สงสัยคำว่า "สง"


สงสัยคำที่พบเห็น จึงหยิบมาเล่าเล่น ๆ

แม่น้ำสงคราม-บ้านท่าสงคราม-ฟ้าแดดสงยาง

      คำว่า "สง"  ข้างต้นน่าฉงนเป็นยิ่งนัก  เมื่อได้ไปเลียบเลาะแม่น้ำสงครามที่อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนมก็ยิ่งให้ประหวัดคิดในใจว่า "สง" แปลว่ากระไร  พลันค้นคว้าในพจนานุกรมของเหล่าราชบัณฑิตทั้งหลายก็ได้ความเพียงว่า "สง  แปลว่า  แก่จัด  เช่น  หมากสง  เป็นต้น" ความตระหนกตกใจก็บังเกิดขึ้นมาทันทีว่า  คำนี้น่าจะมีที่มาจากแหล่งอื่น ๆ  ด้วยความโชคดีผีคุ้ม  ได้เข้าชั้นเรียนกับปราชญ์ผู้รู้ท่านช่วยไขข้อข้องใจว่า  "สง  แปลว่า  ดง,  ป่าไม้,  พื้นที่ชุมด้วยต้นไม้" ความคิดก็พลันต่อยอดขึ้นทันที

"อ๋อ  บ้านสงเปือย  ก็คือ  บ้านที่มีต้นเปือย(ตะแบก)ขึ้นเยอะนั่นเอง"

แล้วแม่น้ำสงครามละ?  จะเข้าความนี้หรือไม่?

"อ๋อ  แม่น้ำนี้ชุมไปด้วยต้นคาม  จึงได้ชื่อว่า  สงคาม  แต่เพราะคนนอกถิ่นไม่เข้าใจภาษาคิดว่าคนในพื้นถิ่นเขียนผิดไป  จึงเพิ่ม /ร/  เข้าให้  จากแม่น้ำที่มีต้นคามเยอะ  ก็กลายเป็นแม่น้ำที่มีการต่อสู้มากมาย"

ช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตได้มีโอกาสผ่านทางไปยังจังหวัดกาฬสินธิ์  ระหว่างทางก็ผ่านบ้านเสมา  มีป้ายบอกว่า "เมืองฟ้าแดดสงยาง"  ส่วนโรงเรียนเขียนว่า  "ฟ้าแดดสูงยาง" จึงเริ่มความฉงนขึ้นในมโนสำนึกทันที  พอสอบถามเข้าแล้วก็พบว่าชื่อโรงเรียนเขียนผิดไป   แต่ผู้(เกือบ)รู้ในท้องถิ่นนั้นก็บอกอย่างน่ารักว่า  สูงยาง กับ  สงยาง  ก็เหมือนกันนั่นแหละเพราะมีต้นยางขนาดใหญ่ชุมกันเยอะมาก

คำสำคัญ (Tags): #อีสานมิวเซียม
หมายเลขบันทึก: 363094เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

เห็น ฟ้าแดดสงยาง บ้าง

ฟ้าแดดสูงยาง บ้าง

ได้ความหมายวันนี้เอง

สวัสดีครับ

แวะมาเรียนรู้ความหมายของ "สง" ด้วยครับ

ขอบพระคุณที่ไปเยือนครับ...

กระจ่างแจ้งครับอาจารย์...ขอบคุณครับผม

ลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ที่ชาวบ้านพูดลาวแถวบ้านผม ที่หนองบัว นครสวรรค์ เรียก 'สง' ก็คือ...........

  • ลักษณะการสุมกองและสานกันอย่างหนาแน่น เช่น สงหนามในสระ หมายถึงการเอาหนามและกิ่งไม้ไปสุมกองลงในสระให้ปลาและหอยไปอยู่อาศัย หรือกันความลงน้ำ กันเด็กๆไปเล่นน้ำ
  • ลักษณะการยกขึ้นจากน้ำของสิ่งที่เป็นชิ้นส่วนสุมกองหลากหลาย เพื่อให้สะเด็ดน้ำ เช่น สงน้ำหน่อไม้และกลอย จนหมาดน้ำ หมายถึง นำหน่อไม้และกลอยไปแช่ในน้ำระยะหนึ่ง เมื่อจะนำขึ้นจากน้ำ ก็สงน้ำ ทำให้น้ำที่ตกค้างอยู่ไหลออกจนสะเด็ดน้ำ
  • ลักษณะการไหลอาบของน้ำ เช่น สงน้ำพระ สงน้ำคนเฒ่าคนแก่ หมายถึงการอาบน้ำและทำให้เย็นโดยไหลอาบ ราด ไหลผ่านราง

ลักษณะนี้ ก็จะสอดคล้องกับแดดสงยางด้วยเช่นกันนะครับ คือ ลักษณะของแนวไม้ต้นยางหนาแน่นและแดดสงยางนั้น ก็คือ แสงแดดส่องลอดและสงแดด แสดงลักษณะความหนาแน่นอย่างหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท