ราชบัณฑิตเตรียมบัญญัติศัพท์ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองใน พจนานุกรมศัพท์ใหม่



ราชบัณฑิตเตรียมบัญญัติศัพท์ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการ เมืองในพจนานุกรมศัพท์ใหม่


     ราชบัณฑิตเตรียม บัญญัติศัพท์ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในพจนานุกรมศัพท์ใหม่ ขณะ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ พร้อมบันทึกเรื่องราวการกระชับพื้นที่ แผนปรองดองแห่งชาติ การขอคืนพื้นที่ไว้ในประวัติศาสตร์ชาติให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตยสถาน และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์ใหม่ ได้ติดตามเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ เพื่อจัดเก็บข้อมูลคำศัพท์ใหม่ และคำศัพท์ที่มีการใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้ง คำใหม่ และคำที่นำมาผสมกัน อาทิ สุ่มเสี่ยง ถือเป็นคำใหม่ที่ยังไม่ได้บัญญัติในพจนานุกรม และรัฐบาลได้นำมาใช้ช่วงเกิดเหตุการณ์ ความหมาย ระบุ ถึงพื้นที่ที่มีอันตรายแต่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน สำหรับคำว่า ก่อการร้าย ยังไม่ได้บัญญัติไว้ในพจนานุกรมเช่นกัน มีความหมายกว้าง มักใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศและเหตุการณ์ใหญ่ แต่ครั้งนี้รัฐบาลนำมาใช้กับกลุ่มผู้ชุมนุม

         ดังนั้น เมื่อรัฐบาลนำคำเหล่านี้มาใช้ต่อสาธารณชน ราชบัณฑิต จึงเห็นว่า ควรให้ความหมายที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ส่วนคำว่า ขอคืนพื้นที่ และกระชับพื้นที่นั้น เป็นการนำคำมาผสมกัน บางคำบัญญัติไว้อยู่แล้ว เช่น กระชับ ทั้งนี้ราชบัณฑิตจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะบัญญัติคำว่า ขอคืนพื้นที่ และกระชับพื้นที่ ไว้ในพจนานุกรมคำศัพท์ใหม่หรือไม่

         ด้าน นางสุรีย์รัตน์ วงศ์เสงี่ยม ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กล่าวถึง การจัดทำจดหมายเหตุแห่งชาติบันทึกเหตุการณ์การความไม่สงบทางการเมืองนั้น จะมีการหารือว่าการดำเนินงานจะแยกเป็นเล่มเฉพาะ เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ใช้คำศัพท์ใหม่ๆ หลายคำ เช่น แผนปรองดองแห่งชาติ เยียวยา การขอคืนพื้นที่ ซึ่งจะต้องบันทึกให้เห็น ว่า การกระชับพื้นที่รัฐบาลดำเนินการอย่างไร มีการแก้ไขสถานการณ์บ้านเมืองเพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของชาติต่อไป

 ข้อมูลอ้างอิงจาก : คลิก

หมายเลขบันทึก: 361330เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สลามค่ะอาจารย์

มีอยู่คำๆหนึ่งค่ะ..ที่น้องๆพูดกันติดปากมากเลยช่วงนี้คือ..เหวง..ค่ะ

เช่น..อย่ามาเหวงแถวนี้นะ..พูดจาอะไรเหวงๆจัง..

ส่วนคำอื่นๆก็น่าสนใจหลายคำอยู่เหมือนกันค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอขอบคุณสำหรับคำศัพท์บัญญัติใหม่ ๆค่ะ   การงานการเรียนสบายใจดีขึ้นหรือยังคะ

สวัสดีครับ

อันที่จริง คณะกรรมการควรจะเก็บศัพท์เป็นระยะๆ อยู่แล้ว เพราะมีศัพท์เกิดใหม่เรื่อยๆ

และควรบันทึกด้วยว่า มีการใช้ตั้งแต่เมื่อไหร่

มีหลายคำที่เกิดขึ้นมาก่อนนี้ อย่างคำว่า "สุ่มเสี่ยง" ก็ได้ยินมาก่อนหน้านี้นานพอสมควร

ค้นในเน็ตคร่าวๆ อย่างน้อยก็มีใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2546

เท่าที่ติดตามข่่าว ไม่ค่อยจะเห็นศัพท์ใหม่จากเหตุการณ์ชุมนุมครั้งนี้เท่าไหร่เลย

อนึ่ง ก่อนนี้มีศัพท์ที่นักวิชาการนำมาใช้มากมาย แต่ไม่ได้บันทึกไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบันฑิตยสถาน

เช่้น บูรณาการ ภาคส่วน วาทกรรม อัตลักษณ์ จิตอาสา ปฏิสัมพันธ์ฯลฯ

(อาจจะมีในพจนานุกรมเฉพาะทาง)

ขอบคุณมากครับพี่

P

ครูคิม

การเรียน...คงต้องสู้ต่อไปครับ

การงาน...มีเรื่องให้เซ็งกับการสื่อสารขององค์กรมากครับ

ขอบคุณทุกกำลังใจที่ผ่านมาครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

ธ.วั ช ชั ย

เป็นมุมคิดที่น่าสนใจครับกับคำบางคำที่อาจารย์กล่าวถึงที่นักวิชาการใช้ ทำไมไม่มีบัญญัติ ผมเองก็พยายามค้นและศึกษาคำบางคำอยู่ครับ เช่นคำว่า "บูรณาการ" สำหรับผมแล้วใช้ว่า "ปุรณาการ" ครับเพราะคำนี้จะมีความหมายแน่นอนครับตามที่ได้เคยเขียนไว้ครับ

جزاك الله

สำหรับคำศัพท์บัญญัติใหม่ ๆ

ตอนนี้ราชบัณฑิตฯ ทำหน้าทีไล่เก็บคำศัพท์ครับ ทั้งวัยรุ่น นักการเมือง ขยันสร้างศัพท์ใหม่ๆ กันเหลือเกิน ฮิฮิ น่าเห็นใจ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

จารุวัจน์ شافعى

ถ้ามันสร้างแล้วเกิดประโยชน์ในทางบวกก็ดี (เชิงความรู้สึก) แต่ถ้าสร้างใหม่แล้วทำให้สังคมยิ่งสับสนวุ่นวาย อันนี้น่าคิดครับ น่าเห็นใจจริงๆด้วยครับ อิอิ

แวะมาอ่านบันทึก ฉบับนี้

ขอนั่งให้หายระลึกถึง หน่อย ครับ คุณเสียงเล็ก ๆ

 

ค่อนข้างสับสน งงงวยกับศัพท์ที่ราชบัณฑิตบัญญัติขึ้นค่ะ ไม่รู้ควรจะยึดเล่มใหน ฉบับไหนเป็นหลักดี และที่สำคัญยิ่งอธิบายความหมาย ก็ยิ่งเข้าใจยาก โดยส่วนตัวนะค่ะ!  ศัพท์ที่ติดใจจนถึงปัจจุบัน งูเหลือม หมายถึง งูขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะคล้ายงูหลาม เปิดหาคำว่างูหลาม งูหลาม หมายถึง งูขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะคล้ายงูเหลือม ทีนี้งูหลายตัวเลยมาเจอกัน งงงงงงงง ขำขำ!!!

ค่อนข้างสับสน งงงวยกับศัพท์ที่ราชบัณฑิตบัญญัติขึ้นค่ะ ไม่รู้ควรจะยึดเล่มใหน ฉบับไหนเป็นหลักดี และที่สำคัญยิ่งอธิบายความหมาย ก็ยิ่งเข้าใจยาก โดยส่วนตัวนะค่ะ! ศัพท์ที่ติดใจจนถึงปัจจุบัน งูเหลือม หมายถึง งูขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะคล้ายงูหลาม เปิดหาคำว่างูหลาม งูหลาม หมายถึง งูขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะคล้ายงูเหลือม ทีนี้งูหลายตัวเลยมาเจอกัน งงงงงงงง ขำขำ!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท