ว่าด้วยความรู้


ความรู้คืออะไรกันแน่

ความรู้คืออะไร

เมื่อไต่ถามกับตนเองว่าความรู้คืออะไร เรารู้สึกงุนงงเล็กน้อย ก็เลยถามคำถามต่อไปว่า

เรามีความรู้หรือไม่

ก็คงตอบว่ามีแน่นอน แล้วก็ถามตัวเองต่อไปว่า

ความรู้อะไรบ้างละที่เรามี

ก็คงจะต้องเริ่มต้นที่ความรู้ทั่วไปในชีวิตประจำวันก่อน ความรู้ในการประกอบอาชีพ ความรู้ในการเข้าสังคม ความรู้ในตำรา  ทฤษฎี ความคิดเห็นของผู้อื่น  ก็คิดคร่าว ๆ ได้เท่านี้ก่อน

ความรู้นั้นอยู่ภายนอกหรืออยู่ภายในตัวเรา

ความรู้น่าจะอยู่ทั้งภายนอกและภายในตัวเรา ดังภาษาอภิธรรมที่ท่านว่า ตัวรู้  และสิ่งที่ถูกรู้  สิ่งที่สำคัญน่้าจะได้แก่ตัวรู้คือสิ่งที่อยู่ภายใน ได้แ่ก่  เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยเฉพาะวิญญาณ คือตัวรู้ คือถ้าไม่มีตัวรู้ ก็จะไม่มีความรู้

ความรู้แยกออกจากตัวรู้หรือผู้รู้ได้หรือไม่

ไม่น่าจะแยกออกจากตัวผู้รู้ได้ เพราะ ตัวรู้เป็นผู้กำหนดความหมาย นัยยะ จากสิ่งที่ถูกรู้

ความรู้ กับ โลกทัศน์ (world view) แตกต่างกันอย่างไร

โลกทัศน์น่าจะเป็นองค์รวมของความรู้ที่มีการตกผลึก ทำให้เกิดการวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ ของชีวิตของเราเป็นไปตามความต้องการของเรา  วิถีชีวิตเราถูกครอบงำด้วยความรู้ชุดหนึ่งที่เราใช้เสรีภาพในการสมาทานมันไว้

 ความรู้ กับ อำนาจ  เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่

ความรู้กับอำนาจ เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจ เพราะเกิดจาก เจตจำนง (will)   ของผู้รู้หรือตัวรู้  มีการสร้างและการสถาปนาเหมือนกัน อำนาจ มีอยู่ 2 ประเภท คืออำนาจครอบงำ และ อำนาจที่เกิดจากความรุนแรง ความรู้ทั้งสองอย่างใช้ควบคุมมนุษย์เหมือนกัน  แต่ความรู้เป็นอำนาจ ครอบงำที่ลึกที่สุด

ดังนั้นความรู้คืออะไรละ

ความรู้ คือ ความหมาย สัญลักษณ์ หรือข้อมูลที่มนุษย์สร้างขึ้นมาด้วย เจตจำนง(will) เพื่อวัตถุประสงค์อันใดอันหนึ่ง

และการจัดการความรู้ คืออะไร

สิ่งที่มนุษย์สร้างความหมายขึ้นมา  ด้วยการรวบรวม  เพื่อการวินิจฉัย  ตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง

ข้อด้อยของการจัดการความรู้คืออะไร

การกีดกั้น/ครอบงำมนุษย์  การมุ่งเห็นแก่กำไรแต่เพียงอย่างเดียว การกีดกันความรู้ทางด้านสวัสดิการสังคม  ความรู้ด้านมนุษยนิยม
ภายในองค์กร  การมองไม่เห็นตัวรู้ ที่สำคัญ กว่าสิ่งที่ถูกรู้

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้
หมายเลขบันทึก: 36479เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความรู้คืออะไร  ความรู้ จำเป็นต้องเป็นความจริงหรือไม่......

 

ถ้าความรู้เท่ากับความจริง สิ่งที่ คนสมัยก่อนบอกว่าโลกกลมนั้น ก็ไม่ใช่ความรู้

    งั้นถ้าสิ่งที่เราคิดวันนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกในวันหน้า

 

เราจะเรียกความรู้ที่เรามีอยู่นี้ว่าความรู้รึเปล่า

ความจริงแท้ นั้นมีเรื่อง กาลและอวกาศ เข้ามาเกี่ยวข้อง

ครับ  การเข้าถึงความจริงแท้ของมนุษย์นั้นถูกจำกัดด้วยประสาท

สัมผัสครับ  เพราะฉะนั้นความจริงแท้ ๆๆ นั้นไม่มี

มีแต่  ความจริงที่ถูกสร้างขึ้นเท่านั้นครับ

จะสังเกตุได้จากพวกควอนตัมฟิสิกซ์  หรือไม่ก็ความจริงของแชมเปี้ยนโลกในอดีตย่อมมี

ไมท์  ไทสันอยู่ด้วย  แต่กาลเวลาได้กัดกร่อนความจริง

นี้ไปครับ เวลาทำให้เปลี่ยนแปลงไป ดาวพลูโตก็เลย

เปลี่ยนหายไป เพราะนิยามความหมายอะไรประมาณนี้แหละครับ

เอวัง 

ความรู้นั้นคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เราค้นคว้าคะโดยไม่ว่าจะอ่านหนังสือหรือทำอะไรเเล้วได้ความรู้อ้คะ

สนใจคำถาม "ความรู้แยกออกจากตัวรู้หรือผู้รู้ได้หรือไม่" ครับ

เหตุที่สนใจเพราะนักวิจัยทางสังคมศาสตร์เวลาศึกษาเรื่องอะไร เขาเน้นว่าผู้ศึกษาต้องไม่มีความลำเอียง คือต้องให้เป็นภววิสัย (objective) ที่สุด คือเขาอยากรู้ "ความจริง" ที่อยู่นอกตัวเขา (จะจริงแบบสมบูรณ์ - จริงแท้แน่นอน เช่น ความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่ง หรือจริงแบบสัมพัทธ์ - จริงถ้าเงื่อนไขไม่เปลี่ยน เช่น ดาวพลูโต ก็ตาม)

จริงๆ แล้วจะทำได้จริงหรือเปล่าครับ?

จะแยกผู้ศึกษาออกจากสิ่งที่เขากำลังศึกษาได้จริงหรือเปล่าครับ?

ความรู้ต้องเป็นความจริงถ้าไม่จริงเราเรียกว่าความไม่รู้ แต่ความจริงต้องเริ่มจากการสมมุติ แล้วนำสิ่งที่สมมุติมาดำเนินการผ่านปัญญาหรือสัมผัส 

ถ้าผ่านปัญญาและค้นหาความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์มาทำนิรนัยได้ความจริงที่จำเป็นต้องจริง เช่น วิชาเลขคณิต เรขาคณิต ศาสนาพุทธ

แต่ถ้าผ่านสัมผัสค้นหาสื่งที่เกิดซ้ำๆหรือการอุปนัยได้ความจริงสากลกับปรากฏการณ์ เช่น สูตรทางวิทยาศาสตร์

เรานำความจริงทั้งสองมาใช้ต่อยอดเป็นความรู้สะสม

 

ขอหน่อยนะครับ...

"ความรู้ต้องเป็นความจริง ถ้าไม่จริงไม่เรียกว่าความรู้" แล้วถ้าอย่างนั้นอะไรคือความจริงล่ะครับ ความจริงมีชุดเดียวหรือไม่ ในโลกนี้ เอ้า พูดก็พูดเถอะในสากลจักรวาฬนี้เนี่ย มีความจริงแท้หรือเปล่า หรือว่าบรรดาความจริงทั้งหลายก็เป็นเพียงระบอบ ๆ หนึ่งเท่านั้น ที่แอบอ้าง เอื้อนเอ่ย เผยแสดงตนออกมาว่ามีความจริง หรือว่าความจริงมันก็เป็นผลผลิตมาจากอำนาจและความเชี่ยวชาญพิเศษ ที่เข้ามากะเกณฑ์ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง แล้วก็บอกว่าสิ่งที่ฉันบอกว่าจริง เป็นสิ่งที่เป็นความรู้สิ่งไหนที่ไม่ใช่ความจริงจากอำนาจของฉัน แม้จะเป็นความจริงของเธอสิ่งนั้นไม่ใช่ความรู้ เอ้า พูดกันง่าย ๆ ผมเห็นนักวิชาการแนวภูมิปัญญาหลายคน ชอบเอาความจริงแบบวิทยาศาสตร์ไปลดคุณค่าจิตวิญญาณของชาวบ้านบ่อยครั้ง พวกที่เชื่อว่าหรือชอบบอกว่าผีเป็นสิ่งไม่มีเหตุผล ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ชาวบ้านบูชาผีเป็นความงมงาย (แต่บางทีคนพวกนี้ก็กลัวผี) เรื่องของผี จึงไม่มีเรียนไม่มีสอนในตำราเรียนกระทรวงศึกษาเล่มไหน ๆ แล้วก็เอาความจริงแบบวิทยาศาสตร์กำหนด ไปพยายามอธิบายเรื่องของผีสางนางไม่เทวดา ว่าเป็นเพียงอุบายนั่นอุบายนี่

แต่สำหรับคนในบ้าน บาง ดง ดอน ดอย ภู เค้าเชื่อว่ามี เค้าtouch ด้วยใจแล้วเห็นว่ามีจริง เค้าผูกพันและมีระบบความรู้แบบเค้าว่าพระแม่โพสพมีจริง พระแม่คงค่ามีจริง โดยไม่ใช่เพียงแค่อุบายที่อธิบายด้วยวิทยาศาสตร์แบบตื้น ๆ อย่างนี้จะเรียกว่าความรู้ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท