ค.ต.ป. ตอบโจทย์โปร่งใส "ระบบราชการไทย"


ค.ต.ป. ตอบโจทย์โปร่งใส "ระบบราชการไทย"

ค.ต.ป. ตอบโจทย์โปร่งใส "ระบบราชการไทย"

การตรวจสอบและประเมินผลของภาคราชการ โดยคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) นับเป็นการดำเนินการที่นำไปสู่การบูรณาการและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการกำกับดูแลและควบคุมตนเองที่ดีของส่วนราชการ อันนำไปสู่การบรรลุผลตามเจตนารมณ์ของหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รวมทั้งเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจแก่สาธารณชนต่อการดำเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และผลงานของส่วนราชการว่าได้มีการตรวจสอบและกำกับดูแลอย่างรอบคอบ ถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า และคุณภาพของการบริหารงาน

คณะกรรมการตรวจและประเมินผลภาคราชการ หรือเรียกโดยย่อว่า "ค.ต.ป." นี้ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 วรรคสาม ที่บัญญัติว่าในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ต้องมีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน และคณะรัฐมนตรี มีมติให้ ก.พ.ร. ปรับปรุงและจัดระบบการตรวจสอบภาคราชการเสียใหม่ให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาระบบราชการและระบบการบริหารการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ตลอดจนหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ก.พ.ร. ได้เสนอแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการใหม่ โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลและปรับปรุงกลไกที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและการตรวจราชการทั้งในระดับกระทรวงและระดับกรม ซึ่ง ค.ร.ม. เห็นชอบ อันเป็นที่มาของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 เพื่อปรับปรุงให้การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นค่ะ...

ที่มา : e - newsletter จดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์

ฉบับที่ 60 เดือนเมษายน 2553

หมายเลขบันทึก: 359833เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท