ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาเนื้อหาและจัดทำเป็นสื่อบทเรียนสำเร็จรูป
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 3 ให้ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 ทำการตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 4 ให้ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 ทำการตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 5 ให้ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 ตรวจสอบ
*********************************************************
ขั้นตอนที่ 6 หาค่าประสิทธิภาพโดยนักเรียนคนที่ 1
ขั้นตอนที่ 7 หาค่าประสิทธิภาพโดยนักเรียนคนที่ 2
ขั้นตอนที่ 8 หาค่าประสิทธิภาพโดยนักเรียนคนที่ 3
ขั้นตอนที่ 9 ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันและสรุปผล
*******************************************
1.11 สรุปการจัดสื่อบทเรียนสำเร็จรูป
1.12 จัดทำสื่อบทเรียนสำเร็จรูปเป็นรูปเล่ม
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตสื่อนวัตกรรม
1. ระยะเวลาในการผลิตสื่อฯ มีน้อยเกินทำให้ผลงานที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร
2. จะต้องทำงานหลักควบคุมไปกับทำสื่อฯ ทำให้มีเวลาทำน้อย เพราะช่วงระยะเวลาทำสื่อจะตรงกับช่วงที่ทางโรงเรียนเตรียมรับคณะมูลนิธิราชประชาฯ โดยท่านขวัญแก้ว วัชโนทัย มาตรวจเยี่ยมโรงเรียน
3. เกิดปัญหาไฟฟ้าในโรงเรียนดับบ่อย ทำให้การทำงานล่าช้า
4. เกิดปัญหาอินเทอร์เน็ตในโรงเรียนล้มบ่อย ทำให้การค้นหาข้อมูลและการทำล่าช้า
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. จัดแบ่งเวลาในการทำงานหลักและการทำสื่อให้ลงตัว โดยต้องทำงานในหน้าที่ให้เรียบร้อยก่อน
2. ควรมีการวางแผนการทำสื่อฯ ตั้งแต่เนินๆ เพื่อให้ผลงานออกมาเป็นที่น่าประทับใจ
3. ควรจัดเก็บข้อมูลทุกอย่างให้พร้อมก่อนลงมือทำสื่อฯ
สรุปผลการทำสื่อนวัตกรรม
จากการทำสื่อบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
จากการทำสื่อบทเรียนสำเร็จรูป เมื่อได้ทำการผลิตสื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน
3 คน ได้ทำการตรวจสอบเบื้องต้น โดยสรุปได้ดังนี้
กำหนดให้ 0 – 10 ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ -1
กำหนดให้ 11-30 ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0
กำหนดให้ 31-50 ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ +1
- ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 ให้คะแนนรวม 42 คะแนน หาค่าเฉลี่ยโดยใช้สูตรการคำนวณแบบ IOC ได้ค่าเฉลี่ยเป็น +1
- ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 ให้คะแนนรวม 40 คะแนน หาค่าเฉลี่ยโดยใช้สูตรการคำนวณแบบ IOC ได้ ค่าเฉลี่ยเป็น +1
- ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 ให้คะแนนรวม 45 คะแนน หาค่าเฉลี่ยโดยใช้สูตรการคำนวณแบบ IOC ได้ค่าเฉลี่ยเป็น +1
ดังนั้น สรุปได้ว่าค่าดัชนีความสอดคล้องเป็นที่ยอมรับได้ มีค่าเท่ากับ +1 คือแน่ใจว่าถูกต้อง/สอดคล้อง/ตรงวัตถุประสงค์
2. การหารเกณฑ์ประสิทธิภาพของบทเรียนแบบ 1:1
จากการทำสื่อบทเรียนสำเร็จรูป เมื่อได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและทำการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดทำได้ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 คน ทำการทดสอบบทเรียนสำเร็จรูปทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการหาค่า E1, E2 โดยสรุปได้ดังนี้
การหาค่า E1 การทดสอบก่อนเรียน คะแนนเต็มแบบวัดเท่ากับ 60 คะแนน นักเรียนทำได้ทั้งหมดเท่ากับ 29 คะแนน ดังนั้นสรุปค่า E1 คิดเป็นร้อยละ 48.33
การหาค่า E2 การทดสอบหลังเรียน คะแนนเต็มแบบวัดเท่ากับ 60 คะแนน นักเรียนทำได้ทั้งหมดเท่ากับ 39 คะแนน ดังนั้นสรุปค่า E2 คิดเป็นร้อยละ 65
ดังนั้นสรุปได้ว่านักเรียนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่ได้จัดทำบทเรียนสำเร็จรูปตามที่กำหนดไว้ ฉะนั้นจะต้องทำการแก้ไขบทเรียนให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนให้มากขึ้น
******************************************************
ปัญหาอุปสรรคในการทำสื่อนวัตกรรม
1. ระยะเวลาในการจัดทำสื่อฯ มีจำกัดทำให้ผลงานที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร
2. การทำสื่อฯ จะต้องทำควบคู่ไปกับการทำงานหลักทำให้ไม่ค่อยมีเวลาในการทำสื่อฯ
3. จะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับบ่อย ทำให้การทำงานล่าช้า
4. จะมีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตล้มบ่อย ทำให้การทำงานล่าช้า
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. จัดแบ่งเวลาในการทำงานและทำสื่อฯให้ลงตัว
2. ศึกษาหาข้อมูลให้พร้อมก่อนลงมือทำสื่อฯ
3. ทำสื่อฯ นอกเวลาทำงาน