นำเสนอสื่อนวัตกรรมการศึกษา


บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด

      รายงานการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แม่กด

ขั้นตอนการจัดทำสื่อนวัตกรรม

1.   ขั้นวางแผน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้

                 1.1  ศึกษาหลักสูตร เมื่อเลือกเนื้อหาที่จะนำมาสร้างบทเรียนสำเร็จรูปได้แล้ว นำมาวางแผนในการเขียนบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง

                 1.2  กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้าง โดยอาศัยข้อมูลจากหลักสูตรกว้าง ๆ และจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม ที่สามารถสังเกตและวัดผลได้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียน

                 1.3  วิเคราะห์เนื้อหา

            1. ผู้จัดทำได้กำหนดเนื้อหาและเลือกคำศัพท์ที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่กด ที่สะกดด้วย จ, ช , ฎ , ฎ , ฐ , ฒ , ต , ตว์ , ติ , ตร , ตุ , ธ , ธิ ,  ส , ถ , สตร์  ,ท , ศ  , ษ ที่เป็นปัญหาการอ่านและเขียนทั้งหมด ๑๐  คำ  นำมาสร้างแบบฝึกชุด 6 ชุด ๆ ละ ๓ กิจกรรม โดยจัดเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากตามลำดับ

                2. นำคำศัพท์มาสร้างแบบฝึกทักษะ จำนวน 6 ชุด ชุดละ 3 กิจกรรม ซึ่งแต่ละกิจกรรมจะเน้นให้นำบทเรียนสำเร็จไปใช้ได้ฝึกการอ่าน และการเขียน

                 1.4  การสร้างแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนทราบถึงความรู้พื้นฐานเดิมและความงอกงามในการเรียน      จากจุดเริ่มต้นถึงจุดท้ายสุดโดยการพิจารณาคะแนนทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับคะแนนก่อนเรียน (Pre-test)

 

2.  ขั้นดำเนินการ ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้

               2.1  เขียนบทเรียน ในการเขียนบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วยบทเรียน และ กิจกรรม  

            2.2  ทบทวนและแก้ไข หลังจากเขียนบทเรียนสำเร็จรูปแล้ว ผู้เขียนได้ทบทวนหาจุดบกพร่องและดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องทั้งทางด้านเนื้อหา ภาษา และวิธีการเขียน เช่น ความต่อเนื่องของบทเรียน และความเหมาะสมของการแบ่งกรอบ เป็นต้น

2.3        นำบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน        ตรวจสอบความถูกต้อง และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC (Index of Item Objective Congruence) พบว่า พฤติกรรมบ่งชี้มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหา รูปแบบ ความเที่ยงตรงและครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ กลุ่มสาระภาษาไทย

 

    3.   ขั้นทดลองและปรับปรุง ดังนี้

                    ปรับปรุงแก้ไขบทเรียนให้ดีขึ้น โดยการซักถามถึงปัญหาต่าง ๆ ที่นักเรียนพบขณะเรียนจากบทเรียนสำเร็จรูปและนำข้อบกพร่องไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป

 

    4.   ขั้นนำไปใช้

                     ขั้นนำไปใช้เป็นขั้นที่นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการทดลองขั้นตอนมาแล้วไปใช้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านตาลใต้ ตำบลบ้านตาล  อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งใช้แก้ปัญหาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ต่อไป อย่างไรก็ตามผู้เขียนบทเรียนสำเร็จรูปยังต้องติดตามผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 

 

หมายเลขบันทึก: 368055เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท