การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างครบวงจรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา


การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างครบวงจรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามรูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน.

วัตถุประสงค์การพัฒนา

1.  เพื่อศึกษารูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน.

2.  เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน.

คำหลัก (Key words)

   1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. หมายถึง ศึกษานิเทศก์ 1 คน  เลือกโรงเรียนในความรับผิดชอบในการนิเทศมา 1 โรงเรียนที่ไม่ใช่โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และภายใน 1 โรงเรียน ศึกษานิเทศก์ เลือกครูผู้รับการนิเทศ อย่างน้อย 1 คน เพื่อนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ครูจะเป็นระดับชั้นใดหรือรายวิชาใดก็ได้ โดยเน้นความสมัครใจเป็นหลัก

       รูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. หมายถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ของศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการนิเทศการศึกษา 4 ขั้น 10 กิจกรรม ดังนี้

      1. ขั้นเตรียมพร้อม หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 วางแผน เตรียมการ ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้กับสถานศึกษา ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ

       1.1  กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 กำหนดระดับคุณภาพของสถานศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา  เอกสารรายวิชาแต่ละรายวิชาในแต่ละชั้นปี  ความสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในแต่ละรายวิชา ระเบียบการวัดและประเมินผล ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  ความสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตรและการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

          1.2 เตรียมสื่อ นวัตกรรมการนิเทศ และเครื่องมือนิเทศ  หมายถึง เตรียมเอกสารชุดพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย ใบความรู้ ใบงาน  แบบตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา  แบบตรวจสอบคุณภาพเอกสารแต่ละรายวิชา(รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม)  แบบตรวจสอบคุณภาพเอกสารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  แบบตรวจสอบคุณภาพระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  แบบตรวจสอบคุณภาพหน่วยการเรียนรู้  แบบตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการสอน และแบบประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา พร้อมด้วยตารางการพัฒนา 2 วัน และตารางกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

          1.3 สร้างทีมงาน หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 พัฒนาศึกษานิเทศก์ทุกคน ให้สามารถทำการนิเทศสถานศึกษาในความรับผิดชอบให้บรรลุตามตัวชี้วัด โดยการประชุมอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาเอกสารชุดพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบการพัฒนาสถานศึกษา การฝึกปฏิบัติโดยการเป็นวิทยากรประจำสาระการเรียนรู้ 2 วันต่อ 1 รุ่น จำนวน 9 รุ่น  การวิพากษ์การนำเสนอผลการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

       2. ขั้นพัฒนา หมายถึง การพัฒนา ครูและผู้บริหารสถานศึกษาให้สามารถจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปใช้ในการบริหารและจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย กิจกรรม 4 กิจกรรม คือ

                2.1 พัฒนาคน หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ทำการประชุมปฏิบัติการให้กับครู ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนในแต่ละสถานศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดทำเอกสารในแต่ละรายวิชา ทั้งรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้เวลา 2 วัน ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญคือ กระบวนการคิด การฝึกปฏิบัติตามใบงาน การศึกษาใบความรู้ การเรียนรู้กับเพื่อนและวิทยากรพี่เลี้ยง โดยทุกกิจกรรมจะใช้กระบวนการกลุ่มการทำงานมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

                      2.1.1 กลุ่มโรงเรียน หมายถึง ครูและผู้บริหารสถานศึกษานั่งประจำกลุ่มของแต่ละโรงเรียน เพื่อให้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามใบงานเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย ความนำ วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร เกณฑ์การจบหลักสูตร จำนวนกลุ่มเท่ากับจำนวนโรงเรียนที่เข้ารับการพัฒนา

                       2.1.2 กลุ่มตามกลุ่มสาระ หมายถึง ครูที่เข้ารับการพัฒนานั่งประจำกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือมอบหมายจากสถานศึกษาและภายในกลุ่มสาระจะแบ่งเป็นระดับชั้น ทั้งหมด 10 กลุ่ม ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา และหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา สำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็จะทำรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักการ วัตถุประสงค์ ขอบข่าย แนวทางการจัดกิจกรรมและการประเมินผลแต่ละกิจกรรม

            2.2  กำหนดกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง ศึกษานิเทศก์ ทำการคัดเลือกสถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน.

            2.3 พัฒนางาน หมายถึง ศึกษานิเทศก์พัฒนางานในหน้าที่คือ งานนิเทศการศึกษา โดยการนิเทศการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มเป้าหมาย ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ประกอบด้วย การชี้แจงวัตถุประสงค์การนิเทศให้กับผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการโรงเรียน และครูที่สมัครใจเข้ารับการนิเทศ  ต่อจากนั้นเป็นการจัดกิจกรรมการนิเทศของศึกษานิเทศก์แต่ละคน ด้วยวิธี  การให้ศึกษาตัวอย่าง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์หลักสูตร การตรวจงาน การสนทนากลุ่ม การสอนงาน การศึกษาใบความรู้ การประเมินตนเองตามแบบตรวจสอบคุณภาพ ฯลฯ  ลักษณะการนิเทศที่ดำเนินการมีทั้งเป็นรายโรงเรียน รายกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน และจับคู่พัฒนา

            2.4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อค้นหาจุดเด่นในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและจุดที่ควรพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาเกิดความมั่นใจในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยที่สถานศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย นำเสนอสิ่งที่ได้รับจากการนิเทศ ประกอบด้วย หลักสูตรสถานศึกษา เอกสารประกอบหลักสูตร(รายวิชา) ระเบียบการวัดและประเมินผล การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ โดยแยกเป็นรายวิชา และทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในการได้รับการชี้แนะหรือวิพากษ์ เติมเต็ม ต่อยอดให้เกิดความถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์  ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

       3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผล หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ทำการตรวจสอบคุณภาพและประเมินผลสำเร็จของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรม 1 กิจกรรม คือ ตรวจสอบและประเมินผล หมายถึง กิจกรรมที่ศึกษานิเทศก์ทำการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ  หลักสูตรสถานศึกษา เอกสารประกอบหลักสูตร(รายวิชา) ระเบียบการวัดและประเมินผล  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ เมื่อการนิเทศผ่านไป 1 เดือน และทำการประเมินเพื่อตัดสินให้ระดับคุณภาพ ของสถานศึกษาในกลุ่มเป้าหมาย

       4. ขั้นสร้างขวัญกำลังใจ หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จัดกิจกรรมเพื่อยกย่อง ชื่นชม สถานศึกษา ที่พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และผ่านการตรวจสอบว่ามีคุณภาพสามารถเป็นแบบอย่างหรือต้นแบบกับหน่วยงานหรือสถานศึกษาอื่นได้ ประกอบด้วย กิจกรรม 2 กิจกรรม คือ

           4.1  เชิดชูเกียรติสถานศึกษา หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มอบเกียรติบัตรให้กับถานศึกษา ครูผู้รับการนิเทศและศึกษานิเทศก์ที่สามารถพัฒนาคน พัฒนางานในกลุ่มเป้าหมายให้บรรลุตัวชี้วัดความสำเร็จอยู่ในระดับดีขึ้นไป

           4.2 ขยายเครือข่าย หมายถึง ศึกษานิเทศก์และสถานศึกษาในกลุ่มเป้าหมาย พัฒนางาน ที่นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพิ่มจำนวนโรงเรียนหรือเพิ่มจำนวนครู

     การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง กระบวนการที่สถานศึกษาดำเนินการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานำหลักสูตรไปใช้ในการบริหารและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และประเมินผลการใช้หลักสูตร หลังจากได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. ใน 1 ภาคเรียน

     สถานศึกษา หมายถึง โรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1  ที่เป็นโรงเรียนทั่วไปในการใช้หลักสูตร

     โรงเรียนทั่วไปในการใช้หลักสูตร หมายถึง สถานศึกษาที่ใช้หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในปีการศึกษา 2553           

      หลักสูตร หมายถึง หลักสูตรของสถานศึกษา ที่พัฒนาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

      ครู หมายถึง ครูในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้การคัดเลือก เพื่อรับการนิเทศจากศึกษานิเทศก์ ตามรูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน.

      ศึกษานิเทศก์ หมายถึง ศึกษานิเทศก์ที่ปฏิบัติการนิเทศการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 

      ผลการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. หมายถึง คุณภาพของหลักสูตรสถานศึกษา ตรวจสอบได้จากแบบประเมินหลักสูตรถานศึกษา คุณภาพของเอกสารแต่ละรายวิชา ตรวจสอบได้จากแบบตรวจสอบคุณภาพรายวิชา ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผล ตรวจสอบได้จากแบบตรวจสอบคุณภาพระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผล  คุณภาพหน่วยการเรียนรู้ตรวจสอบได้จากแบบตรวจสอบคุณภาพหน่วยการเรียนรู้  คุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบได้จากแบบตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบได้จากแบบสังเกตการนิเทศการสอน

คณะผู้ดำเนินงาน

  1. นายยืนยง    ราชวงษ์    หัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

 2. คณะศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

ขอบเขตการดำเนินงาน

1. ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

      1.1 ประชากรได้แก่ ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

      1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ศึกษานิเทศก์ จำนวน 30 คน  ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน และครู จำนวน 30 คน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1  ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ดังนี้

       ขั้นที่ 1 ให้ศึกษานิเทศก์เป็นชั้นภูมิในการสุ่ม จำนวน 30 ชั้นภูมิ ครอบคลุม 9 อำเภอและ 24 กลุ่มเครือข่ายโรงเรียน

        ขั้นที่ 2 สุ่มโรงเรียนของแต่ละอำเภอและครอบคลุม 24 กลุ่มเครือข่ายโรงเรียน 24 กลุ่ม ด้วยความสมัครใจ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูสมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการนิเทศครั้งนี้ได้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนอย่างน้อย 30 โรงเรียน

        ขั้นที่ 3 คัดเลือกครูแบบเจาะจง อย่างน้อย 1 คน ในรายวิชาใดหรือชั้นใดก็ได้ จากโรงเรียนในขั้นที่ 2 ได้ครูอย่างน้อย 1 คนต่อโรงเรียน รวมอย่างน้อย 30 คน

2. ขอบเขตตัวแปร

       ตัวแปรที่ศึกษา 

       1. รูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. ที่ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 10 กิจกรรม  คือ ขั้นที่ 1 เตรียมพร้อม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1.1) กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.2) เตรียมสื่อ นวัตกรรมการนิเทศ และเครื่องมือนิเทศ  ชุดพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  1.3) สร้างทีมงาน ขั้นที่ 2 ขั้นพัฒนา ประกอบด้วย 4 กิจกรรม 2.1) พัฒนาคน 2.2) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2.3) พัฒนางาน 2.4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบและประเมินผล มี 1 กิจกรรม คือ ตรวจสอบและประเมินผล ขั้นที่ 4  ขั้นสร้างขวัญกำลังใจ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม  4.1) เชิดชูเกียรติสถานศึกษา 4.2) ขยายเครือข่าย 

       2. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. ประกอบด้วย คุณภาพของหลักสูตรสถานศึกษา เอกสารประกอบหลักสูตร(รายวิชา) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้

     3. ขอบเขตเนื้อหา

      รูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. ประกอบด้วย การนิเทศการศึกษา การจัดการความรู้ การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย การสร้างขวัญกำลังใจ

    4. ระยะเวลาดำเนินงาน

      1 ตุลาคม 2552 ถึง 30 กันยายน 2553

วิธีการดำเนินการ

1. ขั้นตอนการดำเนินงานและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

    1.1 ขั้นเตรียมพร้อม ประกอบด้วย กิจกรรม 3 กิจกรรม

     - กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ประกอบด้วย เอกสารหลักสูตรสถานศึกษา  ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  เอกสารรายวิชาแต่ละรายวิชาในแต่ละชั้นปี  เอกสารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ความสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในแต่ละรายวิชา ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และความสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตร

        -เตรียมสื่อ นวัตกรรมการนิเทศ และเครื่องมือนิเทศ  คือ เอกสารชุดพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย ใบความรู้ ใบงาน  แบบตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา  แบบตรวจสอบคุณภาพระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  แบบตรวจสอบคุณภาพเอกสารแต่ละรายวิชา(พื้นฐาน เพิ่มเติม) แบบตรวจสอบคุณภาพเอกสารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  แบบตรวจสอบคุณภาพหน่วยการเรียนรู้  แบบตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้และแบบสังเกตการสอน แบบประเมินผลการใช้หลักสูตร ตารางการพัฒนา 2 วัน และตารางกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

        -สร้างทีมงาน คือ พัฒนาศึกษานิเทศก์ทุกคน ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถทำการนิเทศสถานศึกษาในความรับผิดชอบให้บรรลุตามตัวชี้วัด โดยการประชุมประจำเดือน การอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาเอกสาร ชุดพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการศึกษาแบบตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา  แบบตรวจสอบคุณภาพเอกสารแต่ละรายวิชา   แบบตรวจสอบคุณภาพหน่วยการเรียนรู้  แบบตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้และแบบสังเกตการณ์สอน พร้อมให้แต่ละคนไปฝึกปฏิบัติการเขียนคำอธิบายรายวิชาในกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ

2. ขั้นพัฒนา ประกอบด้วย กิจกรรม 4 กิจกรรม

      -พัฒนาคน เป็นการประชุมปฏิบัติการให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน ในโรงเรียนทั่วไป โดยแบ่งเป็น 10 รุ่น ๆ ละ 2 วัน โดยให้แต่ละอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบโดยมีประธานชมรมผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ประสานงานหลัก ในการกำหนดวัน เวลาและสถานที่ และคณะศึกษานิเทศก์เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม โดยมีวิทยากรหลักในการดำเนินการ 1 คน ในแต่ละรุ่นในการประชุมปฏิบัติการ กิจกรรมการพัฒนาประกอบด้วย ให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดทำเอกสารในแต่ละรายวิชา ทั้งรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีกิจกรรมที่สำคัญคือ กระบวนการคิด การฝึกปฏิบัติตามใบงาน การศึกษาใบความรู้ การเรียนรู้กับเพื่อนและวิทยากรพี่เลี้ยง(ศึกษานิเทศก์ประจำกลุ่ม) โดยทุกกิจกรรมจะใช้กระบวนการกลุ่มโดยแบ่งกลุ่มเป็น 2 ช่วงระยะการพัฒนา คือ

          ระยะที่ 1 แบ่งเป็นกลุ่มโรงเรียน โดยให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเดียวกันนั่งรวมกันของแต่ละโรงเรียน เพื่อฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามใบงานเกี่ยวกับการจัดทำหลักสุตรสถานศึกษา ประกอบด้วย ความนำ วิสัยทัศน์ สมรรถสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร เกณฑ์การจบหลักสูตร โดยมีจำนวนกลุ่มเท่ากับจำนวนโรงเรียนที่เข้ารับการพัฒนา จำนวนกลุ่มไม่แน่นอนในแต่ละรุ่น ขึ้นอยู่กับจำนวนโรงเรียน

          ระยะที่ 2 แบ่งกลุ่มตามกลุ่มสาระ โดยให้ครูที่เข้ารับการพัฒนานั่งประจำกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายจากสถานศึกษา  และภายในกลุ่มสาระจะแบ่งเป็นระดับชั้น มีทั้งหมด 10 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่ม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อฝึกปฏิบัติจัดทำคำอธิบายรายวิชา และหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา และการจัดทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็จะทำรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักการ วัตถุประสงค์ ขอบข่าย แนวทางการจัดกิจกรรมและการประเมินผลแต่ละกิจกรรม

         -กำหนดกลุ่มเป้าหมาย หลังจากที่สถานศึกษาทุกแห่งได้รับการพัฒนาและฝึกปฏิบัติในระยะเวลา 2 สถานศึกษาก็จะได้ตัวอย่าง การจัดทำองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดรายวิชาแต่ละรายวิชา ต่อจากนั้น ศึกษาที่ศึกษานิเทศก์จะต้องไปดำเนินการนิเทศต่อยังสถานศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายสถานศึกษาที่จะทำการนิเทศอย่างเข้มข้น 1 แห่งให้ได้หลักสูตรสถานศึกษาที่ครบถ้วน สมบูรณ์และมีความถูกต้อง  และทำการคัดเลือกครูอย่างน้อย 1 คน เพื่อทำการนิเทศการสอนในการจัดทำรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อย่างน้อย 1 หน่วย  การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างน้อย 1 หน่วย และทำการสังเกตการจัดการเรียนรู้ตามที่ได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 30 โรงเรียน 30 คน

        -พัฒนางาน  ศึกษานิเทศก์ทำหน้าที่นิเทศการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มเป้าหมาย ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ประกอบด้วย การให้ศึกษาตัวอย่าง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การตรวจงาน การสนทนา การสอนงาน การศึกษาใบความรู้ การประเมินตนเอง ฯลฯ พร้อมทั้งตรวจสอบคุณภาพสะท้อนผลการนิเทศ เป็นระยะ ๆ

       -แลกเปลี่ยนเรียนรู้  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเวที ให้สถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอเสนอผลงาน ที่ได้รับการนิเทศ ประกอบด้วยหลักสูตรสถานศึกษา ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  เอกสารประกอบหลักสูตร(รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ โดยแยกเป็นรายวิชา และครูทุกคนที่รับการนิเทศ มีส่วนร่วมในการได้รับการชี้แนะหรือวิพากษ์ เติมเต็มให้กับผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

     3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผล ประกอบด้วย กิจกรรม 1 กิจกรรม

        -ตรวจสอบและประเมินผล เป็นกิจกรรมที่ศึกษานิเทศก์ทำการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ  หลักสูตรสถานศึกษา ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  เอกสารประกอบหลักสูตร(รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ เมื่อการนิเทศผ่านไป 1 เดือน และทำการประเมินเพื่อตัดสินให้ระดับคุณภาพ ของสถานศึกษาในกลุ่มเป้าหมาย

       4. ขั้นสร้างขวัญกำลังใจ ประกอบด้วย กิจกรรม 2 กิจกรรม

       -เชิดชูเกียรติสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1มอบเกียรติบัตรให้กับสถานศึกษา ครูผู้รับการนิเทศและศึกษานิเทศก์ ที่สามารถพัฒนาคน พัฒนางาน มีคุณภาพและบรรลุตัวชี้วัดความสำเร็จอยู่ในระดับดีขึ้นไป

      -ขยายเครือข่าย เป็นกิจกรรมที่ศึกษานิเทศก์และสถานศึกษาในกลุ่มเป้าหมาย พัฒนางานโดยทำการขยายเครือข่าย ไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตความรับผิดชอบและหรือครูขยายเครือข่ายไปยังเพื่อนครูในโรงเรียนเดียวกัน เช่น เพิ่มจำนวนโรงเรียนและหรือเพิ่มจำนวนครูในการนิเทศการศึกษา

      2. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล

        เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วย แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. คือ แบบตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา  แบบตรวจสอบคุณภาพระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  แบบตรวจสอบคุณภาพเอกสารรายวิชาพื้นฐาน แบบตรวจสอบคุณภาพเอกสารรายวิชาเพิ่มเติม แบบตรวจสอบคุณภาพเอกสารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบบตรวจสอบคุณภาพหน่วยการเรียนรู้  แบบตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้และแบบสังเกตการสอน และแบบประเมินผลการใช้หลักสูตร

3. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

     3.1 การวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งนี้ ใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรสถานศึกษา ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เอกสารประกอบหลักสูตร(รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้และผลการใช้หลักสูตร

    3.2 เกณฑ์ในการแปลผลคุณภาพของหลักสูตรสถานศึกษา เอกสารประกอบหลักสูตร(รายวิชา) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้

ค่าเฉลี่ย

เกณฑ์การแปลผลคุณภาพ

4.50-5.00

3.50-4.49

2.50-3.49

1.50-2.49

1.00-1.49

ระดับดีมาก

ระดับดี

ระดับพอใช้

ระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ

ระดับปรับปรุง

ผลการพัฒนา

    1. การปรับปรุงพัฒนารูปแบบ มีการประเมินจากผู้เข้ารับการพัฒนาและวิทยากรในแต่ละรุ่น จนรุ่นสุดท้ายถือว่าได้รูปแบบของการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน.มีความเหมาะสม

    2. ผลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 ถึง 31 พฤษภาคม 2553 อยู่ในช่วงการวิเคราะห์สรุป อย่านำมาเผยแพร่ต่อไป

การเผยแพร่รูปแบบการนิเทศ

    การเผยแพร่รูปแบบการพัฒนา ได้นำไปเผยแพร่ในขณะที่ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานและสถานศึกษา ต่อไปนี้

   1. การพัฒนาครูภาษาอังกฤษภาคกลางของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน

   2. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ภาคกลาง

   3.โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 จังหวัดสระแก้ว

   4. โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

  5. โรงเรียนในอำเภอบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

หมายเลขบันทึก: 363087เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท