การประชุมประจำปี 2549 “แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน”(ตอนจบ)


             ท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวตอนหนึ่งในพิธีเปิดว่า สศช.เหมือนคนโบกธง ที่โบกแผนพัฒนาฯอยู่คนเดียว แต่หน่วยงานอื่นไม่ทำแผนสอดรับเท่าที่ควร  ดูเหมือนจะจริง  แต่หน่วยงานอื่นที่มีอิทธิพลเหนือแผนพัฒนาฯแต่ละฉบับของ สศช.คือแผนตามนโยบายรัฐบาลไม่ใช่หรือ?

          แผนพัฒนาฯทั้งฉบับที่ 9  และ(ร่าง)ฉบับที่ 10  ต่างยึดปรัชญาของในหลวงเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทิศทาง  ฉบับที่ 9 ผ่านไปก็ยังไม่เห็นปรัชญาดังกล่าวปรากฎเป็นรูปธรรม  ก็เกรงว่าฉบับที่ 10  จะเป็นเหมือนที่ผ่านมาอีก  แม้แต่ผู้ใหญ่ก็ยังพูดถึงแต่เศรษฐกิจทุนนิยม และเรื่องการแข่งขันกับชาวโลกในยุคโลกาภิวัตน์  น่าเป็นห่วงเสียจริง

           ขณะที่คนไทยเรากำลังแสดงความรักความชื่นชมศรัทธาในหลวงของเรา แผ่ขยายไปทั่วโลก  ผมยังไม่เห็นพรรคการเมืองพรรคใดที่แถลงนโยบายสอดรับกับเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่เห็นเป็นรูปธรรมให้ประชาชนเกิดความมั่นใจได้บ้าง  ถ้ามีพรรคใดเปิดตัวนโยบายที่ชัดเจนออกมาในเรื่องนี้  รับรองประชาชนจะนิยมศรัทธาเทคะแนนให้โดยไม่ต้องแจกเงินซื้อเสียงแน่นอน  ท่านว่าจริงไหม?

         คุณโฆสิต  ปั้นเปี่ยมรัตน์  (ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ) กล่าวตอนหนึ่งว่า  ระบบทุนนิยมมีผลข้างเคียงคือ  เสถียรภาพ  การกระจายรายได้  ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ  และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม   ซึ่งคุณโฆสิตบอกว่า  วิกฤตที่น่ากลัวที่สุดคือ เรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ  คืออำนาจเหนือตลาดต่างๆ เช่นการผูกขาด  การค้าที่ไม่เป็นธรรม  ความขัดแย้งในผลประโยชน์ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันรุนแรงยิ่งขึ้น เร็วขึ้น กว้างขึ้น  และประเทศไทยเราก็กำลังรุนแรงขึ้นเช่นกัน  ซึ่ง จะแก้ไขได้ต้องอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้องจริงใจที่จะใช้ และใช้อย่างจริงจัง...  

คำสำคัญ (Tags): #สาระน่ารู้
หมายเลขบันทึก: 36832เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

     ในมุมมองของผมแล้ว แผนพัฒนาฯ ต้องเป็นกรอบให้กับนโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุคสมัย แต่ที่ผ่านมาระดับนโยบายไม่เอาตามแผนพัฒนาฯ แต่ก็มองกลับไปอีกเช่นกันว่า การมีส่วนร่วมมากพอแล้วหรือยังในการยกร่างแผนพัฒนาฯในแต่ละฉบับ มากไปกว่านั้น ให้เขา(ทุกภาคส่วน)มีส่วนร่วมอย่างจริงใจ คือ แผนได้ตกผลึกจากกระบวนการมีส่วนร่วมนั้นจริง ๆ ไหม หรือเพียงเอา "กรอบมาบอกว่านี้นะคุณว่ากันอย่างไร" จากนั้นเมื่อว่ากันเสร็จแล้วก็ไม่ได้เอาจากที่ตกผลึกได้ไปปรับจากร่างฯอะไรเลย
     ผมพยายามจะนำเสนอว่า กระบวนการยกร่างแผนพัฒนาฯ กับ กระบวนการมีส่วนร่วม ภาพสวยแต่แยกส่วนกัน ใช่ไหม (เป็นข้อสังเกตแบบไม่ค่อยมีกึ่นของผม)
     ผมเชื่อว่าหากทุกภาคส่วนมีส่นร่วมในการยกร่างจริง ๆ เขาจะนำไปใช้มากกว่าที่ผ่านมา อันนี้(ร่าง)แผนฯ 10 ผมเห็นกระบวนการมีส่วนร่วมมาก และผลลัพธ์ยังไม่แน่ใจ
     เชื่อมั่นว่าเราจะเอาจริงเอาจังกับแนวคิด "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" มากขึ้นในแผนฯ 10 นี้ และอยากเห็นแผนฯ 10 ชี้ชัดเลยว่าจะวัดการพัฒนาประเทศกันด้วยความสุข ไม่ใช่ เศรษฐกิจอย่างเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท