คุณภาพของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล


การtry-out เครื่องมือทำอย่างไร

คุณภาพของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

                                                             โดยยืนยง  ราชวงษ์

                เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลการศึกษาในเรื่องใดมีคุณภาพ ถ้าเครื่องมือเก็บข้อมูลไม่มีคุณภาพ ผลการศึกษาก็ไม่มีคุณภาพ  อย่าลืมว่าเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลต้องมีคุณภาพก่อนที่จะนำสื่อนวัตกรรมไปทดลองใช้  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เช่น

                1.ถ้าต้องการเก็บข้อมูลประเภทความสามารถทางด้านสติปัญญาหรือด้านสมอง ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ก็จะเป็นแบบทดสอบชนิดต่าง ๆ เช่น ชนิดเลือดตอบ เขียนตอบสั้น เขียนตอบยาว ถูก-ผิด จับคู่ ฯลฯ นอกจากนั้นยังใช้แบบประเมินผลงาน ชิ้นงาน หรือภาระงาน หรือการประเมินตามสภาพจริงก็ได้ แต่โดยทั่ว ๆ จะนิยมแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ

                2.ถ้าต้องการเก็บข้อมูลประเภทความรู้สึก ความคิดเห็น ความพึงพอใจ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ หรือด้านคุณลักษณะ ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ จะเป็นแบบสอบถาม แบบสำรวจ แบบวัด แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แต่ที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นแบบสอบถามและแบบวัด

                3.ถ้าตองการเก็บข้อมูลด้านทักษะ กระบวนการ การปฏิบัติกิจกรรมลักษณะเครื่องมือที่ใช้ จะเป็นแบบทดสอบ แบบสังเกต แต่ที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบทดสอบ

การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

                การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ต้องตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ (panel expert) นำมาพิจารณาตัดสินคุณค่า เพื่อหาประสิทธิภาพเชิงเหตุผล (rational approach) ซึ่งเป็นความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบแต่ละข้อหรือรายการแต่ละรายการกับวัตถุประสงค์ของการวัดหรือการทดสอบ (Item –Objective Congruence: IOC) และความเหมาะสมในด้านความถูกต้องของการนำไปใช้ (usability) ต่อจากนั้นจะต้องนำไปทดลอง(Try out) ไปทดลองเพื่อหาคุณภาพเชิงประจักษ์ (empirical approach) คุณภาพเชิงประจักษ์เป็นการตรวจสอบคุณภาพใน ๒ ลักษณะ คือตรวจสอบคุณภาพเป็นรายข้อว่าใช้ได้หรือไม่ และเป็นการตรวจสอบคุณภาพทั้งฉบับ คุณภาพทั้งฉบับจะหาได้ก็ต่อเมื่อคุณภาพเป็นรายข้อมีคุณภาพก่อน

การทดลอง (Try out) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

          การทดลอง(Try out) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แต่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ที่สำคัญกลุ่มทดลองดังกล่าวต้องมีความรู้หรือได้รับประสบการณ์ในเรื่องนั้นมาแล้ว เช่น ต้องการทดลองแบบวัดเจตคติหรือความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนที่ไปเป็นกลุ่มทดลองต้องเคยใช้เคยเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้มาแล้ว ถ้าต้องการทดลองแบบทดสอบ เรื่อง ระบบสมการ นักเรียนที่เป็นกลุ่มทดลองแบบทดสอบต้องเรียน เรื่องระบบสมการมาแล้ว

        ในการหาคุณภาพเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องหาเป็นรายข้อก่อนแล้วจึงจะหาคุณภาพทั้งฉบับ

       การหาคุณภาพเป็นรายข้อ

                1.ถ้าเป็นแบบทดสอบ จะต้องวิเคราะห์ค่าความยากง่าย (level of difficulty of the items) วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก (discrimination power of the item) ไม่ว่าแบบทดสอบจะเป็นชนิดใด ชนิดเลือกตอบ เขียนตอบสั้น ตอบยาว ต้องวิเคราะห์ให้ครบทุกข้อ

                2.ถ้าเป็นแบบสอบถามหรือแบบวัดต่าง ๆ จะต้องวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกเพียงอย่างเดียว อย่าลืมแบบดังกล่าวต้องถามความคิดเห็นหรือความรู้สึก ถ้าถามความจริงไม่ต้องทดลองใช้หรือไม่ต้องวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก

       การหาคุณภาพทั้งฉบับ

                1.ถ้าเป็นแบบทดสอบ ก็ทำการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบทดสอบทั้งฉบับ ด้วยสูตร ของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder- Richardson) KR-20

                2.ถ้าเป็นแบบสอบถามหรือแบบวัดต่าง ๆ วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถาม/แบบววัดทั้งฉบับด้วยวิธีการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (α-Cronbach’s Alpha Coefficient)            

 

หมายเลขบันทึก: 363102เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอโทษนะคะ

ขออนุญาติรบกวนขอความรู้จากท่านซักนิดนะคะ

คือสงสัยว่า

เวลา Try out จะใช้นักเรียนกลุ่มใดในการ Try out คะ

เช่น ทดลองจริงปี 52 แต่ Try out นร.ปี51ได้มั้ยคะ

หรือต้อง Try out ปี 52 แต่เป็นคนละโรงเรียนกันแต่เขตพท.เดียวกัน

หรือถ้าเข้าใจผิดรบกวนอธิบายด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สามารถดำเนินการได้แต่ต้องเรียนเนื้อหาที่จะ try-out มาแล้ว

แก้ไขผลงาน (รายการใช้นวัตกรรมกับนักเรียน ป.1)

ครั้งที่ 1 หา E1/E2

แบบ 1:1 ภาคเรียน 2 /2548

แบบ 1:10 ภาคเรียน 2 /2548

แบบ 1:100 ภาคเรียน 2 /2549 (ได้ E1/E2 ตามเกณฑ์ที่กำหนด)

ทดลองหาประสิทธิภาพแบบทดสอบกับนักเรียนชั้น ป.2 /2549 ที่เคยเรียนเรื่องที่จัดทำมาแล้ว

แล้วนำไปทดลองจริงกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ภาคเรียน 2 /2550 หาค่า E1/E2 (ตามวัตถุประสงค์)

ให้แก้ไขปรับปรุง กระบวนการหาคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมให้ถูกต้อง

ครั้งที่ 1(แก้ไขใหม่)

แบบ 1:1 ภาคเรียน 2 /2548

แบบ 1:10 ภาคเรียน 2 /2548

แบบ 1:100 ภาคเรียน 2 /2549

(ได้ E1/E2 ตามเกณฑ์ที่กำหนด /ใช้เป็นค่าE1/E2 (ตามวัตถุประสงค์) ปี 2550 เปรียบเทียบหาค่า t-test

ทดลองหาประสิทธิภาพแบบทดสอบกับนักเรียนชั้น ป.2 /2549 ที่เคยเรียนเรื่องที่จัดทำมาแล้ว

ได้รับข้อสังเกตให้แก้ไขปรับปรุง กระบวนการหาคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรม ให้ใช้ผลการทดลอง try out ประชากร กลุ่มเดียวกัน

ขอรบกวนช่วยตอบด้วยจะแก้ไขอย่างไร

หมายเหตุ การทดลองได้ทดลองกับนักเรียนโรงเรียนที่สอนแห่งเดียว

การทดลอง

๑.แบบทดสอบกับนักเรียนที่เคยเรียนมาแล้วเป็นหลัก ต้องทดลองให้แบบทดสอบมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด(ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น)

๒.เมื่อไดแบบทดสอบที่มีคุณภาพแล้ว ให้นำมาใช้ในการทดลองนวัตกรรม นวัตกรรมต้องทดลองกับนักเรียนชั้นเดียวกันที่ใช้จริง แต่ยังไม่เคยเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับนวัตกรรมนี้มาก่อน แบบทดสอบจะเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของนวัตกรรม จากที่นำเสนอ แบบทดสอบหาคุณภาพกับนักเรียนป.๒ ได้แต่ต้องทดลองภาคเรียนที่ ๑ สัปดาห์แรก เพราะเขายังเหมือนเป็นนักเรียน ป.๑ อยู่เพราะยังไม่ได้เรียนเนื้อหาใน ป.๒ แต่มีปัญหาที่นำมาทดลองในปี ๒๕๔๙ ซึ่งไม่ถูกเพราะนวัตกรรมทดลอง ปี ๒๕๔๙ ต้องทดลองภาคเรียนที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อทดลองหาได้คุณภาพ แล้วไปใช้คู่กับนวัตกรรมครั้งที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๔๘

ประชากรคือ นักเรียน ชั้น ป.๑ (ทุกคน)ปีการศึกษา ๒๕๔๙ กลุ่มตัวอย่างก็เป็นนักเรียนชั้น ป.๑ (เฉพาะห้องที่ใช้นวัตกรรม)ปีการศึกษา ๒๕๔๙

ไม่ทราบว่าตอบตรงคำถามหรือไม่

ขอรบกวนสอบถามค่ะ หากเรามีแต่กลุ่มประชากร(ใช้ประชากรทั้งหมด) ไม่มีกลุ่มตัวอย่าง จะ Try out เครื่องมืออย่างไรค่ะ(หมายถึงจะTry out กับใคร) ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท