....แต่การมองโลกในแง่บวกนั้นควรพัฒนามาจากการมองให้เห็นโลกตามความเป็นจริงเสียก่อน

   ซึ่งจะเห็นว่าสังคมที่อยู่รอบๆตัว นั้นอุดมไปด้วยปัญหานานานับประการ  ผมคิดว่าเราควรจะทำใจยอมรับป้ญหาเหล่านั้น ที่ซึ่งจะส่งผลให้มีแรงเสียดทานเริ่มต้นในการเรียนรู้ (ทั้งในการเรียนรู้ส่วนตัว และการเรียนรู้เชิงสังคม )

  เมื่อเราตะหนักถึงปัญหาแล้ว เราจะได้ไม่คาดหวังผลสำเร็จเร็วจนเกินไปนัก เพียงแต่เราต้องคอยเชียร์อัพ จิตใจของเราให้อยู่เหนือปัญหาที่มองเห็นเหล่านั้นอยู่เสมอ 

  และควรทำใจใว้ด้วยว่า งานช่วยกันสร้างสังคมอุดมปัญญา บนสังคมอุดมปัญหาแบบนี้ เป็นเกมยาวแน่ๆ เป็นภาระกิจที่ต้องทำแบบ ข้ามภพ ข้ามชาติแน่นอน (อันนี้หาได้ พูดเอาสนุกไม่ ในเชิงพุทธศาสนานั้น ถือการเรียนรู้และการสะสมปัญญา บารมี เป็นเรื่องของความต่อเนื่อง จนกว่าจะพ้นทุกข์และดับทุกข์ตลอดการ )

  ผมเห็นว่าสิ่งที่เราจะทำได้อย่างเร็วที่สุดและเห็นว่าจะเป็นผลเร็วที่สุดคือ การที่เรา ( แต่ละบุคคลที่สื่อสารกันใน บล็อคแห่งการเรียนรู้ นี้แหละ ) ควรทำตัวให้เป็นพาหะของเชื้อการเรียนรู้อย่างเข้มข้น ( โดยการเป็นแบบอย่างของคนที่ชอบการเรียนรู้ และมีชีวิตดีขึ้นจากการเรียนรู้จนเห็นได้ชัด จนคนรอบข้างสนใจและอยากเลียนแบบบ้าง )

  ควรทำตัวให้เป็นพาหะที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเชื้อใดๆ ที่เคยมีมาในโลก และต้องสามารถ นำไปแพร่และติดต่อคนในสังคมได้  เพื่อคนรอบข้างจะได้ติดเชื้อการเรียนรู้ไปด้วย แล้วทุกอย่างก็คงจะดีขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งนั่นก็จะเป็นสิ่งยั่งยืน  สังคมก็จะได้เรียนรู้อย่างยั่งยืนด้วย  

** คำจุดประกายความคิด**

ไม่มีความยั่งยืนใดๆ ในโลกนี้ ได้มาอย่างรวดเร็ว

กำแพงเมืองจืนที่ว่ากันว่ามองเห็นได้จากอวกาศ ก็เริ่มก่อด้วยอิฐก้อนแรก ก้อนที่ 1

จงมีความหวังอยู่บนความสิ้นหวังของผู้อื่นอยู่เสมอ

พึงตระหนักว่าพื้นฐานการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากวลีที่ว่า ...."ดูที่เห็น..เน้นที่จ้อง" ...อยู่เสมอ

เราเป็นอย่างไร สังคมก็เป็นเช่นนั้น

เชื่อมั่นว่าเราจะสามารถฝากความหวังใว้กับเยาวชนรุ่นหลังๆ ได้

......แล้วค่อยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีกนะครับ.....

ติดอกติดใจ คำว่า เราเป็นอย่างไร  สังคมก็เป็นเช่นนั้น

นั่นคือ ต้องพยายามสร้างสังคมทางบวก โดยเริ่มจากตัวเราก่อนเป็นลำดับแรก   เพื่อก่อก้อนอิฐก้อนที่1ในสังคมเรานั้นเอง

ข้อสังเกต

การเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ที่เราพูดถึงกันในที่นี้มีขอบเขตและปริมณฑล หรือไม่ ..กว้างขวางครอบคลุมเพียงใด ?

 

มีวัตถุประสงค์อะไร ในความพยายามที่จะสร้างชีวิตและสังคมแห่งการเรียนรู้ ?

....เพื่อที่จะได้มีความรู้ เพิ่มขึ้น....เพิ่มขึ้นจากฐานความรู้อะไร..

....เพื่อจะได้เป็นอิสระจากกระแสบริโภคนิยมที่ไหลเชี่ยวกรากในปัจจุบัน...ถ้าออกจะกระแสหลักได้ แล้วจะลอยไปในกระแสใด ?...

....เพื่อสนองผู้มีอำนาจมากกว่าเรา ที่สั่งเราให้มาเรียนรู้...การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการสั่งการได้หรือไม่ ?

...ฯลฯ..

 

การเรียนรู้มีหลายมิติ การเรียนรู้ในเชิงปริมาณ กายภาพ (เช่นการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม , การเรียนรู้จากสหวิชาการและศาสตร์ต่างๆ ที่มีบนโลกใบนี้ ) และการเรียนรู้เชิงคุณภาพ เน้นดิ่งลึกลงไปในตัวตนเพื่อให้เกิดภาวะหยั่งรู้และเกิดปัญญาญาณ (wisdom  and awareness)  เราได้เลือกมิติที่จะไปสู่การเรียนรู้รึยัง รึเราจะสำรวจไปในทุกมิติ ทุกๆเขตแดนแห่งการเรียนรู้... ..และปัจจุบันเราอยู่ตรงใหน ในเรื่องนี้ ?

 

องค์ความรู้จากมิติการเรียนรู้เหล่านั้น มีความขัดแย้งกันอยู่หรือไม่ ?

 

ทำไมความคิดในเชิงบริโภคนิยมจึงแพร่หลายได้อย่างรวดเร็วอย่างมาก น่าจะพอๆกับการแบ่งตัวของเชื้อแบคทีเรียเลยทีเดียว ทำให้สงสัยว่าเราจะสามารถสร้างกระบวนทัศน์อันใดขึ้นมา เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ได้รวดเร็วขนาดนี้..?

 

ความคิดแบบเน้นการเรียนรู้ภายในตนเอง จะไปกันได้กับกระแสความคิดแบบบริโภคนิยมได้หรือไม่...?

 

** คำขวัญประจำวันนี้**

..."เผชิญหน้ากับสังคมอุดมปัญหา...เพื่อเสริมสร้างสังคมอุดมปัญญา"....

ขอให้พลังและเชื้อแห่งการเรียนรู้จงอยู่กับท่านผู้อ่านตลอดไป......สาธุ และ สวัสดี

 

ขอตอบวิศวกรสังคม การทำอะไรก็ตามต้องระบุ มีขอบเขตเพราะโลกนี้กว้างใหญ่ไพศาล  อย่างในเรื่องการจัดการความรู้ที่กลุ่มสนใจก็ต้องเลือกก่อนว่าอยากเรียนรู้เรื่องอะไร  และเรื่องที่เรียนรู้ถ้าจะให้ดีก็ควรเป็นสิ่งที่มาใช้ในการทำงาน  ที่เป็นงานที่ตนเองทำอยู่เพื่อพัฒนางานตามบริบทที่เปลี่ยนไป   

       ความคิดเชิงบริโภค  เป็นเรื่องธรรมชาติของคนแต่อย่างไรก็ตามคนเราต้องเรียนรู้เพื่อเข้าใจ  และไม่ให้เกิดทุกข์จากแนวคิดบริโภคนิยม  และยึดหลักศาสนาเพื่อให้อยู่ในทางสายกลาง 

อืมมม...เป็นคำตอบที่แหลมคม   ท้ายที่สุดแล้วแนวทางการเรียนรู้ รวมถึงท่าทีและกระบวนทัศน์ที่เหมาะสม ก็ต่างงอกมาจากฐานของศาสนาของเราทั้งนั้น...

 

น่าจะมาจากศาสนาอื่นด้วย  เพราะทุกศาสนาสอนให้ทำความดี  เป็นผู้รู้.......

บรรยากาศของการรับฟัง  การให้ความสนใจ กับผู้พูดจะช่วยให้คนเล่าเรื่องออกมา  ซึ่งนอกจากจะได้เรียนรู้แนวคิด ความเชื่อ ความรู้สึกแล้วดิฉันเชื่อว่ายังเป็นการช่วยเหลือให้ผู้พูดมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น  จากการที่ได้พูด และมีคนฟัง  แต่อย่างไรก็ตามสังคมสมัยใหม่

ส่งเสริมให้เด็กๆกล้าแสดงออก "กล้าพูดกล้าคุย"

หากจะเป็นสังคมอุดมปัญญา ต้องไม่ลืมการส่งเสริมให้เด็กมีคุณสมบัติเป็น"นักฟัง"ด้วย      

การรับฟัง เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจในหลายๆสิ่ง...

แต่ทำอย่างไร เราถึงจะแยกแยะ คัดกรอง  สารสาระที่ส่งมาจากผู้พูดว่า สิ่งใหนคือข่าวสาร สิ่งใหนคือความรู้ สิ่งใหนคืออารมณ์ หรือ อคติ

การรับฟัง โดยเฉพาะกับความเห็นที่แตกต่าง

จากกลุ่มคนที่แตกต่าง ก็ยากที่จะรับฟังแบบไร้อคติ

ซึ่งคงต้องฝึกกันอีกนาน  ส่วนมากก็จะรับฟังแต่..ไม่ได้ยิน

ขอแลกความคิดและความรู้ ในเรื่อง" รับฟังแต่ไม่ได้ยินว่า" เป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยๆในชีวิตประจำวัน เชื่อว่าปารกฏการณ์นี้ เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ อยู่ในสภาวะนั่งเพื่อฟังการพูดจากคนอื่น แต่จิตไม่มีสมาธิ ทำให้เหมือนไม่ได้ยิน  อีกประการคือ เรื่องที่ผู้พูดสื่อออกมาไม่ตรงกับความคิด ความเชื่อของผู้รับฟังทำให้จิตใจปฏิเสธเรื่องที่ผู้พูดพูดออกมา  เมื่อจิตใจไม่รับจึงไม่ได้ยิน มีเทคนิคการรับฟัง   เทคนิคนี้น่าสนใจมากคือ    เทคนิค"ว่าด้วยเวทีเสวนา(Dialogue)"ที่ได้มาจากหนังสือเทคนิคการจัดการความรู้ ซึ่งอยากแบ่งปันให้รู้ แต่ยาวหน่อยน่ะค่ะ
 
 dialogue  ไม่ใช่เป็นเพียงเทคนิคเพื่อการปรับปรุงองค์กร  การสื่อสารการแก้ปัญหา  หรือเพื่อหาความเห็นที่เป็นเอกฉันท์  แต่เป็นเทคนิคของการเรียนรู้ของทีม  ที่จะนำมาสู่การคิดร่วมกัน  นำพลังและการกระทำมาสู่การบรรลุเป้าหมายร่วม  ทำให้เกิดปัญญาและความสามารถที่มากกว่าผลรวมของแต่ละคน  เป็นการค้นหาความหมายร่วมกันในกลุ่มสมาชิก  ในระหว่างกระบวนการ dialogue ผู้คนจะเรียนรู้วิธีการที่จะคิดร่วมกัน  สร้างสภาวะที่ความคิด  อารมณ์  และการกระทำ  เป็นของทุกคน  ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง  ไม่ใช่เพียงการวิเคราะห์ปัญหาหรือการสร้างความรู้ใหม่
 David Bohm  กล่าวว่า  เมื่อรากความคิดถูกสังเกตเห็น  ความคิดนั้นจะแปลเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า  ผู้คนจะเริ่มเคลี่อนไปในทิศทางที่สอดประสานกันโดยไม่ต้องรอการตัดสินใจที่จุกจิกน่ารำคาญ  กลุ่มสามารถดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน  กลุ่มจะเป็นเหมือนฝูงนกที่บินจากต้นไม้อย่างเป็นระเบียบตามธรรมชาติสมาชิกแต่ละคนของทีมรู้ได้โดยง่ายว่าตนเองจะต้องทำอะไร (จึงจะดีที่สุด) เพราะว่าทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด
แนวคิด
  1.Martin Buber  นักปรัชญา  ใช้คำว่า  dialogue  เมื่อปี 1914  เพื่ออธิบายวิธีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นของมนุษย์ ซึ่งแต่ละฝ่ายสามารถชักนำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่งได้  ด้วยความตระหนักในคุณค่าของกันและกันอย่างแท้จริง
2.Patrick De Mare  นักจิตวิทยา  เสนอว่าการประชุม “สังคมบำบัด” เป็นกลุ่มใหญ่จะช่วยให้ผู้คนมีส่วนในการทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนการตีความหมายของสิ่งที่ปรากฏอยู่ในสังคม  เพื่อที่จะคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม
3.David Bohm  นักฟิสิกส์ เสนอว่า  รูปแบบใหม่ของการสนทนานี้ควรมุ่งเน้นที่จะนำเอาความคิดที่ฝังลึกขึ้นมาตีแผ่  จะปลุกเร้าให้เกิดความใส่ใจและสำเหนียกต่อสมมติฐานที่แต่ละฝ่ายยึดถือ  ความเห็นที่แตกต่างกัน กฎกติกาในการสนทนา  และวิธีการจัดการกับความแตกต่าง  เป้าหมายของ dialogue  คือการสร้าง setting เพื่อให้เกิดการใส่ใจรวมกัน (collective mindfulness) 
บทบาทผู้เข้าประชุมแต่ละคน
 ไม่ต้องต่อสู่ไม่ต้องพยายามแยกแยะว่ามุมมองใดผิด มุมมองใดถูก  สิ่งที่ต้องทำคือฟังและซักถาม  “เรื่องนี้มีความหมายว่าอย่างไร” สมาชิกไม่ต้องฟังคนอื่นเพียงแค่ฟังตัวเอง “เราได้ยินเรื่องนี้มาจากที่ไหน  อะไรคือสิ่งที่รบกวนจิตใจของเรา (ไม่ใช่คนอื่น) ฉันจะได้เรียนรู้อะไร  ถ้าฉันชะลอเรื่องต่างๆ ให้ช้าลง  และค้นหาคำตอบจากภายในตัวเอง”
ในช่วงวิกฤตนี้  facilitator  ที่ชำนาญจะมีความจำเป็นมาก facilitator ไม่ต้องคอยแก้ไขสถานการณ์หรือออกคำสั่ง  แต่ทำให้เป็นแบบอย่างในการที่จะแขวนสมสติฐาน เช่น อาจจะชี้ให้เห็นความเป็นขั้วตรงข้าม  โอกาสที่จะเรียนรู้ว่ามันจะทดแทนความหมายอะไร  และจำกัดหัวข้อของความคิดที่กำลังโลดแล่นอย่างรวดเร็วภายในกลุ่ม
หลักการของกระบวนการ dialogue
- อย่าตัดสิน ผิด ถูก ดี เลว แขวนสมมติฐานของตนเองไว้ก่อน
- สังเกตและฟัง  ซึ่งกันและกัน
- ต้อนรับความแตกต่างและสำรวจตรวจสอบความแตกต่างนั้น
- อนุญาตให้นำเรื่องต้องห้ามขึ้นมาพูดกันได้โดยไม่ต้องกลัว
- ฟังเสียงจากภายในตนเอง
- อภิปรายอย่างช้าๆ
- ค้นหาความหมายที่อยู่เบื้องลึก

 

ได้ความกระจ่างมากเลยครับ

เห็นได้ชัดว่าการเรียนรู้จะงอกเงย ควรจะมาจากท่าที

ที่ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ในความคิดของตนเองเป็นหลักแต่อย่างเดียว

แต่ก็ต้องไม่ใช่พวกที่ไร้มุมมองและไร้ทัศนคติ หรือแบบไม้หลักปักเลนเสียทีเดียวเลยเช่นกัน

เห็นเช่นนี้แล้ว  กิจกรรมที่น่าทำที่สุด ก่อนที่เข้ามาร่วมสังฆกรรม สังเคราะห์และจัดการความรู้

ก็เห็นจะเป็น กิจกรรม ลดอัตตาในตัวตนและในกลุ่มทำงาน เป็นเบื้องต้น....

ข้อสังเกตุ

อายุคนจะแปรตรงกับอัตตา และจะแปรผกผันกับฮอร์โมนในร่างกาย

 

 

เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า "การเรียนรู้  จะงอกเงย  มาจากท่าที ที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในความคิดของตนเองเป็นหลักแต่อย่างเดียว  และ เป็นกิจกรรมลดอัตตาในตัวตนและในกลุ่มทำงาน" และที่จะได้มากกว่าการเรียนรู้ คือ เมื่อสิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้น  อาจจะทำให้ชีวิตผู้หนึ่งหน้าหงิกงอ  ขณะเดียวกันเรื่องเดียวกัน เมื่อเกิดกับอีกชีวิตหนึ่ง  ชีวิตนั้นมีแต่ยิ้มน้อยๆที่มุมปาก   ความยึดถือ ยึดมั่น  ในหัวใจของแต่ละชีวิตนั้นต่างหากที่ก่อให้เกิด  การหงิกหรือการยิ้มในการทำงานหรืออยู่ร่วมกัน

เราเป็นปลาชนิดใด..?

คิดๆดู คนเรานั้นเป็นเหมือนปลาในมหาสมุทร บางคนเป็นปลาที่อยู่กันเป็นฝูง ไปกันเป็นกลุ่ม ขยับไปเป็นก้อนด้วยการชี้นำของตัวปลาตัวใหนก็มิอาจทราบได้ เวลาถูกล่า ก็ภาวนาอาศัยโชคดวงที่อิงกับสถิติและความน่าจะเป็นว่า สาธุ คงไม่โดนข้าหรอก ขอให้ปลาตัวอื่นโดนก็แล้วกัน  เพราะจับกลุ่มว่ายกันเป็นก้อนใหญ่  ได้แต่ภาวนาไห้ตัวเองรอด  

บางคนเป็นเหมือนปลาฉลามชอบไปเดี่ยวๆ จำเป็นต้องล่าแบบมีกลยุทธ์ค่อยไปกันเป็นกลุ่ม บังคับทิศทางชีวิตด้วยตนเอง  เวลาหาอาหารก็โฉบกินเหยื่อก็คือปลาพวกกลุ่มเเรกนั่นเอง  ชีวิตที่มีแต่การไล่ล่าทำความวิบัติให้ปลากลุ่มแรก

บางคนเหมือนปลาการ์ตูนมีสีสันสวยงาน อาศัยหลบอยู่ในดอกไม้พิษที่ตนเองต้องยอมเจ็บปวดจากพิษร้ายจนเคยชิน เพื่อแลกกับการคุ้มครองจากอันตราย        

บางคนเหมือน..ขอโทษ..ปลาตีน..หน้าตามู่ทู่ อยู่ชายเลน เกลือกกลั้วปลักตม กินแมลง กินกุ้งฝอย อะไรก็ได้ ขอให้ปากท้องรอดตาย

KM.. จะทำให้เรากลายเป็นปลาชนิดไดได้บ้าง จะเป็นปลาที่แตกฝูงออกมาเพื่อเป็นอิสสระไม่ต้องว่ายตามใคร คิดเอง เออเอง ทำเอง หาทางรอดเองแบบไม่ต้องภาวนาให้รอดจากการล่า   รึจะเป็นปลาฉลามที่มี หิริโอตัปปะ .....รึจะเป็นปลาการ์ตูน ที่เป็นอิสสระจากการพึ่งพิงที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวดที่ชินชา

......วันนี้ขออณุญาตเขียนพร่ำเพ้อเพราะพิษไข้...555

คุณวิศวกรสังคมดูเป็นคนที่มีจินตนาการและมีสำนวนของนักเขียนช่างเปรียบเทียบเปรียบเปรยจัง  ออกตัวว่าพร่ำเพ้อเพราะพิษไข้แต่ก็มีสาระอยู่นะ  สำหรับคำถามที่ว่าKMจะทำให้เรากลายเป็นปลาชนิดใดได้บ้างนั้น   ถ้าตีความกันตามความหมาย"KM  คือการจัดการความรู้แล้วเกิดการเรียนรู้  ซึ่งจากการตีความของตัวเองคือการจัดการความรู้เพื่อให้ปรับตัวอยู่ได้อย่างมีความสุขหรือเกิดการพัฒนางานเพื่อให้งานดีขึ้น  ดังนั้นบุคคลหรือกลุ่มจะกลายเป็นปลาชนิดใดจากการใช้การจัดการความรู้ก็ขึ้นอยู่กับบริบท ของแต่ละคนแต่ละกลุ่มจะสามารถปรับหรือเปลี่ยนได้แค่ไหน และขึ้นอยู่กับความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ รอบตัว  เป็นอย่างไรมีผลกระทบอย่างไรต่อการเลือกเป็นปลาชนิดใด  อีกอย่างคือรู้แค่ไหนตรงนี้เป็นปัจจัยสำคัญ
อ่านถามตอบในเรื่อง KM รู้สึกว่าค่อนข้าง abstract  การแบ่งปันความรู้ไม่ว่าจะเรื่องใดๆก็ตามคงต้องเร่มที่ใจ   ใจต้องกว้างพอ  ระบบราชการทำให้คนใจแคบ  ???? บางอย่างก็แข่งขัน   ประกวด  เอาโบนัส  ให้รางวัลจากผู้บังคับบัญชา   แม้แต่  KM  ก็ประกวด  กั๊กความรู้   เรื่องนี้ศูนย์อื่นคิด  เราไม่เอา  คิดเองดีหว่า   เรื่องนี้ศูนย์เราคิด  อย่าให้เขาดีกว่า     ดูดูจะไปได้ยากหากไม่เริ่มที่ใจ
เห็นด้วยค่ะ ที่ว่า"การแบ่งปันความรู้ไม่ว่าจะเรื่องใดๆก็ตามคงต้องเริ่มที่ใจ   ใจต้องกว้างพอ"แต่ว่า  ระบบราชการทำให้คนใจแคบ  ???? น่าจะมาจากการนำแนวคิดการประกวด การแข่งขัน การBENCH MARKเพื่อเปรียบเทียบว่าที่ไหนดีกว่าแล้วนำผลตรงนี้มาให้รางวัล  ในความคิดเห็นของตนเองตรงนี้จึงทำให้เกิดการกั๊กความรู้     เห็นด้วยมั๊ยค่ะ  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท