เยาวชนรุ่นใหม่ใน Facebook


เว๊บไซด์เครือข่าย เยาวชนรุ่นใหม่

เยาวชนรุ่นใหม่ใน Facebook

           หลายเดือนมาแล้วที่คำว่า Facebook ดังกระหึ่มเป็นที่รับรู้ไปทั่ว ที่โด่งดังจนผู้ใหญ่มากมายตั้งแต่ระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส. สว.และประชาชนทั่วไป ต้องรีบเปิดค้นคว้าศึกษาและติดตามหรือเปิดหน้าของตนเองขึ้นมาสื่อสารกับสมาชิกโดยตรงนั้น ก็คือช่วงการรณรงค์ของกลุ่มเสื้อหลากสีที่ไม่ให้นายกรัฐมนตรี "ยุบสภา"ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มเสื้อสีแดง
          ปรากฎการณ์ Facebook ที่ทั่วโลกเข้าใจร่วมกันว่าคือเว๊บไซด์เครือข่ายทางสังคมแบบออนไลน์ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก  ได้มีส่วนส่งเสริมให้เยาวชนในสังคมไทยก้าวเข้ามีส่วนร่วมในทางการเมือง สังคม การศึกษาและเศรษฐกิจ  เพิ่มขึ้นอย่างน่ายินดี
          กระนั้นก็ตาม จากการเปิดเข้าศึกษาติดตามปรากฎการณ์นี้เรื่อยมาของผม พบว่านอกจากความปิติยินดีในกระแสตื่นตัวของเยาวชนแล้ว ในฐานะคนที่เริ่มจะก้าวเข้าใกล้วัยผู้สูงอายุอย่างผม ก็อดจะเป็นห่วงไม่ได้ใน 3 กรณีคือ
          หนึ่ง..ประโยคถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารเริ่มรุนแรงและหยาบคายขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลแล้ว
          สอง..การถ่ายทอดความคิดเห็นนั้น หมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ตั้งแต่การหมิ่นประมาทผู้อื่นอย่างปราศจากข้อเท็จจริง จนถึงขั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งประการหลังนี้มีโทษที่รุนแรงมาก (ผมเชื่อว่าเยาวชนที่ก้าวไปถึงขั้นนี้ ไม่ทราบหรอกครับว่าโทษนั้นรุนแรงเพียงใด)
          สาม..การถกเถียงทางความคิดความเห็นนั้น พบว่าจำนวนไม่น้อยเลย "ขาดข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้" และ "ขาดความรู้ความเข้าใจในทางการเมืองและในทางกฎหมายที่ดีพอ"  
          ทั้ง 3 กรณีนี้จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราเหล่าผู้ใหญ่ทั้งหลายต้อง "วิ่งตามให้ทัน"และจำเป็นต้องร่วมเข้าไป "เปิดโลกทัศน์เพิ่มข้อเท็จจริงและความรู้ความเข้าใจ"ในเหล่าเยาวชนทั้งหลายให้มาก  ไม่เช่นนั้นแล้วโลกแห่งการสื่อสารที่รวดเร็ว จะสร้างความเข้าใจผิด สร้างอารมณ์รุนแรงก้าวร้าว แพร่หลายไปทั่วจนแก้กันไม่ทันท่วงที
          ผมคิดเช่นนี้  ท่านละ คิดเช่นไร          

หมายเลขบันทึก: 361734เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ทำอย่างไรเราจะรณรงค์ให้ชาวสังคม Facebook เป็นคล้ายกับสังคม gotoknow ที่ใช้เป็นเวทีแบ่งปันความรู้กัน

เรียน คุณธเนศ ขำเกิด

ทำอย่างไรเราจะรณรงค์ให้ชาวสังคม Facebook เป็นคล้ายกับสังคม gotoknow ที่ใช้เป็นเวทีแบ่งปันความรู้กัน

ผมเห็นด้วยกับแนวคิดท่านเป็นอย่างยิ่งครับ

 

 

เรียน ครูหยุย

  • การเติบโตของ Facebook รวดเร็ว น่ากลัวมาก
  • กลัวว่า คนรุ่นใหม่ไร้วิจารณญาณจะ "เชื่อ"ข่าวสารอย่างงมงาย
  • กลัวว่า คนรุ่นใหม่จะคุยกับตนเองอย่างไร้สติ
  • กลัวว่า กระบวนการสื่อสารของครอบครัวจะลดน้อยลง เพราะพ่อแม่ติดเกมส์ Farmville ไม่มีเวลาให้ลูกๆ
  • กลัวว่า การสะบถถ้อยคำนำความคิดไม่ดีๆๆจะระบาดในสังคม

       ผมอยากเห็นการขยายผลปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง"เป็นมากกว่าการแปลความที่แสนยุ่งยากซับซ้อนจากคนหลากหลายอาชีพ

       พื้นฐานสำคัญของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง คือ ความรู้ควบคู่คุณธรรม หรือคุณธรรมนำความรู้ สุดแล้วแต่ ผมเชื่อว่า พอเพียง สามารถช่วยสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน และสามารถแก้ไขปัญหา การละเมิดในสังคมออนไลน์ลงได้

        ไม่ใช่มีแต่ Facebook เท่านั้นที่น่าเป็นห่วง เพราะ Social Network Web มีมากกว่าที่เราคิด

เป็นหน่าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้อง"เรียนรู้"และ"เข้าถึง" สื่อออนไลน์และร่วมกันสร้างกระแสให้วัยรุ่นนำสื่อนี้ให้เป็นสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูแมวและคณะจิตอาสาในลำปางก็พยายาม รณรงค์ แต่ต้องให้ระดับกลไกทำงานด้วยใช่มั้ยคะ

ผมเห็นด้วยกับคุณธเณศครับที่จะพยายามช่วยกันให้เฟตบุ๊คเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มขึ้น

ขอบคุณคุณปฐพีมากครับ สำหรับข้อมูลต่างๆ ที่เผยแพร่ให้ทราบ เป็นประโยชน์มากครับ

ครูแมวครับ ช่วยรณรงค์กันให้มากๆ นะครับ ที่ลำปางหากทำสำเร็จ จะเป็นแบบอย่างขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ได้ต่อไปครับ

มุมมองเกี่ยวกับสังคม facebook ผมเองก็เพิ่งเข้ามาเรียนรู้ และมีความคิดว่า สิ่งที่จะเป็นประโยชน์จากสังคม facebook ก็คือการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนและแบ่งบันความคิดเห็นในกลุ่มเพื่อน ในระบบเครือข่ายกลุ่มย่อย เช่น ขณะนี้กำลังสร้างสังคมในกลุ่ม อต.ม.ร่นแรก เป็นต้นครับ

ได้ทราบข่าว ป.โก๋ สร้างสังคมในกลุ่ม อต.ม.รุ่นแรก นั้น ยินดีมากเลย ว่าแต่ว่ากลุ่มนี้ย่อมาจากอะไรเอ่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท