สรุปบทเรียนจากตลาดพระเครื่อง: พระกรุแท้ๆต้องมีชีวิต


ถ้านิ่งหรือตายก็คือพระเก๊เท่านั้นครับ

สืบเนื่องจากการสนทนาเชิงสรุปบทเรียนกับกลุ่มที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพระเครื่องเมื่อวาน ทำให้ผมได้ข้อสรุปที่คิดว่าน่าจะสำคัญกับผู้ที่กำลังศึกษาพระเครื่องอยู่ โดยมีสาระสำคัญว่า “พระเครื่องก็มีชีวิตเหมือนกัน” 

ที่ไม่มีชีวิตคือ “พระเก๊ หรือ พระโรงงาน”

แต่ถ้าจะว่าไป พระโรงงานก็น่าจะมีชีวิตอีกแบบ ก็คือชีวิตแบบ “เด็กๆ” โดยเฉพาะในเชิง

  • อายุน้อย ไม่มีร่องรอยของ “ประสบการณ์”
  • เล่านิทานไม่เป็น อย่างมากก็โกหกเป็นบ้างเล็กน้อย เพราะเรื่องที่โกหกมาจะขัดๆเขินๆ ไม่กลมกลืนให้เป็นเรื่องน่าติดตาม

ดังนั้น พระแท้ (ที่มีอายุ และประสบการณ์) จึงตรงกันข้าม ที่จะต้อง

  • มีร่องรอยของประสบการณ์ชีวิตหลายเรื่อง และยาวนาน
  • มีนิทานในองค์พระ ที่รอให้ “นักส่องพระ” มาอ่านให้ตัวเองรู้ หรือเล่าให้คนอื่นฟัง ดังนั้น จึงมี “นิทาน” ที่เกิดขึ้นในวงการพระเครื่องมากมาย ดีไม่ดี ใช่ไม่ใช่ ก็ขึ้นอยู่กับนักส่องพระ จะ “อ่าน” ให้กันฟัง

พระนาคปรกใหญ่จากกรุพระธาตุนาดูน

มีมวลสารทีแกร่งเหมือนหิน เนื้อแดง "มะขามเปียก" ศิลปะทวาราวดี ยุคคุปตะ

ทั้งคราบผุและคราบกรุกลมกลืนกับความกร่อนแบบธรรมชาติ

จึงมีนิทานให้อ่านมากมาย แล้วแต่ใครจะอ่านออก

 

จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นคนไปส่องพระแล้วคุยกันได้เป็นวันๆ หรือส่องพระได้เป็นชั่วโมง หรือ หลายชั่วโมงกับพระเครื่ององค์เดียว โดยเฉพาะกับพระเครื่องที่มีเรื่องให้อ่าน มีประวัติของตัวเองบันทึกไว้ในองค์พระมากมาย และยาวนาน

นี่แหละครับที่เขาเรียกว่า ความสุขของนักศึกษา(ในที่สุดก็สะสม)พระเครื่อง

พระชินราชใบเสมา พิมพ์กลาง ฐานสูง เนื้อเงิน ศิลปะอู่ทอง จากพิษณุโลก

มีทั้งคราบกรุ สนิมเงิน ศิลปะ เทคโนโลยีวัสดุ และสภาพการใช้ที่แฝงในเนื้อพระมากมาย

 

พระร่วงหลังรางปืน สนิมแดง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย

 

มีสนิมใหม่เก่า เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แบบ "มีชีวิต" จริงๆ

ถ้าของเก๊จะเป็นสีแดงทาตะกั่ว ไม่มีวิวัฒนาการของสนิม

 

ดังนั้นจึงขอกลับมาชี้ประเด็นว่า พระเครื่องแท้ๆ นั้นต้องมีชีวิตอย่างไรบ้าง นี่ว่าไปตามที่ผมไปอ่านและฟังมานะครับ ผิดถูกอย่างไร ขอให้ใช้วิจารณญาณกันเองครับ

แรกเริ่มเดิมทีของชีวิตพระนั้น เป็นการสะท้อนวิวัฒนาการของศิลปะ วัฒนธรรม ความเชื่อ ความรู้ ความสามารถ เทคโนโลยี ระบบสังคม ทรัพยากรที่มี ความเข้มแข็ง และความสามัคคีของคนในชุมชนนั้นๆ จนสามารถสร้างพระเครื่องที่สวยงาม แกร่ง ทนทาน และอยู่ได้มาเป็นพันปี จึงทำให้นักส่องพระต้องหาคำตอบเบื้องต้นว่า

  • เป็นพระยุคไหน ภาคไหน เขตไหน กรุไหน พิมพ์อะไร ศิลปะอะไร ใครสร้าง สร้างอย่างไร น่าจะมีพิธีกรรมอย่างไร เพื่ออะไร ใช้ทำอะไรหรือไม่ เก็บไว้ในสภาพใด หรือมีการใช้และเคลื่อนย้ายไปที่ใดบ้าง

หลังจากนั้นก็ต้องสืบค้นข้อมูลว่าพระองค์ที่เห็นอยู่นี้

  • แตกกรุมาเมื่อใด ในสภาพใด มีจำนวนเท่าไหร่ กระจายตัวไปอยู่กับใครบ้าง มีการเปลี่ยนมือกันอย่างไรบ้าง มีการใช้พระอย่างไรหรือไม่ มีการเก็บรักษาไว้อย่างไร แล้วมีผลอย่างไรในการบูชา หรืออาราธนาพุทธคุณให้คุ้มครองตน

เห็นไหมครับ นิทานที่มีอยู่ในพระแท้นั้นมากมายมหาศาล เพียงส่องดู

  • มวลสาร และความเก่า
  • ศิลปะ
  • สภาพการใช้ และ
  • ความสมบูรณ์ขององค์พระ

ที่นั่งอ่านเป็นวันๆ ก็ไม่จบ ที่นักส่องพระว่า “ดูไม่เบื่อ”

สำหรับประเด็นของการดูว่าพระเครื่องมีชีวิตนั้น มีสาระสำคัญที่ควรศึกษาและพิจารณาดังนี้

  • มวลสารที่เป็นเนื้อพระจะต้องเป็นไปตามวัสดุที่มี และนำมาใช้ในการสร้างพระเครื่องนั้นๆ ที่ต้องจำให้ได้ และทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
  • การพัฒนาการ การผุกร่อน การเกิดสนิม ต้องมีหลายชั้น เชื่อมโยงกัน และต่อเนื่องกัน ตั้งแต่อดีตหลายร้อย หรือเป็นพันปี จนถึงปัจจุบัน ไม่มีการหยุดนิ่ง เพราะ ถ้านิ่งหรือตายก็คือพระเก๊เท่านั้นครับ
  • การใช้ที่ผ่านมาจะมีผลต่อการพัฒนาการของผิวพระ และการเปลี่ยนแปลงของสนิม จะต้องศึกษาให้เข้าใจ จะไม่พลาด

นี่แหละครับ ที่ผมรู้สึกว่า พระเครื่องแท้ๆ นั้น มีชีวิตที่น่าศึกษาและติดตามจริง ไม่เชื่อก็ขอให้ลองดูสักครั้ง แล้วท่านจะติดใจ

ไม่ลองไม่รู้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 361733เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นายไพโรจน์ ปล้องมาก

ขอขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมอ่านบทความของอาจารย์แล้ว ตรงกับตัวผมมากที่สุเริ่มตั้งแต่เป็นหมูสนามและก็เช่าของแพง ปล่อยไม่ได้ขาดทุนโดยเฉพาะพระนิทานและสุดท้าย..ความโลภ บังตา..กิเลส..เยอะมาก..นับเป็นล้านแล้วครับตั้งแต่เข้าวงการมา 20 ปี..ศึกษาจากตำราตอนหลังอ่านnetก็ยังไม่วายโดน..แต่ก็ไม่เป็นไร แต่พอไปขอความกระจ่าง.งที่เขาเรียกตัวเองว่าเซียน..กลับมองว่าปลอม โดยไม่ชี้แนะ..หาข้อยุติไม่ได้ว่าปลอมอย่างไรตรงไหนของจริงต้องเป็นอย่างไร จนท้อ พอมาอ่านของอาจารย์มันทำใหเกิดกำลังใจมากที่ดียวครับผมขอเป็น กำลังใจให้อีกคนครับ..อย่างนี้ซิที่เขาเรียกกันว่านักวิชาการ/อาจารย์/เซียนของแท้ครับ

                                            ดว้ยจิตคารวะ
                                               ไพโรจน์
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท